(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Wang Dongxing’s death stirs memories and lessons from China’s past
By Francesco Sisci
24/08/2015
วัง ตงซิง ถึงแก่มรณกรรมตอนปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยได้รับการกล่าวขานยกย่องจากสื่อทางการจีน เขาเคยมีบทบาทอย่างสำคัญในการชี้ทิศทางของประเทศจีน โดยเมื่อช่วงปลายปี 1976 วัง ซึ่งเป็นหัวหน้าหน่วยรักษาความปลอดภัยของพรรคคอมมิวนิสต์ ได้ตัดสินใจว่าวิธีการดีที่สุดในการแสดงความจงรักภักดีต่อ เหมา เจ๋อตง ผู้เพิ่งล่วงลับไป ก็คือ การเข้าจับกุมกวาดล้าง เจียง ชิง ภริยาม่ายของ เหมา และ “แก๊ง 4 คน” ของเธอ แล้วส่งมอบอำนาจให้แก่ เติ้ง เสี่ยวผิง ถึงแม้การกระทำเช่นนี้จะหมายถึงการสิ้นสูญอำนาจและอิทธิพลของตัว วัง เอง
ในที่สุดแล้วความตายก็ได้คร่าชีวิตของ วัง ตงซิง (Wang Dongxing) ผู้ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นหัวหน้าหน่วยรักษาความปลอดภัยของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ทรงอำนาจมาก เขาถึงแก่มรณกรรมเมื่อช่วงปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาในวัย 99 ปี แต่การสิ้นสลายในทางเป็นจริงของเขาคราวนี้ เป็นเพียงบทประโคมท่อนท้ายให้แก่การแตกดับอย่างเป็นทางการซึ่งถูกกำหนดมาให้เขาตั้งแต่เมื่อเกือบ 40 ปีก่อน ในช่วงภายหลังการปฏิวัติทางวัฒนธรรม
ในช่วงขณะแห่งโศกนาฏกรรมอันยืดเยื้อ ระหว่างปลายฤดูร้อนไปจนถึงต้นฤดูใบไม้ผลิของปี 1976 วัง ตงซิง ต้องเผชิญกับภารกิจอันยากลำบากอย่างยิ่งยวดของการเสาะแสวงหาวิธีการที่ดีที่สุดในการแสดงออกซึ่งความจงรักภักดีที่เขามีต่อ เหมา เจ๋อตง หนทางเลือกมีอยู่ 2 ทาง นั่นคือ จะให้การสนับสนุน หรือว่าจะคัดค้าน การประกาศอ้างตนขึ้นสู่อำนาจของภริยาม่ายของเหมา เธอผู้นี้ก็คือ เจียง ชิง (Jiang Qing) หัวหน้าของ “แก๊ง 4 คน” ที่มีชื่อเสียงสุดฉาวโฉ่
วัง เป็นหัวหน้าฝ่ายรักษาความปลอดภัยที่ทรงอำนาจมากๆ ของ เหมา การถึงแก่มรณกรรมของเขาเมื่อวันที่ 21 สิงหาคมที่ผ่านมา ได้รับการกล่าวขานยกย่องจากสื่อของพรรค เหมา เป็นทั้งผู้บังคับบัญชา, รูปเคารพบูชา, และเจ้านายของ วัง อยู่เกือบตลอดทั้งชีวิตของเขา และ เหมา ก็ตอบแทนการยกย่องเทิดทูนนี้ด้วยการตั้งให้ วัง เป็นผู้รับผิดชอบดูแลการรักษาความปลอดภัยส่วนตัวของเขา โดยที่มีอำนาจในการกำกับตรวจสอบงานรักษาความปลอดภัยสำหรับคณะผู้นำทั้งหมดของจีนอีกด้วย
