(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
China took step toward currency independence by devaluing yuan
By Asia Unhedged
18/08/2015
แทนที่จะมองการที่จีนลดค่าเงินหยวนในสัปดาห์ที่แล้ว ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการทำสงครามเงินตรา หรือเป็นสัญญาณบ่งบอกความทะเยอทะยานอันใหญ่โตของแดนมังกร เดวิด มัลแพสส์ ประธานบริหารของเอนซิมา โกลบอล เสนอให้มองมันในฐานะที่เป็นก้าวเดินก้าวใหญ่ในการมุ่งหน้าไปสู่ความเป็นอิสระทางด้านเงินตรา เขาชี้ว่าการดำเนินนโยบายของสหรัฐฯทำให้ค่าเงินดอลลาร์พลิกผันเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ซึ่งไม่สอดคล้องกับความมุ่งมั่นของจีนที่ต้องการให้เงินหยวนแข็งแรงและมีเสถียรภาพในระยะยาว ดังนั้นการขยับแยกห่างออกมาจาก “ค่ายดอลลาร์” จึงเป็นทิศทางที่ปักกิ่งควรต้องก้าวเดินไป
แทนที่จะมองว่าการที่จีนลดค่าสกุลเงินตราของตนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คือส่วนหนึ่งของสงครามค่าเงินตรา หรือเห็นว่ามันเป็นสัญญาณบ่งบอกความทะเยอทะยานอันใหญ่โตมโหฬารยิ่งกว่านั้นของจีน จะเป็นไรไปถ้าหากลองหันมามองในแง่มุมที่ว่า นี่คือก้าวเดินก้าวใหญ่ในการมุ่งหน้าไปสู่ความเป็นอิสระทางด้านเงินตรา?
ทัศนะมุมมองเช่นนี้เอง เป็นของ เดวิด มัลแพสส์ (David Malpass) ประธานบริหารของ เอนซิมา โกลบอล (Encima Global) บริษัทที่ปรึกษาทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งได้เสนอเอาไว้ในหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัล (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.wsj.com/articles/china-declares-currency-independence-1439592672)
หนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา จีนได้ยุติการสนับสนุนให้ค่าเงินหยวนเชื่อมโยงอย่างแนบแน่นกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ นับจากนั้นเป็นต้นมาค่าเงินหยวนก็อ่อนตัวลงเกือบๆ 4% เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ และขณะที่ตามมาตรฐานอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศแล้ว การลดต่ำลงขนาดนี้ต้องถือว่าอยู่ในระดับเล็กน้อยเท่านั้น เพราะอย่างเงินเยนญี่ปุ่น ก็ได้อ่อนตัวลงเกือบๆ 35% ทีเดียวนับตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา แต่กระนั้นมันก็ยังคงสร้างความปั่นป่วนให้แก่ตลาดการเงินทั่วโลก ซึ่งมีความวิตกกังวลอยู่แล้วทั้งในเรื่องภาวะเงินฝืด และอัตราการเติบโตที่อ่อนแรงกันไปหมดทั่วทั้งโลก
หลังจากระยะเวลาสองสามเดือนที่ผ่านมา ตลาดหลักทรัพย์ในจีนอยู่ในอาการดำดิ่ง การลดค่าเงินหยวนคราวนี้จึงโน้มนำให้ผู้คนจำนวนมากพากันทำนายว่า เศรษฐกิจของจีนกำลังจะประสบกับภาวะการร่อนลงแบบกระแทกพื้นอย่างแรง (hard landing)
