เอเจนซีส์/ASTV ผู้จัดการออนไลน์ - หลังจากเกิดวิกฤตตลาดหุ้นทั่วโลกดิ่งตัวต่ำสุดเป็นประวัติศาสตร์เมื่อวานนี้ (25 ส.ค.) หลังดัชนีสำคัญของตลาดหลักทรัพย์จีนดำดิ่งลงมา 8.5% ซึ่งถือเป็นการตกในรอบวันครั้งใหญ่ที่สุดในช่วงเวลากว่า 8 ปี ท่ามกลางความวิตกที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เกี่ยวกับภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจแดนมังกร ชาติผู้บริโภคเชื้อเพลิงรายใหญ่ ทำให้ล่าสุดอดีตรัฐมนตรีการคลังสหรัฐฯ แลร์รี ซัมเมอร์ส ได้ออกมาให้ความเห็นเมื่อวานนี้ว่า วิกฤตตลาดหุ้นแบล็กมันเดย์ “แสดงว่าถึงการเริ่มต้นของสถานการณ์ที่ยุ่งยากครั้งใหญ่” ในขณะที่เศรษฐีอสังหาริมทรัพย์ และผู้ประกาศตัวเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ 2016 โดนัลด์ ทรัมป์แสดงความเห็นผ่านทวิตเตอร์ว่า “ปัญหาตลาดหลัดทรัพย์ล่ม เพราะการจัดการล้มแหลว และปล่อยให้จีนและเอเชียกำหนดทิศทางตลาดหลักทรัพย์”
ดิอินดีเพนเดนต์ สื่ออังกฤษรายงานเมื่อวานนี้ (24) ว่า อดีตรัฐมนตรีการคลังสหรัฐฯ แลร์รี ซัมเมอร์ส ให้ความเห็นผ่านทางทวิตเตอร์ถึงสถานการณ์ตลาดหุ้นทั่วโลกตกครั้งประวัติศาสตร์ว่า “เหมือนเช่นในช่วงสิงหาคม 1997 และ 1998 รวมไปถึงปี 2007 และปี 2008 แสดงว่าเรากำลังเข้าสู่จุดเริ่มต้นของสถานการณ์ที่ยุ่งยากแล้ว”
ซัมเมอร์สยังชี้แจงต่อไปว่า “เชื่อว่าการขยับตัวของธนาคารกลางสหรัฐฯครั้งใหม่จะต้องระมัดระวังมากขึ้น” ซึ่งซัมเมอร์สหายถึงการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหม่ของเฟด ที่มักกระทำในช่วงระหว่างการเติบโตของเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ ลอเรนซ์ แลร์รี ซัมเมอร์ส อดีตรัฐมนตรีการคลังสหรัฐฯ ในช่วงปี 1999-2001และดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาให้กับประธานาธิบดีสหรัฐฯ บารัค โอบามาในช่วงปี 2009-2010 ก่อนหน้านี้ได้เคยออกมาเตือนไม่เห็นด้วยในการปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นในช่วงที่จีนอยู่ในความผันผวน โดยซัมเมอร์สได้เขียนผ่านคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ย “อาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ระบบการเงินเข้าสู่หายนะได้ ที่ผลที่ตามมานั้นสาหัสและไม่สามารถคาดเดาได้” ซัมเอมร์แสดงความเห็นต่อ
ทั้งนี้ดิอินดีเพนเดนต์ รายงานว่าตลาดหลักทรัทพ์ในซีกฝั่งตะวันตกปรับตัวขานรับการดำดิ่งของตลาดหุ้นจีนด้วย “อาการเสียขวัญ” ซึ่งดัชนีย์ของเซียงไฮ้คอมโพสิตได้หล่นไปกว่า 8.45% ลบตัวเลขบวกทั้งหมดของปีนี้
นอกจากนี้ ผู้เข้าสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ 2016 เช่น เศรษฐีอสังหาริมทรัพย์ โดนัลด์ ทรัมป์ แสดงความเห็นผ่านทวิตเตอร์ว่า “ปัญหาตลาดหลักทรัพย์ล่มเพราะการจัดการล้มแหลว และปล่อยให้จีนและเอเชียกำหนดทิศทางตลาดหลักทรัพย์ และทำให้เกิดการปั่นป่วนขึ้นได้”
ด้าน VOX สื่อข่าวออนไลน์สหรัฐฯ ได้อธิบายเพิ่มเติมในวันจันทร์ (24) ถึงแบล็กมันเดย์ในรูปกราฟเมื่อเปรียบเทียบกับวิกฤตตลาดหุ้นในอดีตตั้งแต่ยุค 80 เป็นต้นมา โดยสรุปได้ดังนี้
#กราฟแผนภูมิที่จัดทำโดยจาวิเออร์ ซารัคซินี (Javier Zarracina) นั้นให้น้ำหนักในการตกของตลาดหุ้นในวันที่ 19 ตุลาคม 1987 ที่หุ้นล่วงไปกว่า 22% ซึ่งการตกครั้งมโหฬารในครั้งนี้ไม่ได้เกิดจากเศรษฐกิจถดถอย และตลาดหุ้นสามารถกลับมาบวกอีกครั้งได้ภายในระยะเวลา 2 ปี
# นอกจากนี้ยังเกิดตลาดหุ้นตกครั้งใหญ่ในเดือนตุลาคม 1997 และสิงหาคม 1998 แต่ทว่าตลาดหุ้นสามารถกลับมาคึกคักได้ในภายหลังจนถึงปี 2000
# และในช่วงระหว่างปี 2000-2001เกิดการตกของตลาดหุ้นครั้งใหญ่ในช่วงระหว่างตลาดซบเซาถึง 3 ด้วยกัน และทำให้เกิดเศรษฐกิจถดถอยในช่วงต้นของการบริหารภายใต้อดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช
# และนอกจากนี้ในช่วง 4 เดือนท้ายสุดของปี 2008 ตลาดหุ้นตกไปถึง 11 ครั้ง ในช่วงแฮมเบอร์เกอร์ไครซิสของสหรัฐฯ
# ในเดือนสิงหาคม 2011 เกิดภาวะผันผวนอย่างรุนแรงในตลาดหลักทรัพย์ จากความตื่นตระหนกของนักลงทุน ที่ว่าประธานาธิบดีโอบามาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรครีพับลิกัน ซึ่งคุมเสียงข้างมากในสภาล่าง จะไม่สามารถหาทางออกถึงวิกฤตเพดานหนี้ได้ และทำให้เกิดการตกถึง 3 ครั้งด้วยกัน