xs
xsm
sm
md
lg

In Clips :“ภาษาอังกฤษแบบมะกัน” กำลังจะครองโลก หลัง 20 ปีล่าสุดชาวอังกฤษแห่ทิ้ง “ควีนอิงลิช”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เอเจนซีส์ - กระแสความนิยมภาษอังกฤษตามแบบฉบับอเมริกันเป็นที่แพร่หลายมากในประเทศต้นตำรับอย่าง อังกฤษ จากการสำรวจพบว่าในช่วง 20ปีที่ผ่านมา ภาษอังกฤษแบบดั้งเดิมนับวันจะค่อยตายลงเพราะประชาชนชาวอังกฤษต่างหันมาใช้ภาษาอังกฤษแบบชาวอเมริกันกันมากขึ้น เช่น แต่ก่อนหน้านี้ชาวอังกฤษมักจะใช้คำว่า “Marvelous” ติดปากในการแสดงความชื่นชมสิ่งใด แต่ในยุคเจนเนอเรชันใหม่กลับพบว่า คำว่า “Awesome” ตามแบบฉบับฮอลิวูดดูจะมาแทนที่

จากการศึกษาของทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และมหาวิทยาลัยแลงคาสเตอร์ในอังกฤษได้พบความเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆนี้ เช่น คำว่า “cheerio” “pussy cat” “marmalade” และ “fortnight” นั้นในขณะนี้ใช้น้อยมากในหมู่ประชากรโลกที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 1

เมื่อย้อนกลับไปในยุค 90 ผู้คนต่างตื่นตัวกับ “Walkman” แต่ในยุคปัจจุบัน คำว่า “ online” และ “smartphone” ดูเหมือนจะมาแทนที่ นอกจากนี้ “ catalogue” และ “drawers” ที่ถือเป็นคำที่ใช้กันปกติในหมู่คนทั่วไป แต่โลกศตวรรษที่ 21 ไม่มีเจ้าของภาษาอังกฤษคนไหนจะไม่ติดปากพูดถึง “Facebook” “'internet” “Google” “essentially” และ “treadmill”

ตารางการสำรวจทางสถิติประจำปี 2014ชี้ว่า “Awesome” คำในภาษาอังกฤษแบบอเมริกันปรากฎถึง 72 ครั้งต่อล้านคำ แต่ “Marvelous” คำในภาษาอังกฤษแบบอังกฤษปรากฏเพียงแค่ 2 ครั้งต่อล้านคำ เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนหน้า 20ปีมานี้ที่ “Marvelous”ถูกใช้บ่อยมากถึง 155 ครั้งต่อล้านคำ

ด้านศาสตราจารย์ โทนี แมคอีเนอรี( Tony McEnery)ผู้เชี่ยวชาญภาษาศาตร์ในการศึกษาฐานข้อมูลของคำที่มีอยู่ในภาษาอังกฤษ หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า “Corpus” ประจำศูนย์ ESRCสำหรับการศึกษาวิทยาศาสตร์สังคมโดยการใช้ Corpus (CASS)ของมหาวิทยาลัยแลงคาสเตอร์ ให้ความเห็นว่า “การค้นพบในเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่า สิ่งที่สำคัญต่อสังคมอังกฤษมากที่สุดนั้นได้สะท้อนในความถี่ที่ผู้คนพูดถึง” และพบว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ดึงดูดความสนใจของชาวอังกฤษไว้เป็นอย่างมาก เช่น เฟสบุ๊ก ที่ถึงแม้ว่าคนที่ไม่ได้ใช้ แต่ก็ยังคงพูดถึงสิ่งนี้ และนอกจากนี้คำว่า “Awesome” ยังถือเป็นหลักฐานชั้นยอดแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลภาษาอังกฤษแบบอเมริกันในหมู่สังคมชาวอังกฤษได้ดี”

การค้นพบนี้มาจากงานวิจัยนำร่อง 'Spoken British National Corpus 2014' ที่กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาในขณะนี้ โดยแมคอีเนอรีเปิดเผยว่า “ต้องพยายามรวบรวมการสนทนาจำนวนมากที่ไม่ต่ำกว่าหลายร้อยครั้งเพื่อสร้างดาต้าเบสภาษาพูดให้ทีมนักวิจัยสามารถวิเคราะห์ถึงการเปลี่ยนแปลงของภาษาตลอด 20ปีที่ผ่านมา โดยทางทีมวิจัยได้ร้องขอให้ประชาชนชาวอังกฤษส่งไฟล์ mp3 เสียงบันทึกคำสนทนาของพวกเขาในชีวิตประจำวันมาให้ และทางทีมงานจะจัดส่งค่าตอบแทนเล็กน้อยกลับไป ซึ่งไฟล์คำสนทนาเหล่านี้จะช่วยให้เหล่านักวิจัยเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงภาษาพูดของชาวอังกฤษที่ใช้ประจำวัน” แมคอีเนอรีกล่าว

ทั้งนี้โปรเจกต์'Spoken British National Corpus 2014 ถือเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับเหล่านักวิชาการทางภาษา เพราะการสร้าง Corpusภาษาพูดในระดับที่ครอบคลุมทั่วสหราชอาณาจักรอังกฤษนั้นยังไม่เสร็จสมบูรณ์นับตั้งแต่ต้นยุค 90 “ข้อมูลที่รวบรวมมาตั้งแต่ยุค 90นั้นได้ล้าสมัยไปแล้วในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าข้อมูลเหล่านั้นจะเป็นฐานข้อมูลเดียวที่เหล่านักภาษาศาสตร์ทั่วโลกใช้เพื่ออ้างอิงก็ตาม ดังนั้นทางทีมงานจึงถือเป็นเรื่องท้าทายที่จะทำโครงการนี้ให้สำเร็จ และเพื่อทำให้ทางทีมนักวิจัยเข้าใจถึงวิวัฒนาการของภาษาพูดของชาวอังกฤษในระยะเวลา 20ปีที่ผ่านมา”

เช่น “cheerio” เป็นคำลาในภาษาอังกฤษ-อังกฤษ พบมากในยุค 90 แต่จากข้อมูลในยุค 2010 ไม่ปรากฎว่ามีการใช้คำนี้แต่อย่างใดในสังคมชาวอังกฤษ ทางทีมวิจัยคาดว่ามีเพียงชาวอังกฤษที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ที่ยังใช้คำนี้อยู่

คลิปตัวอย่างภาษาอังกฤษแบบอังกฤษในภาษาพูดจากเรียลลิตี้ทีวีโชว์ พ่อแม่ของวัยรุ่นชาวอังกฤษแอบสะกดรอยตามลูกมาดูพฤติกรรมเมื่อลูกเมื่อรวมกลุ่มกับเพื่อนใช้วันหยุดตามลำพังในไทย



คลิปตัวอย่างการใช้ภาษาอังกฤษแบบอเมริกันในภาษาพูดจากทีวีซีรีส์สุดฮิต “The Big Bang Theory”


กำลังโหลดความคิดเห็น