(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Why not leave Germany to the migrants?
By David P. Goldman
17/09/2015
นายกรัฐมนตรีอังเงลา แมร์เคิล ของเยอรมนี ใช้นโยบายอ้าแขนต้อนรับผู้อพยพที่มาจากตะวันออกกลางและแอฟริกา แล้วถูกวิจารณ์ตำหนิว่าการรับเอาผู้อพยพที่รู้หนังสือกึ่งๆ กลางๆ และมีความล้าหลังทางวัฒนธรรม จะทำให้ลักษณะคุณสมบัติของความเป็นเยอรมนีต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างร้ายแรง อย่างไรก็ตาม ชาวเยอรมันทุกวันนี้กลับเป็นพวกที่ไม่ชื่นชมตัวเองและวัฒนธรรมของพวกเขา และกำลังพากันไม่ต้องการมีบุตร เมื่อเป็นดังนี้มันจะเป็นเรื่องใหญ่โตอะไรนักหนาว่าใครจะเป็นผู้ที่เข้าสืบทอดครอบครองประเทศของพวกเขาต่อไปในอนาคต
ในเมื่อชาวเยอรมันไม่ได้ต้องการมีลูก แล้วมันจะเป็นเรื่องใหญ่โตอะไรนักหนาว่าใครจะเป็นผู้สืบทอดครอบครองประเทศของพวกเขาต่อไปในอนาคต? หรือจะปล่อยให้ดินแดนนี้ตกเป็นของสัตว์เลี้ยงที่อยู่ในบ้านของพวกเขาล่ะ?
แมวจรตัวหนึ่งในตรอกซอกซอยของถนนในกรุงโรม ได้รับมรดกเป็นเงิน 10 ล้านยูโร จากเศรษฐีหญิงหม้ายนาม มาเรีย อัสซุนตา (Maria Assunta) ผู้สิ้นชีวิตไปโดยไร้บุตรในปี 2011 (ดูรายละเอียดเรื่องนี้ได้ที่ http://www.telegraph.co.uk/news/newstopics/howaboutthat/8947420/Italian-black-cat-becomes-a-fat-cat-after-inheriting-10-million-euros.html) สามีภรรยาชาวอินเดียคู่หนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ได้ทิ้งบ้านและบัญชีเงินฝากธนาคารของพวกเขาให้แก่ลิงตัวหนึ่งที่พวกเขาเลี้ยงเอาไว้เป็นสัตว์เลี้ยง (ดูรายละเอียดเรื่องนี้ได้ที่ http://www.dailymail.co.uk/news/article-2961347/Wealthy-Indian-couple-leave-money-pet-monkey.html) นักบัญชีชาวนิวยอร์กผู้หนึ่งทิ้งเงินจำนวน 1.5 ล้านดอลลาร์ให้แก่สุนัขพันธุ์มอลทีสเทอร์เรียร์ ตัวหนึ่งเมื่อช่วงต้นปีนี้ (ดูรายละเอียดเรื่องนี้ได้ที่ http://www.telegraph.co.uk/finance/personalfinance/11354682/Woman-leaves-1m-to-pet-dog-in-will-instead-of-her-two-sons.html) และสุนัขพันธุ์เยอรมันเชปเพิร์ดตัวหนึ่งที่ชื่อ “กึนเธอร์” กลายเป็นเศรษฐีร่ำรวยเงินทอง 145 ล้านดอลลาร์ ตอนที่ เคาน์เตส คาร์ลอตตา ลีบเบนสไตน์ (Countes Karlotta Liebenstein) เจ้านายหญิงชาวเยอรมันของมันที่เป็นภริยาขุนนางมีบรรดาศักดิ์ ถึงแก่กรรมไปเมื่อ 15 ปีก่อน ถ้าผู้คนที่ไม่มีบุตรทั้งหลายยังสามารถทิ้งเงินทองให้แก่สัตว์เลี้ยงของพวกเขากันได้เช่นนี้ จะไม่เป็นการดียิ่งขึ้นไปอีกหรือ หากผู้คนที่ไม่มีบุตรเหล่านี้จะพากันยกประเทศของพวกเขาให้แก่ผู้ลี้ภัยที่เป็นมนุษย์ ผู้ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนว่าสมควรที่จะได้เข้าครอบครองเยอรมนี มากยิ่งกว่าพวกสัตว์เลี้ยงทั้งหลายของชาวเยอรมัน
สตรีชาวเยอรมันเวลานี้แต่ละคนตั้งครรภ์มีบุตรโดยเฉลี่ยแล้วเท่ากับเด็กเพียงแค่ 1.3 คน ขณะที่อัตราซึ่งจะทำให้มีประชากรทดแทนผู้ที่เสียชีวิตไปได้อย่างพอเหมาะพอดีจะต้องมีเด็กเฉลี่ยแล้ว 2.1 คน นี่ย่อมหมายความว่าชาวเยอรมันจะถึงกาลหายลับหมดสิ้นไปภายในขอบฟ้าอนาคตที่พอแลเห็นได้เบื้องหน้า
ด้วยอัตราเจริญพันธุ์ (fertility rates) ในปัจจุบัน การศึกษาของสหประชาชาติคาดการณ์ว่า ประชากรอายุตั้งแต่ 30 ปีลงมาของเยอรมนี จะลดจำนวนจากระดับเกือบๆ 25 ล้านคนในทุกวันนี้ ลงมาเหลือเพียง 10 ล้านคน ณ ตอนสิ้นศตวรรษปัจจุบัน การที่นายกรัฐมนตรีอังเงลา แมร์เคิล ของเยอรมนี ใช้นโยบายอ้าแขนต้อนรับผู้อพยพจากตะวันออกกลางและแอฟริกา ได้ถูกพวกนักวิพากษ์วิจารณ์ตำหนิว่า ความเคลื่อนไหวเช่นนี้จะทำให้ลักษณะคุณสมบัติของเยอรมนีบังเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างร้ายแรง แต่ว่าในขณะที่พวกเขาส่งเสียงวิจารณ์เช่นนั้น พวกเขาได้ทำการขบคิดพิจารณาอย่างจริงจังกันบ้างหรือเปล่า