วัง เป็นผู้ที่รับผิดชอบสิ่งที่เรียกกันว่า “การตรวจสอบด้านความปลอดภัยสองชั้น” (double security check) พวกเจ้าหน้าที่ระดับท็อปของจีนทุกๆ คนนั้น ถือกันว่าต้องมีความจงรักภักดีต่อ เหมา แต่ วัง เป็นคนที่จะทำให้เกิดความมั่นใจว่าเจ้าหน้าที่ชั้นสูงเหล่านี้มีความจงรักภักดีจริงๆ ตำแหน่งงานด้านการรักษาความปลอดภัยของเขายิ่งเพิ่มทวีความสำคัญขึ้นอีกภายหลังปี 1971 เมื่อ หลิน เปียว (Lin Biao) ทายาทผู้เตรียมสืบทอดตำแหน่งของ เหมา และเป็นผู้นำสูงสุดอันดับสองรองจาก เหมา เท่านั้น ได้พยายามก่อการรัฐประหารโค่นล้ม เหมา ทว่าประสบความล้มเหลว
หน้าที่ของ วัง ถือว่าลำบากหนักหน่วงและต้องใช้ความวิริยะอุตสาหะ แต่ก็เป็นงานที่ค่อนข้างเรียบๆ ไม่ซ้ำซ้อน เขาไม่ต้องขบคิดตัดสินใจเรื่องยากๆ อะไรมากมาย เขาเพียงแต่ต้องเดินตามสิ่งที่ เหมา ได้ตัดสินใจลงไปแล้ว
แต่ในทันทีที่ เหมา ผู้เป็นทั้งรูปเคารพบูชาบวกกับการเป็นเจ้านายของเขา อำลาจากโลกไป วัง ก็พบว่าตนเองกำลังเผชิญกับหนทางเลือกทางการเมืองแบบยากเย็นสุดๆ ในชีวิตของเขา ในฐานะเป็นบุคคลผู้รับผิดชอบจัดเรื่องการรักษาความปลอดภัยให้แก่ผู้นำจีนแต่ละคน เขาจึงอยู่ในฐานะที่สามารถจะเบนหางเสือแห่งอำนาจรัฐให้มุ่งไปสู่ทิศทางหนึ่ง หรือให้พลิกกลับมุ่งไปสู่อีกทิศทางหนึ่ง ทั้งนี้ด้วยการเข้าจับกุม เจียง ชิง หรือไม่ก็เข้าจับกุมศัตรูของเธอ ซึ่งลงท้ายแล้ว วัง ก็ตัดสินใจกระทำอย่างแรก
ความเคลื่อนไหวของ วัง ถือว่าดูแปลกประหลาดผิดธรรมดาในเวลานั้น เมื่อเขาตัดสินใจว่า วิธีดีที่สุดที่จะแสดงความจงรักภักดีต่อเจ้านายผู้ล่วงลับของเขา ก็คือการยื่นอำนาจให้แก่ชายผู้หนึ่งซึ่ง เหมา ได้เคยลงโทษ, เรียกกลับมาใช้งานใหม่, และวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง อยู่ครั้งแล้วครั้งเล่าในตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ชายผู้นี้ก็คือ เติ้ง เสี่ยวผิง
อาจจะมีปัจจัยจำนวนมากที่นำพา วัง มาสู่ตัดสินใจเช่นนี้ เขาอาจจะไม่ชอบหรือไม่ไว้วางใจเจียง ชิง, เขาอาจจะรู้สึกแล้วว่า เกือบทั้งหมดของกองทัพ กำลังเดินตาม จอมพล เย่ เจี้ยนอิง (Ye Jianying) ในการเข้าข้าง เติ้ง, นอกจากนั้น ฮว่า กว๋อเฟิง (Hua Guofeng) ผู้ซึ่ง เหมา เลือกให้เป็นทายาทสืบทอดตำแหน่งก่อนที่เขาจะสิ้นชีวิตลง ก็รู้สึกเช่นกันว่าตำแหน่งของเขาถูกคุกคามจาก เจียง ชิง และพวกสาวกผู้ติดตามของเธอ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร