เอเจนซีส์ - ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) คงมาตรการกระตุ้นและอัตราดอกเบี้ยเฉียด 0% ต่อไปอีกตามคาด ย้ำนโยบายรัดเข็มขัดของรัฐบาลฉุดรั้งการเติบโต แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ไม่มีการพาดพิงถึงทั้งกรณีชัตดาวน์และทิศทางนโยบายของแผนซื้อพันธบัตร ทำให้นักวิเคราะห์คาดไปต่างๆ นานาว่า เฟดอาจเริ่มชะลอมาตรการคิวอีอย่างเร็วที่สุดปลายปีนี้ หรืออาจรอจนถึงมีนาคมปีหน้าให้ศึกรัฐสภารอบใหม่คลี่คลายลงก่อน
ภายหลังการประชุมเป็นเวลา 2 วันที่เสร็จสิ้นเมื่อวันพุธ (30 ต.ค.) ซึ่งถือเป็นครั้งแรกนับจากที่เจเน็ต เยลเลน รองประธานธนาคารกลางสหรัฐฯคนปัจจุบัน ได้รับการเสนอชื่อจากทำเนียบขาวให้ดำรงตำแหน่งประธาน สืบแทน เบน เบอร์นันกี ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ปีหน้านั้น คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (เอฟโอเอ็มซี) ได้ออกคำแถลงระบุว่า กิจกรรมเศรษฐกิจยังคงขยายตัวในระดับพอประมาณ การใช้จ่ายในภาคครัวเรือนและการลงทุนภาคธุรกิจยังคงเพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้ออยู่ในการควบคุม และตลาดแรงงานยังมีการปรับตัว
ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโดยรวมลดลงนับจากฤดูใบไม้ร่วง อย่างไรก็ดี อัตราว่างงานที่ยังคงขยับขึ้นทำให้เอฟโอเอ็มซีตระหนักถึงความจำเป็นในการคงการสนับสนุนเศรษฐกิจด้วยนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดขีด และมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) ด้วยการรับซื้อพันธบัตรมูลค่า 85,000 ล้านดอลลาร์ต่อเดือนต่อไป เพื่อประคองอัตราดอกเบี้ยระยะยาวให้อยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งกระตุ้นการกู้ยืมและใช้จ่าย
เฟดย้ำว่า จะคงนโยบายอัตราดอกเบี้ยนโยบายระดับเกือบ 0% ในปัจจุบันเอาไว้ ตราบเท่าที่อัตราว่างงานยังคงสูงกว่า 6.5% และอัตราเงินเฟ้อไม่พุ่งทะลุ 2.5%
เป็นที่น่าสังเกตว่า ในการประชุมล่าสุดซึ่งเป็นครั้งแรกภายหลังจากที่หน่วยงานบางแห่งของรัฐบาลสหรัฐฯ ต้องปิดทำการนาน 16 วันตั้งแต่ต้นเดือนนี้ เอฟโอเอ็มซีกลับไม่ได้พาดพิงถึงผลกระทบจากการที่พนักงานลูกจ้างรัฐหลายแสนคนต้องหยุดงานแต่อย่างใด แม้นักวิเคราะห์อิสระจำนวนมากประเมินว่า เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เศรษฐกิจแดนอินทรีเกิดความสูญเสียคิดเป็นมูลค่า 24,000 ล้านดอลลาร์ และอาจทำให้อัตราเติบโตไตรมาสสุดท้ายของปีนี้หดหายไป 0.5%
ทั้งนี้ ข้อมูลเบื้องต้นที่ออกมาสัปดาห์ที่แล้วก็บ่งชี้ว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคได้ชะลอลง เช่นเดียวกับความมั่นใจของทั้งผู้บริโภคและภาคธุรกิจ สืบเนื่องจากวิกฤตชัตดาวน์
นอกจากนั้น คำแถลงหลังประชุมเอฟโอเอ็มซีคราวนี้ ยังไม่พาดพิงถึงความกังวลที่ศึกการเมืองในวอชิงตันจะหวนกลับมาใหม่ต้นปีหน้า หากการเจรจาเกี่ยวกับงบประมาณระหว่างพรรครีพับลิกันและเดโมแครตในขณะนี้ยังคงไร้ผล โดยงบประมาณชั่วคราวสำหรับปีงบประมาณ 2014 จะมีผลจนถึงวันที่ 15 มกราคมเท่านั้น
ทว่า เอฟโอเอ็มซีกลับตอกย้ำมุมมองที่เบอร์นันกีเร่งเร้ามาตั้งแต่ปีที่แล้ว นั่นคือการคุมเข้มการใช้จ่ายของรัฐบาล กำลังเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวจากภาวะถดถอยเมื่อปี 2008-2009