ถ้าชาวเยอรมันตัดสินใจที่จะไม่มีบุตร คนอื่นๆ ก็จะต้องเข้าไปพำนักพักพิงบนดินแดนของพวกเขาอยู่ดี สิ่งที่เป็นคำถามมีอยู่เพียงว่าคนอื่นๆ ที่ว่านี้จะเป็นใครเท่านั้น ตรงนี้เองที่ชาวเยอรมันอาจจะยังงุนงงสับสน หลายๆ คนบอกว่ามันไม่มีเหตุผลเลยที่จะยอมรับผู้อพยพชาวอาหรับที่แทบไม่มีการศึกษา โดยที่หนึ่งในห้าเป็นพวกไม่รู้หนังสือด้วยซ้ำ ดังที่ เคลเมนส์ แวร์กิน (Clemens Wergin) แสดงเหตุผลในทำนองนี้เอาไว้ใน ดี เวลท์ (Die Welt) เมื่อวันที่ 5 กันยายน ทั้งนี้เขาพูดเอาไว้ดังนี้: “ในอดีตที่ผ่านมา ต้องถือเป็นความผิดพลาดที่นำเอาพวกคนงานไร้ทักษะจากพวกประเทศเมดิเตอร์เรเนียนที่ล้าหลังทางวัฒนธรรมเข้ามาในช่วงปี (แห่งทศวรรษ 1960) ซึ่ง (เยอรมนี) อยู่ในยุคของการสร้าง “ความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจ” ... และนั่นเป็นความจริงทั้งสิ้น ไม่ว่าสำหรับคนงานที่มาจากทางภาคใต้ของอิตาลี หรือคนงานที่มาจากคาบสมุทรอนาโตเลีย (หมายถึงตุรกีนั่นเอง –ผู้แปล) ตำแหน่งงานต่างๆ ที่พวกเขาได้ทำคือตำแหน่งงานแรกๆ ที่จะต้องตกเป็นเหยื่อเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบอัตโนมัติ และเมื่อมีการเอาต์ซอร์สงานออกไปยังประเทศที่มีค่าจ้างต่ำ บ่อยครั้งที่ชนชั้นผู้ใช้แรงงานซึ่งมีระดับการศึกษาย่ำแย่และต้องพึ่งพิงสวัสดิการของรัฐ ถูกปล่อยทอดทิ้งเอาไว้เบื้องหลัง ... ผู้อพยพชาวมุสลิมซึ่งเดินทางมายังยุโรปต้องผ่านประสบการณ์ของการเผชิญกับปฏิกริยาตอบโต้ตามประเพณีที่เป็นไปอย่างรุนแรงฉับพลัน ทำนองเดียวกับประสบการณ์ที่สังคมชาวมุสลิมในตะวันออกกลางต้องเผชิญอยู่ ภาวะเช่นนี้ไม่เพียงก่อให้เกิดอุปสรรคสำหรับการบูรณาการเข้าสู่สังคมของชาวยุโรปเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดปัญหาความมั่นคงอันร้ายแรงอีกด้วย” (ดูรายละเอียดทัศนะความคิดเห็นของเขาได้ที่ http://www.welt.de/debatte/kommentare/article146042330/Deutschland-hat-das-duemmste-Einwanderungsgesetz-ueberhaupt.html)
สิ่งที่ แวร์กิน เขียนนี้ช่างไร้เหตุผลพอๆ กับที่ไม่สอดคล้องกับอารมณ์ความรู้สึกในปัจจุบันของประเทศของเขาเอาเสียเลย คำว่า “ความล้าหลังทางวัฒนธรรม” ที่ แวร์กิน นำมาใช้นี้ คือคำรหัสกำกวมซึ่งถูกนำมาใช้อย่างเลี่ยงๆ อ้อมค้อม สำหรับยุคสมัยที่ถือสาให้ต้องระมัดระวังใช้ถ้อยคำที่มีความหมายทางการเมืองอันถูกต้องเฉกเช่นในทุกวันนี้ ทั้งนี้ ขอให้เราลองมาพิจารณาถ้อยคำในทางตรงกันข้าม นั่นคือ “ความก้าวหน้าทางวัฒนธรรม” นั้น มีความหมายว่าอย่างไรกันแน่? เยอรมนีนั้นเคยยกเอาการที่ตนมีวัฒนธรรมที่เหนือกว่า มาเป็นเหตุผลความชอบธรรมประการหนึ่ง ในการกำหนดจุดยืนของตนเองระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 อย่างที่ ปีเตอร์ วัตสัน (Peter Watson) เขียนเอาไว้ในหนังสือเรื่อง “The German Genius” ตีพิมพ์เมื่อปี 2010 ของเขาว่า “ในวันที่ 4 ตุลาคม 1914 สองเดือนหลังจากเข้าสู่มหาสงครามคราวนี้ ปัญญาชนชาวเยอรมันจำนวน 93 คนได้เผยแพร่เอกสาร ... the Manifesto of the Ninety-Three (แถลงการณ์ของชาว 93) โดยจ่าหน้าไปถึง “An die Kulturwelt” (ถึงโลกอารยะ) ในเอกสารฉบับนี้พวกเขา ... ระบุอย่างชัดเจนว่าพวกเขามองสงครามคราวนี้ ไม่ใช่ในฐานะที่เป็นการณรงค์ต่อสู้ (ระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตร นำโดยไตรภาคี คือ อังกฤษ, ฝรั่งเศส, รัสเซีย –ผู้แปล) กับลัทธิทหารนิยมของชาวเยอรมัน (German militarism) แต่เหนือสิ่งอื่นใดเลยมันคือการ (ที่ฝ่ายสัมพันธมิตร) โจมตีเล่นงานวัฒนธรรมของชาวเยอรมัน” ทั้งนี้ วัตสันรายงานว่า แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) นักสังคมวิทยาผู้ยิ่งใหญ่ชาวเยอรมัน ได้เขียนเอาไว้เมื่อปี 1916 ซึ่งยังเป็นระหว่างช่วงปีแห่งสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ว่า “ย่อมเป็นเรื่องน่าละอายใจ ถ้าเราขาดความกล้าหาญในการทำให้เกิดความมั่นใจขึ้นมาว่า ไม่ว่า ลัทธิป่าเถื่อนอนารยะของชาวรัสเซีย (Russian barbarism) หรือ การคุยโม้โอ้อวดของชาวฝรั่งเศส (French grandiloquence) ก็จะต้องไม่สามารถเข้าปกครองโลก นี่แหละคือเหตุผลที่ทำไมต้องต่อสู้ในสงครามคราวนี้”
การที่เยอรมนีเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในมหาสงครามคราวนั้น ได้ทำลายความเชื่อมั่นในวัฒนธรรมของพวกเขาอย่างหนักหน่วง ภาษิตคำคมของนาซีซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังมาก (พูดโดยตัวละครตัวหนึ่งในละครปี 1934 ของ ฮันส์ จอห์สต์ (Hans Johst)เรื่อง “Schlageter”) ที่ว่า “เมื่อผมได้ยินคำว่า ‘วัฒนธรรม’ ผมต้องรีบไปคว้าปืนของผมขึ้นมาทุกที” ตามปกติแล้วมักเป็นที่เข้าใจกันว่า เป็นคำพูดซึ่งมุ่งแสดงให้เห็นว่าพวกนาซีนั้นเป็นคนหยาบคายชั้นต่ำ ทว่านั่นไม่เป็นความจริงเลย อย่าลืมว่า ฮิตเลอร์ นั้น ในตอนเริ่มต้นเขาเป็นศิลปินและรักในดนตรีคลาสสิก แทนที่จะเป็นอย่างที่มักเข้าใจกัน มันกลับหมายความว่าคนรุ่นที่เคยหลั่งเลือดเพื่ออุดมการณ์ในเรื่องวัฒนธรรมมาแล้วในระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ไม่ต้องการได้ยินคำพูดปลุกใจในหัวข้อนี้อีกต่อไป และในพื้นที่ที่เคยยกให้แก่วัฒนธรรมนั้น พวกนาซีก็หันมาปลุกระดมเยอรมนีให้ทำการต่อสู้เพื่อเชื้อชาติ ซึ่งลงท้ายแล้วนี่ก็ไม่ได้ทำให้พวกเขาประสบความสำเร็จไปถึงไหนเช่นเดียวกัน
ไม่ต้องสงสัยเลย วัฒนธรรมของชาวเยอรมัน ควรถือว่าเป็นมาตรฐานทองคำอันสูงส่งสำหรับโลกตะวันตก เมื่อถึงระยะ 25 ปีสุดท้ายของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในทางเป็นจริงแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทรงความสำคัญทั้งในด้านปรัชญา, วิทยาศาสตร์, คณิตศาสตร์, และวรรณกรรม ก่อนอื่นเลยต้องอยู่ในภาษาเยอรมัน (หรือกระทั่งพูดได้ว่า ต้องอยู่ในภาษาเยอรมันเท่านั้น) เวลาเดียวกันนั้นนักประพันธ์เพลงชาวเยอรมันก็เป็นผู้ครอบงำเหนือดนตรีคลาสสิกแบบสุดๆ อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมเยอรมันก็มีจุดอ่อนข้อบกพร่อง
โครงการวัฒนธรรมเยอรมันอันยิ่งใหญ่ ซึ่งเริ่มต้นขึ้นด้วยคนรุ่น เจ. ดับเบิลยู เกอเต้ (J.W. Goethe) และ อิมมานูเอล คานต์ (Immanuel Kant) ประกาศที่จะบรรลุความสำเร็จในทุกสิ่งทุกอย่างที่ศาสนาได้เคยให้คำมั่นสัญญาเอาไว้ว่าจะทำให้สำเร็จ เพียงแต่จะเป็นความสำเร็จชนิดที่ปราศจากพระเจ้า บทละครเรื่อง “เฟาสต์” (Faust) ของเกอเต้ เป็นผลงานวรรณกรรมยุคใหม่ที่มีลักษณะเป็นเสมือนพระคัมภีร์ไบเบิลมากที่สุด และสมควรแล้วที่จะได้รับยกย่องว่าเป็นผลงานวรรณกรรมยุคใหม่ที่ทรงอิทธิพลที่สุด ขณะที่ คานต์ ก็เสนอแนวความคิดจริยธรรมแบบที่อยู่ในโลกียวิสัยล้วนๆ ไม่ยุ่งกับศาสนาเลย แต่ถึงแม้โครงการนี้จะเลอเลิศอลังการถึงขนาดไหน และผลิดอกออกผลได้อย่างงดงามและอุดมสมบูรณ์ถึงขนาดไหนก็ตามที มันก็ยังคงล้มเหลว ฟรีดริค นิตเช่ (Friedrich