วัง ก็ได้ตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวว่า การจงรักภักดีต่อ เหมา หมายถึงการล่ามโซ่ตรวนผู้หญิงคนที่เรียกตัวเธอเองว่าเป็น “สุนัขของ เหมา” การแสดงความซื่อสัตย์ต่อผู้เป็นเจ้านายของเธอ หมายถึงการทรยศต่อส่วนๆ หนึ่งของเจ้านายผู้นั้น มันหมายถึงการรักษาชิ้นส่วนหนึ่งแห่งมรดกตกทอดของเขาเอาไว้ ขณะที่ทอดทิ้งอีกชิ้นส่วนหนึ่งไป
การตัดสินใจของ วัง และความจงรักภักดีที่เขามีต่อ เหมา แสดงให้เห็นการบิดพลิกผันทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจมากทีเดียว ความจงรักภักดีอย่างเหนียวแน่นเช่นนี้ซึ่งกระทั่งครอบคลุมเลยไกลจากช่วงชีวิตของคนๆ หนึ่งด้วยซ้ำ คือด้านหนึ่งของวัฒนธรรมจีนแบบโบราณ มันเป็นความจงรักภักดีที่มีอยู่ภายในหมู่โจร ดังที่ถูกนำมาเล่าขานในหนังสือนิยายสมัยราชวงศ์หมิง เรื่อง “สุยหู่จ้วน” (หนังสือนี้ที่แปลในภาษาไทย แรกสุดใช้ชื่อว่า “ซ้องกั๋ง” ต่อมาเมื่อภาพยนตร์ฮ่องกงที่เป็นเรื่องราวในนิยายเรื่องนี้เข้ามาฉายในเมืองไทย มีการตั้งชื่อว่า “ผู้ยิ่งใหญ่แห่งเขาเหลียงซาน” -ผู้แปล) แล้วก็เป็นอุดมการณ์ที่ยึดมั่นแน่นเหนียวโดยพวกสาวกของม่อจื๊อ ตามเรื่องเล่าซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือ หลี่ว์ซื่อชุนชิว (Lushi Chunqiu) ยุคศตวรรษที่ 3 ก่อน ค.ศ. ในเรื่องเล่าขานดังกล่าวนี้ ได้มีการส่งสาวกผู้ติดตามจำนวนไม่กี่คนให้เดินทางไปเตือนนครที่ถูกคุกคามแห่งหนึ่ง และก็สามารถรักษานครแห่งนั้นเอาไว้ได้ แต่แทนที่สาวกผู้ติดตามเหล่านี้จะพยายามรักษาชีวิตของตนเอง พวกเขาได้เดินทางกลับไปและตายพร้อมๆ คนอื่นๆ ในกลุ่ม ขณะทำการคุ้มครองป้องกันเมืองอีกแห่งหนึ่งซึ่งกำลังถูกล้อม
คุณสมบัติเช่นนี้ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์แบบตะวันตกเลย ทั้งนี้องค์การคอมมิวนิสต์ตามอุดมการณ์ซึ่ง คาร์ล มาร์กซ์ ยึดถือนั้น สาวกผู้ติดตามของลัทธินี้ควรเรียกพวกเขากันเองว่าเป็น “สหาย” (comrade) ไม่ใช่ “พี่น้อง (brother) โดยที่เขาเน้นให้เป็นการรวมตัวกันหลวมๆ เปรียบเทียบได้กับพวกสมาชิกที่พำนักอยู่ในสำนักสงฆ์ต่างๆ ของพวกคริสเตียน ความจงรักภักดีนั้นมุ่งหมายถึงความจงรักภักดีต่อแนวความคิด ไม่ใช่ต่อบุคคล ทั้งนี้ ในการแปลคำว่า comrade ให้เป็นภาษาจีนนั้น ก็เห็นได้ชัดว่ามีความระมัดระวังที่จะเลือกใช้คำว่า “ถงจื้อ” (tongzhi) ซึ่งมีความหมายว่า “การเป็นผู้ที่มีหลักการร่วมกัน”
