xs
xsm
sm
md
lg

ครั้งประวัติศาสตร์ ศาลสูงอินเดียพิพากษา “ศาลชารีอะห์” ถือเป็นศาลเถื่อน “คำสั่งฟัตวา” ผิดกฎหมาย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เอเจนซีส์ - เมื่อวานนี้ (7 ก.ค.) ศาลสูงอินเดียได้ออกคำตัดสินครั้งประวัติศาสตร์ในประเทศที่มีชุมชนมุสลิมใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ พิพากษาให้ศาลชารีอะห์ หรือดารุล คาซา (Darul Qaza) และศาสนจารย์อิสลาม ที่เรียกว่า มุฟตี (mufti) “ไม่สามารถ” ออกคำสั่งฟัตวา (fatwa) ที่ขัดต่อหลักสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ โดยศาลสูงอินเดียได้วินิจัยว่าฟัตวาสามารถมีผลบังคับใช้กับมุสลิมที่ยอมรับ แต่ไม่อาจบังคับพวกเขาให้ทำตามได้เพราะผิดกฎหมาย นอกจากนี้ศาลสูงอินเดียยังชี้ว่าสถานภาพของศาลชารีอะห์นั้นขัดกฎหมายรัฐธรรมนูญอินเดีย แต่ไม่ห้ามให้พลเมืองมุสลิมของอินเดียเข้าสู่ศาลแห่งนี้หากผู้นั้นมีความประสงค์

สื่ออินเตอร์แนชันแนลบิซิเนสไทม์ส รายงานในวันจันทร์ (7) ว่า “ศาลชารีอะห์ หรือดารุล คาซา (Darul Qaza) นั้นไม่ถูกห้ามโดยกฎหมาย และคำสั่งฟัตวา(fatwa)ถือว่าผิดกฎหมายในอินเดีย ไม่มีศาสนาใดสามารถจำกัดสิทธิมนุษยชน” ผู้พิพากษาศาลสูง ซี เค ปราสาด (C K. Prasad) แถลงผ่านรายงานของสถานี NDTV สื่ออินเดีย

คำพิพากษาครั้งนี้มีขึ้นหลังจากมีการไต่สวนคำอุทธรณ์ของ วิชวา โลจันทร์ มาดาน (Vishwa Lochan Madan) นักเคลื่อนไหวชาวอินเดีย ที่ต้องการท้าทายอำนาจศาลชารีอะห์ หรือดารุล คาซา (Darul Qaza) ของศาสนาอิสลามที่เขาเห็นว่าทำงานควบคู่ไปกับระบบศาลยุติธรรมของอินเดีย โดยก่อนหน้านี้นักเคลื่อนไหวผู้นี้กล่าวว่า มุฟตีจากศาลชารีอะห์เหล่านี้ออกคำสั่งฟัตวาที่ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองมุสลิมในอินเดียที่มีสัดส่วน 14.6% ของประชากรอินเดียร่วม 177 ล้านคน

โดยได้ยกตัวอย่างคดีอิมรานา (Imrana) เหยื่อข่มขืนขึ้นเป็นตัวอย่าง มาดานอ้างว่า ศาลชารีอะห์ได้แทรกแซงชีวิตส่วนตัวของเหล่าพลเมืองมุสลิมในอินเดีย อิมรานา วัย 28 ปี ถูกข่มขืนโดยพ่อสามีของเธอเองในปี 2005 ที่หมู่บ้านชารธาวาล (Charthawal) เขตมูซาฟฟาร์นาการ์ (Muzaffarnagar) รัฐอุตตรประเทศ ต่อมามุฟตีจากศาลชารีอะห์ที่ไม่ใส่ใจในหลักฐานการแต่งงานของอิมรานาและสามี แต่กลับสั่งให้เธอต้องสมรสกับบิดาของสามีแทน อ้างอิงตามหลักกฎหมายอิสลามที่มองคดีนี้เป็นความผิดนอกใจ ไม่ใช่การข่มขืน

