(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Bloomberg blackout teleports traders back to the 80s
Author: Asia Unhedged
17/04/2015
เครื่องเทอร์นิมอลทางการเงินของบลูมเบิร์ก อันเป็นระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งพวกเทรดเดอร์แทบจะทั่วโลกใช้ในการติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน รวมทั้งสามารถ “แชต” สามารถสั่งซื้อสั่งขายหลักทรัพย์ในตลาดการเงินได้เลยนั้น ตกอยู่ในอาการ “จอดับ” ทั่วโลกเป็นเวลา 2 ชั่วโมงครึ่งเมื่อวันศุกร์ (17 เม.ย.) ส่งผลให้เทรดเดอร์ทั้งหลายต้องย้อนยุคกลับไปสู่การทำงานแบบช่วงทศวรรษ 1980 นั่นคือ ติดต่อสื่อสารผ่านทางโทรศัพท์หรืออีเมล
เทรดเดอร์ในตลาดการเงินตั้งแต่แถบเอเชียไปจนถึงนิวยอร์ก ต่างมีความรู้สึกว่าตนเองเหมือนกับพวกครอบครัวยุคอวกาศในหนังการ์ตูน “เจ็ตสัน” (The Jetsons) ลดน้อยลง ตรงกันข้ามกลับไปเหมือนกับครอบครัวยุคหินในหนังการ์ตูน “ฟลินต์สโตน” (The Flintstones) เพิ่มมากขึ้นเมื่อวันศุกร์ (17 เม.ย.) ที่ผ่านมา ตอนที่แสงไฟดิจิตอลดับมืดลงจากจอมอนิเตอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวสำคัญสำหรับการติดตามวิเคราะห์และสั่งซื้อขายหลักทรัพย์
เครื่องเทอร์นิมอลทางการเงินของบลูมเบิร์ก (Bloomberg) อันเป็นระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งพวกเทรดเดอร์แทบจะทั่วโลกใช้ในการติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน รวมทั้งสามารถที่จะ “แชต” สามารถที่จะสั่งซื้อสั่งขายหลักทรัพย์ในตลาดการเงินได้เลยนั้น ตกอยู่ในอาการ “จอดับ” ทั่วโลกเป็นเวลา 2 ชั่วโมงครึ่งเมื่อวันศุกร์ (17 เม.ย.) และเรียกได้ว่าส่งผลทำให้ตลาดย้อนยุคกลับไปสู่การซื้อขายหลักทรัพย์แบบที่พวกเขาเคยกระทำกันในช่วงทศวรรษ 1980 ... นั่นคือ ติดต่อสื่อสารกันโดยผ่านทางโทรศัพท์
ในที่นี้ เอเชีย อันเฮดจ์ เพียงขอตอกย้ำสิ่งที่ปรากฏให้เห็นกันอย่างชัดเจนอยู่แล้ว นั่นคือ การ “จอดำ” ของเครื่องบลูมเบิร์ก ทำให้เกิดบทเรียนอย่างเป็นรูปธรรมขึ้นมาอีกบทหนึ่ง ที่แสดงให้เห็นว่า เส้นชีวิตดิจิตอลเหล่านี้กำลังกลายเป็นสิ่งที่ไม่อาจขาดหายไปได้จนถึงขนาดไหนแล้ว สำหรับตลาดการเงินในยุคโลกาภิวัตน์ และมีการตอบสนองอย่างรวดเร็วแม้แต่ในเรื่องขี้ปะติ๋วเดียว
เนื่องจากพวกบริษัทการเงินรายสำคัญๆ ของโลกจำนวนมากมายเหลือเกินต้องพึ่งพาอาศัยเจ้าเครื่องอุปกรณ์ตัวนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของราคาพันธบัตร ดังนั้นจึงทำให้รัฐบาลอังกฤษถึงกับต้องยอมประกาศเลื่อนการประมูลขายพันธบัตรมูลค่า 3,000 ล้านปอนด์ (ราว 147,000 ล้านบาท) ของตนในวันศุกร์ (17) ไปก่อน
