(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
HSBC and fragility of press freedom
13/02/2015
คติพจน์อันมีชื่อเสียงโด่งดังของ เอเจ ลิบลิ่ง ที่ว่า “เสรีภาพของหนังสือพิมพ์เป็นสิ่งซึ่งมีแต่พวกเจ้าของหนังสือพิมพ์เท่านั้นที่ได้รับการรับรองว่ามีเสรีภาพชนิดนี้” ไม่ว่าพูดกันบ่อยแค่ไหนก็ดูจะยังไม่เพียงพอ วันนี้จะต้องนักหนังสือพิมพ์ไม่น้อยในปารีสที่พูดอะไรทำนองนี้กันอย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักหนังสือพิมพ์ที่กำลังทำงานให้แก่ “เลอมงด์” เนื่องจากมีบุคคลคนหนึ่งในกลุ่มผู้เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ ออกมาตักเตือนให้นักหนังสือพิมพ์ที่เลอมงด์ระลึกเอาไว้ว่า พวกเขาไม่ได้มีความเป็นอิสรเสรีเหมือนอย่างที่พวกเขาอาจจะมโนคิดฝันไปเองหรอก
คติพจน์อันมีชื่อเสียงโด่งดังของ เอเจ ลิบลิ่ง (AJ Liebling) ที่ว่า “เสรีภาพของหนังสือพิมพ์เป็นสิ่งซึ่งมีแต่พวกเจ้าของหนังสือพิมพ์เท่านั้นที่ได้รับการรับรองว่ามีเสรีภาพชนิดนี้” (Freedom of the press is guaranteed only to those who own one) ไม่ว่าพูดกันบ่อยแค่ไหนก็ดูจะยังไม่เพียงพอ
ผมจินตนาการว่าวันนี้จะต้องนักหนังสือพิมพ์ไม่น้อยในปารีสที่พูดอะไรทำนองนี้กันอย่างแน่นอน ยิ่งถ้าพวกเขากำลังทำงานอยู่กับ “เลอมงด์” (Le Monde) ด้วยแล้ว ยิ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่าพวกเขาจะต้องพูดถ้อยคำอย่างนี้ด้วยเสียงดังลั่นและด้วยความโกรธแค้น เนื่องจากมีบุคคลคนหนึ่งในกลุ่มผู้เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ ออกมาตักเตือนให้นักหนังสือพิมพ์ที่เลอมงด์ระลึกเอาไว้ว่า พวกเขาไม่ได้มีความเป็นอิสรเสรีเหมือนอย่างที่พวกเขาอาจจะมโนคิดฝันไปเองหรอก
ปีแอร์ แบร์เช (Pierre Bergé) ประธานคณะกรรมการกำกับตรวจสอบของเลอมงด์ และก็เป็นหนึ่งในกลุ่มนักธุรกิจผู้มั่งคั่งซึ่งเข้าช่วยเหลือกอบกู้หนังสือพิมพ์ฉบับนี้จากภาวะล้มละลายในปี 2010 ได้ออกมาแถลงโจมตีกองบรรณาธิการอย่างเปิดเผยต่อสาธารณชน จากการที่กองบรรณาธิการตีพิมพ์เผยแพร่รายชื่อลูกค้าของธนาคาร HSBC ซึ่งไปเปิดบัญชีไว้ในสวิตเซอร์แลนด์ โดยที่บัญชีเหล่านี้อาจจะถูกนำไปใช้เพื่อการหลบเลี่ยงการเสียภาษี
ในการให้สัมภาษณ์ทางวิทยุรายการหนึ่ง แบร์เชกล่าวหากองบรรณาธิการที่ “ป่าวประกาศ” รายชื่อลูกค้าธนาคารเหล่านี้ พร้อมกับตั้งคำถามว่า “มันเป็นหน้าที่ของหนังสือพิมพ์หรือ ที่จะเที่ยวเอารายชื่อของใครต่อใครออกมาโยนกันให้เกลื่อนกลาดอย่างนี้?”
จากนั้นเขาก็ระเบิดคำวิจารณ์ซึ่งตรงแน่วเข้าสู่หัวใจของการถกเถียงอภิปรายที่ยังไม่ได้บทสรุปเสียที ว่าด้วยความเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ภาคเอกชน โดยเขาบอกว่า “การที่ผมยินยอมให้พวกเขาใช้ความเป็นอิสรเสรีของพวกเขานั้น ไม่ใช่ให้เอามาทำอย่างนี้หรอก”
แล้วจะให้เอาอิสรเสรีไปทำอะไรล่ะครับ คุณแบร์เช? ความเป็นอิสระเสรีจะมีความหมายอะไรถ้าหากคุณไม่สามารถใช้มันได้? การที่คุณเข้ามาแทรกแซงอย่างนี้ มันจะเป็นการป่าวประกาศความเป็นอิสรเสรีไปได้อย่างไรกัน?
