เอเอฟพี - โจฮันนา มิเคิล-ลีทเนอร์ รัฐมนตรีมหาดไทยออสเตรีย ระบุในวันพุธ (28 ต.ค.) ว่าออสเตรียจะสร้างรั้วกั้นตามแนวชายแดนติดกับประเทศที่เป็นเพื่อนร่วมกลุ่มอียูอย่างสโลวีเนีย เพื่อชะลอการหลั่งไหลเข้าประเทศของผู้อพยพ
ทั้งสองประเทศล้วนอยู่ในเขตเชงเก้นโซนที่ได้รับการยกเว้นพาสปอร์ต ทั้งยังเป็นเส้นทางสำคัญของผู้อพยพและลี้ภัยหลายหมื่นคนที่ต้องการจะไปให้ถึงยุโรปตอนเหนือผ่านประเทศแถบบอลข่าน
"นี่มันเกี่ยวกับการทำให้แน่ใจในเรื่องความเป็นระเบียบเรียบร้อย สามารถควบคุมการเข้าประเทศของเราได้ ไม่ใช่เพียงแค่ปิดชายแดน" เธอบอกกับทีวีสาธารณะ Oe1
เธอยังบอกอีกว่า สถานการณ์ตอนนี้มีความเสี่ยงที่จะหนักหนามากขึ้น ขณะที่ผู้คนกำลังถูกบีบให้ต้องรอคอยท่ามกลางหนาวเย็นเป็นเวลาหลายชั่วโมง กว่าจะได้รับอนุญาตให้ข้ามพรมแดนจากประเทศหนึ่งไปสู่อีกประเทศ
"เรารู้ว่าในช่วงหลังๆ บรรดากลุ่มผู้อพยพเริ่มจะทนไม่ไหว ก้าวร้าวมากขึ้นและแสดงอารมณ์มากขึ้น หากกลุ่มบุคคลเหล่านี้ผลักดันจากด้านหลัง โดยมีเด็กและผู้หญิงติดอยู่ตรงกลาง เราก็จำเป็นจะต้องมีมาตรการที่เข้มแข็งและมีเสถียรภาพไว้รับมือ" รัฐมนตรีออสเตรีย กล่าว
เมื่อวันอังคาร รัฐมนตรีรายนี้ได้เคยบอกใบ้เป็นนัยไปแล้วในเรื่องรั้ว ระหว่างการไปเยือนจุดผ่านแดนสปีลเฟลด์ โดยได้บอกว่า กำลังพิจารณามาตรการเรื่องสิ่งปลูกสร้างเพื่อนำมาดำเนินการที่จุดข้ามแดน
ในสัปดาห์ที่แล้ว เธอถูกวิจารณ์อย่างหนักจากสมาชิกฝ่ายค้าน สำหรับเรื่องที่เธอพูดว่า "ถึงเวลาแล้วที่ยุโรปจะสร้างป้อมปราการป้องกันยุโรป" แต่สำหรับบรรดาพรรคร่วมรัฐบาลดูเหมือนจะอยู่ข้างเดียวกับเธอ
เจอรัลด์ คลุก รัฐมนตรีกลาโหมผู้มาจากพรรคร่วมรัฐบาล ระบุว่า เขาพอจะนึกภาพออกว่า แนวป้องกันที่จุดผ่านแดนสปีลเฟลด์น่าจะช่วยควบคุมผู้อพยพให้เป็นระเบียบเรียบร้อยได้
มีผู้คนมากกว่า 700,000 รายที่หนีภัยสงครามและความทุกข์ยาก เดินทางไปข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปถึงชายฝั่งยุโรปในปีนี้ ส่วนใหญ่มาจากซีเรีย อัฟกานิสถาน อิรัก
เริ่มต้นจากกรีซ พวกเขาเดินทางผ่านประเทศแถบบอลข่านตะวันตกและยุโรปตอนกลาง โดยหวังว่าจะไปถึงประเทศที่มีเศรษฐกิจดีอย่างเยอรมัน อันเป็นเป้าหมายที่ผู้อพยพจำนวนมากต้องการ
ทั้งสองประเทศล้วนอยู่ในเขตเชงเก้นโซนที่ได้รับการยกเว้นพาสปอร์ต ทั้งยังเป็นเส้นทางสำคัญของผู้อพยพและลี้ภัยหลายหมื่นคนที่ต้องการจะไปให้ถึงยุโรปตอนเหนือผ่านประเทศแถบบอลข่าน
"นี่มันเกี่ยวกับการทำให้แน่ใจในเรื่องความเป็นระเบียบเรียบร้อย สามารถควบคุมการเข้าประเทศของเราได้ ไม่ใช่เพียงแค่ปิดชายแดน" เธอบอกกับทีวีสาธารณะ Oe1
เธอยังบอกอีกว่า สถานการณ์ตอนนี้มีความเสี่ยงที่จะหนักหนามากขึ้น ขณะที่ผู้คนกำลังถูกบีบให้ต้องรอคอยท่ามกลางหนาวเย็นเป็นเวลาหลายชั่วโมง กว่าจะได้รับอนุญาตให้ข้ามพรมแดนจากประเทศหนึ่งไปสู่อีกประเทศ
"เรารู้ว่าในช่วงหลังๆ บรรดากลุ่มผู้อพยพเริ่มจะทนไม่ไหว ก้าวร้าวมากขึ้นและแสดงอารมณ์มากขึ้น หากกลุ่มบุคคลเหล่านี้ผลักดันจากด้านหลัง โดยมีเด็กและผู้หญิงติดอยู่ตรงกลาง เราก็จำเป็นจะต้องมีมาตรการที่เข้มแข็งและมีเสถียรภาพไว้รับมือ" รัฐมนตรีออสเตรีย กล่าว
เมื่อวันอังคาร รัฐมนตรีรายนี้ได้เคยบอกใบ้เป็นนัยไปแล้วในเรื่องรั้ว ระหว่างการไปเยือนจุดผ่านแดนสปีลเฟลด์ โดยได้บอกว่า กำลังพิจารณามาตรการเรื่องสิ่งปลูกสร้างเพื่อนำมาดำเนินการที่จุดข้ามแดน
ในสัปดาห์ที่แล้ว เธอถูกวิจารณ์อย่างหนักจากสมาชิกฝ่ายค้าน สำหรับเรื่องที่เธอพูดว่า "ถึงเวลาแล้วที่ยุโรปจะสร้างป้อมปราการป้องกันยุโรป" แต่สำหรับบรรดาพรรคร่วมรัฐบาลดูเหมือนจะอยู่ข้างเดียวกับเธอ
เจอรัลด์ คลุก รัฐมนตรีกลาโหมผู้มาจากพรรคร่วมรัฐบาล ระบุว่า เขาพอจะนึกภาพออกว่า แนวป้องกันที่จุดผ่านแดนสปีลเฟลด์น่าจะช่วยควบคุมผู้อพยพให้เป็นระเบียบเรียบร้อยได้
มีผู้คนมากกว่า 700,000 รายที่หนีภัยสงครามและความทุกข์ยาก เดินทางไปข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปถึงชายฝั่งยุโรปในปีนี้ ส่วนใหญ่มาจากซีเรีย อัฟกานิสถาน อิรัก
เริ่มต้นจากกรีซ พวกเขาเดินทางผ่านประเทศแถบบอลข่านตะวันตกและยุโรปตอนกลาง โดยหวังว่าจะไปถึงประเทศที่มีเศรษฐกิจดีอย่างเยอรมัน อันเป็นเป้าหมายที่ผู้อพยพจำนวนมากต้องการ