เอเจนซีส์ - ครบรอบ 1 ปีการทำรัฐประหารไทยในวันที่ 22 พฤษภาคมที่ผ่านมา และยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงนอกจากรัฐบาลรักษาการของหัวหน้าคณะรัฐประหาร พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เลื่อนการจัดเลือกตั้งทั่วไปในไทยออกไป แต่ทว่าอดีตนายกรัฐมนตรีไทยสายพรรคประชาธิปัตย์ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เตือนผ่านสื่อสหรัฐฯ CNBC ว่า “รัฐบาลทหารไทยใกล้หมดเวลาแล้ว”
CNBC สื่อสหรัฐฯรายงานเมื่อวานนี้(25)ว่า อดีตนายกรัฐมนตรีไทยสายพรรคประชาธิปัตย์ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้ให้สัมภาษณ์กับ CNBC สื่อสหรัฐฯว่า “ผมสนับสนุนการทำประชาพิจารณ์เสมอ เพราะผมคิดว่าเป็นสิ่งสำคัญที่กฎหมายร่างรัฐธรรมนูญสมควรที่จะต้องได้รับเสียงสนับสนุนโดยประชาชนไทยเจ้าของประเทศ” และอดีตนายกของไทยกล่าวต่อว่า “แต่สิ่งสำคัญที่สุดของประชาชนในอีก 1 ปีจากนี้กลับกำลังอยู่ในระหว่างการโต้เถียงเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ...ซึ่งถึงเวลาแล้วที่ประเทศต้องเดินหน้าต่อ”
ทั้งนี้สื่อสหรัฐฯรายงานว่า 1 ปี รัฐบาลทหารไทยสัญญาว่าจะมีการจัดการทำประชาพิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญก่อนที่จะมีการเลือกตั้งทั่วไปหลังจากนั้นในต้นปี 2016 แต่ทว่าในวันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมาพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทยกลับประกาศที่จะไม่จัดการทำประชาพิจารย์เหมือนดังที่เคยรับปากกับประชาชนไว้แต่แรก โดยอ้างว่าจะทำให้กำหนดการเลือกตั้งทั่วไปต้องล่าช้าออกไป
“จริงอยู่ผมเคยให้คำมั่นว่าจะมีการจัดทำประชาพิจารณ์เกิดขึ้นราวเดือนเมษายน หรือพฤษภาคมปีนี้ แต่หากเราต้องทำประชาพิจารณ์จริงจะทำให้เราต้องล่าช้าไปถึง 3 เดือนเต็ม” พลเอกประยุทธ์กล่าว รอยเตอร์รายงาน
ที่ผ่านมารัฐบาลรักษาการของไทยยอมทำหลายประการ เป็นต้นว่า ยกเลิกการใช้กฏเคอร์ฟิวแต่รักษาความสงบของประเทศผ่านกฎหมายพ.ร.ก.ฉุกเฉินแทน เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของประชาคมโลก และรวมไปถึงการถูกกดดันจากภาคเอกชนไทย จอห์น ซิฟตัน (John Sifton ) ผู้อำนวยการฮิวแมนไรท์วอช Human Rights Watch Asia advocacy ให้ความเห็นผ่านบล็อก
“ใครก็ตามที่ต้องการเสียสละช่วยเหลือประเทศในระยะยาว และต้องการทราบถึงทิศมางที่แน่นอนว่าประเทศจะหันหัวเรือไปในทางใด แต่เป็นไปไม่ได้เลยที่จะเกิดสิ่งนี้ขึ้น และจนกระทั่งเราเข้าสู่เฟสสุดท้ายของโร๊ดแม็ปประเทศ มันจะไม่สามารถหวนกลับคืนไปได้” อภิสิทธิ์นายกรัฐมนตรีไทยในช่วงปี 2008 -2011 ที่ไม่ได้ชนะการเลือกตั้งโดยตรงขึ้นเป็นผู้นำไทย
นอกจากนี้สื่อสหรัฐฯยังรายงานเพิ่มเติมว่า มอร์แกนสแตนเลย์ระบุว่า เศรษฐกิจไทยยังชะงักงันต่อเนื่อง นักลงทุนต่างชาติหอบเงินลงทุนร่วม 270 ล้านดอลลาร์หนีจากตลาดหลักทรัพย์ไทยในปีนี้ และเทขายตราสารอีกกว่า 4 พันล้านนับตั้งแต่เริ่มเกิดการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มกปปส.ในเดือนพฤศจิกายน 2013
ซึ่งสื่อสหรัฐฯชี้ว่า ยังไม่มีการทำรัฐประหารครั้งใดสามารถทำให้เศรษฐกิจไทยดีขึ้น จากจีดีปี 2014โตขึ้นเพียง 0.7% เท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากตัวเลขการเติบโตจีดีพีปี 2013 ที่มีถึง 2.9% และ 6.5% ในปี 2012
และดูเหมือนทิศทางเศรษฐจกิจไทจะดูดีขึ้น แต่ก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้นเพราะในต้นปี 2015 เศรษฐกิจโตปรับตัวขึ้น 0.3 % จากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเหนือจากความคาดหมาย แต่บรรดานักวิเคราะห์ชี้ว่า เป็นเพราะการปรับตัวเลขที่ต่ำกว่าของช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม
นอกจากนี้ CNBC รายงานเพิ่มเติมว่า รัฐบาลไทยได้คาดการณ์ตัวเลขการเติบโตในปีนี้อยู่ในช่วงระหว่าง 3 -4 % ในปี 2015 แต่กระนั้นนักวิเคราะห์กลับแย้งว่า เป็นการมองภาพบวกมากเกินไป