อย่างไรก็ตาม มัลแพสส์มองว่าการลดค่าเงินคราวนี้ เป็นปฏิกิริยาของจีนต่อการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในทั่วโลกตลอดจนการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์เสียมากกว่า โดยมัลแพสส์กล่าวว่า “ภายใต้นโยบายต่างๆ ของสหรัฐฯในปัจจุบัน เงินดอลลาร์ไม่ได้มีคุณค่าในทางเป็นสกุลเงินตราซึ่งสามารถพึ่งพาอาศัยได้เอาเสียเลย กล่าวคือ มันอ่อนตัวลงมาอย่างมหาศาลในช่วงทศวรรษ 1970, แล้วกลับแข็งโป๊กขึ้นไปในทศวรรษ 1980 และทศวรรษ 1990, อ่อนตัวลงในทศวรรษ 2000, และกำลังแข็งขึ้นมาใหม่ในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา ภาวะไร้เสถียรภาพเช่นนี้ทำให้ดอลลาร์กลายเป็นจุดเข้าต่อเชื่อมผูกพัน ที่ไม่มีความเหมาะสมในระยะยาวสำหรับปักกิ่ง และสำหรับความมุ่งมาดปรารถนาที่จะมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของแดนมังกร”
ขณะที่สหรัฐฯปล่อยให้ตลาดเป็นผู้กำหนดมูลค่าของเงินดอลลาร์ ซึ่งเท่ากับ “กำลังสร้างวัฏจักรแห่งความรุ่งเรือง-ความแตกสลาย ที่มีโมเมนตัมเป็นตัวขับดัน (momentum-driven boom-bust cycles)” สภาวการณ์เช่นนี้กลับขัดแย้งกับเจตนารมณ์ความมุ่งมั่นของจีนที่จะทำให้เกิดเงินหยวนซึ่ง “แข็งแกร่งและมีเสถียรภาพ” ขึ้นมา
มัลแพสส์ชี้ต่อไปว่า ถ้ายังคงผูกอยู่กับดอลลาร์ต่อไปอีก ค่าของเงินหยวนก็จะไต่สูงจนเกินกว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายของปักกิ่งที่ต้องการสร้างเสถียรภาพของราคาขึ้นมา ตรงกันข้าม การเลิกเชื่อมโยงเงินหยวนกับเงินดอลลาร์ต่างหาก กลับสามารถช่วยให้จีนประคับประคองเสถียรภาพของสกุลเงินตราของตนเอง โดยที่ปรากฏว่ากองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ก็ได้ออกมารับรองเห็นด้วยกับความเคลื่อนไหวเช่นนี้ของแดนมังกร นอกจากนั้นความเคลื่อนไหวเช่นนี้ยังเอื้ออำนวยให้ผลดีแก่เรื่องที่จีนกำลังให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ อยู่ในเวลานี้ นั่นก็คือการทำให้เงินหยวนกลายเป็นสกุลเงินตราสำรองสกุลหนึ่งของโลก
มัลแพสส์โต้แย้งว่า พวก “หมี” ที่กำลังยืนยันว่า การลดค่าเงินหยวนของจีนเป็นการกระทำแบบแตกตื่น หรือเป็นสิ่งซึ่งแสดงให้เห็นความอ่อนแอนั้น ล้วนแต่เป็นทัศนะมุมมองซึ่งผิดพลาดโดยสิ้นเชิง
แท้จริงแล้ว เวลานี้ “ปักกิ่งกำลังเดินหน้าดำเนินกระบวนการเปิดเสรีทางการเงินอย่างเป็นระบบระเบียบ ขณะเดียวกับที่ตอบโต้รับมือกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายนอกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการที่อัตราเติบโตขยายตัวของทั่วโลกกำลังเชื่องช้าลง, การที่เงินดอลลาร์มีค่าแข็งเกินไป, และปฏิกิริยาสะท้อนภายในจีนสืบเนื่องจากนโยบายอันเข้าใจยากของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ในระดับใกล้ๆ 0% ภายหลังผ่านพ้นภาวะเศรษฐกิจถดถอยมาได้ 6 ปีแล้ว ความเคลื่อนไหวเช่นนี้ของจีนควรถือเป็นก้าวเดินอีกก้าวหนึ่งในการค่อยๆ แยกห่างออกมาจากค่ายดอลลาร์และความเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่ได้ครอบงำเอเชียเอาไว้นับตั้งแต่สิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยที่จีนหวังจะแทนที่สภาวการณ์เช่นนี้ด้วยการทำให้เงินหยวนมีเสถียรภาพมั่นคง และด้วยสถาบันต่างๆ ที่ตั้งฐานพึ่งพิงอาศัยจีน อย่างเช่น AIIB (Asian Infrastructure Investment Bank ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย)” มัลแพสส์ แจกแจงอธิบายความเห็นของเขา