กระนั้นก็ตาม ในตอนท้ายแล้ว อาจจะเป็นไปได้ด้วยว่าความจงรักภักดีที่ วัง มีต่อแนวความคิดคอมมิวนิสต์และที่มีต่อพรรคคอมมิวนิสต์นั่นแหละกลายเป็นผู้ชนะ ถึงแม้ในเวลาต่อมามันจะนำไปสู่การดับสูญทางการเมืองของตัวเขาเองก็ตามที
หลังจากชำระสะสาง เจียง ชิง แล้ว วัง (เฉกเช่นเดียวกับ ฮว่า กว๋อเฟิง ผู้บังคับบัญชาคนใหม่ของเขา) ก็ได้ถูกพาเข้าสู่สิ่งซึ่งควรเรียกได้ว่าเป็นการชำระสะสางด้วยเช่นกัน โดยฝีมือของ เติ้ง ทั้งนี้ วัง ถูกปลดเกษียณ ถูกตัดขาดจากอำนาจและอิทธิพลทุกๆ ระดับชั้น ตรงนั้นแหละที่เขายังคงเฝ้ารอคอยอยู่ต่อมาเป็นเวลาเกือบๆ 4 ทศวรรษจวบจนกระทั่งความตายเดินทางมาเยือน
วัง อาจจะตระหนักถึงความเป็นจริงด้วยว่า การถูกเนรเทศของเขาเป็นสิ่งที่เหมาะสมแล้ว เขาเข้าใจดีว่านี่เป็นหนทางเดียวที่จะทำให้เขายังสามารถอยู่รอดต่อไปได้ เติ้ง และพันธมิตรของเขารีบเร่งเข้าควบคุมอำนาจในทุกระดับชั้นเอาไว้ภายหลังการจับกุมตัวแก๊ง 4 คนในช่วงปลายปี 1976 อีก 2 ปีต่อมา เติ้งและพันธมิตรยังแยกตัวออกมาจากลัทธิเหมาแบบฮาร์ดคอร์ ตลอดจนทายาททั้งหลายของลัทธินี้ ด้วยการจัดส่งผู้ที่สัตย์ซื่อต่อลัทธินี้เข้าอยู่ในตำแหน่งต่างๆ อย่างสง่างาม ทว่าแท้ที่จริงแล้วเป็นการเดินเข้าสู่ดินแดนที่โลกลืม
การถึงแก่มรณกรรมของ วัง ตงซิง ซึ่งได้รับการยกย่องกล่าวขานในสื่อทางการของจีน ดูเหมือนมุ่งเสนอบทเรียนที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในทุกวันนี้ เมื่อมีผู้นำเกษียณอายุแล้วบางคน ยังดูเหมือนพยายามต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้เป็นจุดสนใจ บทเรียนดังกล่าวก็คือ การที่ วัง ยินยอมรับความตายในทางตำแหน่งราชการ ทำให้เขารอดพ้นจากการตายในทางกายภาพ ตลอดจนรอดพ้นการถูกลบหลู่ต่อหน้าสาธารณชน
ฟรานเชสโก ซิสซี เป็นนักวิจัยอาวุโสของมหาวิทยาลัยไชน่าเหรินหมิน (China Renmin University) เป็นเจ้าของคอลัมน์ “ซิโนกราฟ” (Sinograph) ของเอเชียไทมส์ และเคยเป็นบรรณาธิการด้านเอเชียให้แก่หนังสือพิมพ์รายวันอิตาลี ลา สตัมปา (La Stampa) และผู้สื่อข่าวประจำกรุงปักกิ่งให้แก่ อิล โซเล ดิ 24 โอเร (Il Sole di 24 Ore) เขาเป็นชาวต่างประเทศคนแรกที่ได้เข้าโปรแกรมบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตสถานทางสังคมศาสตร์แห่งประเทศจีน (Chinese Academy of Social Sciences) เขาเขียนหนังสือว่าด้วยจีนมาแล้ว 8 เล่ม และได้รับเชิญเป็นนักวิจารณ์จากทางสถานีโทรทัศน์ส่วนกลางของจีน (CCTV) อยู่บ่อยครั้ง
