xs
xsm
sm
md
lg

ญี่ปุ่นตอบรับ “ผู้ลี้ภัย” แค่ 11 คน จากคำขอมากเป็นประวัติการณ์กว่า 5,000 รายในปี 2014

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


รอยเตอร์ – ญี่ปุ่นตอบรับผู้ลี้ภัยแค่ 11 คนจากคำร้องขอลี้ภัยมากสุดเป็นประวัติการณ์ทั้งสิ้น 5,000 รายในปี 2014 ข้อมูลจากกระทรวงยุติธรรมเผย นำมาซึ่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากบรรดาผู้ให้การสนับสนุนการลี้ภัยและทนายความว่า ประเทศนี้ไม่ได้ดำเนินการเพื่อให้การคุ้มครองผู้ลี้ภัยมากพอ

จำนวนการร้องขอลี้ภัยเพิ่มขึ้น 53 เปอร์เซ็นต์จากปีก่อนหน้า ขณะที่การอัตราตอบรับอยู่ที่ 0.2 เปอร์เซ็นต์ หนึ่งในอัตราการตอบรับที่ต่ำที่สุดในหมู่ประเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

“อัตราการตอบรับที่ต่ำเช่นนี้เป็นช่างเรื่องที่น่าอับอายขายหน้า” โชโก วาตานาเบะ ทนายความด้านกฎหมายผู้อพยพ กล่าว

ในปี 2013 ญี่ปุ่นตอบรับผู้ลี้ภัย 6 คน ซึ่งถือเป็นการตอบรับที่ต่ำที่สุดในรอบ 15 ปีของประเทศนี้

การขาดการวางแผนในเรื่องการคุ้มครองและการตั้งรกรากใหม่ให้กับผู้ลี้ภัย ตลอดจนการทำงานที่ผิดปกติในระบบจัดการคำร้องขอลี้ภัยอยู่เบื้องหลังการตอบรับที่ต่ำเช่นนี้ มิเอโกะ อิชิคาวะ ผู้อำนวยการของกลุ่มเวทีเพื่อผู้ลี้ภัยญี่ปุ่น (Forum for Refugees Japan) กล่าว

“ไม่มีนโยบายที่ครอบคลุมในส่วนของรัฐบาล และมีช่องโหว่ในความโปร่งใส , ความมีประสิทธิภาพ และความเป็นอิสระของระบบดังกล่าว” เธอกล่าว

เยอรมนีและสหรัฐฯ ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางที่ใหญ่ที่สุดสำหรับผู้แสวงหาที่ลี้ภัยในปี 2013 ตอบรับคำร้องขอลี้ภัย 109,580 คนและ 88,360 คน ตามลำดับ ข้อมูลจากข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เผย

อัตราการตอบรับผู้ลี้ภัยของโตเกียวเป็นเศษเสี้ยวเล็กๆ ของค่าเฉลี่ยการตอบรับผู้ลี้ภัยทั่วโลก 32 เปอร์เซ็นต์

การร้องขอลี้ภัยที่เพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันนี้ส่วนหนึ่งเป็นไปตามแรงดึงดูดที่ญี่ปุ่นมีต่อแรงงานต่างชาติ ซึ่งบางคนร้องขอลี้ภัยเพื่ออาศัยในประเทศนี้ ฝ่ายที่ตรวจคนเข้าเมือง ระบุ

การร้องขอลี้ภัยได้เพิ่มขึ้นเกือบ 4 เท่านับตั้งแต่ปี 2010 หลังจากการเปลี่ยนกฎหมายได้ให้สิทธิผู้ยื่นคำร้องรอบใหม่ทำงานตามที่คำร้องของพวกเขาได้รับการพิจารณา

ภาวะขาดแคลนแรงงานผลักดันให้รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ ต้องขยายโครงการ “ฝึกอบรบ” ผู้ใช้แรงงาน ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องสภาพแวดล้อมที่ย่ำแย่และเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ รัฐบาลยังพยายามดึงดูดแรงงานฝีมือชาวต่างชาติ แม้ว่าจะยืนกรานว่า มาตรการเหล่านี้ไม่ใช่ “นโยบายการอพยพ”


กำลังโหลดความคิดเห็น