นโยบายใหม่ทางด้านเงินตรานี้ จะสามารถช่วยสร้างเสถียรภาพให้แก่เศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัวของจีนได้สำเร็จหรือไม่ ยังเป็นสิ่งที่ต้องติดตามดูกันต่อไป “นโยบายเช่นนี้จะไม่สามารถหยุดยั้งการไหลรูดในด้านการส่งออกของจีนได้ในทันที เนื่องจากการไหลรูดดังกล่าวเป็นผลจากการชะลอตัวของทั่วโลกด้วย นอกจากนั้นนโยบายด้านอัตราแลกเปลี่ยนก็ไม่สามารถทำให้ธุรกิจต่างๆ ทำการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หรือทำให้พวกผู้บริโภคอยากควักกระเป๋าจับจ่ายใช้สอย” มัลแพสส์ บอก
อย่างไรก็ตาม มัลแพสส์ชี้ว่า ในเมื่อการขยับปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกของเฟดกำลังขยับใกล้เข้ามาทุกที โดยที่ธนาคารกลางสหรัฐฯไม่ได้มีแผนการจะเปลี่ยนแปลงนโยบายดังกล่าว ซึ่งเขาเห็นว่ามีลักษณะเป็นการกำหนดจากข้างบนลงมาบังคับใช้กับข้างล่าง และเป็นการจัดสรรสินเชื่ออย่างผิดพลาดบิดเบือนตลาด ดังนั้นการที่จีนตัดสินใจสร้างระยะห่างระหว่างเงินหยวนกับเงินดอลลาร์ขึ้นมาคราวนี้ น่าจะทำให้จีนมีเสรีภาพมากขึ้นในการรับมือกับพายุที่กำลังตั้งเค้าอยู่ที่ขอบฟ้า ไม่ว่าพายุนี้จะมีอานุภาพฤทธิ์เดชรุนแรงขนาดไหน
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)
China took step toward currency independence by devaluing yuan
By Asia Unhedged
18/08/2015
แทนที่จะมองการที่จีนลดค่าเงินหยวนในสัปดาห์ที่แล้ว ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการทำสงครามเงินตรา หรือเป็นสัญญาณบ่งบอกความทะเยอทะยานอันใหญ่โตของแดนมังกร เดวิด มัลแพสส์ ประธานบริหารของเอนซิมา โกลบอล เสนอให้มองมันในฐานะที่เป็นก้าวเดินก้าวใหญ่ในการมุ่งหน้าไปสู่ความเป็นอิสระทางด้านเงินตรา เขาชี้ว่าการดำเนินนโยบายของสหรัฐฯทำให้ค่าเงินดอลลาร์พลิกผันเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ซึ่งไม่สอดคล้องกับความมุ่งมั่นของจีนที่ต้องการให้เงินหยวนแข็งแรงและมีเสถียรภาพในระยะยาว ดังนั้นการขยับแยกห่างออกมาจาก “ค่ายดอลลาร์” จึงเป็นทิศทางที่ปักกิ่งควรต้องก้าวเดินไป
แทนที่จะมองว่าการที่จีนลดค่าสกุลเงินตราของตนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คือส่วนหนึ่งของสงครามค่าเงินตรา หรือเห็นว่ามันเป็นสัญญาณบ่งบอกความทะเยอทะยานอันใหญ่โตมโหฬารยิ่งกว่านั้นของจีน จะเป็นไรไปถ้าหากลองหันมามองในแง่มุมที่ว่า นี่คือก้าวเดินก้าวใหญ่ในการมุ่งหน้าไปสู่ความเป็นอิสระทางด้านเงินตรา?
