(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Laos targets rail-link start date
By Radio Free Asia
07/06/2013
ลาวมีความมุ่งหมายที่จะเริ่มการก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงในประเทศของตนให้ได้ในเดือนสิงหาคมนี้ เส้นทางรถไฟดังกล่าวจะเริ่มจากพรมแดนภาคตะวันตกของลาวที่ติดต่อกับประเทศไทย ไปจนถึงชายแดนลาวติดต่อกับเวียดนาม อย่างไรก็ตาม บริษัทมาเลเซียซึ่งรับหน้าที่ก่อสร้างทางรถไฟสายนี้ยังทำงานออกแบบโครงการไม่ทันเสร็จสิ้น อีกทั้งพวกเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจก็ยังไม่ได้เห็นรายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องผ่านการอนุมัติ จึงจะสามารถเดินหน้าทำการก่อสร้างได้
ลาวกำลังจะเริ่มเดินหน้าโครงการมหึมาเพื่อก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงของตนอย่างเป็นทางการในเดือนสิงหาคมนี้ เจ้าหน้าที่ของทางการลาวผู้หนึ่งเปิดเผยเมื่อวันพฤหัสบดี (6 มิ.ย.) โดยบอกว่า งานสร้างทางรถไฟไฮสปีดจากพรมแดนภาคตะวันตกของประเทศซึ่งติดต่อกับไทยไปจนถึงเวียดนามนี้ จะเริ่มเดินหน้ากันได้ทันที ภายหลังบริษัทมาเลเซียที่เป็นทั้งผู้ดำเนินการก่อสร้างและผู้ดำเนินโครงการ เสร็จงานการศึกษาความเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์แล้ว
เจ้าหน้าที่ผู้หนึ่งจากกระทรวงงานโยธาและการขนส่งของลาวในนครหลวงเวียงจันทน์ ยังเปิดเผยกับบริการภาคภาษาลาวของวิทยุเอเชียเสรี โดยที่ขอสงวนนาม ว่า พิธีขุดดินเริ่มการก่อสร้างทางรถไฟสายนี้อย่างเป็นทางการ จะจัดขึ้นที่เมืองไกสอนพมวิหาน แขวงสะหวันนะเขต “ประมาณเดือนสิงหาคมนี้”
ทั้งนี้พิธีดังกล่าวจะเป็นหลักหมายแสดงถึงการลงมือดำเนินโครงการครั้งปฐมฤกษ์ แต่สำหรับวันเวลาอันชัดเจนที่จะเริ่มการก่อสร้างอย่างจริงจังเต็มที่นั้น ขณะนี้ยังไม่มีการกำหนด
ไจแอนต์ คอนโซลิเดเต็ด (Giant Consolidated) บริษัทมาเลเซียดังกล่าว เวลานี้ก็ยังไม่ได้ไปจัดตั้งสำนักงานโครงการขึ้นในแขวงสะหวันนะเขตแต่อย่างใด
“ในเรื่องการจัดตั้งสำนักงาน ยังไม่ได้มีการพูดถึงกันเลย” เจ้าหน้าที่ผู้นี้บอก “แต่เป็นสิ่งที่ชัดเจนอยู่แล้วว่าเมื่อโครงการเริ่มต้นเดินหน้า ก็จำเป็นที่จะต้องมีสำนกงานขึ้นที่นี่ ที่ในแขวง (สะหวันนะเขต) นี้”
เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว บริษัทไจแอนต์เป็นผู้ได้ทำสัญญาเพื่อทำการก่อสร้างและดำเนินงานเส้นทางรถไฟความยาว 220 กิโลเมตรสายนี้ ซึ่งเริ่มต้นจากสะหวันนะเขต ตรงพรมแดนทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของลาวที่ติดต่อกับไทย ไปจนถึงด่านพรมแดนลาวบาว (Lao Bao) ซึ่งติดต่อกับเวียดนามในทางด้านตะวันออกของประเทศ
บริษัทแห่งนี้เมื่อเร็วๆ นี้เอง เพิ่งเสร็จสิ้นการจัดทำรายงานประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ต้องจัดทำและได้รับการอนุมัติ จึงจะสามารถเริ่มต้นก่อสร้างได้ ทว่าบริษัทยังไม่ได้ยื่นรายงานการศึกษานี้ต่อพวกเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ เจ้าหน้าที่ลาวผู้นี้เปิดเผยต่อ ขณะที่รายงานการสำรวจสถานที่ก่อสร้างซึ่งทางบริษัทไจแอนต์ดำเนินการไปในช่วงก่อนหน้านี้ของปีนี้ ก็ยังมิได้ยื่นเสนอต่อเหล่าเจ้าหน้าที่ของแขวงเช่นเดียวกัน