“ผมไม่ได้เห็นมันจอดับอย่างนี้มาตั้ง 10 ปีหรือ 15 ปีแล้วมั้ง” สตีฟ คอลลินส์ (Steve Collins) หัวหน้าส่วนการซื้อขายทั่วโลก ของบริษัทบริหารจัดการสินทรัพย์ ลอนดอน แอนด์ แคปิตอล (London & Capital) บอกกับหนังสือพิมพ์การ์เดียน (Guardian) “ปกติแล้วแล้วบลูมเบิร์กเป็นเครื่องที่มีเสถียรภาพมาก มันยังกลายเป็นสิ่งที่ทุกๆ คนต้องพึ่งพา แบบไม่สามารถใช้ชีวิตโดยไม่มีมันได้เสียแล้ว” พวกเทรดเดอร์ที่ ลอนดอน แอนด์ แคปิตอล ถึงกับทำอะไรกันไม่ถูก นอกจาก “ฆ่าเวลาด้วยการกระดิกนิ้วเล่น” หลังจากที่เทอร์มินอลบลูมเบิร์กของพวกเขาล่มลง (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.theguardian.com/business/2015/apr/17/uk-halts-bond-sale-bloomberg-terminals-crash-worldwide)
ทางด้านหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัลก็รายงานว่า เป็นเพราะฟังก์ชั่น “แชต” (Chat) อันมีชื่อเสียงของเครื่องบลูมเบิร์กล่มลงไป พวกแบงเกอร์จึงถูกบังคับให้ต้องใช้โทรศัพท์ติดต่อกับลูกค้า, โบรกเกอร์, และเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายเมื่อวันศุกร์ (17) โอ้โห, น่าสยองเหลือเกินนะ ที่ต้องพูดคุยจริงๆ กับลูกค้าของคุณแล้ว!
เครื่องเทอร์มินอลทางการเงินนี้ถือเป็นผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อระดับเป็นสัญลักษณ์ประจำตัวของบลูมเบิร์ก และก็เป็นแหล่งที่มาสำคัญที่สุดของรายรับปีละ 9,000 ล้านดอลลาร์ของบริษัทด้วย ทั่วโลกมีผู้ใช้เทอร์มินอลที่คิดราคา 20,000 ดอลลาร์ต่อปีนี้เป็นจำนวนมากกว่า 315,000 เครื่อง เทอร์นินอลทางการเงินของบลูมเบิร์ก ให้ทั้งข้อมูลตลาด, ข่าวสาร, และบริการแชต รายงานข่าวกระแสต่างๆ ระบุว่า เทอร์มินอลเหล่าจอดับไปในช่วงประมาณ 1 ชั่วโมงก่อนที่ตลาดทางแถบเอเชียจะปิดทำการ และยังคงดำมืดเช่นนั้นไปแทบตลอดช่วงซื้อขายภาคเช้าของตลาดในยุโรป
เครือข่ายนี้กลับมาออนไลน์ได้ใหม่เมื่อเวลาประมาณ 12.45 น.ในลอนดอน ทว่าบริษัทยังคงไม่สามารถอธิบายได้ว่าทำไมจึงเกิดจอดำ ตามรายงานของข่าว ยาฮู ไฟแนนซ์ (Yahoo! Finance) เว็บไซต์และสถานีทีวีของบลูมเบิร์กไม่ได้เสนอข่าวเทอร์นินอลจอดับนี้กันเลย จนถึงประมาณ 07.00 น.ตามเวลานิวยอร์ก บริษัทจึงได้ทวีตบอกว่า สามารถแก้ไขจนให้บริการแก่ลูกค้าส่วนใหญ่ได้แล้ว และดูเหมือนปัญหาจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับภายในเครือข่าย
