(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Why China built second aircraft carrier base in Hainan
05/08/2015
พีเพิลส์เดลี่ออนไลน์เสนอรายงานข่าว ซึ่งอ้างผลงานวิจัยของนักวิชาการชาวจีนผู้หนึ่งที่อธิบายว่า ทำไมจีนจึงสร้างฐานทัพแห่งที่ 2 สำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินของตนขึ้นที่เกาะไหหลำ โดยที่การก่อสร้างขั้นพื้นฐานได้เสร็จสมบูรณ์แล้วตั้งแต่เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2014
รายงานข่าวชิ้นหนึ่งซึ่งเผยแพร่ทาง พีเพิลส์เดลี่ออนไลน์ (People’s Daily Online) เมื่อวันที่ 4 สิงหาคมที่ผ่านมา ให้ความกระจ่างเป็นอย่างมากแก่คำถามที่ว่า ทำไมจีนจึงสร้างฐานแห่งที่ 2 สำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินของกองทัพเรือแดนมังกร ขึ้นบนเกาะไหหลำ (ไห่หนาน) โดยที่การก่อสร้างขั้นพื้นฐานได้เสร็จสมบูรณ์แล้วเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2014 ที่ผ่านมา
เวอร์ชั่นออนไลน์ของ พีเพิลส์เดลี่ หรือ “เหรินหมินรึเป้า” หนังสือพิมพ์ทางการของพรรคคอมมิวนิสต์จีน รายงานเรื่องนี้โดยอ้างอิงข่าวของ คานวา ดีเฟนซ์ รีวิว (Kanwa Defense Review) องค์การข่าวด้านกลาโหมซึ่งตั้งฐานอยู่ในแคนาดา อีกทอดหนึ่ง
ทั้งนี้ คานวา ได้กล่าวถึงผลงานการศึกษาของนักวิจัยชาวจีนที่ได้รับการเผยแพร่เมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งระบุว่า มีเหตุผลสำคัญ 3 ประการทำให้มีการสร้างฐานทัพแห่งที่ 2 ของเรือบรรทุกเครื่องบินจีน เอาไว้ที่เกาะซึ่งมีฐานะเป็นมณฑลหนึ่งของจีนแห่งนี้ ได้แก่ “สถานที่ตั้งที่ทรงความสำคัญทางยุทธศาสตร์ของเกาะในทะเลจีนใต้แห่งนี้, สถานที่สิ่งปลูกสร้างต่างๆ ทางด้านกลาโหมอันสมบูรณ์พรักพร้อมบนเกาะไหหลำ, และการนำเอาเรือดำน้ำติดขีปนาวุธนิวเคลียร์นำวิถีเข้ามาประจำการที่เกาะแห่งนี้ได้อย่างทรงประสิทธิภาพ”
รายงานของคานวา บอกด้วยว่า ฐานทัพแห่งใหม่นี้ “ประกอบด้วยท่าเทียบเรือซึ่งเรือขนาดใหญ่ๆ สามารถเข้าจอดเทียบได้ทั้ง 2 ด้าน เป็นการบ่งชี้ให้เห็นว่าเรือบรรทุกเครื่องบิน 2 ลำสามารถที่จะจอดเทียบพร้อมๆ กัน ณ ฐานเรือบรรทุกเครื่องบินของกองทัพเรือแห่งกองทัพปลดแอกประชาชนจีนแห่งนี้” โดยที่มีรายงานด้วยว่า ฐานทัพแห่งใหม่นี้มีความยาวถึง 700 เมตร ทำให้กลายเป็นท่าเทียบเรือบรรทุกเครื่องบินซึ่งมีความยาวที่สุดในโลกทีเดียว
หม่า เหยา (Ma Yao) นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยการระหว่างประเทศศึกษาเซี่ยงไฮ้ (Shanghai International Studies University) คือผู้ที่ได้รับการระบุนามว่าเป็นผู้ดำเนินการศึกษาวิจัยคราวนี้ เขากล่าวในผลงานวิเคราะห์วิจัยของเขาว่า ฐานทัพนาวีไหหลำ ตั้งอยู่ค่อนข้างใกล้กับช่องแคบทรงความสำคัญทางยุทธศาสตร์ทั้ง 3 แห่งในทะเลจีนใต้ อันได้แก่ ช่องแคบมะละกา (Malacca Strait), ช่องแคบลอมบ็อก (Lombok Strait), และช่องแคบซุนดา (Sunda Strait) ดังนั้นจึงทำให้มีความสะดวกยิ่งขึ้นสำหรับการจัดส่วนประกอบต่างๆ ของกองเรือประจำฐานทัพแห่งนี้ หม่ายังบอกด้วยว่า ที่ตั้งของฐานทัพไหหลำยังทำให้สามารถทำการพิทักษ์คุ้มครอง “เส้นทางขนส่งน้ำมันที่ค่อนข้างอ่อนแอ เพื่อเป็นเครื่องค้ำประกันการพัฒนาทางเศรษฐกิจของจีน”