Nietzsche) พูดแก้เกี้ยวว่า “พวกเรา (ปัญญาชนชาวเยอรมัน) ได้ฆ่าพระเจ้าไปแล้ว และเวลานี้ก็ไม่มีข้อห้ามใดๆ อีกแล้ว” เมื่อพระเจ้าขาดหายไป แนวความคิดของคนเยอรมันก็เบี่ยงไปสู่ลัทธิสัมพัทธนิยม (relativism) และลัทธิสุญนิยม (Nihilism) โดยที่ตัว นิตเช่ เอง กลายเป็น “แอนตี้ศาสดา” (anti-prophet) ของขบวนการเหล่านี้ นิตเช่ และนักปรัชญาแนวทางอัตถิภาวนิยม (existentialism) มาร์ติน ไฮเดกเกอร์ (Martin Heidegger เขาผู้นี้เข้าร่วมกับพรรคนาซี และไม่เคยประกาศเลิกเป็นนาซีเลย) คือทายาทของ คานต์ และ เกอเต้
ผมไม่ได้ต้องการที่จะทำลายความสำเร็จต่างๆ ของเยอรมนี อันที่จริงแล้วมีหลายๆ สิ่งในคัมภีร์ไบเบิลภาษาฮีบรู ซึ่งผมไม่มีทางเข้าใจได้เลยถ้าหากไม่ได้มองสิ่งเหล่านี้โดยผ่านสายตาของเกอเต้ (ดูรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ที่ http://www.firstthings.com/article/2009/08/hast-thou-considered-my-servant-faust) แต่ผมก็ทราบว่าแทบไม่มีชาวเยอรมันคนไหนแล้วที่ยังคงสนใจใยดีไปอ่านงานของเกอเต้ แล้วมีน้อยยิ่งกว่านั้นเสียอีกที่มีใจขบคิดอะไรเกี่ยวกับตัวเขา สงครามโลกทั้ง 2 ครั้งได้ทำให้ชาวเยอรมันเกิดความขุ่นเคืองต่อวัฒนธรรมของพวกเขาเอง
การออกมาประกาศว่า ผู้ลี้ภัยชาวอาหรับที่รู้หนังสือครึ่งๆ กลางๆ (ดูรายละเอียดเรื่องนี้ได้ที่ http://www.marketwatch.com/story/as-with-capital-berlin-had-to-stop-to-the-flow-of-refugees-2015-09-14) ไม่มีคุณสมบัติในทางวัฒนธรรมสำหรับการบูรณาการเข้าไปในสังคมชาวเยอรมันนั้น ก่อนอื่นใดเลยมันย่อมเท่ากับบ่งบอกว่ามีมาตรฐานเกี่ยวกับคุณสมบัติทางวัฒนธรรม ทว่านี่ย่อมเป็นแนวความคิดที่ชาวเยอรมันส่วนใหญ่ (เห็นได้อย่างชัดเจนว่า รวมทั้งตัวนายกรัฐมนตรี อังเงลา แมร์เคิล ด้วย) ไม่สามารถทนแบกรับได้ มีบางคนสงสัยข้องใจด้วยซ้ำว่า การที่ชาวเยอรมันมีบุตรกันน้อยมากๆ ก่อนอื่นเลยเป็นเพราะพวกเขาไม่ชื่นชอบตัวพวกเขาเอง, ไม่ชื่นชอบประวัติศาสตร์ตลอดจนวัฒนธรรมของพวกเขา หากเป็นเช่นนั้นแล้ว พวกเขายังสามารถอีกหรือที่จะมาเรียกร้องคนอื่นๆ ให้เคารพยึดมั่นในมาตรฐานทางวัฒนธรรม ซึ่งตัวพวกเขาเองกลับหลบเลี่ยงบอกลาไปแล้ว? และหากพวกเขาไม่ชื่นชอบวัฒนธรรมของพวกเขาเอามากๆ จนกระทั่งพากันมุ่งหน้าไปสู่การสูญพันธุ์ มันจะเป็นเรื่องสำคัญใหญ่โตอะไรนักหนาในการที่มีวัฒนธรรมอีกวัฒนธรรมหนึ่ง (ไม่ว่ามันจะโหดเหี้ยมป่าเถื่อนแค่ไหนก็ตามที) ก้าวเข้ามาแทนที่วัฒนธรรมของพวกเขา?
เดวิด พี. โกลด์แมน เขียนเรื่องให้เอเชียไทมส์โดยใช้นามปากกาว่า “สเปงเกลอร์” (Spengler) มาตั้งแต่ปี 2000 เขาเป็นนักวิจัยอาวุโสอยู่ที่ London Center for Policy Research และเป็น Wax Family Fellow อยู่ที่ Middle East Forum หนังสือเรื่อง How Civilizations Die (and why Islam is Dying, Too) ของเขา ได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Regnery Press ในเดือนกันยายน 2011 หนังสือรวมข้อเขียนทางด้านวัฒนธรรม, ศาสนา, และเศรษฐศาสตร์ของเขา ที่ใช้ชื่อว่า It’s Not the End of the World – It’s Just the End of You ก็ได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Van Praag Press ในฤดูใบไม้ร่วงปีเดียวกัน เขายังเคยเป็นผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยตราสารหนี้ทั่วโลก ให้กับ Bank of America และเคยดำรงตำแหน่งอาวุโสในบริษัทการเงินอื่นๆ อีกหลายแห่ง รวมทั้งที่ Reorient Group (Hong Kong) ซึ่งเขาเป็นกรรมการจัดการผู้หนึ่งอยู่ในปัจจุบัน
Why not leave Germany to the migrants?