ทางฝ่ายนักหนังสือพิมพ์ ได้แสดงปฏิกิริยาตอบโต้ด้วยการประณาม แบร์เช ว่า “เข้ามาแทรกแซงส่วนเนื้อหาของกองบรรณาธิการ” พร้อมกับเรียกร้องให้เขามุ่งมั่นอยู่แต่เรื่องยุทธศาสตร์เชิงพาณิชย์ และปล่อยให้เรื่องการเสนอข่าวเป็นหน้าที่ของพวกเขา อย่างไรก็ตาม ท่าทีเช่นนี้แสดงให้เห็นความอ่อนหัดไร้เดียงสาอยู่บ้างบางประการ
เหตุผลที่คนเขาจะเข้ามาเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ที่กำลังขาดทุนไม่หยุดไม่หย่อน ทั้งหลายทั้งปวงก็เพราะต้องการมีอิทธิพลเหนือเนื้อหาที่ผลิตโดยกองบรรณาธิการนั่นแหละ โดยที่ส่วนสำคัญมากอย่างหนึ่งของอิทธิพลดังกล่าว ได้แก่การทำให้เกิดความมั่นใจว่า เพื่อนฝูงของเขา, ชนชั้นนำผู้มั่งคั่งรำรวย จะได้รับการปกป้องคุ้มครองให้ปลอดจากการถูกคุ้ยเขี่ยตรวจสอบ
มีข้อน่าสังเกตว่า แบร์เช ซึ่งปัจจุบันอายุ 84 ปี และเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันเสื้อผ้าแฟชั่นชั้นสูง “อีฟ แซ็ง โลร็อง” (Yves Saint Laurent couture house) ไม่ใช่เป็นผู้ถือหุ้นเพียงรายเดียวที่ออกโรงมาต่อต้านคัดค้าน เขายังได้รับความสนับสนุนจาก มัทติว ปีกัสเซ (Matthieu Pigasse) ซีอีโอของวาณิชธนกิจ “ลาซาร์ด” (Lazard) ในปารีส ผู้ออกมาแสดงความกังวลเรื่องที่หนังสือพิมพ์ฉบับนี้ตกอยู่ในอันตรายที่จะ “จมถลำไปสู่รูปแบบของลัทธิแมคคาร์ธีทางการคลัง (fiscal McCarthyism) และทางการเสนอข่าวสาร”
แบร์เช, ปีกาสเซ, และ ซาวีร์ นีล (Xavier Niel) มหาเศรษฐีทรงอิทธิพลทางด้านโทรคมนาคม เป็นผู้ลงนามในข้อตกลงฉบับหนึ่งเมื่อปี 2010 ซึ่งรับประกันว่ากองบรรณาธิการของเลอมงด์จะมีอิสรเสรีในการปฏิบัติงาน
เลอมงด์ ด้วยการร่วมมือกับ การ์เดียน (Guardian) ได้แสดงบทบาทนำหน้าสื่อมวลชนอื่นๆ ในการเปิดโปงว่า กิจการธนาคารมุ่งบริการลูกค้ากระเป๋าหนักของแบงก์ HSBC ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์นั้น ได้ช่วยเหลือลูกค้าให้หลบเลี่ยงภาษีหรือกระทั่งหนีภาษี รวมเป็นมูลค่าหลายพันล้านปอนด์
อย่างไรก็ตาม การ์เดียนยังคงมีความอิสรเสรีอย่างแท้จริง สืบเนื่องจากหนังสือพิมพ์อังกฤษฉบับนี้มีกองทุนทรัสต์เป็นเจ้าของ ไม่ใช่เป็นของกลุ่มผู้มั่งคั่งร่ำรวยแบบเลอมงด์
รอย กรีนสเลด เป็นศาสตราจารย์ทางด้านวารสารศาสตร์อยู่ที่มหาวิทยาลัย ซิตี้ ยูนิเวอร์ซิตี้ ลอนดอน เขาเคยเป็นบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์เดลี่ มิร์เรอร์ ในช่วงปี 1990-91 และตั้งแต่ปี 1992 ได้หันมาทำงานเป็นนักวิจารณ์ให้แก่สื่อมวลชนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างหนังสือพิมพ์การ์เดียน ปัจจุบันเขาเขียนลงในบล็อกรายวันซึ่งอยู่บนเว็บไซต์ของการ์เดียน และยังเป็นคอลัมนิสต์ให้แก่หนังสือพิมพ์ลอนดอน อีฟนิ่ง สแตนดาร์ด
(ข้อเขียนชิ้นนี้ตีพิมพ์เผยแพร่ทีแรกที่บล็อกรายวันของ รอย กรีนสเลด บนเว็บไซต์ของการ์เดียน)
HSBC and fragility of press freedom
13/02/2015
