xs
xsm
sm
md
lg

ผลวิจัยชี้ เฟซบุ๊กช่วยให้มีเพื่อนมากขึ้น แต่ “ความสุข” ลดลง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เอเอฟพี - ผลสำรวจชี้ ผู้ใช้เฟชบุ๊กอาจรู้สึกว่ามีเพื่อนฝูงมากขึ้น แต่ความสุขกลับลดน้อยลง

ผลวิจัยในกลุ่มผู้ใหญ่ตอนต้นเผยแพร่ออกมาเมื่อวานนี้ (14) พบว่า ยิ่งคนใช้เฟซบุ๊กมากเท่าไร พวกเขาก็ยิ่งรู้สึกมีความทุกข์มากขึ้นเท่านั้น

“หากมองอย่างผิวเผิน เฟซบุ๊กเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ช่วยเติมเต็มความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ ซึ่งต้องการมีสังคม” อีธาน ครอสส์ นักวิทยาสังคม หัวหน้าทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนกล่าว

“แทนที่จะทำให้ชีวิตคนเราดีขึ้น แต่เรากลับพบว่าเฟชบุ๊กนั้นทำสิ่งที่ตรงกันข้าม เฟซบุ๊กทำให้ชีวิตคนแย่ลงมากกว่า”

นักวิจัยได้เก็บข้อมูลจากคนวัยผู้ใหญ่ตอนต้น 82 คน ที่มีสมาร์ทโฟนและบัญชีเฟซบุ๊ก โดยทำการประเมินภาวะความสุขพวกเขา ด้วยวิธีการส่งข้อความ 5 ครั้งต่อวันโดยสุ่มเวลา เป็นเวลา2 อาทิตย์

ผลวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ PLOS ซึ่งผู้วิจัยระบุว่าน่าจะจะเป็นผลวิจัยครั้งแรกที่ วัดผลกระทบของเฟชบุ๊กในเรื่องความสุขและความพอใจของชีวิต

นักวิจัยทำการทดสอบกลุ่มวิจัยโดยถามพวกเขาว่ารู้สึกอย่างไรรู้สึกกังวลหรือโดดเดี่ยวหรือ ไม่พวกเขาใช้เฟซบุ๊กมบ่อยแค่ไหน และมี “ปฏิสัมพันธ์ทางตรง” กับผู้คนมากน้อยเพียงใด

“ยิ่งคนใช้เฟชบุ๊กมากเท่าไรในช่วงเวลาหนึ่ง พวกเขาก็ยิ่งรู้สึกแย่ในครั้งถัดไปที่เราส่งข้อควาไปหาพวกเขา ยิ่งพวกเขาใช้เฟซบุ๊กมากเท่าไรใน 2 สัปดาห์ ระดับความพึ่งพอใจในชีวิตก็ยิ่งลดลงมากเท่านั้น” นักวิจัยระบุ

ในทางตรงกันข้าม การมีปฎิสัมพันธ์โดยตรงระหว่างบุคคล ทำให้คนรู้สึกดีมากขึ้นทุกวัน

นักวิทยาศาสตร์ยังไม่พบหลักฐานที่บ่งชี้ว่า การใช้เฟซบุ๊กสะท้อนรู้สึกต่ำต้อย คนเราไม่ได้มีแนวโน้มที่จะเล่นเฟชบุ๊กมากขึ้น เมื่อรู้สึกแย่ แม้ว่าพวกเขาใช้เฟสบุ๊คบ่อยขึ้น เวลารู้สึกเหงาก็ตาม

“เฟซบุ๊กไม่ใช่สิ่งที่แสดงถึงความรู้สึกไม่ดีหรือความรู้สึกว้าเหว่เสียทีเดียว” ครอสส์กล่าว

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยยังไม่สรุปว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กทุกคน รวมถึงผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ประเภทอื่น จะมีความรู้สึกอย่างเดียวกัน

“เราให้ความสำคัญกับคนวัยผู้ใหญ่ตอนต้นในการศึกษาครั้งนี้ เนื่องจากพวกเขาเป็นกลุ่มหลักของผู้ใช้เฟซบุ๊ก”

“อย่างไรก็ตาม การพิสูจน์ว่า ผลของงานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้กับกลุ่มคนอายุอื่นได้หรือไม่นั้นสำคัญ การวิจัยในอนาคตควรจะทดลองว่า ผลสรุปงานวิจัยนี้สามารถใช้กับเครือข่ายสังคมออนไลน์อื่นๆ ได้หรือไม่”

ผลวิจัยนี้ถูกเผยแพร่ราว 1 สัปดาห์จากที่ นักวิจัยชาวอังกฤษตีพิมพ์รายงานที่สรุปว่า การโพสต์รูปภาพบ่อยๆ ในเฟชบุ๊ก ทำให้ความสัมพันธ์ในชีวิตจริงเสียหายได้

ผลงานวิจัยนี้นำเสนอโดย เดวิด ฮัฟตัน จากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม โดยพบว่าการโพสต์รูปบนเฟซบุ๊ก โดยเฉพาะรูปตัวเอง ไม่ใช่เรื่องที่น่าชื่นชมสำหรับเพื่อนที่ไม่สนิทกัน

“คนที่ไม่ใช่เพื่อนสนิทหรือญาตินั้นจะ รู้สึกไม่ดีต่อบุคคลที่ชอบแชร์รูปตัวเอง” ฮัฟตันกล่าว

นักวิจัยชี้ว่าขณะที่เฟซบุ๊กสร้างกลุ่ม “เพื่อน” ที่มีความชอบตรงกัน แต่ผู้ใช้ส่วนใหญ่มีลักษณะความสัมพันธ์ที่แตกต่างกันไปกับบุคคลที่เข้ามาเห็นสิ่งที่พวกเขาโพสต์

“ต้องจำไว้ว่า ข้อมูลที่เราโพสต์ให้ “เพื่อน” ในเฟซบุ๊กดูนั้น จะปรากฏต่อคนอื่นๆ อีกหลายกลุ่ม ทั้งหุ้นส่วน, เพื่อน, ครอบครัว, เพื่อนร่วมงานและคนรู้จัก ซึ่งคนแต่ละกลุ่มก็จะมีมุมมองต่อสิ่งที่เราโพสต์แตกต่างกันไป”
กำลังโหลดความคิดเห็น