Wang Dongxing’s death stirs memories and lessons from China’s past
By Francesco Sisci
24/08/2015
วัง ตงซิง ถึงแก่มรณกรรมตอนปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยได้รับการกล่าวขานยกย่องจากสื่อทางการจีน เขาเคยมีบทบาทอย่างสำคัญในการชี้ทิศทางของประเทศจีน โดยเมื่อช่วงปลายปี 1976 วัง ซึ่งเป็นหัวหน้าหน่วยรักษาความปลอดภัยของพรรคคอมมิวนิสต์ ได้ตัดสินใจว่าวิธีการดีที่สุดในการแสดงความจงรักภักดีต่อ เหมา เจ๋อตง ผู้เพิ่งล่วงลับไป ก็คือ การเข้าจับกุมกวาดล้าง เจียง ชิง ภริยาม่ายของ เหมา และ “แก๊ง 4 คน” ของเธอ แล้วส่งมอบอำนาจให้แก่ เติ้ง เสี่ยวผิง ถึงแม้การกระทำเช่นนี้จะหมายถึงการสิ้นสูญอำนาจและอิทธิพลของตัว วัง เอง
ในที่สุดแล้วความตายก็ได้คร่าชีวิตของ วัง ตงซิง (Wang Dongxing) ผู้ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นหัวหน้าหน่วยรักษาความปลอดภัยของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ทรงอำนาจมาก เขาถึงแก่มรณกรรมเมื่อช่วงปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาในวัย 99 ปี แต่การสิ้นสลายในทางเป็นจริงของเขาคราวนี้ เป็นเพียงบทประโคมท่อนท้ายให้แก่การแตกดับอย่างเป็นทางการซึ่งถูกกำหนดมาให้เขาตั้งแต่เมื่อเกือบ 40 ปีก่อน ในช่วงภายหลังการปฏิวัติทางวัฒนธรรม
ในช่วงขณะแห่งโศกนาฏกรรมอันยืดเยื้อ ระหว่างปลายฤดูร้อนไปจนถึงต้นฤดูใบไม้ผลิของปี 1976 วัง ตงซิง ต้องเผชิญกับภารกิจอันยากลำบากอย่างยิ่งยวดของการเสาะแสวงหาวิธีการที่ดีที่สุดในการแสดงออกซึ่งความจงรักภักดีที่เขามีต่อ เหมา เจ๋อตง หนทางเลือกมีอยู่ 2 ทาง นั่นคือ จะให้การสนับสนุน หรือว่าจะคัดค้าน การประกาศอ้างตนขึ้นสู่อำนาจของภริยาม่ายของเหมา เธอผู้นี้ก็คือ เจียง ชิง (Jiang Qing) หัวหน้าของ “แก๊ง 4 คน” ที่มีชื่อเสียงสุดฉาวโฉ่
วัง เป็นหัวหน้าฝ่ายรักษาความปลอดภัยที่ทรงอำนาจมากๆ ของ เหมา การถึงแก่มรณกรรมของเขาเมื่อวันที่ 21 สิงหาคมที่ผ่านมา ได้รับการกล่าวขานยกย่องจากสื่อของพรรค เหมา เป็นทั้งผู้บังคับบัญชา, รูปเคารพบูชา, และเจ้านายของ วัง อยู่เกือบตลอดทั้งชีวิตของเขา และ เหมา ก็ตอบแทนการยกย่องเทิดทูนนี้ด้วยการตั้งให้ วัง เป็นผู้รับผิดชอบดูแลการรักษาความปลอดภัยส่วนตัวของเขา โดยที่มีอำนาจในการกำกับตรวจสอบงานรักษาความปลอดภัยสำหรับคณะผู้นำทั้งหมดของจีนอีกด้วย