By David P. Goldman
17/09/2015
นายกรัฐมนตรีอังเงลา แมร์เคิล ของเยอรมนี ใช้นโยบายอ้าแขนต้อนรับผู้อพยพที่มาจากตะวันออกกลางและแอฟริกา แล้วถูกวิจารณ์ตำหนิว่าการรับเอาผู้อพยพที่รู้หนังสือกึ่งๆ กลางๆ และมีความล้าหลังทางวัฒนธรรม จะทำให้ลักษณะคุณสมบัติของความเป็นเยอรมนีต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างร้ายแรง อย่างไรก็ตาม ชาวเยอรมันทุกวันนี้กลับเป็นพวกที่ไม่ชื่นชมตัวเองและวัฒนธรรมของพวกเขา และกำลังพากันไม่ต้องการมีบุตร เมื่อเป็นดังนี้มันจะเป็นเรื่องใหญ่โตอะไรนักหนาว่าใครจะเป็นผู้ที่เข้าสืบทอดครอบครองประเทศของพวกเขาต่อไปในอนาคต
ในเมื่อชาวเยอรมันไม่ได้ต้องการมีลูก แล้วมันจะเป็นเรื่องใหญ่โตอะไรนักหนาว่าใครจะเป็นผู้สืบทอดครอบครองประเทศของพวกเขาต่อไปในอนาคต? หรือจะปล่อยให้ดินแดนนี้ตกเป็นของสัตว์เลี้ยงที่อยู่ในบ้านของพวกเขาล่ะ?
แมวจรตัวหนึ่งในตรอกซอกซอยของถนนในกรุงโรม ได้รับมรดกเป็นเงิน 10 ล้านยูโร จากเศรษฐีหญิงหม้ายนาม มาเรีย อัสซุนตา (Maria Assunta) ผู้สิ้นชีวิตไปโดยไร้บุตรในปี 2011 (ดูรายละเอียดเรื่องนี้ได้ที่ http://www.telegraph.co.uk/news/newstopics/howaboutthat/8947420/Italian-black-cat-becomes-a-fat-cat-after-inheriting-10-million-euros.html) สามีภรรยาชาวอินเดียคู่หนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ได้ทิ้งบ้านและบัญชีเงินฝากธนาคารของพวกเขาให้แก่ลิงตัวหนึ่งที่พวกเขาเลี้ยงเอาไว้เป็นสัตว์เลี้ยง (ดูรายละเอียดเรื่องนี้ได้ที่ http://www.dailymail.co.uk/news/article-2961347/Wealthy-Indian-couple-leave-money-pet-monkey.html) นักบัญชีชาวนิวยอร์กผู้หนึ่งทิ้งเงินจำนวน 1.5 ล้านดอลลาร์ให้แก่สุนัขพันธุ์มอลทีสเทอร์เรียร์ ตัวหนึ่งเมื่อช่วงต้นปีนี้ (ดูรายละเอียดเรื่องนี้ได้ที่ http://www.telegraph.co.uk/finance/personalfinance/11354682/Woman-leaves-1m-to-pet-dog-in-will-instead-of-her-two-sons.html) และสุนัขพันธุ์เยอรมันเชปเพิร์ดตัวหนึ่งที่ชื่อ “กึนเธอร์” กลายเป็นเศรษฐีร่ำรวยเงินทอง 145 ล้านดอลลาร์ ตอนที่ เคาน์เตส คาร์ลอตตา ลีบเบนสไตน์ (Countes Karlotta Liebenstein) เจ้านายหญิงชาวเยอรมันของมันที่เป็นภริยาขุนนางมีบรรดาศักดิ์ ถึงแก่กรรมไปเมื่อ 15 ปีก่อน ถ้าผู้คนที่ไม่มีบุตรทั้งหลายยังสามารถทิ้งเงินทองให้แก่สัตว์เลี้ยงของพวกเขากันได้เช่นนี้ จะไม่เป็นการดียิ่งขึ้นไปอีกหรือ หากผู้คนที่ไม่มีบุตรเหล่านี้จะพากันยกประเทศของพวกเขาให้แก่ผู้ลี้ภัยที่เป็นมนุษย์ ผู้ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนว่าสมควรที่จะได้เข้าครอบครองเยอรมนี มากยิ่งกว่าพวกสัตว์เลี้ยงทั้งหลายของชาวเยอรมัน
สตรีชาวเยอรมันเวลานี้แต่ละคนตั้งครรภ์มีบุตรโดยเฉลี่ยแล้วเท่ากับเด็กเพียงแค่ 1.3 คน ขณะที่อัตราซึ่งจะทำให้มีประชากรทดแทนผู้ที่เสียชีวิตไปได้อย่างพอเหมาะพอดีจะต้องมีเด็กเฉลี่ยแล้ว 2.1 คน นี่ย่อมหมายความว่าชาวเยอรมันจะถึงกาลหายลับหมดสิ้นไปภายในขอบฟ้าอนาคตที่พอแลเห็นได้เบื้องหน้า
ด้วยอัตราเจริญพันธุ์ (fertility rates) ในปัจจุบัน การศึกษาของสหประชาชาติคาดการณ์ว่า ประชากรอายุตั้งแต่ 30 ปีลงมาของเยอรมนี จะลดจำนวนจากระดับเกือบๆ 25 ล้านคนในทุกวันนี้ ลงมาเหลือเพียง 10 ล้านคน ณ ตอนสิ้นศตวรรษปัจจุบัน การที่นายกรัฐมนตรีอังเงลา แมร์เคิล ของเยอรมนี ใช้นโยบายอ้าแขนต้อนรับผู้อพยพจากตะวันออกกลางและแอฟริกา ได้ถูกพวกนักวิพากษ์วิจารณ์ตำหนิว่า ความเคลื่อนไหวเช่นนี้จะทำให้ลักษณะคุณสมบัติของเยอรมนีบังเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างร้ายแรง แต่ว่าในขณะที่พวกเขาส่งเสียงวิจารณ์เช่นนั้น พวกเขาได้ทำการขบคิดพิจารณาอย่างจริงจังกันบ้างหรือเปล่า
