(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Putin liberates Iran from sanctions
Author: M.K. Bhadrakumar
13/04/2015
ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ตัดสินใจลงนามในกฤษฎีกาประธานาธิบดี เพื่อดำเนินการจัดส่งขีปนาวุธ เอส-300 ไปให้อิหร่านในทันที นี่เป็นสิ่งบ่งชี้แสดงให้เห็นว่า ระบบการลงโทษคว่ำบาตรที่นานาชาติใช้ต่ออิหร่าน ได้มาถึงจุดจบในความเป็นจริงแล้ว ปูตินนั่นแหละคือผู้ที่เพิ่ง “ปลดปล่อย” อิหร่านออกจากคำสาปแช่งแห่งมาตรการลงโทษคว่ำบาตร ในทางพฤตินัยแล้ว วังเครมลินเพิ่งทำการเปิดประตูเขื่อนกั้น ให้อิหร่านสามารถบูรณาการเพื่อกลายเป็นสมาชิกที่เติบโตเต็มที่รายหนึ่งของประชาคมระหว่างประเทศ ขณะเดียวกัน ความเคลื่อนไหวของผู้นำหมีขาวยังเป็นการตบใส่หน้าของสหรัฐฯฉาดใหญ่
ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ตัดสินใจเมื่อวันจันทร์ (13 เม.ย.) ที่ผ่านมา ลงนามในกฤษฎีกาประธานาธิบดี เพื่อดำเนินการจัดส่งขีปนาวุธ เอส-300 (S-300) [1] ไปให้อิหร่านในทันที (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.iran-daily.com/News/115535.html) ขณะเดียวกันก็มีรายงานว่าข้อตกลงแลกเปลี่ยนน้ำมันกับสินค้าต่างๆ ระหว่างรัสเซียกับอิหร่าน รวมเป็นมูลค่า 20,000 ล้านดอลลาร์ กำลังเริ่มต้นขึ้นแล้ว เหล่านี้เป็นสิ่งบ่งชี้แสดงให้เห็นว่า ระบบการลงโทษคว่ำบาตรที่นานาชาติใช้ต่ออิหร่าน ได้มาถึงจุดจบในความเป็นจริงแล้ว ปูตินนั่นแหละคือผู้ที่เพิ่ง “ปลดปล่อย” อิหร่านออกจากคำสาปแช่งแห่งมาตรการลงโทษคว่ำบาตร ในทางพฤตินัยแล้ว วังเครมลินเพิ่งทำการเปิดประตูเขื่อนกั้น ให้อิหร่านสามารถบูรณาการเพื่อกลายเป็นสมาชิกที่เติบโตเต็มที่รายหนึ่งของประชาคมระหว่างประเทศ
มอสโกเพิ่งส่งสัญญาณว่าตนเองจะไม่รอคอยไปจนถึงสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อให้ได้ข้อตกลงที่อิหร่านเจรจาอยู่กับคณะบริหารของประธานาธิบดีบารัค โอบามา สำหรับฟื้นฟูความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างวอชิงตันกับเตหะรานขึ้นมาใหม่ และให้อิหร่านกลับได้รับการยอมรับจากสหรัฐฯในฐานะเป็น “ประเทศปกติธรรมดา” อีกครั้ง กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ วังเครมลินกำลังพยักพเยิดกวักมือเรียกประชาคมโลกให้ก้าวเข้ามาสู่การถือกำเนิดของระเบียบโลกใหม่ ที่ไม่ใช่ระเบียบโลกแบบเดิม (ซึ่งครอบงำโดยวอชิงตัน) อีกต่อไป