วัง เป็นผู้ที่รับผิดชอบสิ่งที่เรียกกันว่า “การตรวจสอบด้านความปลอดภัยสองชั้น” (double security check) พวกเจ้าหน้าที่ระดับท็อปของจีนทุกๆ คนนั้น ถือกันว่าต้องมีความจงรักภักดีต่อ เหมา แต่ วัง เป็นคนที่จะทำให้เกิดความมั่นใจว่าเจ้าหน้าที่ชั้นสูงเหล่านี้มีความจงรักภักดีจริงๆ ตำแหน่งงานด้านการรักษาความปลอดภัยของเขายิ่งเพิ่มทวีความสำคัญขึ้นอีกภายหลังปี 1971 เมื่อ หลิน เปียว (Lin Biao) ทายาทผู้เตรียมสืบทอดตำแหน่งของ เหมา และเป็นผู้นำสูงสุดอันดับสองรองจาก เหมา เท่านั้น ได้พยายามก่อการรัฐประหารโค่นล้ม เหมา ทว่าประสบความล้มเหลว
หน้าที่ของ วัง ถือว่าลำบากหนักหน่วงและต้องใช้ความวิริยะอุตสาหะ แต่ก็เป็นงานที่ค่อนข้างเรียบๆ ไม่ซ้ำซ้อน เขาไม่ต้องขบคิดตัดสินใจเรื่องยากๆ อะไรมากมาย เขาเพียงแต่ต้องเดินตามสิ่งที่ เหมา ได้ตัดสินใจลงไปแล้ว
แต่ในทันทีที่ เหมา ผู้เป็นทั้งรูปเคารพบูชาบวกกับการเป็นเจ้านายของเขา อำลาจากโลกไป วัง ก็พบว่าตนเองกำลังเผชิญกับหนทางเลือกทางการเมืองแบบยากเย็นสุดๆ ในชีวิตของเขา ในฐานะเป็นบุคคลผู้รับผิดชอบจัดเรื่องการรักษาความปลอดภัยให้แก่ผู้นำจีนแต่ละคน เขาจึงอยู่ในฐานะที่สามารถจะเบนหางเสือแห่งอำนาจรัฐให้มุ่งไปสู่ทิศทางหนึ่ง หรือให้พลิกกลับมุ่งไปสู่อีกทิศทางหนึ่ง ทั้งนี้ด้วยการเข้าจับกุม เจียง ชิง หรือไม่ก็เข้าจับกุมศัตรูของเธอ ซึ่งลงท้ายแล้ว วัง ก็ตัดสินใจกระทำอย่างแรก
ความเคลื่อนไหวของ วัง ถือว่าดูแปลกประหลาดผิดธรรมดาในเวลานั้น เมื่อเขาตัดสินใจว่า วิธีดีที่สุดที่จะแสดงความจงรักภักดีต่อเจ้านายผู้ล่วงลับของเขา ก็คือการยื่นอำนาจให้แก่ชายผู้หนึ่งซึ่ง เหมา ได้เคยลงโทษ, เรียกกลับมาใช้งานใหม่, และวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง อยู่ครั้งแล้วครั้งเล่าในตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ชายผู้นี้ก็คือ เติ้ง เสี่ยวผิง
อาจจะมีปัจจัยจำนวนมากที่นำพา วัง มาสู่ตัดสินใจเช่นนี้ เขาอาจจะไม่ชอบหรือไม่ไว้วางใจเจียง ชิง, เขาอาจจะรู้สึกแล้วว่า เกือบทั้งหมดของกองทัพ กำลังเดินตาม จอมพล เย่ เจี้ยนอิง (Ye Jianying) ในการเข้าข้าง เติ้ง, นอกจากนั้น ฮว่า กว๋อเฟิง (Hua Guofeng) ผู้ซึ่ง เหมา เลือกให้เป็นทายาทสืบทอดตำแหน่งก่อนที่เขาจะสิ้นชีวิตลง ก็รู้สึกเช่นกันว่าตำแหน่งของเขาถูกคุกคามจาก เจียง ชิง และพวกสาวกผู้ติดตามของเธอ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร วัง