และในเดือนกุมภาพันธ์ 2014 ศาลสูงอินเดียปฎิเสธที่จะแทรกแซงกฎหมายชารีอะห์ โดยมีคำอธิบายเพียงว่า ศาลสูงอินเดียไม่สามารถเข้าแทรกแซงความเชื่อทางศาสนาของชุมชนใดได้ แต่อย่างไรก็ตาม ในคำพิพากษาล่าสุดเมื่อวานนี้ (7) ถือเป็นครั้งแรกที่ศาลสูงอินเดียตัดสินว่า คำสั่งฟัตวาที่ออกโดยมุฟตีผิดกฏหมาย ดังนั้นจึงไม่สามารถใช้เพื่อบังคับบุคคลใดๆ ให้ทำตามได้ แต่ที่น่าเสียดายว่าถึงแม้ศาสลสูงอินเดียจะพิพากษาให้ศาลชารีอะห์ไม่เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่กระนั้นกลับยกฟ้องคำอุธรณ์ของมาดานที่ต้องการให้ห้ามใช้ศาลชารีอะห์ตัดสินคดีในอินเดีย

ในเดือนเมษายน 2010 มุฟตีจากศาลชารีอะห์ Darul Uloom Deoband ออกฟัตวาห้ามการเดินแบบสำหรับหญิงมุสลิม โดยอ้างว่าการเดินแบบนั้นขัดกับกฎหมายอิสลาม กระนั้นในเดือนถัดไปในปีเดียวกัน คำสั่งฟัตวาที่ 2 ประกาศว่า ศาสนาอิสลามไม่อนุญาตให้หญิงมุสลิมทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานชาย และถือเป็นการขัดกฏหมายชารีอะห์ นอกจากนี้ยังสั่งให้หญิงมุสลิมในอินเดียต้องสวมผ้าคลุมหน้าไปที่ทำงาน และไม่ควรปล่อยตัวให้เพลิดเพลินกับการสนทนาระหว่างเพื่อนร่วมงานชาย

และนอกจากนี้ ในปี 2013 มีคำสั่งฟัตวาต่อต้านภาพการ์ตูนและภาพยนตร์การ์ตูน โดยมุฟตีประนามว่า ภาพยนตร์การ์ตูนนั้นล้อเลียนการสร้างโลกของพระอัลเลาะห์ และเชื่อมั่นว่าการ์ตูนนั้นละเมิดกฎหมายอิสลาม และได้สั่งให้ชาวมุสลิมที่เป็นเด็กและผู้ใหญ่ไม่ให้ชมภาพยนตร์การ์ตูน

นอกจากนี้ คำสั่งฟัตวาในเดือนกันยายน 2013 ประกาศว่า ภาพถ่ายและวิดีโอบันทึกการแต่งงานนั้นไม่เป็นไปตามธรรมเนียมมุสลิม โดยเหล่ามุฟตีอ้างว่าภาพถ่ายของตนเองและผู้อื่นถือว่าเป็น “บาป” โดยอนุญาตให้มีภาพถ่ายสำหรับบัตรประจำตัวและหนังสือเดินทางเท่านั้น

มุฟตี มาอูลานา บาเชียร์-อัด-ดิน ออกคำสั่งฟัตวาต่อต้านวงนักร้องหญิงอินเดีย “Pragaash” ในเดือนกุมภาพันธ์ 2013 โดยเขากล่าวว่า กฎหมายอิสลามไม่อนุญาตให้หญิงมุสลิมร้องเพลงต่อหน้าผู้อื่นในที่สาธารณะ และย้ำว่าหญิงมุสลิมควรร้องเพลงแต่ภายในบ้านเรือนของตนเอง และต้องสวมบูร์กา (burqa) หรือผ้าคลุมหน้าแบบเต็มตัวตลอดเวลา

กำลังโหลดความคิดเห็น