(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Japan accentuates the social side
By Daan Bauwens
05/03/2013
จำนวนวิสาหกิจที่ดำเนินงานโดยผู้ประกอบการญี่ปุ่นรุ่นหนุ่มสาว ซึ่งมาให้ความสำคัญแก่เป้าหมายด้านสังคมมากกว่าผลกำไรส่วนตัว นับวันแต่จะเพิ่มทวีมากขึ้น โพลของทางการแดนปลาดิบบ่งชี้ว่า ผู้คนปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ต่อคุณค่าของงาน หลังเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจชะงักงันเรื้อรังกว่าสองทศวรรษ
หลังจากสองทศวรรษแห่งภาวะเศรษฐกิจชะงักงัน กับภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งแล้วครั้งเล่า คนรุ่นหนุ่มสาวของญี่ปุ่นหันมาเชื่อมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า ความเป็นผู้ประกอบการเชิงสังคม (social entrepreneurship) คือหนทางที่ยอดเยี่ยมที่สุดในการสร้างสังคมของพวกเขาขึ้นมาใหม่
หนุ่มมาซามิ โคมัตสึ (Masami Komatsu ) คือคนหนึ่งภายในกระแสใหม่นี้ เขาก่อตั้งบริษัทเพื่อการลงทุน ชื่อ บล. มิวสิก ซีเคียวริตีส์ (Music Securities) ขึ้นในปี 2001 ซึ่งเป็นระยะสองสามปีหลังวิกฤตสถาบันการเงินปี 1998 ของญี่ปุ่น เจ้าตัวบอกว่า “ไม่เคยมีการลงทุนเกิดขึ้นในภาคการผลิตซึ่งมีความอ่อนไหวสูง อาทิ ดนตรี งานฝีมือโบราณ หรือการกลั่นเหล้าสาเก เราทำให้เรื่องนี้เป็นจริงขึ้นมา เพื่อเอื้อให้ผู้คนได้เริ่มลงทุนในสิ่งที่พวกเขาเชื่ออยู่ในใจว่าเป็นสิ่งสำคัญและควรทะนุบำรุงให้ยั่งยืน”
ในการนี้ Music Securities ไม่ได้ดำเนินงานบนพื้นฐานของการรับบริจาค ในทางตรงข้าม บริษัทหลักทรัพย์แห่งนี้เป็นกองทุนเพื่อการลงทุน ที่ให้ผลตอบแทนในอันดับสูงติดกลุ่มธุรกิจที่มีผลประกอบการดีที่สุดของญี่ปุ่น โดยมีเงินทุนภายใต้การบริหารจัดการมากกว่า 33,000 ล้านเยน หรือราว 353 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมีผู้ถือหุ้นรวมกว่า 50,000 ราย ซึ่งส่วนหนึ่งของกลุ่มผู้ถือหุ้นนี้เป็นบริษัทที่ร่ำรวยสูงสุดของประเทศ ในปี 2009 โคมัตสึได้ตั้งกองทุนสินเชื่อรายย่อย (retail microfinance fund) ขึ้นเจ้าแรกของญี่ปุ่น กองทุนรายย่อยแห่งนี้ไฟเขียวให้มีการลงทุนในโครงการสินเชื่อรายย่อยภายในประเทศกัมพูชาด้วย
ณ ชั่วโมงนี้ Music Securities เป็นนายทุนรายใหญ่ที่สุดในแวดวงการปรับโครงสร้างให้แก่บริษัทที่เสียหายร้ายแรงจากจากภัยสึนามิครั้งประวัติการณ์ในปี 2011 “หนึ่งเดือนหลังเกิดเหตุวินาศภัย เราไปตรวจเยี่ยมพื้นที่ และนำเสนอแผนความช่วยเหลือต่อบรรดาผู้นำธุรกิจในท้องถิ่น” โคมัตสึซึ่งบัดนี้เป็นหนุ่มใหญ่วัย 37 ปี เล่าอย่างนั้น โดยบอกว่า “ตอนนั้น เรารู้สึกชัดมากว่าเราต้องลงมือดำเนินการอะไรสักอย่าง ไม่ใช่ในฐานะอาสาสมัคร แต่เป็นการใช้ธุรกิจที่เราดำเนินการอยู่ เข้าไปช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ของพื้นที่ที่ถูกทำลายเสียหายทั้งปวง”