ภายหลังการแถลงของเฟด ตลาดหุ้นนิวยอร์กที่ตกทำสถิติต่ำสุดอยู่แล้วเมื่อวันอังคาร (29 ต.ค.) ยังคงลดลงในวันพุธ ส่วนเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบยูโร
ตลาดการเงินแสดงอาการเริ่มตั้งรับแนวทางการทยอยลดมาตรการ QE ของเฟดมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่เบอร์นันกีประกาศว่า หากข้อมูลบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจดีขึ้น เฟดจะเริ่มชะลอการซื้อพันธบัตรปลายปีนี้และยกเลิกกลางปีหน้า ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรและดอกเบี้ยทะยานลิ่ว ตลาดทุนและตลาดเงินในประเทศตลาดเกิดใหม่ทั่วโลกก็พากันปั่นป่วน
ทว่า นับจากนั้นเอฟโอเอ็มซีก็เริ่มสงบปากสงบคำ โดยเฉพาะเมื่อเศรษฐกิจส่งสัญญาณชะลอตัวในเดือนสิงหาคม และสงครามนโยบายระหว่างเดโมแครตกับรีพับลิกันในวอชิงตันฉุดรั้งความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ
ในการประชุมครั้งนี้ เอฟโอเอ็มซียังไม่ส่งสัญญาณว่า จะชะลอหรือยุติ QE เมื่อใดและอย่างไร เพียงเน้นย้ำว่า จำเป็นต้องรอดูหลักฐานเพิ่มเติมว่า เศรษฐกิจเดินหน้ายั่งยืนก่อนที่จะดำเนินมาตรการใดๆ
ทางด้าน พอล อีเดลสไตน์ จากไอเอชเอส โกลบัล อินไซต์ ชี้ว่า แนวโน้มศึกรอบใหม่ในรัฐสภาในเดือนมกราคม ซึ่งอาจนำไปสู่วิกฤตชัตดาวน์ซ้ำสองและความเสี่ยงที่รัฐบาลจะผิดนัดชำระหนี้ อาจทำให้เฟดชะลอการปรับเปลี่ยนมาตรการกระตุ้นจนถึงเดือนมีนาคม
ทว่า ฮาร์ม แบนด์โฮลซ์ จากยูนิเครดิต เชื่อว่า ข้อมูลเศรษฐกิจอาจบ่งชี้การฟื้นตัวอย่างเข้มแข็งเพียงพอที่เอฟโอเอ็มซีจะตัดสินใจลดการซื้อพันธบัตรตั้งแต่เดือนมกราคม
สำหรับ พอล แอชเวิร์ธ นักเศรษฐศาสตร์ของแคปิตอล อิโคโนมิกส์ มองว่า การที่คำแถลงไม่กล่าวถึงวิกฤตชัตดาวน์อาจหมายความว่า เฟดไม่กังวลต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจ จึงอาจพร้อมลดมาตรการกระตุ้นอย่างเร็วที่สุดปลายปีนี้
ภายหลังการประชุมเป็นเวลา 2 วันที่เสร็จสิ้นเมื่อวันพุธ (30 ต.ค.) ซึ่งถือเป็นครั้งแรกนับจากที่เจเน็ต เยลเลน รองประธานธนาคารกลางสหรัฐฯคนปัจจุบัน ได้รับการเสนอชื่อจากทำเนียบขาวให้ดำรงตำแหน่งประธาน สืบแทน เบน เบอร์นันกี ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ปีหน้านั้น คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (เอฟโอเอ็มซี) ได้ออกคำแถลงระบุว่า กิจกรรมเศรษฐกิจยังคงขยายตัวในระดับพอประมาณ การใช้จ่ายในภาคครัวเรือนและการลงทุนภาคธุรกิจยังคงเพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้ออยู่ในการควบคุม และตลาดแรงงานยังมีการปรับตัว
ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโดยรวมลดลงนับจากฤดูใบไม้ร่วง อย่างไรก็ดี อัตราว่างงานที่ยังคงขยับขึ้นทำให้เอฟโอเอ็มซีตระหนักถึงความจำเป็นในการคงการสนับสนุนเศรษฐกิจด้วยนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดขีด และมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) ด้วยการรับซื้อพันธบัตรมูลค่า 85,000 ล้านดอลลาร์ต่อเดือนต่อไป เพื่อประคองอัตราดอกเบี้ยระยะยาวให้อยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งกระตุ้นการกู้ยืมและใช้จ่าย
เฟดย้ำว่า จะคงนโยบายอัตราดอกเบี้ยนโยบายระดับเกือบ 0% ในปัจจุบันเอาไว้ ตราบเท่าที่อัตราว่างงานยังคงสูงกว่า 6.5% และอัตราเงินเฟ้อไม่พุ่งทะลุ 2.5%