ทัศนะมุมมองเช่นนี้เอง เป็นของ เดวิด มัลแพสส์ (David Malpass) ประธานบริหารของ เอนซิมา โกลบอล (Encima Global) บริษัทที่ปรึกษาทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งได้เสนอเอาไว้ในหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัล (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.wsj.com/articles/china-declares-currency-independence-1439592672)
หนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา จีนได้ยุติการสนับสนุนให้ค่าเงินหยวนเชื่อมโยงอย่างแนบแน่นกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ นับจากนั้นเป็นต้นมาค่าเงินหยวนก็อ่อนตัวลงเกือบๆ 4% เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ และขณะที่ตามมาตรฐานอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศแล้ว การลดต่ำลงขนาดนี้ต้องถือว่าอยู่ในระดับเล็กน้อยเท่านั้น เพราะอย่างเงินเยนญี่ปุ่น ก็ได้อ่อนตัวลงเกือบๆ 35% ทีเดียวนับตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา แต่กระนั้นมันก็ยังคงสร้างความปั่นป่วนให้แก่ตลาดการเงินทั่วโลก ซึ่งมีความวิตกกังวลอยู่แล้วทั้งในเรื่องภาวะเงินฝืด และอัตราการเติบโตที่อ่อนแรงกันไปหมดทั่วทั้งโลก
หลังจากระยะเวลาสองสามเดือนที่ผ่านมา ตลาดหลักทรัพย์ในจีนอยู่ในอาการดำดิ่ง การลดค่าเงินหยวนคราวนี้จึงโน้มนำให้ผู้คนจำนวนมากพากันทำนายว่า เศรษฐกิจของจีนกำลังจะประสบกับภาวะการร่อนลงแบบกระแทกพื้นอย่างแรง (hard landing)
อย่างไรก็ตาม มัลแพสส์มองว่าการลดค่าเงินคราวนี้ เป็นปฏิกิริยาของจีนต่อการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในทั่วโลกตลอดจนการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์เสียมากกว่า โดยมัลแพสส์กล่าวว่า “ภายใต้นโยบายต่างๆ ของสหรัฐฯในปัจจุบัน เงินดอลลาร์ไม่ได้มีคุณค่าในทางเป็นสกุลเงินตราซึ่งสามารถพึ่งพาอาศัยได้เอาเสียเลย กล่าวคือ มันอ่อนตัวลงมาอย่างมหาศาลในช่วงทศวรรษ 1970, แล้วกลับแข็งโป๊กขึ้นไปในทศวรรษ 1980 และทศวรรษ 1990, อ่อนตัวลงในทศวรรษ 2000, และกำลังแข็งขึ้นมาใหม่ในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา ภาวะไร้เสถียรภาพเช่นนี้ทำให้ดอลลาร์กลายเป็นจุดเข้าต่อเชื่อมผูกพัน ที่ไม่มีความเหมาะสมในระยะยาวสำหรับปักกิ่ง และสำหรับความมุ่งมาดปรารถนาที่จะมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของแดนมังกร”
ขณะที่สหรัฐฯปล่อยให้ตลาดเป็นผู้กำหนดมูลค่าของเงินดอลลาร์ ซึ่งเท่ากับ “กำลังสร้างวัฏจักรแห่งความรุ่งเรือง-ความแตกสลาย ที่มีโมเมนตัมเป็นตัวขับดัน (momentum-driven boom-bust cycles)” สภาวการณ์เช่นนี้กลับขัดแย้งกับเจตนารมณ์ความมุ่งมั่นของจีนที่จะทำให้เกิดเงินหยวนซึ่ง “แข็งแกร่งและมีเสถียรภาพ” ขึ้นมา
