(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
HSBC’s layoffs may shift more offshore work to India, China
Author: Asia Unhedged
09/06/2015
HSBC ประกาศในสัปดาห์นี้ถึงแผนการตัดลดตำแหน่งงานในต่างแดนลงมาเป็นจำนวนราว 50,000 ตำแหน่ง ทว่าตามรายงานชิ้นหนึ่งซึ่งปรากฏอยู่ใน “อีโคโนมิกไทมส์” เรื่องนี้จะมีผลกระทบน้อยที่สุดต่อการดำเนินงานซึ่งใช้อินเดียเป็นฐาน แถมมีความเป็นไปได้ด้วยซ้ำว่าแผนการนี้กลับจะส่งเสริมให้มีการเพิ่มงานการพัฒนาด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์และงานแบ็กออฟฟิศของ HSBC ขึ้นในอินเดียและจีน
เอเชียอันเฮดจ์ มีข้อสังเกตว่าในเศรษฐกิจโลกที่วูบวาบผาดโผนนั้น การพังพาบของประเทศหนึ่งอาจจะเป็นความรุ่งเรืองของอีกประเทศหนึ่งก็ได้
HSBC ประกาศเมื่อวันอังคารที่ 9 มิถุนายนที่ผ่านมา (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.reuters.com/article/2015/06/09/us-hsbc-strategy-idUSKBN0OO2KK20150609) ว่าตนเองวางแผนการจะตัดลดตำแหน่งงานในต่างแดนลงมาจำนวนมาก โดยรวมแล้วอาจจะสูงถึง 50,000 ตำแหน่งทีเดียว
ทว่าตามรายงานชิ้นหนึ่งซึ่งปรากฏอยู่ใน “อีโคโนมิกไทมส์” (Economic Times) (ดูรายละเอียดของข่าวนี้ได้ที่ http://economictimes.indiatimes.com/jobs/global-job-cut-to-have-minimum-impact-on-india-hsbc/articleshow/47604205.cms) เรื่องนี้จะมีผลกระทบน้อยที่สุดต่อการดำเนินงานซึ่งใช้อินเดียเป็นฐานของแบงก์ยักษ์ใหญ่สัญชาติอังกฤษรายนี้ แถมมีความเป็นไปได้ด้วยซ้ำว่าแผนการนี้กลับจะส่งเสริมให้มีการเพิ่มงานการพัฒนาด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์และงานแบ็กออฟฟิศของ HSBC ขึ้นในอินเดียและจีน เนื่องจากมันจะเป็นส่วนหนึ่งของความเคลื่อนไหวในการตัดลดต้นทุนค่าใช้จ่าย
รายงานข่าวระบุว่า แบงก์แห่งนี้ได้แถลงในงานนำเสนอต่อนักลงทุนงานหนึ่งว่า ตนเองจะเพิ่มระดับการไปทำกิจกรรมด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ในอินเดียและจีน จนอยู่ในราว 75% ของงานด้านนี้ทั้งหมดภายในปี 2017 จากประมาณ 50% ในปัจจุบัน โดยที่คาดการณ์ว่าก้าวเดินนี้น่าจะประหยัดต้นทุนได้ 525 ล้านดอลลาร์ทีเดียว
อีโคโนมิกไทมส์บอกว่า ในจำนวนลูกจ้างของ HSBC ที่มีอยู่ในอินเดียรวม 32,000 คนนั้น มีมากกว่า 27,000 คนด้วยซ้ำซึ่งทำงานอยู่ตามศูนย์แบ็กออฟฟิศและศูนย์พัฒนาต่างๆ ที่กระจายไปตามเมืองอย่าง ปูเน่ (Pune), ไฮเดอราบาด(Hyderabad), วิสาขปัทนัม (Vishakapatnam), โกลกาตา (Kolkata เดิมใช้ชื่อว่า กัลกัตตา), บังกาลอร์ (Bangalore), และเดลี (Delhi) สำหรับลูกจ้างอีก 5,000 คนเป็นพวกที่อยู่ในกิจการด้านการธนาคาร, การบริหารจัดการสินทรัพย์, และการประกันภัย ซึ่งใช้อินเดียเป็นฐานของ HSBC