เมื่อเดือนเมษายน เจ้าหน้าที่การรถไฟลาวผู้หนึ่งได้บอกกับวิทยุเอเชียเสรีว่า ก่อนเริ่มต้นการก่อสร้าง ไจแอนต์ยังจำเป็นต้องทำงานการออกแบบโครงการให้เสร็จสิ้น ซึ่งคาดหมายกันว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม
แต่ถึงแม้ยังไม่มีความคืบหน้าในเรื่องงานออกแบบนี้ เจ้าหน้าที่กระทรวงงานโยธาและการขนส่งผู้นี้ก็ยังแสดงความมั่นอกมั่นใจว่าทางรถไฟความเร็วสูงสายนี้จะสามารถเดินหน้าไปได้ โดยระบุว่าเนื่องจากมี “การหารือกันเป็นประจำ” เกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆ ของโครงการ ระหว่างผู้แทนของบริษัทไจแอนต์กับกระทรวงของเขา “แต่รายละเอียดต่างๆ เหล่านี้ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ในตอนนั้”
การก่อสร้างทางรถไฟสายนี้ ซึ่งนอกจากช่วงที่อยู่ในดินแดนของลาวระหว่างสะหวันนะเขตกับด่านลาวบาวแล้ว ยังจะมีการเชื่อมต่อไปจนถึงเมืองท่าดาหนังของเวียดนามอีกด้วย โดยคาดหมายกันว่าจะใช้เวลาในการก่อสร้างทั้งสิ้น 4 ปี
ทางด้าน ริช บังโก เบอร์ฮาด (Rich Banco Berhad) สถาบันการเงินของนิวซีแลนด์ ได้ตกลงเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ที่จะจัดเงินกู้จำนวน 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯให้แก่ไจแอนต์ เพื่อใช้เป็นเงินทุนในการก่อสร้าง [1]
นอกจากนั้นลาวยังกำลังเจรจาเพื่อขอกู้เงินเป็นจำนวน 7,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯจากจีน เพื่อใช้เป็นเงินทุนสำหรับการก่อสร้างทางรถไฟสายที่ 2 ตามแผนการที่จัดวางเอาไว้ โดยโครงการทางรถไฟสายนี้มีความยาว 420 กิโลเมตร เชื่อมต่อระหว่างเมืองหลวงเวียงจันทน์กับภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน
ลาวตกลงเป็นเจ้าของโครงการหลังนี้แต่เพียงผู้เดียว หลังจากที่บริษัทก่อสร้างของจีนแห่งหนึ่งได้ถอนตัวออกจากข้อตกลงหุ้นส่วนร่วม เพราะประเมินว่าให้ผลกำไรไม่จูงใจเพียงพอ พวกสมาชิกรัฐสภาตลอดจนธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ต่างส่งสัญญาณเตือนภัยว่า โครงการนี้ ลาวจะ “แบกรับค่าใช้จ่ายไม่ไหว” และอาจถึงขั้นทำให้ประเทศติดหนี้สินรุงรัง
ลาวเป็นประเทศที่ไม่มีชายฝั่งทะเลหรือเมืองท่าริมทะเล เป็นที่คาดหมายกันว่าเส้นทางรถไฟจะช่วยลดต้นทุนของสินค้าออกและสินค้าผู้บริโภค รวมทั้งช่วยเป็นแรงขับดันการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศที่ยังมีฐานะยากจนแห่งนี้ ในปัจจุบันระบบรถไฟของลาวมีเพียงทางรถไฟข้ามแม่น้ำโขงความยาว 3.5 กิโลเมตร ซึ่งเชื่อมระหว่างนครหลวงเวียงจันทน์กับจังหวัดหนองคายของไทยเท่านั้น