เวลานี้ มีผู้คนมากกว่า 25,000 รายที่ร่วมลงทุนอยู่ในกองทุนฟื้นฟูสึนามิมูลค่ารวมมากกว่า 100,000 ล้านเยน
เมื่อปี 2001 Music Securities นับเป็นธุรกิจที่เกิดก่อนกาลอย่างที่สุด บริษัทต่อสู้ฟันฝ่าไปจนถึงปี 2005 กว่าที่แนวคิดว่าด้วย “ความเป็นผู้ประกอบการเชิงสังคม” ได้เป็นที่ตระหนักภายในแวดวงวิชาการและมีการสอนกันในมหาวิทยาลัยเคโอ (Keio) ในโตเกียว อันเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น ทั้งนี้ แนวคิดความเป็นผู้ประกอบการเชิงสังคมหมายถึง ธุรกิจที่มุ่งสร้างกำไรก็จริง แต่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำไรส่วนบุคคล หากมุ่งบรรลุเป้าหมายทางสังคม
จนกระทั่งในระยะหลายปีมานี้ ปรากฏการณ์แห่งความเป็นผู้ประกอบการเชิงสังคมสามารถสะสมพลวัตได้อย่างมากมายและรวดเร็ว ในปี 2011 นครฟูกูโอกะ (Fukuoka) บนเกาะกิวชู (Kyushu) ของญี่ปุ่น ได้มาเป็นนครแห่งที่สองของโลกที่ได้รับการขนานนามว่า “นครธุรกิจเชิงสังคม” หลังทำหน้าที่เผยแพร่แนวคิดธุรกิจเชิงสังคมไปทั่วทวีปเอเชีย ในการนี้ มูฮัมหมัด ยูนูส (Muhammad Yunus) เจ้าของรางวัลโนเบิลผู้กระเดื่องนาม และเป็นผู้ที่พัฒนาแนวความคิดว่าด้วยธุรกิจเชิงสังคม ได้ให้เกียรติไปเปิดศูนย์วิจัยธุรกิจเชิงสังคมแห่งแรกของโลก ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยกิวชู
ข้อมูลจากกระทรวงเศรษฐกิจของญี่ปุ่นระบุว่า จำนวนธุรกิจเชิงสังคมทะยานร้อนแรง จากระดับศูนย์ในปี 2000 มาเป็นจำนวนเกินกว่า 8,000 ราย ในปี 2008 โดยมีการจ้างงานมากกว่า 320,000 ตำแหน่ง สำหรับตัวเลขปีปัจจุบันยังไม่มีการอัปเดทโดยหน่วยงานใด แต่รูปการโดยรวมบ่งชี้ว่า ปรากฏการณ์เรื่องนี้ทวีความเข้มข้นมากขึ้นตลอดมา ตัวอย่างเช่น จำนวนผู้สมัครเข้าศึกษาในโรงเรียนสอนผู้ประกอบการเชิงสังคมแห่งหนึ่งในกรุงโตเกียวคือ NEC-ETIC Social Entrepreneurship School พุ่งสูงขึ้น 5 เท่าตัวนับจากปี 2010
ยังมีบุคคลที่ต้องเอ่ยถึงอีกคนหนึ่งที่สร้างคุณูปการใหญ่หลวงต่อพัฒนาการของวิสาหกิจเชิงสังคม คือ นานา วาตานาเบ้ (Nana Watanabe ) ซึ่งเป็นหนึ่งในพลังขับเคลื่อนความเป็นผู้ประกอบการเชิงสังคมภายในญี่ปุ่นนับแต่ช่วงเริ่มต้นเลยทีเดียว โดยผ่านผลงานของเธอในฐานะนักข่าวและช่างภาพอิสระ ผู้หญิงคนนี้ได้แนะนำให้สาธารณชนในญี่ปุ่นได้รู้จักกับผู้ประกอบการเชิงสังคมมากว่า 100 ราย ภายในช่วงปี 2000-2005 ผ่านผลงานที่ วาตานาเบ้ นำออกเผยแพร่บนสื่อมวลชนสาขาต่างๆ
