China’s master plan to win a war vs Taiwan: Dominate the skies?
By David Axe
12/10/2015
บริษัทแรนด์ จัดทำเอกสารสรุปฉบับใหม่ซึ่งมีข้อสรุปว่า กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯนั้นมีเครื่องบินขับไล่ที่มีสมรรถนะดีกว่าและจำนวนก็มากกว่าของจีน ทว่าเมื่อเป็นการทำสงครามเหนือน่านฟ้าไต้หวันแล้ว ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ก็กลับเป็นคุณแก่กองทัพปลดแอกประชาชนจีน
ในปี 2017 ถ้าหากจีนระดมส่งเครื่องบินรบจำนวนมากมายเข้าโจมตีไต้หวัน แล้วสหรัฐฯต้องการที่จะเอาชนะให้ได้ในทันที ก็จะต้องใช้เครื่องบินขับไล่ไอพ่นอเมริกันที่พร้อมสู้รบเป็นจำนวนประมาณ 2,200 ลำ หรือเท่ากับสองในสามเต็มๆ ของเครื่องบินขับไล่ทั้งหมดที่มีอยู่ในคลังแสงอเมริกัน นี่คือข้อสรุปสำคัญที่สุดในเอกสารสรุปฉบับใหม่ฉบับหนึ่งจากบริษัทแรนด์ (RAND) หน่วยงานคลังสมองในแคลิฟอร์เนีย (ดูรายละเอียดเอกสารสรุปนี้ได้ที่ https://www.rand.org/content/dam/rand/pubs/research_briefs/RB9800/RB9858z3/RAND_RB9858z3.pdf)
แรนด์ ชี้ว่าเพนตากอนนั้นมีเครื่องบินขับไล่ที่มีสมรรถนะดีกว่าและจำนวนก็มากกว่าของจีน –รวมทั้งนักบินก็มีคุณภาพเหนือกว่าด้วย ทว่าเมื่อเป็นการทำสงครามเหนือเวหาไต้หวันแล้ว ภูมิศาสตร์ก็กลับเป็นคุณแก่กองทัพปลดแอกประชาชนจีน “จีนไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไล่ตามสหรัฐฯให้ทันอย่างเต็มที่ จึงจะสามารถท้าทายความสามารถของสหรัฐฯในการดำเนินปฏิบัติการทางทหารอย่างทรงประสิทธิภาพในอาณาบริเวณใกล้ๆ แผ่นดินใหญ่จีน”
ก็อย่างที่ แรนด์ ชี้เอาไว้ในเอกสารสรุปนี้ว่า:
“ในอดีตที่ผ่านมา กองทัพอากาศของกองทัพปลดแอกประชาชนจีน ไม่ได้เป็นภัยคุกคามอะไรมากมายต่อประเทศเพื่อนบ้านทั้งหลาย อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลา 2 ทศวรรษหลังมานี้ จีนได้ปรับปรุงยกระดับแสนยานุภาพทางอากาศของตนให้ทันสมัยอย่างรวดเร็ว ขณะที่เมื่อปี 1996 จีนเพิ่งได้รับเครื่องบินขับไล่รุ่นที่ 4 (fourth-generation fighters) ชุดแรกจำนวน 24 ลำ แต่มาถึงเวลานี้แดนมังกรมีเครื่องบินรุ่นนี้มากกว่า 700 ลำ ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น สหรัฐฯก็ได้เพิ่มเครื่องบินขับไล่รุ่นที่ 5 เข้าสู่คลังแสงของตน และฝูงเครื่องบินของแดนอินทรียังคงทั้งก้าวหน้ากว่าและมีจำนวนมากกว่าของแดนมังกรแบบทิ้งห่าง
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่อาจเป็นตัวถ่วงดุลความได้เปรียบโดยรวมเช่นนี้ของสหรัฐฯ ได้แก่ปัจจัยทางภูมิศาสตร์และปัจจัยทางสถานการณ์ กล่าวคือ ในสถานการณ์การสู้รบขัดแย้งส่วนใหญ่ซึ่งเกิดขึ้นในเอเชีย จีนจะมีความได้เปรียบในเรื่องการอยู่ใกล้กว่า ทั้งนี้จีนจะสามารถปฏิบัติการจากฐานทัพต่างๆ จำนวนมากกว่าสหรัฐฯนักหนา ซึ่งเปิดทางให้แดนมังกรสามารถส่งเครื่องบินจำนวนมากกว่าเข้าสู่ความขัดแย้งสู้รบที่เกิดขึ้นด้วย รวมทั้งทรัพย์สินอันสำคัญยิ่งยวดของจีนก็สามารถที่จะกระจายตัวออกไปเป็นอาณาบริเวณกว้างใหญ่ยิ่งกว่า และสร้างความยากลำบากให้แก่ฝ่ายที่เข้าโจมตีมากกว่า