หม่าระบุด้วยว่า เกาะไหหลำมีสถานที่สิ่งปลูกสร้างทางด้านกลาโหมค่อนข้างก้าวหน้าอย่างครบครัน ภายหลังจากที่ได้มีการพัฒนามาเป็นเวลานานปี ทำให้สามารถให้การสนับสนุนอย่างเพียงพอแก่ฐานทัพนาวี
เขากล่าวต่อไปว่า เรือดำน้ำเป็นส่วนประกอบที่สำคัญยิ่งยวดและไม่อาจขาดไปได้ในกองเรือรบของประเทศจีน เขาบอกด้วยว่า ในบรรดาทะเลทั้ง 4 ซึ่งล้อมรอบประเทศจีนนั้น ทะเลจีนใต้คือสถานที่ดีเยี่ยมที่สุดสำหรับเรือดำน้ำ
ฐานทัพไหหลำยังถูกระบุว่าเป็นที่ตั้งชั้นดีสำหรับให้กองกำลังนิวเคลียร์ “ทางนาวี” ของจีน สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพ “เนื่องจากมีร่องน้ำที่ลึกกว่าและมีเขตริมชายฝั่งที่กว้างขวางกว่าที่อื่นๆ” นี่เองคือเหตุผลที่ในระยะไม่กี่ปีหลังมานี้ จีนได้นำเอาเรือดำน้ำติดอาวุธนิวเคลียร์นำวิถีเข้ามาประจำการในทะเลจีนใต้ รายงานข่าวอ้างผลการศึกษาของหม่า
(ดูรายละเอียดรายงานข่าวชิ้นนี้ของ พีเพิลส์เดลี่ออนไลน์ ได้ที่http://www.globalsecurity.org/wmd/library/news/china/2015/china-150804-pdo01.htm)
Why China built second aircraft carrier base in Hainan
05/08/2015
พีเพิลส์เดลี่ออนไลน์เสนอรายงานข่าว ซึ่งอ้างผลงานวิจัยของนักวิชาการชาวจีนผู้หนึ่งที่อธิบายว่า ทำไมจีนจึงสร้างฐานทัพแห่งที่ 2 สำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินของตนขึ้นที่เกาะไหหลำ โดยที่การก่อสร้างขั้นพื้นฐานได้เสร็จสมบูรณ์แล้วตั้งแต่เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2014
รายงานข่าวชิ้นหนึ่งซึ่งเผยแพร่ทาง พีเพิลส์เดลี่ออนไลน์ (People’s Daily Online) เมื่อวันที่ 4 สิงหาคมที่ผ่านมา ให้ความกระจ่างเป็นอย่างมากแก่คำถามที่ว่า ทำไมจีนจึงสร้างฐานแห่งที่ 2 สำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินของกองทัพเรือแดนมังกร ขึ้นบนเกาะไหหลำ (ไห่หนาน) โดยที่การก่อสร้างขั้นพื้นฐานได้เสร็จสมบูรณ์แล้วเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2014 ที่ผ่านมา
เวอร์ชั่นออนไลน์ของ พีเพิลส์เดลี่ หรือ “เหรินหมินรึเป้า” หนังสือพิมพ์ทางการของพรรคคอมมิวนิสต์จีน รายงานเรื่องนี้โดยอ้างอิงข่าวของ คานวา ดีเฟนซ์ รีวิว (Kanwa Defense Review) องค์การข่าวด้านกลาโหมซึ่งตั้งฐานอยู่ในแคนาดา อีกทอดหนึ่ง