“ญี่ปุ่นตกอยู่ในสภาพที่ปราศจาก role model นับตั้งแต่ที่เศรษฐกิจล่มสลายยุคฟองสบู่แตก” วาตานาเบ้ ชี้ไว้อย่างนั้น และบอกว่า “มันนำไปสู่สภาพการณ์แห่งความท้อแท้ ประเทศญี่ปุ่นไม่ทราบว่าจะเดินหน้าอย่างไรถูก และแล้วในปี 1999 ดิฉันได้พบคลื่นใหม่แห่งความเป็นผู้ประกอบการเชิงสังคมผุดพรายแพร่หลายในแวดวงของนักศึกษาชั้นนำของประเทศต่างๆ ดิฉันตระหนักชัดเลยว่า นี่แหละคือสิ่งที่เราต้องการ”
ในปี 2011 วาตานาเบ้จัดตั้งองค์การอโชก้า (Ashoka) สาขาญี่ปุ่นขึ้นมา ทั้งนี้ อโชก้า เป็นเอ็นจีโอระหว่างประเทศที่สนับสนุนงานของผู้ประกอบการเชิงสังคมจำนวนมากกว่า 2,000 ราย ภายใน 60 ประเทศทั่วโลก
“ธุรกิจเชิงสังคมเป็นปรากฏการณ์ใหม่อย่างแท้จริง” วาตานาเบ้ให้ความเห็นไว้อย่างนั้น โดยบอกว่า “เหตุผลเบื้องหลังปรากฏการณ์นี้เป็นอะไรง่ายๆ ก็แค่ว่าผู้คนผิดหวังกับบริษัทขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นมากขึ้นเรื่อยๆ คนหนุ่มสาวในทุกวันนี้ได้เห็นคุณพ่อคุณแม่อุทิศทุ่มเทชีวิตให้แก่นายจ้างเพื่อแลกกับคำสัญญาว่าจะได้รับการจ้างงานที่ยั่งยืนชั่วชีวิต แต่แล้วพวกท่านกลับต้องมาถูกลอยแพกันในหลายปีที่ผ่านมานี้”
ลองฟังความเห็นของผู้ประกอบการเชิงสังคมอีกท่านหนึ่งบ้าง เขาผู้นี้มีชื่อว่า โทชิ นากามูระ (Toshi Nakamura ) ผู้นำของ โคเปอร์นิก (Kopernik) ซึ่งเป็นตลาดออนไลน์ที่นำเสนอโซลูชั่นทางเทคโนโลยีให้แก่ปัญหาต่างๆ ภายในชุมชนชนบทของประเทศกำลังพัฒนา
“ความเชื่อมั่นอย่างงมงายที่มีต่อประสิทธิภาพของรัฐบาลญี่ปุ่นได้ล่มสลายไปแล้ว” นากามูระฟันธง และบอกว่า “ที่ผ่านมาจวบจนกระทั่งกลางทศวรรษ 1990 ผู้คนมีศรัทธาในเทคโนแครตของภาครัฐว่าสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจและดูแลจัดสรรบริการทางสังคมต่างๆ ให้แก่ประชาชนได้ แต่มันไม่มีอย่างนั้นอีกแล้ว ผู้คนต่างตระหนักแล้วว่าปัญหาทางสังคมอันมากมายจำจะต้องจัดการโดยประชาชนธรรมดาเราๆ ท่านๆ กันเองแล้ว”
อันที่จริง มันไม่ใช่แค่ความผิดหวังต่อบริษัทใหญ่หรือต่อรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งบันดาลใจให้ชาวแดนอาทิตย์อุทัยก้าวเข้าสู่ธุรกิจเชิงสังคม “หลังจากวิกฤตการเงิน เราได้เห็นการหวนคืนของค่านิยมดั้งเดิม” นี่เป็นความเห็นของ คูมิ ฟูจิซาวะ (Kumi Fujisawa) นักวิเคราะห์ธุรกิจชั้นแนวหน้าของญี่ปุ่น ผู้ซึ่งชี้ทิศทางใหม่ของคนแดนปลาดิบว่า “คนไม่ได้แค่มองหาผลกำไรเร็วๆ สั้นๆ ตื้นๆ อีกต่อไป แต่พวกเขาเน้นไปยังมุมมองระยะยาว เราได้เห็นการหวนคืนของแนวคิดไอดีลลิซึม แนวคิดอุดมคตินิยม แนวคิดที่มุ่งจะอุทิศแก่สังคมกันอีกครั้งหนึ่ง”