ไม่ว่าเราจะพิจารณาความเคลื่อนไหวของวังเครมลินในครั้งนี้กันอย่างไร ก็ต้องมองเห็นอยู่ดีว่านี่คือการตบใส่หน้าของสหรัฐฯฉาดใหญ่ ข้อความที่รัสเซียส่งออกมานั้นชัดเจนยิ่ง กล่าวคือ มอสโกจะไม่ยอมรอคอยให้คณะบริหารโอบามาเป็นผู้กำหนดจังหวะความเคลื่อนไหวของความสัมพันธ์รัสเซีย-อิหร่าน หรือเป็นผู้กำหนดจังหวะความเคลื่อนไหวของประเด็นปัญหาระหว่างประเทศอื่นใดก็ตามซึ่งเป็นผลประโยชน์อันสำคัญยิ่งยวดของรัสเซีย แน่นอนทีเดียว การเดินหมากในส่วนของปูตินคราวนี้ ต้องถือว่าเป็นการเดินหมากทางยุทธศาสตร์ ทว่าขณะเดียวกันก็เป็นการเดินหมากในทางปฏิบัติที่หลักแหลม เป็นการเดินหมากในทางยุทธวิธีที่เฉียบคม โดยที่รัสเซียกำลังช่วงชิงวิ่งแซงหน้าฝ่ายตะวันตก ในการเพาะสร้างพลังวังชาให้แก่ความเป็นหุ้นส่วนกับอิหร่าน เพื่อให้กลับฟื้นคืนเข้มแข็งขึ้นมาใหม่อย่างว่องไว
ชัดเจนว่า มอสโกประเมินแล้วว่ามันเป็นผลประโยชน์อันสำคัญยิ่งยวดของรัสเซียที่จะต้องยกระดับความสัมพันธ์กับอิหร่านให้ขึ้นไปสู่ระดับสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ด้วยความรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการประเมินเช่นนี้สืบเนื่องจากเตหะรานได้ส่งสัญญาณที่ไม่มีความกำกวมใดๆ ออกมาหลายครั้งหลายหนในระยะหลังๆ นี้ ว่าในเส้นทางโคจรแห่งนโยบายการต่างประเทศของอิหร่านนั้น รัสเซียจะยังคงมีฐานะอันสำคัญอย่างยิ่ง ถึงแม้อิหร่านจะมีการฟื้นฟูสายใยความผูกพันกับฝ่ายตะวันตกขึ้นมาใหม่ก็ตามที (ดูรายละเอียดเรื่องนี้ได้ที่บทความของผู้เขียน เอ็ม. เค. ภัทรกุมาร ในเอเชียไทมส์ เรื่อง A challenging time for Russia-Iran ties. ในเว็บเพจhttp://atimes.com/2015/04/a-challenging-time-for-russia-iran-ties/ )
การเจรจาต่อรองเพื่อฟื้นฟูสายสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับอิหร่านในขณะนี้ ซึ่งมีการเกี้ยวพากันอย่างยักเยื้องสวยงามพร้อมๆ ไปกับการต่อกรเผชิญหน้ากันด้วย ดูประหนึ่งการเต้นรำจังหวะแทงโก้นั้น กำลังกลายเป็นสิ่งที่น่าสนใจเพียงแค่ในเชิงวิชาการเท่านั้นไปเสียแล้ว อันที่จริง มอสโกยังเพิ่งทำให้รัฐสภาอเมริกันที่ครอบงำโดยพวกรีพับลิกันและพวกสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯสายเหยี่ยวทั้งหลายแลดูโง่เขลาอย่างยิ่งและไร้น้ำยาอย่างยิ่ง และทำให้พวกเขากลายเป็นคนในยุคเก่าพ้นสมัยไปเลย ขณะเดียวกันการท้าทายในเชิงยุทธศาสตร์คราวนี้ ยังทำให้การเผชิญหน้ากันระหว่างรัสเซียกับอเมริกา ไต่สูงขึ้นไปสู่ระดับของเมื่อครั้งสงครามเย็นทีเดียว
แน่นอนที่ว่า พัฒนาการที่เกิดขึ้นในเวลานี้ ซึ่งเป็นสัญญาณแสดงให้เห็นถึงการที่มอสโกและเตหะรานกำลังจับกลุ่มเกาะตัวกันกลายเป็นแกนพันธมิตรยุทธศาสตร์รัสเซีย-อิหร่าน ยังจะเกิดการแตกกิ่งก้านสาขาออกไปอีก โดยที่กำลังจะส่งผลกระทบกระเทือนอย่างล้ำลึกในสมรภูมิต่างๆ แห่งความมั่นคงระหว่างประเทศ ซึ่งอยู่ภายในอาณาบริเวณวงโค้งอันใหญ่โตกว้างขวางแผ่ขยายจากเอเชียกลาง ผ่านเทือกเขตคอเคซัส (Caucasus) และทะเลสาบแคสเปียน (Caspian) ไปจนถึงภูมิภาคตะวันออกกลางแท้ๆ พูดกันง่ายๆ ก็คือ สหรัฐฯกำลังจะมองเห็นความเพลี่ยงพล้ำระดับหายนะในนโยบายระดับภูมิภาคของตนในแนวรบด้านต่างๆ มากมาย ไม่ต้องสงสัยเลยว่า อิหร่านนั้นคือรัฐที่ทรงความสำคัญเป็นอย่างยิ่งแห่งหนึ่ง และกำลังจะกลายเป็นตัวเปลี่ยนเกมให้แก่นโยบายของรัสเซีย ซึ่งมุ่งมาดปรารถนาที่จะมีมหาอำนาจระดับภูมิภาคทำนองนี้มาอยู่เคียงข้างในฐานะที่เป็นพันธมิตรอันสนิทชิดเชื้อ
เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ไม่ยากว่า มอสโกกับปักกิ่งกำลังมีการร่วมมือประสานงานกัน ในความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเรื่องอิหร่าน ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีนมีกำหนดที่จะเดินทางไปเยือนอิหร่านในเร็วๆ นี้ และพวกเจ้าหน้าที่จีนก็พากันพูดเป็นนัยๆ แต่กล่าวกันออกมาอย่างเปิดเผยว่า ระหว่างการเยือนของ สี คราวนี้ คงจะมีการประกาศข่าว “ที่น่าตื่นใจ” บางอย่างบางประการ
ในขณะเดียวกันนั้น เราย่อมจะมองเห็นได้ว่า อิหร่านเพิ่งก้าวกระโดดไปไกลมากทีเดียว บนเส้นทางซึ่งมุ่งไปสู่การได้รับเชิญให้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การความร่วมมือแห่งเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Cooperation Organization)
เอกอัครราชทูต เอ็ม เค ภัทรกุมาร เคยรับราชการเป็นนักการทูตอาชีพในกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย เขาเคยได้รับมอบหมายให้ไปประจำอยู่ในหลายๆ ประเทศ อาทิ สหภาพโซเวียต, เกาหลีใต้, ศรีลังกา, เยอรมนี, อัฟกานิสถาน, ปากีสถาน, อุซเบกิสถาน, คูเวต, และตุรกี
หมายเหตุผู้แปล
[1] ขีปนาวุธ เอส-300 (S-300) ซึ่งรัสเซียกำลังจัดส่งให้แก่อิหร่านนี้ มีรายละเอียดเพิ่มเติมอยู่ในรายงานข่าวเรื่อง Russia’s S-300 missile offers Iran long-range air defense: IHS (ไอเอชเอสระบุ ขีปนาวุธเอส-300 ของรัสเซียทำให้อิหร่านมีระบบป้องกันภัยทางอากาศพิสัยไกล) ตีพิมพ์ในส่วน Asia Times News & Features ของเอเชียไทมส์ วันที่ 14 เมษายน 2015 (ดูต้นฉบับภาษาอังกฤษได้ที่ http://atimes.com/2015/04/russias-s-300-missile-offers-iran-long-range-air-defense-ihs/) ทั้งนี้รายงานข่าวนี้มีเนื้อหาดังนี้:
ขีปนาวุธ เอส-300 (S-300) ซึ่งรัสเซียกำลังจัดส่งให้แก่อิหร่าน ภายหลังที่มีการเห็นชอบเรื่องร่างข้อตกลงนิวเคลียร์ของเตหะรานได้แล้วนั้น ไม่ได้เป็นระบบป้องกันภัยทางอาวุธรุ่นล่าสุดของแดนหมีขาวแต่อย่างใด เบน กู๊ดแลด (Ben Goodlad) นักวิเคราะห์หลักด้านอาวุธของ ไอเอชเอส แอโรสเปซ, ดีเฟนซ์ แอนด์ ซีเคียวริตี้ (IHS Aerospace, Defence and Security) ระบุในรายงานที่นำออกเผยแพร่เมื่อวันอังคาร (14 เม.ย.)