ทั้งนี้ คานวา ได้กล่าวถึงผลงานการศึกษาของนักวิจัยชาวจีนที่ได้รับการเผยแพร่เมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งระบุว่า มีเหตุผลสำคัญ 3 ประการทำให้มีการสร้างฐานทัพแห่งที่ 2 ของเรือบรรทุกเครื่องบินจีน เอาไว้ที่เกาะซึ่งมีฐานะเป็นมณฑลหนึ่งของจีนแห่งนี้ ได้แก่ “สถานที่ตั้งที่ทรงความสำคัญทางยุทธศาสตร์ของเกาะในทะเลจีนใต้แห่งนี้, สถานที่สิ่งปลูกสร้างต่างๆ ทางด้านกลาโหมอันสมบูรณ์พรักพร้อมบนเกาะไหหลำ, และการนำเอาเรือดำน้ำติดขีปนาวุธนิวเคลียร์นำวิถีเข้ามาประจำการที่เกาะแห่งนี้ได้อย่างทรงประสิทธิภาพ”
รายงานของคานวา บอกด้วยว่า ฐานทัพแห่งใหม่นี้ “ประกอบด้วยท่าเทียบเรือซึ่งเรือขนาดใหญ่ๆ สามารถเข้าจอดเทียบได้ทั้ง 2 ด้าน เป็นการบ่งชี้ให้เห็นว่าเรือบรรทุกเครื่องบิน 2 ลำสามารถที่จะจอดเทียบพร้อมๆ กัน ณ ฐานเรือบรรทุกเครื่องบินของกองทัพเรือแห่งกองทัพปลดแอกประชาชนจีนแห่งนี้” โดยที่มีรายงานด้วยว่า ฐานทัพแห่งใหม่นี้มีความยาวถึง 700 เมตร ทำให้กลายเป็นท่าเทียบเรือบรรทุกเครื่องบินซึ่งมีความยาวที่สุดในโลกทีเดียว
หม่า เหยา (Ma Yao) นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยการระหว่างประเทศศึกษาเซี่ยงไฮ้ (Shanghai International Studies University) คือผู้ที่ได้รับการระบุนามว่าเป็นผู้ดำเนินการศึกษาวิจัยคราวนี้ เขากล่าวในผลงานวิเคราะห์วิจัยของเขาว่า ฐานทัพนาวีไหหลำ ตั้งอยู่ค่อนข้างใกล้กับช่องแคบทรงความสำคัญทางยุทธศาสตร์ทั้ง 3 แห่งในทะเลจีนใต้ อันได้แก่ ช่องแคบมะละกา (Malacca Strait), ช่องแคบลอมบ็อก (Lombok Strait), และช่องแคบซุนดา (Sunda Strait) ดังนั้นจึงทำให้มีความสะดวกยิ่งขึ้นสำหรับการจัดส่วนประกอบต่างๆ ของกองเรือประจำฐานทัพแห่งนี้ หม่ายังบอกด้วยว่า ที่ตั้งของฐานทัพไหหลำยังทำให้สามารถทำการพิทักษ์คุ้มครอง “เส้นทางขนส่งน้ำมันที่ค่อนข้างอ่อนแอ เพื่อเป็นเครื่องค้ำประกันการพัฒนาทางเศรษฐกิจของจีน”
หม่าระบุด้วยว่า เกาะไหหลำมีสถานที่สิ่งปลูกสร้างทางด้านกลาโหมค่อนข้างก้าวหน้าอย่างครบครัน ภายหลังจากที่ได้มีการพัฒนามาเป็นเวลานานปี ทำให้สามารถให้การสนับสนุนอย่างเพียงพอแก่ฐานทัพนาวี
เขากล่าวต่อไปว่า เรือดำน้ำเป็นส่วนประกอบที่สำคัญยิ่งยวดและไม่อาจขาดไปได้ในกองเรือรบของประเทศจีน เขาบอกด้วยว่า ในบรรดาทะเลทั้ง 4 ซึ่งล้อมรอบประเทศจีนนั้น ทะเลจีนใต้คือสถานที่ดีเยี่ยมที่สุดสำหรับเรือดำน้ำ
ฐานทัพไหหลำยังถูกระบุว่าเป็นที่ตั้งชั้นดีสำหรับให้กองกำลังนิวเคลียร์ “ทางนาวี” ของจีน สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพ “เนื่องจากมีร่องน้ำที่ลึกกว่าและมีเขตริมชายฝั่งที่กว้างขวางกว่าที่อื่นๆ” นี่เองคือเหตุผลที่ในระยะไม่กี่ปีหลังมานี้ จีนได้นำเอาเรือดำน้ำติดอาวุธนิวเคลียร์นำวิถีเข้ามาประจำการในทะเลจีนใต้ รายงานข่าวอ้างผลการศึกษาของหม่า
(ดูรายละเอียดรายงานข่าวชิ้นนี้ของ พีเพิลส์เดลี่ออนไลน์ ได้ที่http://www.globalsecurity.org/wmd/library/news/china/2015/china-150804-pdo01.htm)