**หมายเหตุ**
[1] ไซมอน มอนต์เลค (Simon Montlake) เขียนบทความชิ้นหนึ่งเผยแพร่บนเว็บไซต์ของนิตยสารฟอร์บส์ (Forbes.com) เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2013 โดยใช้ชื่อเรื่องว่า “Offshore Tax Havens For Beginners: Pick An Inoffensive Name” มีเนื้อหาระบุว่า “เจ้าหน้าที่รัฐบาลลาวผู้หนึ่งบอกกับวิทยุเอเชียเสรีว่า ไจแอนต์ คอนโซลิเดเต็ด ลิมิเต็ด (Giant Consolidated Limited ใช้อักษรย่อว่า GCL) ได้ดำเนินการหาเงินกู้จาก ริช บังโก เบอร์ฮาด (Rich Banco Berhad ทั้งนี้ เบอร์ฮาด เป็นคำในภาษามาเลย์ ซึ่งหมายถึง บริษัทจำกัด) อีกทั้งยังกำลังเตรียมตัวเพื่อเริ่มต้นจัดทำเรื่องการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมด้วย จนถึงเวลานี้ผมไม่ได้รู้สึกคุ้นเคยกับธนาคารแห่งนี้เลย แถมดูเหมือนธนาคารกลางของนิวซีแลนด์ก็ไม่ได้รู้สึกคุ้นเคยเช่นเดียวกัน เพราะ ริช บังโค ไม่ได้ไปจดทะเบียนบริษัทที่นั่นแต่อย่างใด เรื่องทั้งหมดที่เล่ามาเหล่านี้บอกให้ผมทราบว่าทางรถไฟสายนี้ยังจะต้องไปกันอีกยาวไกลนักกว่าที่จะสำเร็จเสร็จสิ้นได้จริงๆ”
รายงานข่าวชิ้นนี้เป็นของบริการภาคภาษาลาว ของวิทยุเอเชียเสรี ซึ่งแปลโดย เวียงไซ หลวงโคตร (Viengsay Luangkhot) และเขียนเป็นภษาอังกฤษโดย โจชัว ลิปส์ (Joshua Lipes)
วิทยุเอเชียเสรี (Radio Free Asia ใช้อักษรย่อว่า RFA) ก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบัญญัติของรัฐสภาสหรัฐฯ และได้รับการสนับสนุนส่วนหนึ่งจากเงินให้เปล่าของรัฐบาลสหรัฐฯ ปัจจุบัน RFA เป็นผู้ดำเนินการสถานีวิทยุและบริการข่าวสารทางอินเทอร์เน็ต
Laos targets rail-link start date
By Radio Free Asia
07/06/2013
ลาวมีความมุ่งหมายที่จะเริ่มการก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงในประเทศของตนให้ได้ในเดือนสิงหาคมนี้ เส้นทางรถไฟดังกล่าวจะเริ่มจากพรมแดนภาคตะวันตกของลาวที่ติดต่อกับประเทศไทย ไปจนถึงชายแดนลาวติดต่อกับเวียดนาม อย่างไรก็ตาม บริษัทมาเลเซียซึ่งรับหน้าที่ก่อสร้างทางรถไฟสายนี้ยังทำงานออกแบบโครงการไม่ทันเสร็จสิ้น อีกทั้งพวกเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจก็ยังไม่ได้เห็นรายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องผ่านการอนุมัติ จึงจะสามารถเดินหน้าทำการก่อสร้างได้
ลาวกำลังจะเริ่มเดินหน้าโครงการมหึมาเพื่อก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงของตนอย่างเป็นทางการในเดือนสิงหาคมนี้ เจ้าหน้าที่ของทางการลาวผู้หนึ่งเปิดเผยเมื่อวันพฤหัสบดี (6 มิ.ย.) โดยบอกว่า งานสร้างทางรถไฟไฮสปีดจากพรมแดนภาคตะวันตกของประเทศซึ่งติดต่อกับไทยไปจนถึงเวียดนามนี้ จะเริ่มเดินหน้ากันได้ทันที ภายหลังบริษัทมาเลเซียที่เป็นทั้งผู้ดำเนินการก่อสร้างและผู้ดำเนินโครงการ เสร็จงานการศึกษาความเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์แล้ว
เจ้าหน้าที่ผู้หนึ่งจากกระทรวงงานโยธาและการขนส่งของลาวในนครหลวงเวียงจันทน์ ยังเปิดเผยกับบริการภาคภาษาลาวของวิทยุเอเชียเสรี โดยที่ขอสงวนนาม ว่า พิธีขุดดินเริ่มการก่อสร้างทางรถไฟสายนี้อย่างเป็นทางการ จะจัดขึ้นที่เมืองไกสอนพมวิหาน แขวงสะหวันนะเขต “ประมาณเดือนสิงหาคมนี้”