รัสเซียยังมีขีปนาวุธในคลังซึ่งมีสมรรถนะเหนือกว่านี้อีก คือ รุ่น เอส-400 (S-400) กระนั้น กู๊ดแลดก็เห็นว่า การที่อิหร่านได้รับขีปนาวุธเอส-300 ไป ยังคงทำให้ประเทศนี้มีสมรรถนะการป้องกันทางอากาศแบบพิสัยไกลเพิ่มขึ้นมา จากที่ในคลังแสงของอิหร่านเวลานี้ขาดแคลนอาวุธประเภทนี้ เอส-300 นั้นสามารถที่จะมีพิสัยทำการขยายไปถึงสูงสุดที่ 150 กิโลเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ตัวสกัดกั้นขัดขวาง (interceptor) ที่นำมาใช้กับระบบ แต่ไม่ว่าขีปนาวุธที่อิหร่านได้รับ จะมีพิสัยทำการถึงสูงสุดหรือไม่ มันก็จะยังคงเป็นตัวเพิ่มแถวเพิ่มชั้นของการป้องกันให้แก่แผนการป้องกันภัยทางอากาศของอิหร่านอยู่นั่นเอง ขณะที่การขายระบบ เอส-300 ให้แก่อิหร่าน ไม่ได้เป็นภัยคุกคามโดยตรงต่ออิสราเอล แต่นักวิเคราะห์รายนี้ก็ชี้ว่า อาวุธนี้จะทำให้การเข้าโจมตีทางอากาศที่กองทัพอากาศอิสราเอลอาจจะลงมือปฏิบัติการในอนาคตข้างหน้า บังเกิดความยุ่งยากท้าทายเพิ่มมากขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย
รัสเซียได้ส่งออกระบบ เอส-300 ไปให้ลูกค้าต่างประเทศทั่วโลกทีเดียว ตั้งแต่ ไซปรัส และ กรีซ ในยุโรป ไปจนถึง จีน และเวียดนาม ทางเอเชีย อย่างไรก็ดี กู๊ดแลดชี้ว่า ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ปัจจุบันยังไม่มีชาติใดนำขีปนาวุธรุ่นนี้เข้าประจำการเลย ถึงแม้ทั้งอิหร่านและซีเรียต่างใช้ความพยายามมานานแล้วที่จะขอซื้อระบบอาวุธนี้
กู๊ดแลดชี้ด้วยว่า ภายหลังจากที่รัสเซียประกาศระงับการขาย เอส-300 ให้แก่อิหร่าน หลังจากที่ตอนแรกๆ มีการตกลงที่จะส่งให้แล้ว อิหร่านก็ได้หันมาพัฒนาระบบป้องกันภัยทางอากาศพิสัยไกลของตนเองขึ้นมา โดยเรียกชื่อว่า บาวาร์-373 (Bavar-373) อย่างไรก็ตาม เตหะรานไม่น่าที่จะละทิ้งโอกาสในการซื้อหาระบบ เอส-300 เพื่อยืนกรานที่จะพัฒนาและใช้งาน บาวาร์-373 ต่อไป เมื่อพิจารณาถคงข้อเท็จจริงที่ว่า เอส-300 นั้นเป็นระบบที่ได้รับการบูรณาการอย่างเต็มที่แล้ว ตลอดจนผ่านการพิสูจน์จากการถูกใช้งานจริงมาแล้ว กระนั้น กู๊ดแลดเชื่อว่า ยังคงมีเป็นไปได้ที่อิหร่านอาจจะยังใช้ขีปนาวุธซึ่งผลิตขึ้นเองในท้องถิ่นด้วย
Putin liberates Iran from sanctions
Author: M.K. Bhadrakumar
13/04/2015
ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ตัดสินใจลงนามในกฤษฎีกาประธานาธิบดี เพื่อดำเนินการจัดส่งขีปนาวุธ เอส-300 ไปให้อิหร่านในทันที นี่เป็นสิ่งบ่งชี้แสดงให้เห็นว่า ระบบการลงโทษคว่ำบาตรที่นานาชาติใช้ต่ออิหร่าน ได้มาถึงจุดจบในความเป็นจริงแล้ว ปูตินนั่นแหละคือผู้ที่เพิ่ง “ปลดปล่อย” อิหร่านออกจากคำสาปแช่งแห่งมาตรการลงโทษคว่ำบาตร ในทางพฤตินัยแล้ว วังเครมลินเพิ่งทำการเปิดประตูเขื่อนกั้น ให้อิหร่านสามารถบูรณาการเพื่อกลายเป็นสมาชิกที่เติบโตเต็มที่รายหนึ่งของประชาคมระหว่างประเทศ ขณะเดียวกัน ความเคลื่อนไหวของผู้นำหมีขาวยังเป็นการตบใส่หน้าของสหรัฐฯฉาดใหญ่
ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ตัดสินใจเมื่อวันจันทร์ (13 เม.ย.) ที่ผ่านมา ลงนามในกฤษฎีกาประธานาธิบดี เพื่อดำเนินการจัดส่งขีปนาวุธ เอส-300 (S-300) [1] ไปให้อิหร่านในทันที (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.iran-daily.com/News/115535.html) ขณะเดียวกันก็มีรายงานว่าข้อตกลงแลกเปลี่ยนน้ำมันกับสินค้าต่างๆ ระหว่างรัสเซียกับอิหร่าน รวมเป็นมูลค่า 20,000 ล้านดอลลาร์ กำลังเริ่มต้นขึ้นแล้ว เหล่านี้เป็นสิ่งบ่งชี้แสดงให้เห็นว่า ระบบการลงโทษคว่ำบาตรที่นานาชาติใช้ต่ออิหร่าน ได้มาถึงจุดจบในความเป็นจริงแล้ว ปูตินนั่นแหละคือผู้ที่เพิ่ง “ปลดปล่อย” อิหร่านออกจากคำสาปแช่งแห่งมาตรการลงโทษคว่ำบาตร ในทางพฤตินัยแล้ว วังเครมลินเพิ่งทำการเปิดประตูเขื่อนกั้น ให้อิหร่านสามารถบูรณาการเพื่อกลายเป็นสมาชิกที่เติบโตเต็มที่รายหนึ่งของประชาคมระหว่างประเทศ
มอสโกเพิ่งส่งสัญญาณว่าตนเองจะไม่รอคอยไปจนถึงสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อให้ได้ข้อตกลงที่อิหร่านเจรจาอยู่กับคณะบริหารของประธานาธิบดีบารัค โอบามา สำหรับฟื้นฟูความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างวอชิงตันกับเตหะรานขึ้นมาใหม่ และให้อิหร่านกลับได้รับการยอมรับจากสหรัฐฯในฐานะเป็น “ประเทศปกติธรรมดา” อีกครั้ง กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ วังเครมลินกำลังพยักพเยิดกวักมือเรียกประชาคมโลกให้ก้าวเข้ามาสู่การถือกำเนิดของระเบียบโลกใหม่ ที่ไม่ใช่ระเบียบโลกแบบเดิม (ซึ่งครอบงำโดยวอชิงตัน) อีกต่อไป
ไม่ว่าเราจะพิจารณาความเคลื่อนไหวของวังเครมลินในครั้งนี้กันอย่างไร ก็ต้องมองเห็นอยู่ดีว่านี่คือการตบใส่หน้าของสหรัฐฯฉาดใหญ่ ข้อความที่รัสเซียส่งออกมานั้นชัดเจนยิ่ง กล่าวคือ มอสโกจะไม่ยอมรอคอยให้คณะบริหารโอบามาเป็นผู้กำหนดจังหวะความเคลื่อนไหวของความสัมพันธ์รัสเซีย-อิหร่าน หรือเป็นผู้กำหนดจังหวะความเคลื่อนไหวของประเด็นปัญหาระหว่างประเทศอื่นใดก็ตามซึ่งเป็นผลประโยชน์อันสำคัญยิ่งยวดของรัสเซีย แน่นอนทีเดียว การเดินหมากในส่วนของปูตินคราวนี้ ต้องถือว่าเป็นการเดินหมากทางยุทธศาสตร์ ทว่าขณะเดียวกันก็เป็นการเดินหมากในทางปฏิบัติที่หลักแหลม เป็นการเดินหมากในทางยุทธวิธีที่เฉียบคม โดยที่รัสเซียกำลังช่วงชิงวิ่งแซงหน้าฝ่ายตะวันตก ในการเพาะสร้างพลังวังชาให้แก่ความเป็นหุ้นส่วนกับอิหร่าน เพื่อให้กลับฟื้นคืนเข้มแข็งขึ้นมาใหม่อย่างว่องไว
