เอเจนซีส์ - ในวันอังคาร (1) ศาลพิเศษบังกลาเทศ หรือศาล ICT ได้พิพากษาผู้นำฝ่ายค้านพรรคชาตินิยม BNP ซาเลาะห์อุดดิน คอร์เดอร์ ชอร์ดูรี วัย 64 ปี ถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการแขวนคอในข้อหา ทรมาน ข่มขืน และฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ในช่วงที่บังกลาเทศกำลังเรียกร้องให้มีการประกาศเอกราชในช่วงปี 1971
ในวันอังคาร (1) “ศาลอาญาระหว่างประเทศ” หรือ ICT ซึ่งเป็นศาลพิเศษบังกลาเทศ ที่จัดตั้งโดยนายกรัฐมนตรีบังกลาเทศ ชีค ฮาสินา ในปี 2010 ได้ตัดสิน ซาเลาะห์อุดดิน คอร์เดอร์ ชอร์ดูรี วัย 64 ปี ผู้นำฝ่ายค้านพรรค BNP ในข้อหา “อาชญากรสงคราม” ในช่วงบังกลาเทศที่กำลังประกาศตัวเป็นเอกราชออกจากปากีสถานเมื่อ 40 กว่าปีมาแล้ว หลังจากมีคำพิพากษาออกมาแล้วนั้น มีการประท้วงอย่างรุนแรงจากฝ่ายสนับสนุนของชอร์ดูรี โดย 1 วันก่อนการตัดสินนั้น มีการรักษาความปลอดภัยอย่างแน่นหนาในกรุงดาการ์ และเมื่องต่างๆทั่วประเทศ ล่วงหน้า
ซึ่งคำตัดสินที่ออกมานั้นสั่งประหารชีวิตผู้นำฝ่ายค้านบังกลาเทศนี้ในข้อหา ทรมาณ ข่มขืน และฆ่าล้างเผ่าพันธ์ โดยที่ชอร์ดูรีนั้นถูกกล่าวหาว่าได้ร่วมมือกับกองทัพปากีสถานในสมัยนั้น และมีส่วนพัวพันในการทรมาณ และสังหารพลเรือนที่ปราศจากอาวุธมากกว่า 200 คน
ในคืนวันอังคาร (1) มีรายงานว่า เหล่าผู้สนับสนุนพรรคฝ่ายค้านบังกลาเทศได้ทำร้ายผู้สนับสนุนฝ่ายรัฐบาล มีรายงานว่าพบรถยนต์ถูกเผาในเมืองจิตตะกอง ซึ่งทางพรรคฝ่ายค้าน BNP ได้เรียกร้องให้มีการปิดเมืองจิตตะกองนี้ในวันพุธ (2)
จากรายงานพบว่า อาชญากรรมสงครามที่ชอร์ดูรีก่อนั้น ย้อนหลังไปในปี 1971 ในขณะที่มีการเคลื่อนไหวของ Bengali Nationalists ในบังกลาเทศ ที่สมัยนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของปากีสถานซึ่งถูกเรียกว่า “ปากีสถานตะวันออก” และได้ทำการเรียกร้องประกาศแยกตัวเป็นอิสรภาพจากปากีสถานโดยมีอินเดียหนุนหลังอยู่ และกองทัพในปากีสถานตะวันตกในสมัยนั้นได้ขัดขวางการเรียกร้องแบ่งแยกดินแดน โดยทางกองทัพที่ร่วมมือโดยชอร์ดูรีใช้วิธีโหดร้ายและป่าเถื่อน ผลให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากราว 300,000 คน จนถึง 1 ล้านคน
และการที่ศาลพิเศษ ICT ซึ่งฮาสินาตั้งขึ้นมาเพื่อดำเนินคดีกับอาชญากรฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นั้น ฝ่ายค้านบังกลาเทศกล่าวหาว่า มันถูกตั้งขึ้นมาเพื่อรับใช้รัฐบาลและพรรคของฮาสินา และอ้างว่าศาลแห่งนี้ไม่ได้เป็นที่ยอมรับของนานาชาติตามหลักยุติธรรมสากล ในขณะที่หลายฝ่ายกล่าวว่า การไต่สวนคดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ นั้นถือเป็นการคืนความยุติธรรมให้กับผู้บริสุทธิ์ที่เสียชีวิตไปเมื่อ 40 กว่าปีก่อนหน้านั้น
ชอร์ดูรีนั้นถูกจับกุมตัวเมื่อ 1 ปี และ 4 เดือนก่อนหน้านั้น โดยเขาถูกตั้งข้อกล่าวหาถึง 23 ข้อกล่าวหาฐานทำลายมนุษยชาติร่วมกับกองทัพปากีสถานในสงครามประกาศอิสรภาพ ในการขึ้นศาลนั้น ชอร์ดูรีได้ปฏิเสธในทุกข้อกล่าวหา และภายหลังจากมีคำตัดสินออกมาแล้ว ภรรยาของเขาได้เผยกับผู้สื่อข่าวว่า ทางครอบครัวจะอุทธรณ์คำตัดสินในศาลสูงบังกลาเทศต่อไป
โดยหนึ่งในเหยื่อฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของชอร์ดูรีนั้นมี “นูตุน จันดรา ซิงห์” นักอุตสาหการและผู้ใจบุญอันเลื่องชื่อ โดยเขาถูกสังหารที่เมืองจิตตะกอง และนอกจากนี้ชอร์ดูรีนั้นถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้คอยควบคุมการทรมาณในเรือนจำที่บ้านเกิดตลอดช่วงสงคราม
นอกจากนี้ ชอร์ดูรีนั้นเป็นหนึ่งในสองของผู้นำพรรค BNP ที่ถูกใต่สวนโดยศาลพิเศษในข้อกล่าวหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยก่อนหน้านั้นคือ อับดุล อาลิม อดีตรัฐมนตรีของพรรค BNP และในกันยายนล่าสุด ศาลพิเศษได้ตัดสินประหารชีวิต อับดุล คอร์เดอร์ มอลลาห์ หัวหน้าพรรคจามาต-อี-อีสลามี ในข้อกล่าวหาเดียวกัน