เป็นที่น่าสังเกตว่า ในการประชุมล่าสุดซึ่งเป็นครั้งแรกภายหลังจากที่หน่วยงานบางแห่งของรัฐบาลสหรัฐฯ ต้องปิดทำการนาน 16 วันตั้งแต่ต้นเดือนนี้ เอฟโอเอ็มซีกลับไม่ได้พาดพิงถึงผลกระทบจากการที่พนักงานลูกจ้างรัฐหลายแสนคนต้องหยุดงานแต่อย่างใด แม้นักวิเคราะห์อิสระจำนวนมากประเมินว่า เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เศรษฐกิจแดนอินทรีเกิดความสูญเสียคิดเป็นมูลค่า 24,000 ล้านดอลลาร์ และอาจทำให้อัตราเติบโตไตรมาสสุดท้ายของปีนี้หดหายไป 0.5%
ทั้งนี้ ข้อมูลเบื้องต้นที่ออกมาสัปดาห์ที่แล้วก็บ่งชี้ว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคได้ชะลอลง เช่นเดียวกับความมั่นใจของทั้งผู้บริโภคและภาคธุรกิจ สืบเนื่องจากวิกฤตชัตดาวน์
นอกจากนั้น คำแถลงหลังประชุมเอฟโอเอ็มซีคราวนี้ ยังไม่พาดพิงถึงความกังวลที่ศึกการเมืองในวอชิงตันจะหวนกลับมาใหม่ต้นปีหน้า หากการเจรจาเกี่ยวกับงบประมาณระหว่างพรรครีพับลิกันและเดโมแครตในขณะนี้ยังคงไร้ผล โดยงบประมาณชั่วคราวสำหรับปีงบประมาณ 2014 จะมีผลจนถึงวันที่ 15 มกราคมเท่านั้น
ทว่า เอฟโอเอ็มซีกลับตอกย้ำมุมมองที่เบอร์นันกีเร่งเร้ามาตั้งแต่ปีที่แล้ว นั่นคือการคุมเข้มการใช้จ่ายของรัฐบาล กำลังเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวจากภาวะถดถอยเมื่อปี 2008-2009
ภายหลังการแถลงของเฟด ตลาดหุ้นนิวยอร์กที่ตกทำสถิติต่ำสุดอยู่แล้วเมื่อวันอังคาร (29 ต.ค.) ยังคงลดลงในวันพุธ ส่วนเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบยูโร
ตลาดการเงินแสดงอาการเริ่มตั้งรับแนวทางการทยอยลดมาตรการ QE ของเฟดมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่เบอร์นันกีประกาศว่า หากข้อมูลบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจดีขึ้น เฟดจะเริ่มชะลอการซื้อพันธบัตรปลายปีนี้และยกเลิกกลางปีหน้า ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรและดอกเบี้ยทะยานลิ่ว ตลาดทุนและตลาดเงินในประเทศตลาดเกิดใหม่ทั่วโลกก็พากันปั่นป่วน
ทว่า นับจากนั้นเอฟโอเอ็มซีก็เริ่มสงบปากสงบคำ โดยเฉพาะเมื่อเศรษฐกิจส่งสัญญาณชะลอตัวในเดือนสิงหาคม และสงครามนโยบายระหว่างเดโมแครตกับรีพับลิกันในวอชิงตันฉุดรั้งความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ
ในการประชุมครั้งนี้ เอฟโอเอ็มซียังไม่ส่งสัญญาณว่า จะชะลอหรือยุติ QE เมื่อใดและอย่างไร เพียงเน้นย้ำว่า จำเป็นต้องรอดูหลักฐานเพิ่มเติมว่า เศรษฐกิจเดินหน้ายั่งยืนก่อนที่จะดำเนินมาตรการใดๆ
ทางด้าน พอล อีเดลสไตน์ จากไอเอชเอส โกลบัล อินไซต์ ชี้ว่า แนวโน้มศึกรอบใหม่ในรัฐสภาในเดือนมกราคม ซึ่งอาจนำไปสู่วิกฤตชัตดาวน์ซ้ำสองและความเสี่ยงที่รัฐบาลจะผิดนัดชำระหนี้ อาจทำให้เฟดชะลอการปรับเปลี่ยนมาตรการกระตุ้นจนถึงเดือนมีนาคม
ทว่า ฮาร์ม แบนด์โฮลซ์ จากยูนิเครดิต เชื่อว่า ข้อมูลเศรษฐกิจอาจบ่งชี้การฟื้นตัวอย่างเข้มแข็งเพียงพอที่เอฟโอเอ็มซีจะตัดสินใจลดการซื้อพันธบัตรตั้งแต่เดือนมกราคม
สำหรับ พอล แอชเวิร์ธ นักเศรษฐศาสตร์ของแคปิตอล อิโคโนมิกส์ มองว่า การที่คำแถลงไม่กล่าวถึงวิกฤตชัตดาวน์อาจหมายความว่า เฟดไม่กังวลต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจ จึงอาจพร้อมลดมาตรการกระตุ้นอย่างเร็วที่สุดปลายปีนี้