ตามผลสำรวจความคิดเห็นที่จัดทำโดยรัฐบาลญี่ปุ่น คุณค่าของการทำงานถูกมองด้วยสายตาอย่างใหม่ภายในประเทศญี่ปุ่นนับตั้งแต่ที่วิกฤตการเงินตั้งต้นขึ้น จำนวนของคนที่ตอบแบบสำรวจว่าพวกเขาอย่างทำงาน “เพื่อสร้างคุณูปการแก่สังคม” พุ่งสูงขึ้นอย่างมหาศาลหลังจากที่เกิดภาวะฟองสบู่แตกในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ ตัวเลขที่ทะยานขึ้นสูงลิ่วดังกล่าว พุ่งจากระดับ 46% เป็น 64% ในปี 1991 และในปัจจุบันนี้ สัดส่วนยังอยู่ในระดับเหนือ 65%
“มันเป็นผลจากทัศนคติแบบใหม่ที่มองย้อนกลับเข้าภายใน” ฮิโรฟูมิ โยโกอิ (Hirofumi Yokoi) กล่าวไว้อย่างนั้น โยโกอิเป็นประธานมูลนิธิอากิร่า (Akira Foundation) ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์การซึ่งมีอิทธิพลมากที่สุดแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น และมีบทบาทในการเกื้อกูลบ่มเพาะความเป็นผู้ประกอบการเชิงสังคมซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นในปี 2009
“ความไม่มั่นคงและความกังวลต่ออนาคต ซึ่งทวีตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ได้นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรม สำหรับหนุ่มสาวชาวญี่ปุ่นจำนวนนับไม่ถ้วน ธุรกิจเชิงสังคมมิใช่แค่เพียงหนทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม หากยังเป็นหนทางเพื่อจัดการกับปัญหาและอุปสรรคส่วนบุคคลด้วย พวกเขาต้องทำงานในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน พร้อมกับพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง พัฒนามิตรภาพ การมีความใส่ใจ การตระหนักถึงความเป็นจริงจากส่วนลึกภายในตนเอง และการใส่ใจดูแลสังคมอย่างทั่วถึง” วาตานาเบ้บอกอย่างนั้น และกล่าวด้วยว่า
“จริงอยู่ว่าคนเราเริ่มจะมองคุณค่าของการทำงานด้วยสายตาอย่างใหม่ แต่ส่วนใหญ่ยังขาดความกล้าหาญที่จะลุกขึ้นปฏิบัติ ธุรกิจเชิงสังคมอยู่ในยุคที่พุ่งทะยานอย่างแท้จริง แต่เรายังต้องระมัดระวังไม่ไปประเมินความสำเร็จสูงเกินจริง”
พร้อมนี้ วาตานาเบ้ย้ำว่า “ก่อนอื่นเลย จำเป็นอย่างยิ่งที่คนเราจะต้องริเริ่มสร้างสรรค์และใช้จินตนาการอย่างมากๆ แล้วในลำดับถัดมา มันจะกลายเป็นเรื่องแฟชั่นที่ใครต่อใครจะมาบอกว่ากำลังจัดตั้งธุรกิจเชิงสังคม และในท้ายที่สุด ความจริงยังมีอยู่ว่าคนส่วนใหญ่ยังคงมุ่งแต่จะแสวงหาความมั่นคงและเงินตราอยู่นั่นเอง”