ไม่เพียงเท่านั้น ฐานทัพอากาศของสหรัฐฯไม่กี่แห่งซึ่งอยู่ภายในระยะทางใกล้ๆ น่าที่จะเผชิญกับการถูกโจมตีด้วยขีปนาวุธของจีน จึงลดเกรดความสามารถของฐานทัพเหล่านี้ในการปฏิบัติการสนับสนุนด้านต่างๆ”
แรนด์ คำนวณตัวเลขและลงความเห็นว่า ภายในปี 2017 สหรัฐฯจำเป็นที่จะต้องมีเครื่องบินขับไล่เข้าประจำการในอาณาบริเวณแปซิฟิกตะวันตกเป็นจำนวน 30 กองบิน ซึ่งแต่ละกองบินมีเครื่องบิน 75 ลำ จึงจะสามารถยังความปราชัยในทันทีให้แก่การโจมตีทางอากาศซึ่งจีนกระทำต่อไต้หวัน หน่วยงานคลังสมองแห่งนี้บอกว่า เครื่องบินจำนวนมากมายดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่ “ไม่สามารถประคับประคองเอาไว้ได้” (unsustainable)
“สหรัฐฯจะมีโอกาสลู่ทางมากขึ้นในการเอาชัยชนะ เมื่อเป็นการรณรงค์ชิงชัยที่ใช้เครื่องบินน้อยลง โดยวางแผนขึ้นมาเพื่อยังความปราชัยให้แก่การรุกโจมตีทางอากาศของจีนภายในระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น” แรนด์ ระบุ ทั้งนี้เครื่องบินขับไล่ของสหรัฐฯ 7 กองบินสามารถที่จะยิงเครื่องบินรบของจีนตกลงประมาณครึ่งหนึ่งภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์ แต่ถ้าหากต้องการบรรลุผลอย่างเดียวกันภายในระยะเวลา 3 สัปดาห์ ก็จำเป็นต้องใช้เครื่องบินขับไล่เพียง 4 กองบิน
ทว่าในสถานการณ์ของการรุกรานนั้น ระยะเวลา 3 สัปดาห์ถือว่ายาวนาน โดยเมื่อถึงตอนนั้น กองทัพบกจีนน่าที่จะเข้ายึดไต้หวันเอาไว้ได้แล้ว เอกสารสรุปของแรนด์ ชี้
(จาก the National Interest)
By David Axe
12/10/2015
บริษัทแรนด์ จัดทำเอกสารสรุปฉบับใหม่ซึ่งมีข้อสรุปว่า กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯนั้นมีเครื่องบินขับไล่ที่มีสมรรถนะดีกว่าและจำนวนก็มากกว่าของจีน ทว่าเมื่อเป็นการทำสงครามเหนือน่านฟ้าไต้หวันแล้ว ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ก็กลับเป็นคุณแก่กองทัพปลดแอกประชาชนจีน
ในปี 2017 ถ้าหากจีนระดมส่งเครื่องบินรบจำนวนมากมายเข้าโจมตีไต้หวัน แล้วสหรัฐฯต้องการที่จะเอาชนะให้ได้ในทันที ก็จะต้องใช้เครื่องบินขับไล่ไอพ่นอเมริกันที่พร้อมสู้รบเป็นจำนวนประมาณ 2,200 ลำ หรือเท่ากับสองในสามเต็มๆ ของเครื่องบินขับไล่ทั้งหมดที่มีอยู่ในคลังแสงอเมริกัน นี่คือข้อสรุปสำคัญที่สุดในเอกสารสรุปฉบับใหม่ฉบับหนึ่งจากบริษัทแรนด์ (RAND) หน่วยงานคลังสมองในแคลิฟอร์เนีย (ดูรายละเอียดเอกสารสรุปนี้ได้ที่ https://www.rand.org/content/dam/rand/pubs/research_briefs/RB9800/RB9858z3/RAND_RB9858z3.pdf)
แรนด์ ชี้ว่าเพนตากอนนั้นมีเครื่องบินขับไล่ที่มีสมรรถนะดีกว่าและจำนวนก็มากกว่าของจีน –รวมทั้งนักบินก็มีคุณภาพเหนือกว่าด้วย ทว่าเมื่อเป็นการทำสงครามเหนือเวหาไต้หวันแล้ว ภูมิศาสตร์ก็กลับเป็นคุณแก่กองทัพปลดแอกประชาชนจีน “จีนไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไล่ตามสหรัฐฯให้ทันอย่างเต็มที่ จึงจะสามารถท้าทายความสามารถของสหรัฐฯในการดำเนินปฏิบัติการทางทหารอย่างทรงประสิทธิภาพในอาณาบริเวณใกล้ๆ แผ่นดินใหญ่จีน”