ถ้าชาวเยอรมันตัดสินใจที่จะไม่มีบุตร คนอื่นๆ ก็จะต้องเข้าไปพำนักพักพิงบนดินแดนของพวกเขาอยู่ดี สิ่งที่เป็นคำถามมีอยู่เพียงว่าคนอื่นๆ ที่ว่านี้จะเป็นใครเท่านั้น ตรงนี้เองที่ชาวเยอรมันอาจจะยังงุนงงสับสน หลายๆ คนบอกว่ามันไม่มีเหตุผลเลยที่จะยอมรับผู้อพยพชาวอาหรับที่แทบไม่มีการศึกษา โดยที่หนึ่งในห้าเป็นพวกไม่รู้หนังสือด้วยซ้ำ ดังที่ เคลเมนส์ แวร์กิน (Clemens Wergin) แสดงเหตุผลในทำนองนี้เอาไว้ใน ดี เวลท์ (Die Welt) เมื่อวันที่ 5 กันยายน ทั้งนี้เขาพูดเอาไว้ดังนี้: “ในอดีตที่ผ่านมา ต้องถือเป็นความผิดพลาดที่นำเอาพวกคนงานไร้ทักษะจากพวกประเทศเมดิเตอร์เรเนียนที่ล้าหลังทางวัฒนธรรมเข้ามาในช่วงปี (แห่งทศวรรษ 1960) ซึ่ง (เยอรมนี) อยู่ในยุคของการสร้าง “ความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจ” ... และนั่นเป็นความจริงทั้งสิ้น ไม่ว่าสำหรับคนงานที่มาจากทางภาคใต้ของอิตาลี หรือคนงานที่มาจากคาบสมุทรอนาโตเลีย (หมายถึงตุรกีนั่นเอง –ผู้แปล) ตำแหน่งงานต่างๆ ที่พวกเขาได้ทำคือตำแหน่งงานแรกๆ ที่จะต้องตกเป็นเหยื่อเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบอัตโนมัติ และเมื่อมีการเอาต์ซอร์สงานออกไปยังประเทศที่มีค่าจ้างต่ำ บ่อยครั้งที่ชนชั้นผู้ใช้แรงงานซึ่งมีระดับการศึกษาย่ำแย่และต้องพึ่งพิงสวัสดิการของรัฐ ถูกปล่อยทอดทิ้งเอาไว้เบื้องหลัง ... ผู้อพยพชาวมุสลิมซึ่งเดินทางมายังยุโรปต้องผ่านประสบการณ์ของการเผชิญกับปฏิกริยาตอบโต้ตามประเพณีที่เป็นไปอย่างรุนแรงฉับพลัน ทำนองเดียวกับประสบการณ์ที่สังคมชาวมุสลิมในตะวันออกกลางต้องเผชิญอยู่ ภาวะเช่นนี้ไม่เพียงก่อให้เกิดอุปสรรคสำหรับการบูรณาการเข้าสู่สังคมของชาวยุโรปเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดปัญหาความมั่นคงอันร้ายแรงอีกด้วย” (ดูรายละเอียดทัศนะความคิดเห็นของเขาได้ที่ http://www.welt.de/debatte/kommentare/article146042330/Deutschland-hat-das-duemmste-Einwanderungsgesetz-ueberhaupt.html)
สิ่งที่ แวร์กิน เขียนนี้ช่างไร้เหตุผลพอๆ กับที่ไม่สอดคล้องกับอารมณ์ความรู้สึกในปัจจุบันของประเทศของเขาเอาเสียเลย คำว่า “ความล้าหลังทางวัฒนธรรม” ที่ แวร์กิน นำมาใช้นี้ คือคำรหัสกำกวมซึ่งถูกนำมาใช้อย่างเลี่ยงๆ อ้อมค้อม สำหรับยุคสมัยที่ถือสาให้ต้องระมัดระวังใช้ถ้อยคำที่มีความหมายทางการเมืองอันถูกต้องเฉกเช่นในทุกวันนี้ ทั้งนี้ ขอให้เราลองมาพิจารณาถ้อยคำในทางตรงกันข้าม นั่นคือ “ความก้าวหน้าทางวัฒนธรรม” นั้น มีความหมายว่าอย่างไรกันแน่? เยอรมนีนั้นเคยยกเอาการที่ตนมีวัฒนธรรมที่เหนือกว่า มาเป็นเหตุผลความชอบธรรมประการหนึ่ง ในการกำหนดจุดยืนของตนเองระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 อย่างที่ ปีเตอร์ วัตสัน (Peter Watson) เขียนเอาไว้ในหนังสือเรื่อง “The German Genius” ตีพิมพ์เมื่อปี 2010 ของเขาว่า “ในวันที่ 4 ตุลาคม 1914 สองเดือนหลังจากเข้าสู่มหาสงครามคราวนี้ ปัญญาชนชาวเยอรมันจำนวน 93 คนได้เผยแพร่เอกสาร ... the Manifesto of the Ninety-Three (แถลงการณ์ของชาว 93) โดยจ่าหน้าไปถึง “An die Kulturwelt” (ถึงโลกอารยะ) ในเอกสารฉบับนี้พวกเขา ... ระบุอย่างชัดเจนว่าพวกเขามองสงครามคราวนี้ ไม่ใช่ในฐานะที่เป็นการณรงค์ต่อสู้ (ระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตร นำโดยไตรภาคี คือ อังกฤษ, ฝรั่งเศส, รัสเซีย –ผู้แปล) กับลัทธิทหารนิยมของชาวเยอรมัน (German militarism) แต่เหนือสิ่งอื่นใดเลยมันคือการ (ที่ฝ่ายสัมพันธมิตร) โจมตีเล่นงานวัฒนธรรมของชาวเยอรมัน” ทั้งนี้ วัตสันรายงานว่า แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) นักสังคมวิทยาผู้ยิ่งใหญ่ชาวเยอรมัน ได้เขียนเอาไว้เมื่อปี 1916 ซึ่งยังเป็นระหว่างช่วงปีแห่งสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ว่า “ย่อมเป็นเรื่องน่าละอายใจ ถ้าเราขาดความกล้าหาญในการทำให้เกิดความมั่นใจขึ้นมาว่า ไม่ว่า ลัทธิป่าเถื่อนอนารยะของชาวรัสเซีย (Russian barbarism) หรือ การคุยโม้โอ้อวดของชาวฝรั่งเศส (French grandiloquence) ก็จะต้องไม่สามารถเข้าปกครองโลก นี่แหละคือเหตุผลที่ทำไมต้องต่อสู้ในสงครามคราวนี้”
การที่เยอรมนีเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในมหาสงครามคราวนั้น ได้ทำลายความเชื่อมั่นในวัฒนธรรมของพวกเขาอย่างหนักหน่วง ภาษิตคำคมของนาซีซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังมาก (พูดโดยตัวละครตัวหนึ่งในละครปี 1934 ของ ฮันส์ จอห์สต์ (Hans Johst)เรื่อง “Schlageter”) ที่ว่า “เมื่อผมได้ยินคำว่า ‘วัฒนธรรม’ ผมต้องรีบไปคว้าปืนของผมขึ้นมาทุกที” ตามปกติแล้วมักเป็นที่เข้าใจกันว่า เป็นคำพูดซึ่งมุ่งแสดงให้เห็นว่าพวกนาซีนั้นเป็นคนหยาบคายชั้นต่ำ ทว่านั่นไม่เป็นความจริงเลย อย่าลืมว่า ฮิตเลอร์ นั้น ในตอนเริ่มต้นเขาเป็นศิลปินและรักในดนตรีคลาสสิก แทนที่จะเป็นอย่างที่มักเข้าใจกัน มันกลับหมายความว่าคนรุ่นที่เคยหลั่งเลือดเพื่ออุดมการณ์ในเรื่องวัฒนธรรมมาแล้วในระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ไม่ต้องการได้ยินคำพูดปลุกใจในหัวข้อนี้อีกต่อไป และในพื้นที่ที่เคยยกให้แก่วัฒนธรรมนั้น พวกนาซีก็หันมาปลุกระดมเยอรมนีให้ทำการต่อสู้เพื่อเชื้อชาติ ซึ่งลงท้ายแล้วนี่ก็ไม่ได้ทำให้พวกเขาประสบความสำเร็จไปถึงไหนเช่นเดียวกัน
ไม่ต้องสงสัยเลย วัฒนธรรมของชาวเยอรมัน ควรถือว่าเป็นมาตรฐานทองคำอันสูงส่งสำหรับโลกตะวันตก เมื่อถึงระยะ 25 ปีสุดท้ายของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในทางเป็นจริงแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทรงความสำคัญทั้งในด้านปรัชญา, วิทยาศาสตร์, คณิตศาสตร์, และวรรณกรรม ก่อนอื่นเลยต้องอยู่ในภาษาเยอรมัน (หรือกระทั่งพูดได้ว่า ต้องอยู่ในภาษาเยอรมันเท่านั้น) เวลาเดียวกันนั้นนักประพันธ์เพลงชาวเยอรมันก็เป็นผู้ครอบงำเหนือดนตรีคลาสสิกแบบสุดๆ อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมเยอรมันก็มีจุดอ่อนข้อบกพร่อง
โครงการวัฒนธรรมเยอรมันอันยิ่งใหญ่ ซึ่งเริ่มต้นขึ้นด้วยคนรุ่น เจ. ดับเบิลยู เกอเต้ (J.W. Goethe) และ อิมมานูเอล คานต์ (Immanuel Kant) ประกาศที่จะบรรลุความสำเร็จในทุกสิ่งทุกอย่างที่ศาสนาได้เคยให้คำมั่นสัญญาเอาไว้ว่าจะทำให้สำเร็จ เพียงแต่จะเป็นความสำเร็จชนิดที่ปราศจากพระเจ้า บทละครเรื่อง “เฟาสต์” (Faust) ของเกอเต้ เป็นผลงานวรรณกรรมยุคใหม่ที่มีลักษณะเป็นเสมือนพระคัมภีร์ไบเบิลมากที่สุด และสมควรแล้วที่จะได้รับยกย่องว่าเป็นผลงานวรรณกรรมยุคใหม่ที่ทรงอิทธิพลที่สุด ขณะที่ คานต์ ก็เสนอแนวความคิดจริยธรรมแบบที่อยู่ในโลกียวิสัยล้วนๆ ไม่ยุ่งกับศาสนาเลย แต่ถึงแม้โครงการนี้จะเลอเลิศอลังการถึงขนาดไหน และผลิดอกออกผลได้อย่างงดงามและอุดมสมบูรณ์ถึงขนาดไหนก็ตามที มันก็ยังคงล้มเหลว ฟรีดริค นิตเช่ (Friedrich Nietzsche) พูดแก้เกี้ยวว่า “พวกเรา (ปัญญาชนชาวเยอรมัน) ได้ฆ่าพระเจ้าไปแล้ว และเวลานี้ก็ไม่มีข้อห้ามใดๆ อีกแล้ว” เมื่อพระเจ้าขาดหายไป แนวความคิดของคนเยอรมันก็เบี่ยงไปสู่ลัทธิสัมพัทธนิยม (relativism) และลัทธิสุญนิยม (Nihilism) โดยที่ตัว นิตเช่ เอง กลายเป็น “แอนตี้ศาสดา” (anti-prophet) ของขบวนการเหล่านี้ นิตเช่ และนักปรัชญาแนวทางอัตถิภาวนิยม (existentialism) มาร์ติน ไฮเดกเกอร์ (Martin Heidegger เขาผู้นี้เข้าร่วมกับพรรคนาซี และไม่เคยประกาศเลิกเป็นนาซีเลย) คือทายาทของ คานต์ และ เกอเต้
ผมไม่ได้ต้องการที่จะทำลายความสำเร็จต่างๆ ของเยอรมนี อันที่จริงแล้วมีหลายๆ สิ่งในคัมภีร์ไบเบิลภาษาฮีบรู ซึ่งผมไม่มีทางเข้าใจได้เลยถ้าหากไม่ได้มองสิ่งเหล่านี้โดยผ่านสายตาของเกอเต้ (ดูรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ที่ http://www.firstthings.com/article/2009/08/hast-thou-considered-my-servant-faust) แต่ผมก็ทราบว่าแทบไม่มีชาวเยอรมันคนไหนแล้วที่ยังคงสนใจใยดีไปอ่านงานของเกอเต้ แล้วมีน้อยยิ่งกว่านั้นเสียอีกที่มีใจขบคิดอะไรเกี่ยวกับตัวเขา สงครามโลกทั้ง 2 ครั้งได้ทำให้ชาวเยอรมันเกิดความขุ่นเคืองต่อวัฒนธรรมของพวกเขาเอง
การออกมาประกาศว่า ผู้ลี้ภัยชาวอาหรับที่รู้หนังสือครึ่งๆ กลางๆ (ดูรายละเอียดเรื่องนี้ได้ที่ http://www.marketwatch.com/story/as-with-capital-berlin-had-to-stop-to-the-flow-of-refugees-2015-09-14) ไม่มีคุณสมบัติในทางวัฒนธรรมสำหรับการบูรณาการเข้าไปในสังคมชาวเยอรมันนั้น ก่อนอื่นใดเลยมันย่อมเท่ากับบ่งบอกว่ามีมาตรฐานเกี่ยวกับคุณสมบัติทางวัฒนธรรม ทว่านี่ย่อมเป็นแนวความคิดที่ชาวเยอรมันส่วนใหญ่ (เห็นได้อย่างชัดเจนว่า รวมทั้งตัวนายกรัฐมนตรี อังเงลา แมร์เคิล ด้วย) ไม่สามารถทนแบกรับได้ มีบางคนสงสัยข้องใจด้วยซ้ำว่า การที่ชาวเยอรมันมีบุตรกันน้อยมากๆ ก่อนอื่นเลยเป็นเพราะพวกเขาไม่ชื่นชอบตัวพวกเขาเอง, ไม่ชื่นชอบประวัติศาสตร์ตลอดจนวัฒนธรรมของพวกเขา หากเป็นเช่นนั้นแล้ว พวกเขายังสามารถอีกหรือที่จะมาเรียกร้องคนอื่นๆ ให้เคารพยึดมั่นในมาตรฐานทางวัฒนธรรม ซึ่งตัวพวกเขาเองกลับหลบเลี่ยงบอกลาไปแล้ว? และหากพวกเขาไม่ชื่นชอบวัฒนธรรมของพวกเขาเอามากๆ จนกระทั่งพากันมุ่งหน้าไปสู่การสูญพันธุ์ มันจะเป็นเรื่องสำคัญใหญ่โตอะไรนักหนาในการที่มีวัฒนธรรมอีกวัฒนธรรมหนึ่ง (ไม่ว่ามันจะโหดเหี้ยมป่าเถื่อนแค่ไหนก็ตามที) ก้าวเข้ามาแทนที่วัฒนธรรมของพวกเขา?
เดวิด พี. โกลด์แมน เขียนเรื่องให้เอเชียไทมส์โดยใช้นามปากกาว่า “สเปงเกลอร์” (Spengler) มาตั้งแต่ปี 2000 เขาเป็นนักวิจัยอาวุโสอยู่ที่ London Center for Policy Research และเป็น Wax Family Fellow อยู่ที่ Middle East Forum หนังสือเรื่อง How Civilizations Die (and why Islam is Dying, Too) ของเขา ได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Regnery Press ในเดือนกันยายน 2011 หนังสือรวมข้อเขียนทางด้านวัฒนธรรม, ศาสนา, และเศรษฐศาสตร์ของเขา ที่ใช้ชื่อว่า It’s Not the End of the World – It’s Just the End of You ก็ได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Van Praag Press ในฤดูใบไม้ร่วงปีเดียวกัน เขายังเคยเป็นผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยตราสารหนี้ทั่วโลก ให้กับ Bank of America และเคยดำรงตำแหน่งอาวุโสในบริษัทการเงินอื่นๆ อีกหลายแห่ง รวมทั้งที่ Reorient Group (Hong Kong) ซึ่งเขาเป็นกรรมการจัดการผู้หนึ่งอยู่ในปัจจุบัน