ก็ได้ตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวว่า การจงรักภักดีต่อ เหมา หมายถึงการล่ามโซ่ตรวนผู้หญิงคนที่เรียกตัวเธอเองว่าเป็น “สุนัขของ เหมา” การแสดงความซื่อสัตย์ต่อผู้เป็นเจ้านายของเธอ หมายถึงการทรยศต่อส่วนๆ หนึ่งของเจ้านายผู้นั้น มันหมายถึงการรักษาชิ้นส่วนหนึ่งแห่งมรดกตกทอดของเขาเอาไว้ ขณะที่ทอดทิ้งอีกชิ้นส่วนหนึ่งไป
การตัดสินใจของ วัง และความจงรักภักดีที่เขามีต่อ เหมา แสดงให้เห็นการบิดพลิกผันทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจมากทีเดียว ความจงรักภักดีอย่างเหนียวแน่นเช่นนี้ซึ่งกระทั่งครอบคลุมเลยไกลจากช่วงชีวิตของคนๆ หนึ่งด้วยซ้ำ คือด้านหนึ่งของวัฒนธรรมจีนแบบโบราณ มันเป็นความจงรักภักดีที่มีอยู่ภายในหมู่โจร ดังที่ถูกนำมาเล่าขานในหนังสือนิยายสมัยราชวงศ์หมิง เรื่อง “สุยหู่จ้วน” (หนังสือนี้ที่แปลในภาษาไทย แรกสุดใช้ชื่อว่า “ซ้องกั๋ง” ต่อมาเมื่อภาพยนตร์ฮ่องกงที่เป็นเรื่องราวในนิยายเรื่องนี้เข้ามาฉายในเมืองไทย มีการตั้งชื่อว่า “ผู้ยิ่งใหญ่แห่งเขาเหลียงซาน” -ผู้แปล) แล้วก็เป็นอุดมการณ์ที่ยึดมั่นแน่นเหนียวโดยพวกสาวกของม่อจื๊อ ตามเรื่องเล่าซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือ หลี่ว์ซื่อชุนชิว (Lushi Chunqiu) ยุคศตวรรษที่ 3 ก่อน ค.ศ. ในเรื่องเล่าขานดังกล่าวนี้ ได้มีการส่งสาวกผู้ติดตามจำนวนไม่กี่คนให้เดินทางไปเตือนนครที่ถูกคุกคามแห่งหนึ่ง และก็สามารถรักษานครแห่งนั้นเอาไว้ได้ แต่แทนที่สาวกผู้ติดตามเหล่านี้จะพยายามรักษาชีวิตของตนเอง พวกเขาได้เดินทางกลับไปและตายพร้อมๆ คนอื่นๆ ในกลุ่ม ขณะทำการคุ้มครองป้องกันเมืองอีกแห่งหนึ่งซึ่งกำลังถูกล้อม
คุณสมบัติเช่นนี้ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์แบบตะวันตกเลย ทั้งนี้องค์การคอมมิวนิสต์ตามอุดมการณ์ซึ่ง คาร์ล มาร์กซ์ ยึดถือนั้น สาวกผู้ติดตามของลัทธินี้ควรเรียกพวกเขากันเองว่าเป็น “สหาย” (comrade) ไม่ใช่ “พี่น้อง (brother) โดยที่เขาเน้นให้เป็นการรวมตัวกันหลวมๆ เปรียบเทียบได้กับพวกสมาชิกที่พำนักอยู่ในสำนักสงฆ์ต่างๆ ของพวกคริสเตียน ความจงรักภักดีนั้นมุ่งหมายถึงความจงรักภักดีต่อแนวความคิด ไม่ใช่ต่อบุคคล ทั้งนี้ ในการแปลคำว่า comrade ให้เป็นภาษาจีนนั้น ก็เห็นได้ชัดว่ามีความระมัดระวังที่จะเลือกใช้คำว่า “ถงจื้อ” (tongzhi) ซึ่งมีความหมายว่า “การเป็นผู้ที่มีหลักการร่วมกัน”
