xs
xsm
sm
md
lg

In Pics : แฉภาพ “รถถังยูเครน T64-T72-T80” มากกว่า 400 คันแอบไว้ในรง.ลับที่ “คาร์เคียฟ” - เผยเอกสารประชุมลับชี้ อังกฤษ “ไม่ร่วมคว่ำบาตร-ทำสงคราม” กับรัสเซีย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เอเจนซีส์ - เฮก เพาเวล ที่ปรึกษาผู้ช่วยด้านความมั่นคงของนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เดวิด คาเมรอน ประมาทถือเอกสารสรุปรายงานการประชุมเกี่ยวกับวิกฤตยูเครนที่ชี้ว่า “อังกฤษจะไม่ร่วมคว่ำบาตรและสนับสนุนด้านกำลังทหารในการทำสงครามกับรัสเซีย” ในขณะที่ผ่านนักข่าวช่างภาพในวันอาทิตย์(2)จนสามารถถ่ายภาพเก็บไว้ได้และเปิดเผยสู่สาธารณะในที่สุด ด้านพาเวล อิตคิน ช่างภาพชาวยูเครนวัย 18 สามารถเล็ดลอดเข้าไปโรงงานปรับปรุงสภาพรถถังยูเครนที่มีการรักษาความปลอดภัยอย่างแน่นหนาในเมืองคาร์เคียฟ ห่างจากชายแดนรัสเซียไปราว 20 ไมล์. ภายในโรงงานมีรถถังในสมัยโซเวียตที่รวมไปถึง รุ่น T64 T72 และT80 จอดทิ้งอยู่ในนั้นจำนวนมากกว่า 400 คัน

“อังกฤษจะไม่ร่วมคว่ำบาตรหรือสนับสนุนด้านกำลังทหารในการทำสงครามกับรัสเซีย” อ้างจากเอกสารสรุปการประชุมที่ถูกแอบถ่ายภาพเก็บไว้ได้เมื่อวันอาทิตย์(2) ซึ่ง เฮก เพาเวล ที่ปรึกษาผู้ช่วยด้านความมั่นคงของนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เดวิด คาเมรอนถือไปและสวนกับนักข่าวช่างภาพก่อนจะร่วมการประชุมที่ถนนดาวนิง

นอกจากนี้ในเอกสารยังชี้ว่า รัฐบาลของเดวิด คาเมรอนยังไม่มีแผนที่จะห้ามไม่ให้นักลงทุนสัญชาติรัสเซียลงทุนในตลาดหลักทรัพย์อังกฤษ แต่ในทางกลับกันเอกสารฉบับนี้แนะนำว่า ควรให้ยูเอ็นเป็นผู้นำและหากเป็นไปได้ให้ส่งผู้สังเกตการณ์เข้าไปยังยูเครน และยังชี้ว่า ในการประชุม เช่นในองค์การนาโต อังกฤษควรจะยับยั้งข้อเสนอในการเตรียมความพร้อมทางการทหารโดยฉับพลัน และแหล่งข่าวจากถนนดาวนิงได้ยืนยันว่า ข้อมูลที่อยู่ในเอกสารสรุปการประชุมลับนี้เป็นนโยบายอย่างเป็นทางการ โดยชี้ว่าหากเกิดมีการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจกับรัสเซีย หรือปิดตลาดหลักทรัพย์กับนักลงทุนรัสเซียจะกระทบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของอังกฤษ
เอกสารสรุปรายงานการประชุมเกี่ยวกับวิกฤตยูเครนที่ชี้ว่า “อังกฤษจะไม่ร่วมคว่ำบาตรและสนับสนุนด้านกำลังทหารในการทำสงครามกับรัสเซีย”
พาเวล อิตคิน ช่างภาพชาวยูเครนวัย 18 สามารถเล็ดลอดเข้าไปโรงงานปรับปรุงสภาพรถถังยูเครนที่มีการรักษาความปลอดภัยอย่างแน่นหนาในเมืองคาร์เคียฟ ห่างจากชายแดนรัสเซียไปราว 20 ไมล์. ภายในโรงงานมีรถถังในสมัยโซเวียตที่รวมไปถึง รุ่น T64 T72 และT80 จอดทิ้งอยู่ในนั้นจำนวนมากกว่า 400 คัน
ในขณะเดียวกันที่คาร์เคียฟห่างจากพรมแดนรัสเซียไปราว 20 ไมล์ พาเวล อิตคิน ช่างภาพชาวยูเครนวัย 18 สามารถเล็ดลอดเข้าไปโรงงานปรับปรุงสภาพรถถังยูเครนที่มีการรักษาความปลอดภัยอย่างแน่นหนาได้สำเร็จ โดยเขาใช้เวลา2ชม. ในการถ่ายภาพสุสานรถถังที่ถูกปล่อยทิ้งไว้ ซึ่งมีรถถังในสมัยโซเวียตรุ่นต่างๆที่รวมถึงรุ่น T64 T72 และT80 จอดอยู่ในนั้นจำนวนมากกว่า 400 คัน ซึ่งอิตคินหลังจากได้ยินถึงสุสานรถถังในสมัยโซเวียตจากเพื่อนของเขา เขาได้ใช้เวลาหลายเดือนในการสืบหาที่ตั้งโรงงานปรับปรุงสภาพรถถังแห่งนี้