เจ้าหน้าที่ของ HSBC คนหนึ่งเตือนว่า เวลานี้แบงก์ยังอยู่ระหว่างการประเมินว่า การตัดลดจำนวนพนักงานในทั่วโลกเช่นนี้จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อการดำเนินงานออฟชอร์ในอินเดีย
“มันยังเร็วเกินไปที่จะพูดถึงผลกระทบ (ของมาตรการตัดลดต้นทุนค่าใช้จ่ายทั่วโลกคราวนี้) แต่ถ้าหากจะมีอะไรแล้ว สำหรับที่นี่มันก็น่าจะอยู่ในระดับต่ำที่สุดนั่นแหละ นอกจากนั้นแผนการนี้อาจจะส่งผลกระทบในเชิงบวกก็ได้ เนื่องจากเอเชียถูกระบุว่าจะเป็นตลาดที่เป็นจุดโฟกัสแห่งหนึ่ง ยิ่งกว่านั้นอินเดียก็จะเป็นตลาดที่มีความสำคัญลำดับต้นๆ แห่งหนึ่งสำหรับทางเรา” อีโคโนมิกไทมส์อ้างคำพูดของเจ้าหน้าที่ผู้หนึ่งของ HSBC อินเดีย
ตามประกาศของ HSBC ทางแบงก์วางแผนการจะตัดลดตำแหน่งงานลงไปเกือบๆ 1 ใน 5 ทีเดียว ยิ่งด้านวาณิชธนกิจด้วยแล้วจะถูกหั่นลงไป 1 ใน 3 เพื่อให้สอดคล้องกับอัตราการเติบโตอันติดๆ ขัดๆ ของหน่วยงานต่างๆ ของทางธนาคารแห่งนี้ในทั่วโลก ส่วนที่สำคัญในแผนการนี้คือจะมีการลดตำแหน่งลงเกือบ 50,000 ตำแหน่ง โดยที่ครึ่งหนึ่งมาจากการขายธุรกิจต่างๆ ที่มีอยู่ในบราซิลและตุรกี (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.reuters.com/places/brazil)
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)
HSBC’s layoffs may shift more offshore work to India, China
Author: Asia Unhedged
09/06/2015
HSBC ประกาศในสัปดาห์นี้ถึงแผนการตัดลดตำแหน่งงานในต่างแดนลงมาเป็นจำนวนราว 50,000 ตำแหน่ง ทว่าตามรายงานชิ้นหนึ่งซึ่งปรากฏอยู่ใน “อีโคโนมิกไทมส์” เรื่องนี้จะมีผลกระทบน้อยที่สุดต่อการดำเนินงานซึ่งใช้อินเดียเป็นฐาน แถมมีความเป็นไปได้ด้วยซ้ำว่าแผนการนี้กลับจะส่งเสริมให้มีการเพิ่มงานการพัฒนาด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์และงานแบ็กออฟฟิศของ HSBC ขึ้นในอินเดียและจีน
เอเชียอันเฮดจ์ มีข้อสังเกตว่าในเศรษฐกิจโลกที่วูบวาบผาดโผนนั้น การพังพาบของประเทศหนึ่งอาจจะเป็นความรุ่งเรืองของอีกประเทศหนึ่งก็ได้
HSBC ประกาศเมื่อวันอังคารที่ 9 มิถุนายนที่ผ่านมา (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.reuters.com/article/2015/06/09/us-hsbc-strategy-idUSKBN0OO2KK20150609) ว่าตนเองวางแผนการจะตัดลดตำแหน่งงานในต่างแดนลงมาจำนวนมาก โดยรวมแล้วอาจจะสูงถึง 50,000 ตำแหน่งทีเดียว