คติพจน์อันมีชื่อเสียงโด่งดังของ เอเจ ลิบลิ่ง ที่ว่า “เสรีภาพของหนังสือพิมพ์เป็นสิ่งซึ่งมีแต่พวกเจ้าของหนังสือพิมพ์เท่านั้นที่ได้รับการรับรองว่ามีเสรีภาพชนิดนี้” ไม่ว่าพูดกันบ่อยแค่ไหนก็ดูจะยังไม่เพียงพอ วันนี้จะต้องนักหนังสือพิมพ์ไม่น้อยในปารีสที่พูดอะไรทำนองนี้กันอย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักหนังสือพิมพ์ที่กำลังทำงานให้แก่ “เลอมงด์” เนื่องจากมีบุคคลคนหนึ่งในกลุ่มผู้เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ ออกมาตักเตือนให้นักหนังสือพิมพ์ที่เลอมงด์ระลึกเอาไว้ว่า พวกเขาไม่ได้มีความเป็นอิสรเสรีเหมือนอย่างที่พวกเขาอาจจะมโนคิดฝันไปเองหรอก
คติพจน์อันมีชื่อเสียงโด่งดังของ เอเจ ลิบลิ่ง (AJ Liebling) ที่ว่า “เสรีภาพของหนังสือพิมพ์เป็นสิ่งซึ่งมีแต่พวกเจ้าของหนังสือพิมพ์เท่านั้นที่ได้รับการรับรองว่ามีเสรีภาพชนิดนี้” (Freedom of the press is guaranteed only to those who own one) ไม่ว่าพูดกันบ่อยแค่ไหนก็ดูจะยังไม่เพียงพอ
ผมจินตนาการว่าวันนี้จะต้องนักหนังสือพิมพ์ไม่น้อยในปารีสที่พูดอะไรทำนองนี้กันอย่างแน่นอน ยิ่งถ้าพวกเขากำลังทำงานอยู่กับ “เลอมงด์” (Le Monde) ด้วยแล้ว ยิ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่าพวกเขาจะต้องพูดถ้อยคำอย่างนี้ด้วยเสียงดังลั่นและด้วยความโกรธแค้น เนื่องจากมีบุคคลคนหนึ่งในกลุ่มผู้เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ ออกมาตักเตือนให้นักหนังสือพิมพ์ที่เลอมงด์ระลึกเอาไว้ว่า พวกเขาไม่ได้มีความเป็นอิสรเสรีเหมือนอย่างที่พวกเขาอาจจะมโนคิดฝันไปเองหรอก
ปีแอร์ แบร์เช (Pierre Bergé) ประธานคณะกรรมการกำกับตรวจสอบของเลอมงด์ และก็เป็นหนึ่งในกลุ่มนักธุรกิจผู้มั่งคั่งซึ่งเข้าช่วยเหลือกอบกู้หนังสือพิมพ์ฉบับนี้จากภาวะล้มละลายในปี 2010 ได้ออกมาแถลงโจมตีกองบรรณาธิการอย่างเปิดเผยต่อสาธารณชน จากการที่กองบรรณาธิการตีพิมพ์เผยแพร่รายชื่อลูกค้าของธนาคาร HSBC ซึ่งไปเปิดบัญชีไว้ในสวิตเซอร์แลนด์ โดยที่บัญชีเหล่านี้อาจจะถูกนำไปใช้เพื่อการหลบเลี่ยงการเสียภาษี
ในการให้สัมภาษณ์ทางวิทยุรายการหนึ่ง แบร์เชกล่าวหากองบรรณาธิการที่ “ป่าวประกาศ” รายชื่อลูกค้าธนาคารเหล่านี้ พร้อมกับตั้งคำถามว่า “มันเป็นหน้าที่ของหนังสือพิมพ์หรือ ที่จะเที่ยวเอารายชื่อของใครต่อใครออกมาโยนกันให้เกลื่อนกลาดอย่างนี้?”
จากนั้นเขาก็ระเบิดคำวิจารณ์ซึ่งตรงแน่วเข้าสู่หัวใจของการถกเถียงอภิปรายที่ยังไม่ได้บทสรุปเสียที ว่าด้วยความเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ภาคเอกชน โดยเขาบอกว่า “การที่ผมยินยอมให้พวกเขาใช้ความเป็นอิสรเสรีของพวกเขานั้น ไม่ใช่ให้เอามาทำอย่างนี้หรอก”
แล้วจะให้เอาอิสรเสรีไปทำอะไรล่ะครับ คุณแบร์เช? ความเป็นอิสระเสรีจะมีความหมายอะไรถ้าหากคุณไม่สามารถใช้มันได้? การที่คุณเข้ามาแทรกแซงอย่างนี้ มันจะเป็นการป่าวประกาศความเป็นอิสรเสรีไปได้อย่างไรกัน?
