xs
xsm
sm
md
lg

In Pics :ศาลออสซี่สั่งระงับเมกะโปรเจกต์เหมืองถ่านหินใหญ่ที่สุดในโลกของอินเดีย ชี้ “สุดอันตรายต่อแนวปะการังเกรตแบริเออร์รีฟ”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


เอเอฟพี - ศาลออสเตรเลียได้ออกคำสั่งในวันพุธ(5) ให้มีการเพิกถอนการอนุญาต The Carmichael Coal Mine เมกะโปรเจกต์เหมืองถ่านหินที่คาดว่า จะเป็นหนึ่งในเหมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกภายใต้การดำเนินงานของ อดานิ (Adani) บริษัทอินเดียอผู้ยู่เบื้องหลังมูลค่าร่วม 12.2 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งกลุ่มนักนิเวศวิทยาระบุว่า จะส่งผลกระทบในทางตรงต่อแนวปะการังเกรตแบริเออร์รีฟ ที่ขึ้นทะเบียนมรดกโลกของออสเตรเลีย แต่ทว่าทางบริษัทอินเดียประกาศจะยังคงเดินหน้าหาช่องทางก่อสร้างต่อไป

ในขณะที่กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอินเดียต่างยกย่องในคำตัดสินของศาลออสเตรเลียที่ออกมาในวันนี้(5) สั่งเพิกถอนใบอนุญาตการก่อสร้างโปรเจกต์ร่วม 12.2 พันล้านดดอลาร์เพื่อก่อสร้างเหมืองแร่ที่คาดว่าจะเป็นหนึ่งในเหมืองถ่านหินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยต่างกล่าวว่าถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แต่ทว่าทางบริษัทสัญชาติอินเดีย อดานิ (Adani) ที่เป็นผู้ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลออสเตรเลียของประธานาธิบดี โทนี แอบบ็อตในการดำเนินการ ประกาศจะยังคงเดินหน้าต่อไป

“ด้วยการยอมรับของทุกฝ่าย ศาลรัฐบาลกลางออสเตรเลียได้สั่งเพิกถอนการอนุญาตโปรเจกต์เหมืองแร่ The Carmichael Coal Mine และโปรเจกต์ระบบการคมนาคมแบบราง” กระทรวงสิ่งแวดล้อมออสเตรเลียกล่าวผ่านแถลงการณ์วันนี้(5)

เอเอฟพีรายงานว่า ทางกลุ่มอนุรักษ์ออสเตรเลียได้ยื่นฟ้องต่อศาลรัฐบาลกลางออสเตรเลียในการอนุมัติของรัฐบาลแอบบ็อตอนุญาตให้กับบริษัทสัญชาติอินเดียทำเหมืองแร่ ด้วยประเด็นที่ว่า จะเป็นสร้างก๊าซเรือนกระจกจำนวนมโหฬาร และยังส่งผลกระทบต่อสัตว์สายพันธุ์ที่เสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ และอีกทั้งบริษัทอดานิแห่งนี้มีประวัติการใส่ใจในสิ่งแวดล้อมน้อยมาก

นอกจากนี้ทางกลุ่มอนุรักษ์ออสเตรเลียยังให้เหตุผลรวมไปถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับแนวปะการังเกรตแบริเออร์รีฟขอองออสเตรเลีย ซึ่งถือเป็นหนึ่งในมรดกโลกที่สำคัญของโลกนี้ ถูกจัดให้เป็นระบบนิเวศใต้น้ำที่สมบูรณ์ที่สุดในบรรดาระบบนิเวศใต้น้ำอื่นๆทั่วโลก

สาเหตุที่อาจส่งผลต่อแนวปะการัง สืบเนื่องมาจากถ่านหินจะต้องถูกขนส่งออกจากท่าเรือบริเวณใกล้เคียง

ด้าน ซู ฮิกกินสัน ทนายความของกลุ่มอนุรักษ์แม็คเคย์ ( Mackay Conservative Group) ซึ่งเป็นผู้ยื่นเรื่องต่อศาลออสเตรเลียให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า คำพิพากษาออกมาหลังจากมีการให้ข้อมูลถึงสัตว์เลื้อยคลานสปีชีส์ซึ่งใกล้สูญพันธุ์จำนวน 2 ชนิดคือ สัตว์ที่คล้ายกับกิ้งก่า Yakka Skink และงูชนิดหนึ่ง Ornamental Snake ที่พบได้เฉพาะในรัฐควีนสแลนด์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของโปรเจกต์ทำเหมืองถ่านหินนี้เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม กระทรวงสิ่งแวดล้อมออสเตรเลียแถลงว่า ทางกระทรวงจะใช้เวลาราว 6-8สัปดาห์ในการปรับปรุงข้อเสนอเพื่อให้เกร็ก ฮันต์(Greg Hunt)ทบทวนการตัดสินใจอีกครั้ง ซึ่งทางกระทรวงชี้ว่า ไม่มีความจำเป็นต้องรื้อใหม่ทั้งหมด เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ในระดับเทคนิกข้อมูลและการจัดการเท่านั้น

เอเอฟพีรายงานว่า โปรเจกต์เหมืองถ่านหินของบริษัทอดานิ คาดว่าจะสามารถแจกจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับประชาชนชาวอินเดียได้มากถึง 100 ล้านคน และยังเป็นการสร้างงานจำนวนมากให้กับพลเมืองออสเตรเลียในพื้นที่

ซึ่งการทำเหมืองแร่นี้ คาดว่าจะสามารถผลิตถ่านหินประเภทให้ความร้อน (Thermal Coal) ได้ถึง 60 ล้านตันต่อปีในการส่งออก ที่ทางเหล่านักอนุรักษ์ต่างออกมาประนามว่า เป็นการสร้างภาวะเรือนกระจกขนาดมหาศาลให้กับโลก ซึ่งเป็นตัวการทำให้โลกร้อนขึ้น และส่งผลต่อสภาพลมฟ้าอากาศที่เปลี่ยนไป





แนวประการังเกรทแบริเออร์รีฟ มรดกโลกของออสเตรเลีย
 สัตว์ที่คล้ายกับกิ้งก่าYakka Skink
งูชนิดหนึ่ง Ornamental Snake

กำลังโหลดความคิดเห็น