ทว่าตามรายงานชิ้นหนึ่งซึ่งปรากฏอยู่ใน “อีโคโนมิกไทมส์” (Economic Times) (ดูรายละเอียดของข่าวนี้ได้ที่ http://economictimes.indiatimes.com/jobs/global-job-cut-to-have-minimum-impact-on-india-hsbc/articleshow/47604205.cms) เรื่องนี้จะมีผลกระทบน้อยที่สุดต่อการดำเนินงานซึ่งใช้อินเดียเป็นฐานของแบงก์ยักษ์ใหญ่สัญชาติอังกฤษรายนี้ แถมมีความเป็นไปได้ด้วยซ้ำว่าแผนการนี้กลับจะส่งเสริมให้มีการเพิ่มงานการพัฒนาด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์และงานแบ็กออฟฟิศของ HSBC ขึ้นในอินเดียและจีน เนื่องจากมันจะเป็นส่วนหนึ่งของความเคลื่อนไหวในการตัดลดต้นทุนค่าใช้จ่าย
รายงานข่าวระบุว่า แบงก์แห่งนี้ได้แถลงในงานนำเสนอต่อนักลงทุนงานหนึ่งว่า ตนเองจะเพิ่มระดับการไปทำกิจกรรมด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ในอินเดียและจีน จนอยู่ในราว 75% ของงานด้านนี้ทั้งหมดภายในปี 2017 จากประมาณ 50% ในปัจจุบัน โดยที่คาดการณ์ว่าก้าวเดินนี้น่าจะประหยัดต้นทุนได้ 525 ล้านดอลลาร์ทีเดียว
อีโคโนมิกไทมส์บอกว่า ในจำนวนลูกจ้างของ HSBC ที่มีอยู่ในอินเดียรวม 32,000 คนนั้น มีมากกว่า 27,000 คนด้วยซ้ำซึ่งทำงานอยู่ตามศูนย์แบ็กออฟฟิศและศูนย์พัฒนาต่างๆ ที่กระจายไปตามเมืองอย่าง ปูเน่ (Pune), ไฮเดอราบาด(Hyderabad), วิสาขปัทนัม (Vishakapatnam), โกลกาตา (Kolkata เดิมใช้ชื่อว่า กัลกัตตา), บังกาลอร์ (Bangalore), และเดลี (Delhi) สำหรับลูกจ้างอีก 5,000 คนเป็นพวกที่อยู่ในกิจการด้านการธนาคาร, การบริหารจัดการสินทรัพย์, และการประกันภัย ซึ่งใช้อินเดียเป็นฐานของ HSBC
เจ้าหน้าที่ของ HSBC คนหนึ่งเตือนว่า เวลานี้แบงก์ยังอยู่ระหว่างการประเมินว่า การตัดลดจำนวนพนักงานในทั่วโลกเช่นนี้จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อการดำเนินงานออฟชอร์ในอินเดีย
“มันยังเร็วเกินไปที่จะพูดถึงผลกระทบ (ของมาตรการตัดลดต้นทุนค่าใช้จ่ายทั่วโลกคราวนี้) แต่ถ้าหากจะมีอะไรแล้ว สำหรับที่นี่มันก็น่าจะอยู่ในระดับต่ำที่สุดนั่นแหละ นอกจากนั้นแผนการนี้อาจจะส่งผลกระทบในเชิงบวกก็ได้ เนื่องจากเอเชียถูกระบุว่าจะเป็นตลาดที่เป็นจุดโฟกัสแห่งหนึ่ง ยิ่งกว่านั้นอินเดียก็จะเป็นตลาดที่มีความสำคัญลำดับต้นๆ แห่งหนึ่งสำหรับทางเรา” อีโคโนมิกไทมส์อ้างคำพูดของเจ้าหน้าที่ผู้หนึ่งของ HSBC อินเดีย
ตามประกาศของ HSBC ทางแบงก์วางแผนการจะตัดลดตำแหน่งงานลงไปเกือบๆ 1 ใน 5 ทีเดียว ยิ่งด้านวาณิชธนกิจด้วยแล้วจะถูกหั่นลงไป 1 ใน 3 เพื่อให้สอดคล้องกับอัตราการเติบโตอันติดๆ ขัดๆ ของหน่วยงานต่างๆ ของทางธนาคารแห่งนี้ในทั่วโลก ส่วนที่สำคัญในแผนการนี้คือจะมีการลดตำแหน่งลงเกือบ 50,000 ตำแหน่ง โดยที่ครึ่งหนึ่งมาจากการขายธุรกิจต่างๆ ที่มีอยู่ในบราซิลและตุรกี (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.reuters.com/places/brazil)
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)