ชัดเจนว่า มอสโกประเมินแล้วว่ามันเป็นผลประโยชน์อันสำคัญยิ่งยวดของรัสเซียที่จะต้องยกระดับความสัมพันธ์กับอิหร่านให้ขึ้นไปสู่ระดับสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ด้วยความรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการประเมินเช่นนี้สืบเนื่องจากเตหะรานได้ส่งสัญญาณที่ไม่มีความกำกวมใดๆ ออกมาหลายครั้งหลายหนในระยะหลังๆ นี้ ว่าในเส้นทางโคจรแห่งนโยบายการต่างประเทศของอิหร่านนั้น รัสเซียจะยังคงมีฐานะอันสำคัญอย่างยิ่ง ถึงแม้อิหร่านจะมีการฟื้นฟูสายใยความผูกพันกับฝ่ายตะวันตกขึ้นมาใหม่ก็ตามที (ดูรายละเอียดเรื่องนี้ได้ที่บทความของผู้เขียน เอ็ม. เค. ภัทรกุมาร ในเอเชียไทมส์ เรื่อง A challenging time for Russia-Iran ties. ในเว็บเพจhttp://atimes.com/2015/04/a-challenging-time-for-russia-iran-ties/ )
การเจรจาต่อรองเพื่อฟื้นฟูสายสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับอิหร่านในขณะนี้ ซึ่งมีการเกี้ยวพากันอย่างยักเยื้องสวยงามพร้อมๆ ไปกับการต่อกรเผชิญหน้ากันด้วย ดูประหนึ่งการเต้นรำจังหวะแทงโก้นั้น กำลังกลายเป็นสิ่งที่น่าสนใจเพียงแค่ในเชิงวิชาการเท่านั้นไปเสียแล้ว อันที่จริง มอสโกยังเพิ่งทำให้รัฐสภาอเมริกันที่ครอบงำโดยพวกรีพับลิกันและพวกสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯสายเหยี่ยวทั้งหลายแลดูโง่เขลาอย่างยิ่งและไร้น้ำยาอย่างยิ่ง และทำให้พวกเขากลายเป็นคนในยุคเก่าพ้นสมัยไปเลย ขณะเดียวกันการท้าทายในเชิงยุทธศาสตร์คราวนี้ ยังทำให้การเผชิญหน้ากันระหว่างรัสเซียกับอเมริกา ไต่สูงขึ้นไปสู่ระดับของเมื่อครั้งสงครามเย็นทีเดียว
แน่นอนที่ว่า พัฒนาการที่เกิดขึ้นในเวลานี้ ซึ่งเป็นสัญญาณแสดงให้เห็นถึงการที่มอสโกและเตหะรานกำลังจับกลุ่มเกาะตัวกันกลายเป็นแกนพันธมิตรยุทธศาสตร์รัสเซีย-อิหร่าน ยังจะเกิดการแตกกิ่งก้านสาขาออกไปอีก โดยที่กำลังจะส่งผลกระทบกระเทือนอย่างล้ำลึกในสมรภูมิต่างๆ แห่งความมั่นคงระหว่างประเทศ ซึ่งอยู่ภายในอาณาบริเวณวงโค้งอันใหญ่โตกว้างขวางแผ่ขยายจากเอเชียกลาง ผ่านเทือกเขตคอเคซัส (Caucasus) และทะเลสาบแคสเปียน (Caspian) ไปจนถึงภูมิภาคตะวันออกกลางแท้ๆ พูดกันง่ายๆ ก็คือ สหรัฐฯกำลังจะมองเห็นความเพลี่ยงพล้ำระดับหายนะในนโยบายระดับภูมิภาคของตนในแนวรบด้านต่างๆ มากมาย ไม่ต้องสงสัยเลยว่า อิหร่านนั้นคือรัฐที่ทรงความสำคัญเป็นอย่างยิ่งแห่งหนึ่ง และกำลังจะกลายเป็นตัวเปลี่ยนเกมให้แก่นโยบายของรัสเซีย ซึ่งมุ่งมาดปรารถนาที่จะมีมหาอำนาจระดับภูมิภาคทำนองนี้มาอยู่เคียงข้างในฐานะที่เป็นพันธมิตรอันสนิทชิดเชื้อ
เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ไม่ยากว่า มอสโกกับปักกิ่งกำลังมีการร่วมมือประสานงานกัน ในความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเรื่องอิหร่าน ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีนมีกำหนดที่จะเดินทางไปเยือนอิหร่านในเร็วๆ นี้ และพวกเจ้าหน้าที่จีนก็พากันพูดเป็นนัยๆ แต่กล่าวกันออกมาอย่างเปิดเผยว่า ระหว่างการเยือนของ สี คราวนี้ คงจะมีการประกาศข่าว “ที่น่าตื่นใจ” บางอย่างบางประการ
ในขณะเดียวกันนั้น เราย่อมจะมองเห็นได้ว่า อิหร่านเพิ่งก้าวกระโดดไปไกลมากทีเดียว บนเส้นทางซึ่งมุ่งไปสู่การได้รับเชิญให้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การความร่วมมือแห่งเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Cooperation Organization)
เอกอัครราชทูต เอ็ม เค ภัทรกุมาร เคยรับราชการเป็นนักการทูตอาชีพในกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย เขาเคยได้รับมอบหมายให้ไปประจำอยู่ในหลายๆ ประเทศ อาทิ สหภาพโซเวียต, เกาหลีใต้, ศรีลังกา, เยอรมนี, อัฟกานิสถาน, ปากีสถาน, อุซเบกิสถาน, คูเวต, และตุรกี
หมายเหตุผู้แปล
[1] ขีปนาวุธ เอส-300 (S-300) ซึ่งรัสเซียกำลังจัดส่งให้แก่อิหร่านนี้ มีรายละเอียดเพิ่มเติมอยู่ในรายงานข่าวเรื่อง Russia’s S-300 missile offers Iran long-range air defense: IHS (ไอเอชเอสระบุ ขีปนาวุธเอส-300 ของรัสเซียทำให้อิหร่านมีระบบป้องกันภัยทางอากาศพิสัยไกล) ตีพิมพ์ในส่วน Asia Times News & Features ของเอเชียไทมส์ วันที่ 14 เมษายน 2015 (ดูต้นฉบับภาษาอังกฤษได้ที่ http://atimes.com/2015/04/russias-s-300-missile-offers-iran-long-range-air-defense-ihs/) ทั้งนี้รายงานข่าวนี้มีเนื้อหาดังนี้:
ขีปนาวุธ เอส-300 (S-300) ซึ่งรัสเซียกำลังจัดส่งให้แก่อิหร่าน ภายหลังที่มีการเห็นชอบเรื่องร่างข้อตกลงนิวเคลียร์ของเตหะรานได้แล้วนั้น ไม่ได้เป็นระบบป้องกันภัยทางอาวุธรุ่นล่าสุดของแดนหมีขาวแต่อย่างใด เบน กู๊ดแลด (Ben Goodlad) นักวิเคราะห์หลักด้านอาวุธของ ไอเอชเอส แอโรสเปซ, ดีเฟนซ์ แอนด์ ซีเคียวริตี้ (IHS Aerospace, Defence and Security) ระบุในรายงานที่นำออกเผยแพร่เมื่อวันอังคาร (14 เม.ย.)