ทั้งนี้พิธีดังกล่าวจะเป็นหลักหมายแสดงถึงการลงมือดำเนินโครงการครั้งปฐมฤกษ์ แต่สำหรับวันเวลาอันชัดเจนที่จะเริ่มการก่อสร้างอย่างจริงจังเต็มที่นั้น ขณะนี้ยังไม่มีการกำหนด
ไจแอนต์ คอนโซลิเดเต็ด (Giant Consolidated) บริษัทมาเลเซียดังกล่าว เวลานี้ก็ยังไม่ได้ไปจัดตั้งสำนักงานโครงการขึ้นในแขวงสะหวันนะเขตแต่อย่างใด
“ในเรื่องการจัดตั้งสำนักงาน ยังไม่ได้มีการพูดถึงกันเลย” เจ้าหน้าที่ผู้นี้บอก “แต่เป็นสิ่งที่ชัดเจนอยู่แล้วว่าเมื่อโครงการเริ่มต้นเดินหน้า ก็จำเป็นที่จะต้องมีสำนกงานขึ้นที่นี่ ที่ในแขวง (สะหวันนะเขต) นี้”
เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว บริษัทไจแอนต์เป็นผู้ได้ทำสัญญาเพื่อทำการก่อสร้างและดำเนินงานเส้นทางรถไฟความยาว 220 กิโลเมตรสายนี้ ซึ่งเริ่มต้นจากสะหวันนะเขต ตรงพรมแดนทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของลาวที่ติดต่อกับไทย ไปจนถึงด่านพรมแดนลาวบาว (Lao Bao) ซึ่งติดต่อกับเวียดนามในทางด้านตะวันออกของประเทศ
บริษัทแห่งนี้เมื่อเร็วๆ นี้เอง เพิ่งเสร็จสิ้นการจัดทำรายงานประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ต้องจัดทำและได้รับการอนุมัติ จึงจะสามารถเริ่มต้นก่อสร้างได้ ทว่าบริษัทยังไม่ได้ยื่นรายงานการศึกษานี้ต่อพวกเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ เจ้าหน้าที่ลาวผู้นี้เปิดเผยต่อ ขณะที่รายงานการสำรวจสถานที่ก่อสร้างซึ่งทางบริษัทไจแอนต์ดำเนินการไปในช่วงก่อนหน้านี้ของปีนี้ ก็ยังมิได้ยื่นเสนอต่อเหล่าเจ้าหน้าที่ของแขวงเช่นเดียวกัน
เมื่อเดือนเมษายน เจ้าหน้าที่การรถไฟลาวผู้หนึ่งได้บอกกับวิทยุเอเชียเสรีว่า ก่อนเริ่มต้นการก่อสร้าง ไจแอนต์ยังจำเป็นต้องทำงานการออกแบบโครงการให้เสร็จสิ้น ซึ่งคาดหมายกันว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม
แต่ถึงแม้ยังไม่มีความคืบหน้าในเรื่องงานออกแบบนี้ เจ้าหน้าที่กระทรวงงานโยธาและการขนส่งผู้นี้ก็ยังแสดงความมั่นอกมั่นใจว่าทางรถไฟความเร็วสูงสายนี้จะสามารถเดินหน้าไปได้ โดยระบุว่าเนื่องจากมี “การหารือกันเป็นประจำ” เกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆ ของโครงการ ระหว่างผู้แทนของบริษัทไจแอนต์กับกระทรวงของเขา “แต่รายละเอียดต่างๆ เหล่านี้ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ในตอนนั้”
การก่อสร้างทางรถไฟสายนี้ ซึ่งนอกจากช่วงที่อยู่ในดินแดนของลาวระหว่างสะหวันนะเขตกับด่านลาวบาวแล้ว ยังจะมีการเชื่อมต่อไปจนถึงเมืองท่าดาหนังของเวียดนามอีกด้วย โดยคาดหมายกันว่าจะใช้เวลาในการก่อสร้างทั้งสิ้น 4 ปี
ทางด้าน ริช บังโก เบอร์ฮาด (Rich Banco Berhad) สถาบันการเงินของนิวซีแลนด์ ได้ตกลงเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ที่จะจัดเงินกู้จำนวน 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯให้แก่ไจแอนต์ เพื่อใช้เป็นเงินทุนในการก่อสร้าง [1]