ทางฝ่ายนักหนังสือพิมพ์ ได้แสดงปฏิกิริยาตอบโต้ด้วยการประณาม แบร์เช ว่า “เข้ามาแทรกแซงส่วนเนื้อหาของกองบรรณาธิการ” พร้อมกับเรียกร้องให้เขามุ่งมั่นอยู่แต่เรื่องยุทธศาสตร์เชิงพาณิชย์ และปล่อยให้เรื่องการเสนอข่าวเป็นหน้าที่ของพวกเขา อย่างไรก็ตาม ท่าทีเช่นนี้แสดงให้เห็นความอ่อนหัดไร้เดียงสาอยู่บ้างบางประการ
เหตุผลที่คนเขาจะเข้ามาเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ที่กำลังขาดทุนไม่หยุดไม่หย่อน ทั้งหลายทั้งปวงก็เพราะต้องการมีอิทธิพลเหนือเนื้อหาที่ผลิตโดยกองบรรณาธิการนั่นแหละ โดยที่ส่วนสำคัญมากอย่างหนึ่งของอิทธิพลดังกล่าว ได้แก่การทำให้เกิดความมั่นใจว่า เพื่อนฝูงของเขา, ชนชั้นนำผู้มั่งคั่งรำรวย จะได้รับการปกป้องคุ้มครองให้ปลอดจากการถูกคุ้ยเขี่ยตรวจสอบ
มีข้อน่าสังเกตว่า แบร์เช ซึ่งปัจจุบันอายุ 84 ปี และเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันเสื้อผ้าแฟชั่นชั้นสูง “อีฟ แซ็ง โลร็อง” (Yves Saint Laurent couture house) ไม่ใช่เป็นผู้ถือหุ้นเพียงรายเดียวที่ออกโรงมาต่อต้านคัดค้าน เขายังได้รับความสนับสนุนจาก มัทติว ปีกัสเซ (Matthieu Pigasse) ซีอีโอของวาณิชธนกิจ “ลาซาร์ด” (Lazard) ในปารีส ผู้ออกมาแสดงความกังวลเรื่องที่หนังสือพิมพ์ฉบับนี้ตกอยู่ในอันตรายที่จะ “จมถลำไปสู่รูปแบบของลัทธิแมคคาร์ธีทางการคลัง (fiscal McCarthyism) และทางการเสนอข่าวสาร”
แบร์เช, ปีกาสเซ, และ ซาวีร์ นีล (Xavier Niel) มหาเศรษฐีทรงอิทธิพลทางด้านโทรคมนาคม เป็นผู้ลงนามในข้อตกลงฉบับหนึ่งเมื่อปี 2010 ซึ่งรับประกันว่ากองบรรณาธิการของเลอมงด์จะมีอิสรเสรีในการปฏิบัติงาน
เลอมงด์ ด้วยการร่วมมือกับ การ์เดียน (Guardian) ได้แสดงบทบาทนำหน้าสื่อมวลชนอื่นๆ ในการเปิดโปงว่า กิจการธนาคารมุ่งบริการลูกค้ากระเป๋าหนักของแบงก์ HSBC ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์นั้น ได้ช่วยเหลือลูกค้าให้หลบเลี่ยงภาษีหรือกระทั่งหนีภาษี รวมเป็นมูลค่าหลายพันล้านปอนด์
อย่างไรก็ตาม การ์เดียนยังคงมีความอิสรเสรีอย่างแท้จริง สืบเนื่องจากหนังสือพิมพ์อังกฤษฉบับนี้มีกองทุนทรัสต์เป็นเจ้าของ ไม่ใช่เป็นของกลุ่มผู้มั่งคั่งร่ำรวยแบบเลอมงด์
รอย กรีนสเลด เป็นศาสตราจารย์ทางด้านวารสารศาสตร์อยู่ที่มหาวิทยาลัย ซิตี้ ยูนิเวอร์ซิตี้ ลอนดอน เขาเคยเป็นบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์เดลี่ มิร์เรอร์ ในช่วงปี 1990-91 และตั้งแต่ปี 1992 ได้หันมาทำงานเป็นนักวิจารณ์ให้แก่สื่อมวลชนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างหนังสือพิมพ์การ์เดียน ปัจจุบันเขาเขียนลงในบล็อกรายวันซึ่งอยู่บนเว็บไซต์ของการ์เดียน และยังเป็นคอลัมนิสต์ให้แก่หนังสือพิมพ์ลอนดอน อีฟนิ่ง สแตนดาร์ด
(ข้อเขียนชิ้นนี้ตีพิมพ์เผยแพร่ทีแรกที่บล็อกรายวันของ รอย กรีนสเลด บนเว็บไซต์ของการ์เดียน)