“เรื่องนี้ต้องถือเป็นเรื่องใหญ่” นิวยอร์กไทมส์อ้างคำพูดของแบงเกอร์ในฮ่องกงรายหนึ่ง “สิ่งที่ผมรู้สึกว่าขาดหายไปก็คือ บริการแชตที่แชตโต้ตอบกันได้ทันทีของบลูมเบิร์ก ซึ่งผมให้เรตติ้งสูงกว่าฟังก์ชั่นในเรื่องการซื้อขายหรือในเรื่องข้อมูลที่ป้อนเข้ามาให้เสียอีก ข้อเท็จจริงก็คือ เครื่องบลูมเบิร์กนี่แหละที่ต่อเชื่อมวอลล์สตรีทเอาไว้ 100% เต็ม และด้วยสติปัญญาความเฉลียวฉลาดของมนุษย์เหล่านี้ทั้งหมดนี่เอง คือสิ่งที่ทำให้ตลาดคึกคัก” (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nytimes.com/2015/04/18/business/dealbook/bloomberg-terminals-outage.html?partner=rss&emc=rss&_r=1 )
ทางด้านลูกจ้างพนักงานอีกผู้หนึ่งของบริษัทการเงินในฮ่องกง เล่าว่า พวกเทรดเดอร์ต่างต้องย้อนยุคหวนกลับใช้ “อีเมลแบบยุคเก่า” ในการติดต่อสื่อสารกัน
ยาฮู! ไฟแนนซ์ เสนอข่าวของสำนักข่าวเอพีซึ่งบอกว่า หลายๆ คนแสดงปฏิกิริยาต่อเรื่องที่เกิดขึ้นนี้อย่างมีอารมณ์ขัน เป็นต้นว่า พวกเทรดเดอร์ที่ลอนดอน “ล้อกันว่ากรีซควรที่จะประกาศผิดนัดชำระหนี้กันในช่วงจอดับนี่แหละ เพราะคนจะได้ไม่ค่อยรู้หรือสามารถหาข่าวเจาะลึกอะไรต่อไปได้อีก” ขณะเดียวกัน ก็มีเทรดเดอร์จำนวนมากที่ตัดสินใจแต่เพียงว่า ในเมื่อเป็นวันศุกร์อยู่แล้ว ตอนเย็นๆ จึงควรต้องรีบแวะเข้าไปดื่มในผับให้เร็วๆ ขึ้นหน่อย (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://finance.yahoo.com/news/bloomberg-trading-terminals-suffer-2-095858242.html )
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)
Bloomberg blackout teleports traders back to the 80s
Author: Asia Unhedged
17/04/2015
เครื่องเทอร์นิมอลทางการเงินของบลูมเบิร์ก อันเป็นระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งพวกเทรดเดอร์แทบจะทั่วโลกใช้ในการติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน รวมทั้งสามารถ “แชต” สามารถสั่งซื้อสั่งขายหลักทรัพย์ในตลาดการเงินได้เลยนั้น ตกอยู่ในอาการ “จอดับ” ทั่วโลกเป็นเวลา 2 ชั่วโมงครึ่งเมื่อวันศุกร์ (17 เม.ย.) ส่งผลให้เทรดเดอร์ทั้งหลายต้องย้อนยุคกลับไปสู่การทำงานแบบช่วงทศวรรษ 1980 นั่นคือ ติดต่อสื่อสารผ่านทางโทรศัพท์หรืออีเมล
เทรดเดอร์ในตลาดการเงินตั้งแต่แถบเอเชียไปจนถึงนิวยอร์ก ต่างมีความรู้สึกว่าตนเองเหมือนกับพวกครอบครัวยุคอวกาศในหนังการ์ตูน “เจ็ตสัน” (The Jetsons) ลดน้อยลง ตรงกันข้ามกลับไปเหมือนกับครอบครัวยุคหินในหนังการ์ตูน “ฟลินต์สโตน” (The Flintstones) เพิ่มมากขึ้นเมื่อวันศุกร์ (17 เม.ย.) ที่ผ่านมา ตอนที่แสงไฟดิจิตอลดับมืดลงจากจอมอนิเตอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวสำคัญสำหรับการติดตามวิเคราะห์และสั่งซื้อขายหลักทรัพย์