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)
Japan accentuates the social side
By Daan Bauwens
05/03/2013
จำนวนวิสาหกิจที่ดำเนินงานโดยผู้ประกอบการญี่ปุ่นรุ่นหนุ่มสาว ซึ่งมาให้ความสำคัญแก่เป้าหมายด้านสังคมมากกว่าผลกำไรส่วนตัว นับวันแต่จะเพิ่มทวีมากขึ้น โพลของทางการแดนปลาดิบบ่งชี้ว่า ผู้คนปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ต่อคุณค่าของงาน หลังเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจชะงักงันเรื้อรังกว่าสองทศวรรษ
หลังจากสองทศวรรษแห่งภาวะเศรษฐกิจชะงักงัน กับภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งแล้วครั้งเล่า คนรุ่นหนุ่มสาวของญี่ปุ่นหันมาเชื่อมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า ความเป็นผู้ประกอบการเชิงสังคม (social entrepreneurship) คือหนทางที่ยอดเยี่ยมที่สุดในการสร้างสังคมของพวกเขาขึ้นมาใหม่
หนุ่มมาซามิ โคมัตสึ (Masami Komatsu ) คือคนหนึ่งภายในกระแสใหม่นี้ เขาก่อตั้งบริษัทเพื่อการลงทุน ชื่อ บล. มิวสิก ซีเคียวริตีส์ (Music Securities) ขึ้นในปี 2001 ซึ่งเป็นระยะสองสามปีหลังวิกฤตสถาบันการเงินปี 1998 ของญี่ปุ่น เจ้าตัวบอกว่า “ไม่เคยมีการลงทุนเกิดขึ้นในภาคการผลิตซึ่งมีความอ่อนไหวสูง อาทิ ดนตรี งานฝีมือโบราณ หรือการกลั่นเหล้าสาเก เราทำให้เรื่องนี้เป็นจริงขึ้นมา เพื่อเอื้อให้ผู้คนได้เริ่มลงทุนในสิ่งที่พวกเขาเชื่ออยู่ในใจว่าเป็นสิ่งสำคัญและควรทะนุบำรุงให้ยั่งยืน”
ในการนี้ Music Securities ไม่ได้ดำเนินงานบนพื้นฐานของการรับบริจาค ในทางตรงข้าม บริษัทหลักทรัพย์แห่งนี้เป็นกองทุนเพื่อการลงทุน ที่ให้ผลตอบแทนในอันดับสูงติดกลุ่มธุรกิจที่มีผลประกอบการดีที่สุดของญี่ปุ่น โดยมีเงินทุนภายใต้การบริหารจัดการมากกว่า 33,000 ล้านเยน หรือราว 353 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมีผู้ถือหุ้นรวมกว่า 50,000 ราย ซึ่งส่วนหนึ่งของกลุ่มผู้ถือหุ้นนี้เป็นบริษัทที่ร่ำรวยสูงสุดของประเทศ ในปี 2009 โคมัตสึได้ตั้งกองทุนสินเชื่อรายย่อย (retail microfinance fund) ขึ้นเจ้าแรกของญี่ปุ่น กองทุนรายย่อยแห่งนี้ไฟเขียวให้มีการลงทุนในโครงการสินเชื่อรายย่อยภายในประเทศกัมพูชาด้วย
ณ ชั่วโมงนี้ Music Securities เป็นนายทุนรายใหญ่ที่สุดในแวดวงการปรับโครงสร้างให้แก่บริษัทที่เสียหายร้ายแรงจากจากภัยสึนามิครั้งประวัติการณ์ในปี 2011 “หนึ่งเดือนหลังเกิดเหตุวินาศภัย เราไปตรวจเยี่ยมพื้นที่ และนำเสนอแผนความช่วยเหลือต่อบรรดาผู้นำธุรกิจในท้องถิ่น” โคมัตสึซึ่งบัดนี้เป็นหนุ่มใหญ่วัย 37 ปี เล่าอย่างนั้น โดยบอกว่า “ตอนนั้น เรารู้สึกชัดมากว่าเราต้องลงมือดำเนินการอะไรสักอย่าง ไม่ใช่ในฐานะอาสาสมัคร แต่เป็นการใช้ธุรกิจที่เราดำเนินการอยู่ เข้าไปช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ของพื้นที่ที่ถูกทำลายเสียหายทั้งปวง”