ก็อย่างที่ แรนด์ ชี้เอาไว้ในเอกสารสรุปนี้ว่า:
“ในอดีตที่ผ่านมา กองทัพอากาศของกองทัพปลดแอกประชาชนจีน ไม่ได้เป็นภัยคุกคามอะไรมากมายต่อประเทศเพื่อนบ้านทั้งหลาย อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลา 2 ทศวรรษหลังมานี้ จีนได้ปรับปรุงยกระดับแสนยานุภาพทางอากาศของตนให้ทันสมัยอย่างรวดเร็ว ขณะที่เมื่อปี 1996 จีนเพิ่งได้รับเครื่องบินขับไล่รุ่นที่ 4 (fourth-generation fighters) ชุดแรกจำนวน 24 ลำ แต่มาถึงเวลานี้แดนมังกรมีเครื่องบินรุ่นนี้มากกว่า 700 ลำ ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น สหรัฐฯก็ได้เพิ่มเครื่องบินขับไล่รุ่นที่ 5 เข้าสู่คลังแสงของตน และฝูงเครื่องบินของแดนอินทรียังคงทั้งก้าวหน้ากว่าและมีจำนวนมากกว่าของแดนมังกรแบบทิ้งห่าง
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่อาจเป็นตัวถ่วงดุลความได้เปรียบโดยรวมเช่นนี้ของสหรัฐฯ ได้แก่ปัจจัยทางภูมิศาสตร์และปัจจัยทางสถานการณ์ กล่าวคือ ในสถานการณ์การสู้รบขัดแย้งส่วนใหญ่ซึ่งเกิดขึ้นในเอเชีย จีนจะมีความได้เปรียบในเรื่องการอยู่ใกล้กว่า ทั้งนี้จีนจะสามารถปฏิบัติการจากฐานทัพต่างๆ จำนวนมากกว่าสหรัฐฯนักหนา ซึ่งเปิดทางให้แดนมังกรสามารถส่งเครื่องบินจำนวนมากกว่าเข้าสู่ความขัดแย้งสู้รบที่เกิดขึ้นด้วย รวมทั้งทรัพย์สินอันสำคัญยิ่งยวดของจีนก็สามารถที่จะกระจายตัวออกไปเป็นอาณาบริเวณกว้างใหญ่ยิ่งกว่า และสร้างความยากลำบากให้แก่ฝ่ายที่เข้าโจมตีมากกว่า
ไม่เพียงเท่านั้น ฐานทัพอากาศของสหรัฐฯไม่กี่แห่งซึ่งอยู่ภายในระยะทางใกล้ๆ น่าที่จะเผชิญกับการถูกโจมตีด้วยขีปนาวุธของจีน จึงลดเกรดความสามารถของฐานทัพเหล่านี้ในการปฏิบัติการสนับสนุนด้านต่างๆ”
แรนด์ คำนวณตัวเลขและลงความเห็นว่า ภายในปี 2017 สหรัฐฯจำเป็นที่จะต้องมีเครื่องบินขับไล่เข้าประจำการในอาณาบริเวณแปซิฟิกตะวันตกเป็นจำนวน 30 กองบิน ซึ่งแต่ละกองบินมีเครื่องบิน 75 ลำ จึงจะสามารถยังความปราชัยในทันทีให้แก่การโจมตีทางอากาศซึ่งจีนกระทำต่อไต้หวัน หน่วยงานคลังสมองแห่งนี้บอกว่า เครื่องบินจำนวนมากมายดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่ “ไม่สามารถประคับประคองเอาไว้ได้” (unsustainable)
“สหรัฐฯจะมีโอกาสลู่ทางมากขึ้นในการเอาชัยชนะ เมื่อเป็นการรณรงค์ชิงชัยที่ใช้เครื่องบินน้อยลง โดยวางแผนขึ้นมาเพื่อยังความปราชัยให้แก่การรุกโจมตีทางอากาศของจีนภายในระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น” แรนด์ ระบุ ทั้งนี้เครื่องบินขับไล่ของสหรัฐฯ 7 กองบินสามารถที่จะยิงเครื่องบินรบของจีนตกลงประมาณครึ่งหนึ่งภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์ แต่ถ้าหากต้องการบรรลุผลอย่างเดียวกันภายในระยะเวลา 3 สัปดาห์ ก็จำเป็นต้องใช้เครื่องบินขับไล่เพียง 4 กองบิน
ทว่าในสถานการณ์ของการรุกรานนั้น ระยะเวลา 3 สัปดาห์ถือว่ายาวนาน โดยเมื่อถึงตอนนั้น กองทัพบกจีนน่าที่จะเข้ายึดไต้หวันเอาไว้ได้แล้ว เอกสารสรุปของแรนด์ ชี้
(จาก the National Interest)