เครื่องเทอร์นิมอลทางการเงินของบลูมเบิร์ก (Bloomberg) อันเป็นระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งพวกเทรดเดอร์แทบจะทั่วโลกใช้ในการติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน รวมทั้งสามารถที่จะ “แชต” สามารถที่จะสั่งซื้อสั่งขายหลักทรัพย์ในตลาดการเงินได้เลยนั้น ตกอยู่ในอาการ “จอดับ” ทั่วโลกเป็นเวลา 2 ชั่วโมงครึ่งเมื่อวันศุกร์ (17 เม.ย.) และเรียกได้ว่าส่งผลทำให้ตลาดย้อนยุคกลับไปสู่การซื้อขายหลักทรัพย์แบบที่พวกเขาเคยกระทำกันในช่วงทศวรรษ 1980 ... นั่นคือ ติดต่อสื่อสารกันโดยผ่านทางโทรศัพท์
ในที่นี้ เอเชีย อันเฮดจ์ เพียงขอตอกย้ำสิ่งที่ปรากฏให้เห็นกันอย่างชัดเจนอยู่แล้ว นั่นคือ การ “จอดำ” ของเครื่องบลูมเบิร์ก ทำให้เกิดบทเรียนอย่างเป็นรูปธรรมขึ้นมาอีกบทหนึ่ง ที่แสดงให้เห็นว่า เส้นชีวิตดิจิตอลเหล่านี้กำลังกลายเป็นสิ่งที่ไม่อาจขาดหายไปได้จนถึงขนาดไหนแล้ว สำหรับตลาดการเงินในยุคโลกาภิวัตน์ และมีการตอบสนองอย่างรวดเร็วแม้แต่ในเรื่องขี้ปะติ๋วเดียว
เนื่องจากพวกบริษัทการเงินรายสำคัญๆ ของโลกจำนวนมากมายเหลือเกินต้องพึ่งพาอาศัยเจ้าเครื่องอุปกรณ์ตัวนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของราคาพันธบัตร ดังนั้นจึงทำให้รัฐบาลอังกฤษถึงกับต้องยอมประกาศเลื่อนการประมูลขายพันธบัตรมูลค่า 3,000 ล้านปอนด์ (ราว 147,000 ล้านบาท) ของตนในวันศุกร์ (17) ไปก่อน
“ผมไม่ได้เห็นมันจอดับอย่างนี้มาตั้ง 10 ปีหรือ 15 ปีแล้วมั้ง” สตีฟ คอลลินส์ (Steve Collins) หัวหน้าส่วนการซื้อขายทั่วโลก ของบริษัทบริหารจัดการสินทรัพย์ ลอนดอน แอนด์ แคปิตอล (London & Capital) บอกกับหนังสือพิมพ์การ์เดียน (Guardian) “ปกติแล้วแล้วบลูมเบิร์กเป็นเครื่องที่มีเสถียรภาพมาก มันยังกลายเป็นสิ่งที่ทุกๆ คนต้องพึ่งพา แบบไม่สามารถใช้ชีวิตโดยไม่มีมันได้เสียแล้ว” พวกเทรดเดอร์ที่ ลอนดอน แอนด์ แคปิตอล ถึงกับทำอะไรกันไม่ถูก นอกจาก “ฆ่าเวลาด้วยการกระดิกนิ้วเล่น” หลังจากที่เทอร์มินอลบลูมเบิร์กของพวกเขาล่มลง (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.theguardian.com/business/2015/apr/17/uk-halts-bond-sale-bloomberg-terminals-crash-worldwide)
ทางด้านหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัลก็รายงานว่า เป็นเพราะฟังก์ชั่น “แชต” (Chat) อันมีชื่อเสียงของเครื่องบลูมเบิร์กล่มลงไป พวกแบงเกอร์จึงถูกบังคับให้ต้องใช้โทรศัพท์ติดต่อกับลูกค้า, โบรกเกอร์, และเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายเมื่อวันศุกร์ (17) โอ้โห, น่าสยองเหลือเกินนะ ที่ต้องพูดคุยจริงๆ กับลูกค้าของคุณแล้ว!