เวลานี้ มีผู้คนมากกว่า 25,000 รายที่ร่วมลงทุนอยู่ในกองทุนฟื้นฟูสึนามิมูลค่ารวมมากกว่า 100,000 ล้านเยน
เมื่อปี 2001 Music Securities นับเป็นธุรกิจที่เกิดก่อนกาลอย่างที่สุด บริษัทต่อสู้ฟันฝ่าไปจนถึงปี 2005 กว่าที่แนวคิดว่าด้วย “ความเป็นผู้ประกอบการเชิงสังคม” ได้เป็นที่ตระหนักภายในแวดวงวิชาการและมีการสอนกันในมหาวิทยาลัยเคโอ (Keio) ในโตเกียว อันเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น ทั้งนี้ แนวคิดความเป็นผู้ประกอบการเชิงสังคมหมายถึง ธุรกิจที่มุ่งสร้างกำไรก็จริง แต่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำไรส่วนบุคคล หากมุ่งบรรลุเป้าหมายทางสังคม
จนกระทั่งในระยะหลายปีมานี้ ปรากฏการณ์แห่งความเป็นผู้ประกอบการเชิงสังคมสามารถสะสมพลวัตได้อย่างมากมายและรวดเร็ว ในปี 2011 นครฟูกูโอกะ (Fukuoka) บนเกาะกิวชู (Kyushu) ของญี่ปุ่น ได้มาเป็นนครแห่งที่สองของโลกที่ได้รับการขนานนามว่า “นครธุรกิจเชิงสังคม” หลังทำหน้าที่เผยแพร่แนวคิดธุรกิจเชิงสังคมไปทั่วทวีปเอเชีย ในการนี้ มูฮัมหมัด ยูนูส (Muhammad Yunus) เจ้าของรางวัลโนเบิลผู้กระเดื่องนาม และเป็นผู้ที่พัฒนาแนวความคิดว่าด้วยธุรกิจเชิงสังคม ได้ให้เกียรติไปเปิดศูนย์วิจัยธุรกิจเชิงสังคมแห่งแรกของโลก ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยกิวชู
ข้อมูลจากกระทรวงเศรษฐกิจของญี่ปุ่นระบุว่า จำนวนธุรกิจเชิงสังคมทะยานร้อนแรง จากระดับศูนย์ในปี 2000 มาเป็นจำนวนเกินกว่า 8,000 ราย ในปี 2008 โดยมีการจ้างงานมากกว่า 320,000 ตำแหน่ง สำหรับตัวเลขปีปัจจุบันยังไม่มีการอัปเดทโดยหน่วยงานใด แต่รูปการโดยรวมบ่งชี้ว่า ปรากฏการณ์เรื่องนี้ทวีความเข้มข้นมากขึ้นตลอดมา ตัวอย่างเช่น จำนวนผู้สมัครเข้าศึกษาในโรงเรียนสอนผู้ประกอบการเชิงสังคมแห่งหนึ่งในกรุงโตเกียวคือ NEC-ETIC Social Entrepreneurship School พุ่งสูงขึ้น 5 เท่าตัวนับจากปี 2010
ยังมีบุคคลที่ต้องเอ่ยถึงอีกคนหนึ่งที่สร้างคุณูปการใหญ่หลวงต่อพัฒนาการของวิสาหกิจเชิงสังคม คือ นานา วาตานาเบ้ (Nana Watanabe ) ซึ่งเป็นหนึ่งในพลังขับเคลื่อนความเป็นผู้ประกอบการเชิงสังคมภายในญี่ปุ่นนับแต่ช่วงเริ่มต้นเลยทีเดียว โดยผ่านผลงานของเธอในฐานะนักข่าวและช่างภาพอิสระ ผู้หญิงคนนี้ได้แนะนำให้สาธารณชนในญี่ปุ่นได้รู้จักกับผู้ประกอบการเชิงสังคมมากว่า 100 ราย ภายในช่วงปี 2000-2005 ผ่านผลงานที่ วาตานาเบ้ นำออกเผยแพร่บนสื่อมวลชนสาขาต่างๆ