นอกจากนั้นลาวยังกำลังเจรจาเพื่อขอกู้เงินเป็นจำนวน 7,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯจากจีน เพื่อใช้เป็นเงินทุนสำหรับการก่อสร้างทางรถไฟสายที่ 2 ตามแผนการที่จัดวางเอาไว้ โดยโครงการทางรถไฟสายนี้มีความยาว 420 กิโลเมตร เชื่อมต่อระหว่างเมืองหลวงเวียงจันทน์กับภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน
ลาวตกลงเป็นเจ้าของโครงการหลังนี้แต่เพียงผู้เดียว หลังจากที่บริษัทก่อสร้างของจีนแห่งหนึ่งได้ถอนตัวออกจากข้อตกลงหุ้นส่วนร่วม เพราะประเมินว่าให้ผลกำไรไม่จูงใจเพียงพอ พวกสมาชิกรัฐสภาตลอดจนธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ต่างส่งสัญญาณเตือนภัยว่า โครงการนี้ ลาวจะ “แบกรับค่าใช้จ่ายไม่ไหว” และอาจถึงขั้นทำให้ประเทศติดหนี้สินรุงรัง
ลาวเป็นประเทศที่ไม่มีชายฝั่งทะเลหรือเมืองท่าริมทะเล เป็นที่คาดหมายกันว่าเส้นทางรถไฟจะช่วยลดต้นทุนของสินค้าออกและสินค้าผู้บริโภค รวมทั้งช่วยเป็นแรงขับดันการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศที่ยังมีฐานะยากจนแห่งนี้ ในปัจจุบันระบบรถไฟของลาวมีเพียงทางรถไฟข้ามแม่น้ำโขงความยาว 3.5 กิโลเมตร ซึ่งเชื่อมระหว่างนครหลวงเวียงจันทน์กับจังหวัดหนองคายของไทยเท่านั้น
**หมายเหตุ**
[1] ไซมอน มอนต์เลค (Simon Montlake) เขียนบทความชิ้นหนึ่งเผยแพร่บนเว็บไซต์ของนิตยสารฟอร์บส์ (Forbes.com) เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2013 โดยใช้ชื่อเรื่องว่า “Offshore Tax Havens For Beginners: Pick An Inoffensive Name” มีเนื้อหาระบุว่า “เจ้าหน้าที่รัฐบาลลาวผู้หนึ่งบอกกับวิทยุเอเชียเสรีว่า ไจแอนต์ คอนโซลิเดเต็ด ลิมิเต็ด (Giant Consolidated Limited ใช้อักษรย่อว่า GCL) ได้ดำเนินการหาเงินกู้จาก ริช บังโก เบอร์ฮาด (Rich Banco Berhad ทั้งนี้ เบอร์ฮาด เป็นคำในภาษามาเลย์ ซึ่งหมายถึง บริษัทจำกัด) อีกทั้งยังกำลังเตรียมตัวเพื่อเริ่มต้นจัดทำเรื่องการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมด้วย จนถึงเวลานี้ผมไม่ได้รู้สึกคุ้นเคยกับธนาคารแห่งนี้เลย แถมดูเหมือนธนาคารกลางของนิวซีแลนด์ก็ไม่ได้รู้สึกคุ้นเคยเช่นเดียวกัน เพราะ ริช บังโค ไม่ได้ไปจดทะเบียนบริษัทที่นั่นแต่อย่างใด เรื่องทั้งหมดที่เล่ามาเหล่านี้บอกให้ผมทราบว่าทางรถไฟสายนี้ยังจะต้องไปกันอีกยาวไกลนักกว่าที่จะสำเร็จเสร็จสิ้นได้จริงๆ”
รายงานข่าวชิ้นนี้เป็นของบริการภาคภาษาลาว ของวิทยุเอเชียเสรี ซึ่งแปลโดย เวียงไซ หลวงโคตร (Viengsay Luangkhot) และเขียนเป็นภษาอังกฤษโดย โจชัว ลิปส์ (Joshua Lipes)
วิทยุเอเชียเสรี (Radio Free Asia ใช้อักษรย่อว่า RFA) ก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบัญญัติของรัฐสภาสหรัฐฯ และได้รับการสนับสนุนส่วนหนึ่งจากเงินให้เปล่าของรัฐบาลสหรัฐฯ ปัจจุบัน RFA เป็นผู้ดำเนินการสถานีวิทยุและบริการข่าวสารทางอินเทอร์เน็ต