กระนั้นก็ตาม ในตอนท้ายแล้ว อาจจะเป็นไปได้ด้วยว่าความจงรักภักดีที่ วัง มีต่อแนวความคิดคอมมิวนิสต์และที่มีต่อพรรคคอมมิวนิสต์นั่นแหละกลายเป็นผู้ชนะ ถึงแม้ในเวลาต่อมามันจะนำไปสู่การดับสูญทางการเมืองของตัวเขาเองก็ตามที
หลังจากชำระสะสาง เจียง ชิง แล้ว วัง (เฉกเช่นเดียวกับ ฮว่า กว๋อเฟิง ผู้บังคับบัญชาคนใหม่ของเขา) ก็ได้ถูกพาเข้าสู่สิ่งซึ่งควรเรียกได้ว่าเป็นการชำระสะสางด้วยเช่นกัน โดยฝีมือของ เติ้ง ทั้งนี้ วัง ถูกปลดเกษียณ ถูกตัดขาดจากอำนาจและอิทธิพลทุกๆ ระดับชั้น ตรงนั้นแหละที่เขายังคงเฝ้ารอคอยอยู่ต่อมาเป็นเวลาเกือบๆ 4 ทศวรรษจวบจนกระทั่งความตายเดินทางมาเยือน
วัง อาจจะตระหนักถึงความเป็นจริงด้วยว่า การถูกเนรเทศของเขาเป็นสิ่งที่เหมาะสมแล้ว เขาเข้าใจดีว่านี่เป็นหนทางเดียวที่จะทำให้เขายังสามารถอยู่รอดต่อไปได้ เติ้ง และพันธมิตรของเขารีบเร่งเข้าควบคุมอำนาจในทุกระดับชั้นเอาไว้ภายหลังการจับกุมตัวแก๊ง 4 คนในช่วงปลายปี 1976 อีก 2 ปีต่อมา เติ้งและพันธมิตรยังแยกตัวออกมาจากลัทธิเหมาแบบฮาร์ดคอร์ ตลอดจนทายาททั้งหลายของลัทธินี้ ด้วยการจัดส่งผู้ที่สัตย์ซื่อต่อลัทธินี้เข้าอยู่ในตำแหน่งต่างๆ อย่างสง่างาม ทว่าแท้ที่จริงแล้วเป็นการเดินเข้าสู่ดินแดนที่โลกลืม
การถึงแก่มรณกรรมของ วัง ตงซิง ซึ่งได้รับการยกย่องกล่าวขานในสื่อทางการของจีน ดูเหมือนมุ่งเสนอบทเรียนที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในทุกวันนี้ เมื่อมีผู้นำเกษียณอายุแล้วบางคน ยังดูเหมือนพยายามต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้เป็นจุดสนใจ บทเรียนดังกล่าวก็คือ การที่ วัง ยินยอมรับความตายในทางตำแหน่งราชการ ทำให้เขารอดพ้นจากการตายในทางกายภาพ ตลอดจนรอดพ้นการถูกลบหลู่ต่อหน้าสาธารณชน
ฟรานเชสโก ซิสซี เป็นนักวิจัยอาวุโสของมหาวิทยาลัยไชน่าเหรินหมิน (China Renmin University) เป็นเจ้าของคอลัมน์ “ซิโนกราฟ” (Sinograph) ของเอเชียไทมส์ และเคยเป็นบรรณาธิการด้านเอเชียให้แก่หนังสือพิมพ์รายวันอิตาลี ลา สตัมปา (La Stampa) และผู้สื่อข่าวประจำกรุงปักกิ่งให้แก่ อิล โซเล ดิ 24 โอเร (Il Sole di 24 Ore) เขาเป็นชาวต่างประเทศคนแรกที่ได้เข้าโปรแกรมบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตสถานทางสังคมศาสตร์แห่งประเทศจีน (Chinese Academy of Social Sciences) เขาเขียนหนังสือว่าด้วยจีนมาแล้ว 8 เล่ม และได้รับเชิญเป็นนักวิจารณ์จากทางสถานีโทรทัศน์ส่วนกลางของจีน (CCTV) อยู่บ่อยครั้ง