เครื่องเทอร์มินอลทางการเงินนี้ถือเป็นผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อระดับเป็นสัญลักษณ์ประจำตัวของบลูมเบิร์ก และก็เป็นแหล่งที่มาสำคัญที่สุดของรายรับปีละ 9,000 ล้านดอลลาร์ของบริษัทด้วย ทั่วโลกมีผู้ใช้เทอร์มินอลที่คิดราคา 20,000 ดอลลาร์ต่อปีนี้เป็นจำนวนมากกว่า 315,000 เครื่อง เทอร์นินอลทางการเงินของบลูมเบิร์ก ให้ทั้งข้อมูลตลาด, ข่าวสาร, และบริการแชต รายงานข่าวกระแสต่างๆ ระบุว่า เทอร์มินอลเหล่าจอดับไปในช่วงประมาณ 1 ชั่วโมงก่อนที่ตลาดทางแถบเอเชียจะปิดทำการ และยังคงดำมืดเช่นนั้นไปแทบตลอดช่วงซื้อขายภาคเช้าของตลาดในยุโรป
เครือข่ายนี้กลับมาออนไลน์ได้ใหม่เมื่อเวลาประมาณ 12.45 น.ในลอนดอน ทว่าบริษัทยังคงไม่สามารถอธิบายได้ว่าทำไมจึงเกิดจอดำ ตามรายงานของข่าว ยาฮู ไฟแนนซ์ (Yahoo! Finance) เว็บไซต์และสถานีทีวีของบลูมเบิร์กไม่ได้เสนอข่าวเทอร์นินอลจอดับนี้กันเลย จนถึงประมาณ 07.00 น.ตามเวลานิวยอร์ก บริษัทจึงได้ทวีตบอกว่า สามารถแก้ไขจนให้บริการแก่ลูกค้าส่วนใหญ่ได้แล้ว และดูเหมือนปัญหาจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับภายในเครือข่าย
“เรื่องนี้ต้องถือเป็นเรื่องใหญ่” นิวยอร์กไทมส์อ้างคำพูดของแบงเกอร์ในฮ่องกงรายหนึ่ง “สิ่งที่ผมรู้สึกว่าขาดหายไปก็คือ บริการแชตที่แชตโต้ตอบกันได้ทันทีของบลูมเบิร์ก ซึ่งผมให้เรตติ้งสูงกว่าฟังก์ชั่นในเรื่องการซื้อขายหรือในเรื่องข้อมูลที่ป้อนเข้ามาให้เสียอีก ข้อเท็จจริงก็คือ เครื่องบลูมเบิร์กนี่แหละที่ต่อเชื่อมวอลล์สตรีทเอาไว้ 100% เต็ม และด้วยสติปัญญาความเฉลียวฉลาดของมนุษย์เหล่านี้ทั้งหมดนี่เอง คือสิ่งที่ทำให้ตลาดคึกคัก” (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nytimes.com/2015/04/18/business/dealbook/bloomberg-terminals-outage.html?partner=rss&emc=rss&_r=1 )
ทางด้านลูกจ้างพนักงานอีกผู้หนึ่งของบริษัทการเงินในฮ่องกง เล่าว่า พวกเทรดเดอร์ต่างต้องย้อนยุคหวนกลับใช้ “อีเมลแบบยุคเก่า” ในการติดต่อสื่อสารกัน
ยาฮู! ไฟแนนซ์ เสนอข่าวของสำนักข่าวเอพีซึ่งบอกว่า หลายๆ คนแสดงปฏิกิริยาต่อเรื่องที่เกิดขึ้นนี้อย่างมีอารมณ์ขัน เป็นต้นว่า พวกเทรดเดอร์ที่ลอนดอน “ล้อกันว่ากรีซควรที่จะประกาศผิดนัดชำระหนี้กันในช่วงจอดับนี่แหละ เพราะคนจะได้ไม่ค่อยรู้หรือสามารถหาข่าวเจาะลึกอะไรต่อไปได้อีก” ขณะเดียวกัน ก็มีเทรดเดอร์จำนวนมากที่ตัดสินใจแต่เพียงว่า ในเมื่อเป็นวันศุกร์อยู่แล้ว ตอนเย็นๆ จึงควรต้องรีบแวะเข้าไปดื่มในผับให้เร็วๆ ขึ้นหน่อย (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://finance.yahoo.com/news/bloomberg-trading-terminals-suffer-2-095858242.html )
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)