มัลแพสส์ชี้ต่อไปว่า ถ้ายังคงผูกอยู่กับดอลลาร์ต่อไปอีก ค่าของเงินหยวนก็จะไต่สูงจนเกินกว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายของปักกิ่งที่ต้องการสร้างเสถียรภาพของราคาขึ้นมา ตรงกันข้าม การเลิกเชื่อมโยงเงินหยวนกับเงินดอลลาร์ต่างหาก กลับสามารถช่วยให้จีนประคับประคองเสถียรภาพของสกุลเงินตราของตนเอง โดยที่ปรากฏว่ากองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ก็ได้ออกมารับรองเห็นด้วยกับความเคลื่อนไหวเช่นนี้ของแดนมังกร นอกจากนั้นความเคลื่อนไหวเช่นนี้ยังเอื้ออำนวยให้ผลดีแก่เรื่องที่จีนกำลังให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ อยู่ในเวลานี้ นั่นก็คือการทำให้เงินหยวนกลายเป็นสกุลเงินตราสำรองสกุลหนึ่งของโลก
มัลแพสส์โต้แย้งว่า พวก “หมี” ที่กำลังยืนยันว่า การลดค่าเงินหยวนของจีนเป็นการกระทำแบบแตกตื่น หรือเป็นสิ่งซึ่งแสดงให้เห็นความอ่อนแอนั้น ล้วนแต่เป็นทัศนะมุมมองซึ่งผิดพลาดโดยสิ้นเชิง
แท้จริงแล้ว เวลานี้ “ปักกิ่งกำลังเดินหน้าดำเนินกระบวนการเปิดเสรีทางการเงินอย่างเป็นระบบระเบียบ ขณะเดียวกับที่ตอบโต้รับมือกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายนอกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการที่อัตราเติบโตขยายตัวของทั่วโลกกำลังเชื่องช้าลง, การที่เงินดอลลาร์มีค่าแข็งเกินไป, และปฏิกิริยาสะท้อนภายในจีนสืบเนื่องจากนโยบายอันเข้าใจยากของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ในระดับใกล้ๆ 0% ภายหลังผ่านพ้นภาวะเศรษฐกิจถดถอยมาได้ 6 ปีแล้ว ความเคลื่อนไหวเช่นนี้ของจีนควรถือเป็นก้าวเดินอีกก้าวหนึ่งในการค่อยๆ แยกห่างออกมาจากค่ายดอลลาร์และความเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่ได้ครอบงำเอเชียเอาไว้นับตั้งแต่สิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยที่จีนหวังจะแทนที่สภาวการณ์เช่นนี้ด้วยการทำให้เงินหยวนมีเสถียรภาพมั่นคง และด้วยสถาบันต่างๆ ที่ตั้งฐานพึ่งพิงอาศัยจีน อย่างเช่น AIIB (Asian Infrastructure Investment Bank ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย)” มัลแพสส์ แจกแจงอธิบายความเห็นของเขา
นโยบายใหม่ทางด้านเงินตรานี้ จะสามารถช่วยสร้างเสถียรภาพให้แก่เศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัวของจีนได้สำเร็จหรือไม่ ยังเป็นสิ่งที่ต้องติดตามดูกันต่อไป “นโยบายเช่นนี้จะไม่สามารถหยุดยั้งการไหลรูดในด้านการส่งออกของจีนได้ในทันที เนื่องจากการไหลรูดดังกล่าวเป็นผลจากการชะลอตัวของทั่วโลกด้วย นอกจากนั้นนโยบายด้านอัตราแลกเปลี่ยนก็ไม่สามารถทำให้ธุรกิจต่างๆ ทำการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หรือทำให้พวกผู้บริโภคอยากควักกระเป๋าจับจ่ายใช้สอย” มัลแพสส์ บอก
อย่างไรก็ตาม มัลแพสส์ชี้ว่า ในเมื่อการขยับปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกของเฟดกำลังขยับใกล้เข้ามาทุกที โดยที่ธนาคารกลางสหรัฐฯไม่ได้มีแผนการจะเปลี่ยนแปลงนโยบายดังกล่าว ซึ่งเขาเห็นว่ามีลักษณะเป็นการกำหนดจากข้างบนลงมาบังคับใช้กับข้างล่าง และเป็นการจัดสรรสินเชื่ออย่างผิดพลาดบิดเบือนตลาด ดังนั้นการที่จีนตัดสินใจสร้างระยะห่างระหว่างเงินหยวนกับเงินดอลลาร์ขึ้นมาคราวนี้ น่าจะทำให้จีนมีเสรีภาพมากขึ้นในการรับมือกับพายุที่กำลังตั้งเค้าอยู่ที่ขอบฟ้า ไม่ว่าพายุนี้จะมีอานุภาพฤทธิ์เดชรุนแรงขนาดไหน
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)