รัสเซียยังมีขีปนาวุธในคลังซึ่งมีสมรรถนะเหนือกว่านี้อีก คือ รุ่น เอส-400 (S-400) กระนั้น กู๊ดแลดก็เห็นว่า การที่อิหร่านได้รับขีปนาวุธเอส-300 ไป ยังคงทำให้ประเทศนี้มีสมรรถนะการป้องกันทางอากาศแบบพิสัยไกลเพิ่มขึ้นมา จากที่ในคลังแสงของอิหร่านเวลานี้ขาดแคลนอาวุธประเภทนี้ เอส-300 นั้นสามารถที่จะมีพิสัยทำการขยายไปถึงสูงสุดที่ 150 กิโลเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ตัวสกัดกั้นขัดขวาง (interceptor) ที่นำมาใช้กับระบบ แต่ไม่ว่าขีปนาวุธที่อิหร่านได้รับ จะมีพิสัยทำการถึงสูงสุดหรือไม่ มันก็จะยังคงเป็นตัวเพิ่มแถวเพิ่มชั้นของการป้องกันให้แก่แผนการป้องกันภัยทางอากาศของอิหร่านอยู่นั่นเอง ขณะที่การขายระบบ เอส-300 ให้แก่อิหร่าน ไม่ได้เป็นภัยคุกคามโดยตรงต่ออิสราเอล แต่นักวิเคราะห์รายนี้ก็ชี้ว่า อาวุธนี้จะทำให้การเข้าโจมตีทางอากาศที่กองทัพอากาศอิสราเอลอาจจะลงมือปฏิบัติการในอนาคตข้างหน้า บังเกิดความยุ่งยากท้าทายเพิ่มมากขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย
รัสเซียได้ส่งออกระบบ เอส-300 ไปให้ลูกค้าต่างประเทศทั่วโลกทีเดียว ตั้งแต่ ไซปรัส และ กรีซ ในยุโรป ไปจนถึง จีน และเวียดนาม ทางเอเชีย อย่างไรก็ดี กู๊ดแลดชี้ว่า ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ปัจจุบันยังไม่มีชาติใดนำขีปนาวุธรุ่นนี้เข้าประจำการเลย ถึงแม้ทั้งอิหร่านและซีเรียต่างใช้ความพยายามมานานแล้วที่จะขอซื้อระบบอาวุธนี้
กู๊ดแลดชี้ด้วยว่า ภายหลังจากที่รัสเซียประกาศระงับการขาย เอส-300 ให้แก่อิหร่าน หลังจากที่ตอนแรกๆ มีการตกลงที่จะส่งให้แล้ว อิหร่านก็ได้หันมาพัฒนาระบบป้องกันภัยทางอากาศพิสัยไกลของตนเองขึ้นมา โดยเรียกชื่อว่า บาวาร์-373 (Bavar-373) อย่างไรก็ตาม เตหะรานไม่น่าที่จะละทิ้งโอกาสในการซื้อหาระบบ เอส-300 เพื่อยืนกรานที่จะพัฒนาและใช้งาน บาวาร์-373 ต่อไป เมื่อพิจารณาถคงข้อเท็จจริงที่ว่า เอส-300 นั้นเป็นระบบที่ได้รับการบูรณาการอย่างเต็มที่แล้ว ตลอดจนผ่านการพิสูจน์จากการถูกใช้งานจริงมาแล้ว กระนั้น กู๊ดแลดเชื่อว่า ยังคงมีเป็นไปได้ที่อิหร่านอาจจะยังใช้ขีปนาวุธซึ่งผลิตขึ้นเองในท้องถิ่นด้วย