xs
xsm
sm
md
lg

ผลวิจัยชี้ “พูด 2 ภาษา” ช่วยชะลออาการ “ความจำเสื่อม” แม้ในคนไม่รู้หนังสือ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เอเอฟพี – คนที่พูดได้ 2 ภาษามีโอกาสป่วยเป็นโรคความจำเสื่อมช้ากว่าคนปกตินานหลายปี ไม่ว่าพวกเขาจะอ่านออกเขียนได้หรือไม่ก็ตาม ผลวิจัยซึ่งเผยแพร่วานนี้(6) ระบุ

ผลการศึกษาซึ่งตีพิมพ์ในวารสารประสาทวิทยาของสหรัฐฯ นับเป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่ยืนยันว่าการพูดได้ 2 ภาษา (bilingualism) มีผลช่วยในการป้องกันโรคความจำเสื่อม แม้แต่ในผู้ที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้

ทีมวิจัยได้เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 648 คนในอินเดียซึ่งล้วนแต่มีอาการความจำเสื่อมในบางรูปแบบ โดยอายุเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างคือ 66 ปี

จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า คนที่พูดได้ 2 ภาษาเริ่มมีอาการความจำเสื่อมช้ากว่าคนที่พูดภาษาเดียวราว 4-4 ปีครึ่ง ไม่ว่าพวกเขาจะรู้หนังสือหรือไม่ก็ตาม

ทั้งนี้ ร้อยละ 14 ของกลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรที่ไม่รู้หนังสือ

คนพูด 2 ภาษามีโอกาสเป็นโรคอัลไซเมอร์ และภาวะความจำเสื่อมจากหลอดเลือดในสมองตีบช้ากว่าคนทั่วไป โดยความแตกต่างเรื่องระดับการศึกษา, เพศ, อาชีพ หรือถิ่นที่อยู่อาศัยนั้นไม่ใช่ตัวแปรสำคัญ

สุวรรณา อัลลาดี ผู้เรียบเรียงงานวิจัยจากสถาบันการแพทย์นิซามในเมืองไฮเดอราบัด กล่าวว่า “ผลการศึกษาของเราเป็นชิ้นแรกที่ยืนยันถึงประโยชน์ของการพูดได้ 2 ภาษาในกลุ่มคนที่อ่านหนังสือไม่ออก”

“ในกรณีนี้ระดับการศึกษาของบุคคลไม่สามารถใช้อธิบายความแตกต่างที่พบได้... การพูดได้มากกว่า 1 ภาษาอาจมีส่วนช่วยในการพัฒนาสมองส่วนที่ควบคุมการจัดการและความมีสมาธิ ซึ่งจะทำให้คนเกิดภาวะความจำเสื่อมช้าลง”

อย่างไรก็ดี ผลวิจัยไม่พบว่าผู้ที่พูดได้มากกว่า 2 ภาษาจะมีเกราะป้องกันความจำเสื่อมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
กำลังโหลดความคิดเห็น