“ญี่ปุ่นตกอยู่ในสภาพที่ปราศจาก role model นับตั้งแต่ที่เศรษฐกิจล่มสลายยุคฟองสบู่แตก” วาตานาเบ้ ชี้ไว้อย่างนั้น และบอกว่า “มันนำไปสู่สภาพการณ์แห่งความท้อแท้ ประเทศญี่ปุ่นไม่ทราบว่าจะเดินหน้าอย่างไรถูก และแล้วในปี 1999 ดิฉันได้พบคลื่นใหม่แห่งความเป็นผู้ประกอบการเชิงสังคมผุดพรายแพร่หลายในแวดวงของนักศึกษาชั้นนำของประเทศต่างๆ ดิฉันตระหนักชัดเลยว่า นี่แหละคือสิ่งที่เราต้องการ”
ในปี 2011 วาตานาเบ้จัดตั้งองค์การอโชก้า (Ashoka) สาขาญี่ปุ่นขึ้นมา ทั้งนี้ อโชก้า เป็นเอ็นจีโอระหว่างประเทศที่สนับสนุนงานของผู้ประกอบการเชิงสังคมจำนวนมากกว่า 2,000 ราย ภายใน 60 ประเทศทั่วโลก
“ธุรกิจเชิงสังคมเป็นปรากฏการณ์ใหม่อย่างแท้จริง” วาตานาเบ้ให้ความเห็นไว้อย่างนั้น โดยบอกว่า “เหตุผลเบื้องหลังปรากฏการณ์นี้เป็นอะไรง่ายๆ ก็แค่ว่าผู้คนผิดหวังกับบริษัทขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นมากขึ้นเรื่อยๆ คนหนุ่มสาวในทุกวันนี้ได้เห็นคุณพ่อคุณแม่อุทิศทุ่มเทชีวิตให้แก่นายจ้างเพื่อแลกกับคำสัญญาว่าจะได้รับการจ้างงานที่ยั่งยืนชั่วชีวิต แต่แล้วพวกท่านกลับต้องมาถูกลอยแพกันในหลายปีที่ผ่านมานี้”
ลองฟังความเห็นของผู้ประกอบการเชิงสังคมอีกท่านหนึ่งบ้าง เขาผู้นี้มีชื่อว่า โทชิ นากามูระ (Toshi Nakamura ) ผู้นำของ โคเปอร์นิก (Kopernik) ซึ่งเป็นตลาดออนไลน์ที่นำเสนอโซลูชั่นทางเทคโนโลยีให้แก่ปัญหาต่างๆ ภายในชุมชนชนบทของประเทศกำลังพัฒนา
“ความเชื่อมั่นอย่างงมงายที่มีต่อประสิทธิภาพของรัฐบาลญี่ปุ่นได้ล่มสลายไปแล้ว” นากามูระฟันธง และบอกว่า “ที่ผ่านมาจวบจนกระทั่งกลางทศวรรษ 1990 ผู้คนมีศรัทธาในเทคโนแครตของภาครัฐว่าสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจและดูแลจัดสรรบริการทางสังคมต่างๆ ให้แก่ประชาชนได้ แต่มันไม่มีอย่างนั้นอีกแล้ว ผู้คนต่างตระหนักแล้วว่าปัญหาทางสังคมอันมากมายจำจะต้องจัดการโดยประชาชนธรรมดาเราๆ ท่านๆ กันเองแล้ว”
อันที่จริง มันไม่ใช่แค่ความผิดหวังต่อบริษัทใหญ่หรือต่อรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งบันดาลใจให้ชาวแดนอาทิตย์อุทัยก้าวเข้าสู่ธุรกิจเชิงสังคม “หลังจากวิกฤตการเงิน เราได้เห็นการหวนคืนของค่านิยมดั้งเดิม” นี่เป็นความเห็นของ คูมิ ฟูจิซาวะ (Kumi Fujisawa) นักวิเคราะห์ธุรกิจชั้นแนวหน้าของญี่ปุ่น ผู้ซึ่งชี้ทิศทางใหม่ของคนแดนปลาดิบว่า “คนไม่ได้แค่มองหาผลกำไรเร็วๆ สั้นๆ ตื้นๆ อีกต่อไป แต่พวกเขาเน้นไปยังมุมมองระยะยาว เราได้เห็นการหวนคืนของแนวคิดไอดีลลิซึม แนวคิดอุดมคตินิยม แนวคิดที่มุ่งจะอุทิศแก่สังคมกันอีกครั้งหนึ่ง”
