xs
xsm
sm
md
lg

สื่อนอกรายงาน “อภิสิทธิ์นำกลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้าน พ.ร.บ.นิรโทษ” มาส่งหน้ารัฐสภา

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เอเอฟพี - ในวันพุธ (7) นี้ ผู้ประท้วงชาวไทยราว 2,000 คน เดินทางมาพร้อมกับอดีตนายกรัฐมนตรีของไทย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และคณะ ที่หน้ารัฐสภา เพื่อคัดค้านพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ไม่สงบทางการเมืองที่ทำให้เกิดการแบ่งข้างขึ้นภายในประเทศ ก่อนที่อภิสิทธิ์จะบอกให้ผู้ชุมนุมแยกย้ายกลับบ้าน

ฝูงตำรวจปราบจลาจลหลายร้อยนายที่มีพร้อมทั้งโล่และกระบองป้องกันไม่ให้กลุ่มผู้ประท้วงเข้าใกล้ที่ทำการรัฐสภาไทย ซึ่งมีหลายฝ่ายกังวลว่าการเดินขบวนในครั้งนี้จะนำไปสู่เหตุการณนองเลือดอีกครั้ง เพราะเป็นวันแรกที่ทางรัฐสภาไทยได้เริ่มพิจารณาพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในวันพุธ (7) ช่วงบ่าย

ในการประท้วงครั้งนี้ ทาง ส.สฝ่ายค้านพรรคประชาธิปัตย์ ที่รวมถึงอดีตนายกรัฐมนตรีของไทย และยังเป็นผู้นำพรรคฝ่ายค้านในปัจจุบัน อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้นำผู้ประท้วงมาที่แผงกั้นคอนกรีตที่ตั้งอยู่ห่างจากรั้วสภาไปประมาณ 200 เมตร

โดยทางตำรวจปราบจลาจลจะอนุญาตให้เฉพาะสมาชิกรัฐสภาเท่านั้น ที่สามารถผ่านเข้าไปได้ พร้อมกับอ้างว่าทางหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านได้ตกลง และจะบอกให้กลุ่มผู้ชุมนุมแยกย้ายกันกลับบ้าน

แต่ทางผู้สื่อข่าวเอเอฟพีที่อยู่ในเหตุการณ์รายงานว่า มีผู้ชุมนุมยังคงอยู่ในบริเวณนั้น และมีผู้ประท้วงราว 50 คน พยายามที่จะผลักคอนกรีตแบริเออร์ออกไป

ก่อนที่อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย จะเดินเข้าสู่บริเวณรัฐสภา อภิสิทธิ์ได้ยกย่องในจุดยืนที่หนักแน่นของผู้เข้าร่วมการชุมนุม แต่ก็ยังคงขอร้องให้พวกเขาแยกย้ายกลับบ้าน

“ในการต่อสู้ครั้งนี้ที่ใช้เวลายาวนาน เราไม่สามารถรีบร้อนได้ เราต้องมีความรอบคอบ” อภิสิทธิ์กล่าว

และหนึ่งในผู้ประท้วง ประภาส สุนันธาปรีดา วัย 55 เผยว่า “ผมมาที่นี่เพื่อความยุติธรรม ผมไม่ต้องการ พ.ร.บ เถื่อน”

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมนี้จะล้างคดีของคนที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองของไทย เริ่มตั้งแต่ช่วงเวลาหลังยึดอำนาจในเดือนกันยายน 2006 จนกระทั่งถึงเดือนพฤษภาคม 2012 โดยที่ผู้นำที่เกี่ยวข้องจะไม่ถูกรวมไว้ในกรณีนี้ด้วย

ในขณะที่กลุ่มผู้คัดค้านกฏหมายนี้ต่างกลัวว่าจะใช้เป็นการช่วยเหลือพี่ชายของนายกรัฐมนตรีของไทย ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้พ้นผิด

ประเทศไทยได้ตกอยู่ใต้สถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองตั้งแต่อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ทักษิณ ชินวัตร ที่ถูกทำรัฐประหาร และได้อาศัยอยู่นอกประเทศในขณะนี้ แต่ยังคงมีอิทธิพลต่อกลุ่มผู้สนับสนุนที่อยู่ในชนชั้นล่างของสังคมไทย

ในขณะเดียวกัน เมื่อวานนี้ (6) ทางยูเอ็นได้ออกโรงเตือนรัฐบาลของยิ่งลักษณ์ไม่ให้ใช้พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมนี้ถูกฟอกผิดให้กลุ่มที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่รวมถึงเหตุการณ์ปะทะของกลุ่มประท้วงต่อต้านรัฐบาลทหารในปี 2010

การนองเลือดดูเหมือนจะคู่กับการประท้วงใหญ่ในช่วงไม่กี่ปีในการเมืองไทย ที่มีการออกท้องถนนของกลุ่มเสื้อเหลืองและเสื้อแดง
กำลังโหลดความคิดเห็น