ซึ่งโรงงานบูรณะรถถังที่ครั้งหนึ่งเคยเฟื่องฟูต้องหยุดลงหลังจากการล่มสลายของอดีตสหภาพโซเวียตในปี 1991 และมีรถถังจำนวนมากมายถูกทิ้งไว้ให้ขึ้นสนิม ซึ่งโรงงานแห่งนี้เชี่ยวชาญในการบูรณะรถถังรุ่น T64 T72 และ T80 ที่ได้ถูกสร้างในโรงงานมาลีเชฟที่คาร์เคียฟ ซึ่งรถถังรุ่น T64 เป็นรถถังหลักของอดีตสหภาพโซเวียตที่ถูกสร้างในต้นยุค 60 ส่วนรถถังรุ่น T72 นั้นได้เผยโฉมในช่วงยุค 70 และเป็นที่นิยมในการผลิตมากที่สุดในช่วงศตวรรษที่ 20

นอกจากนี้รถถังรุ่น T80 ได้เข้าประจำการพร้อมกับรถถังรุ่น T72 ในปี 1976 โดยรถถังรุ่น T80 นี้เป็นรุ่นแรกที่ติดเครื่องยนต์กังหันแก๊ส (Gas Turbine Engine)  สำหรับระบบแรงขับเคลื่อนหลัก ซึ่งรถถังรุ่นนี้ในปัจจุบันยังคงใช้อยู่ในยูเครน และรุ่นเดียวกันแต่มีรหัสท้ายที่ต่างออกไปนั้นได้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในรัสเซีย เบลารูส ไซปรัส คาซัคสถาน ปากีสถาน และเกาหลีใต้

ซึ่งเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2014 สำนักข่าวของประเทศรัสเซีย รายงานว่า รถถังหลัก T-84 โอปล็อต-M จำนวน 5 คันที่กองทัพไทยสั่งซื้อจาก Ukrspetsexport หรือ Ukraine Special Export ซึ่งเป็นบริษัทส่งออกอาวุธของรัฐบาลยูเครนและรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมกลาโหมของยูเครน หรือ Ukroboronprom ได้ถูกส่งไปถึงศูนย์การทหารม้าสระบุรีแล้ว หลังจากเมื่อวันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ รถถังถูกส่งมาเทียบท่าที่ท่าเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี


สำหรับรถถังทั้ง 5 คันนี้ เป็นส่วนหนึ่งของรถถังจำนวน 49 คันที่ไทยได้สั่งซื้อจากประเทศยูเครน เมื่อปี 2011 ในราคากว่า 200 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 6,584 ล้านบาท (เทียบค่าเงิน ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2014) เพื่อใช้ในกองทัพไทย โดยปืนหลักของรถถังดังกล่าว มีความสามารถในการยิงขีปนาวุธไปยังรถถัง และเฮลิคอปเตอร์ ที่อยู่ภายในระยะ 5 กม.ได้ โดยในส่วนของรถถังจำนวนที่เหลือ ทางยูเครนอ้างว่าจะทยอยส่งมอบให้กับไทยต่อไป
รถถังหลัก T-84 โอปล็อต-M ที่กองทัพไทยสั่งซื้อจาก Ukrspetsexport หรือ Ukraine Special Export ซึ่งเป็นบริษัทส่งออกอาวุธของรัฐบาลยูเครนและรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมกลาโหมของยูเครน หรือ Ukroboronprom
โดยช่างภาพวัย18ปี กล่าวว่า ถึงแม้จะมียามเฝ้า แต่ในขณะที่เขาใช้เวลาถ่ายภาพนั้นไม่ปรากฎว่ามีผู้ใดอยู่ จากข้อมูลพบว่าโรงงานแห่งนี้ในยุค 60 และ 70 สามารถซ่อมแซมรถถังได้ถึง 60 คันและเครื่องยนต์ได้ 55 เครื่อง ในแต่ละเดือน แต่หลังจากการล่มสลายของอดีตสหภาพโซเวียตในปี 1991 ยูเครนไม่สนใจที่จะกลับมาบูรณะรถถังเหล่านี้เนื่องจากไม่มีงบประมาณ

แต่ถึงแม้จะเป็นช่วงที่โรงงานต้องหยุดลงในยุค 90 แต่ไม่ปรากฏว่าโรงงานแห่งนี้ปิดตัวลงอย่างเป็นทางการ และยังมีเจ้าหน้าที่ยังคงทำงานปรับปรุงสภาพรถถังอย่างต่อเนื่องเป็นระยะๆ





กำลังโหลดความคิดเห็น