ตามผลสำรวจความคิดเห็นที่จัดทำโดยรัฐบาลญี่ปุ่น คุณค่าของการทำงานถูกมองด้วยสายตาอย่างใหม่ภายในประเทศญี่ปุ่นนับตั้งแต่ที่วิกฤตการเงินตั้งต้นขึ้น จำนวนของคนที่ตอบแบบสำรวจว่าพวกเขาอย่างทำงาน “เพื่อสร้างคุณูปการแก่สังคม” พุ่งสูงขึ้นอย่างมหาศาลหลังจากที่เกิดภาวะฟองสบู่แตกในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ ตัวเลขที่ทะยานขึ้นสูงลิ่วดังกล่าว พุ่งจากระดับ 46% เป็น 64% ในปี 1991 และในปัจจุบันนี้ สัดส่วนยังอยู่ในระดับเหนือ 65%
“มันเป็นผลจากทัศนคติแบบใหม่ที่มองย้อนกลับเข้าภายใน” ฮิโรฟูมิ โยโกอิ (Hirofumi Yokoi) กล่าวไว้อย่างนั้น โยโกอิเป็นประธานมูลนิธิอากิร่า (Akira Foundation) ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์การซึ่งมีอิทธิพลมากที่สุดแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น และมีบทบาทในการเกื้อกูลบ่มเพาะความเป็นผู้ประกอบการเชิงสังคมซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นในปี 2009
“ความไม่มั่นคงและความกังวลต่ออนาคต ซึ่งทวีตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ได้นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรม สำหรับหนุ่มสาวชาวญี่ปุ่นจำนวนนับไม่ถ้วน ธุรกิจเชิงสังคมมิใช่แค่เพียงหนทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม หากยังเป็นหนทางเพื่อจัดการกับปัญหาและอุปสรรคส่วนบุคคลด้วย พวกเขาต้องทำงานในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน พร้อมกับพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง พัฒนามิตรภาพ การมีความใส่ใจ การตระหนักถึงความเป็นจริงจากส่วนลึกภายในตนเอง และการใส่ใจดูแลสังคมอย่างทั่วถึง” วาตานาเบ้บอกอย่างนั้น และกล่าวด้วยว่า
“จริงอยู่ว่าคนเราเริ่มจะมองคุณค่าของการทำงานด้วยสายตาอย่างใหม่ แต่ส่วนใหญ่ยังขาดความกล้าหาญที่จะลุกขึ้นปฏิบัติ ธุรกิจเชิงสังคมอยู่ในยุคที่พุ่งทะยานอย่างแท้จริง แต่เรายังต้องระมัดระวังไม่ไปประเมินความสำเร็จสูงเกินจริง”
พร้อมนี้ วาตานาเบ้ย้ำว่า “ก่อนอื่นเลย จำเป็นอย่างยิ่งที่คนเราจะต้องริเริ่มสร้างสรรค์และใช้จินตนาการอย่างมากๆ แล้วในลำดับถัดมา มันจะกลายเป็นเรื่องแฟชั่นที่ใครต่อใครจะมาบอกว่ากำลังจัดตั้งธุรกิจเชิงสังคม และในท้ายที่สุด ความจริงยังมีอยู่ว่าคนส่วนใหญ่ยังคงมุ่งแต่จะแสวงหาความมั่นคงและเงินตราอยู่นั่นเอง”
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)