(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Japan pivots south, with eye on China
By Richard Javad Heydarian
25/01/2013
นายกรัฐมนตรีชินโซะ อาเบะ ผู้เพิ่งก้าวขึ้นรับตำแหน่งอีกสมัยหนึ่งหลังชนะการเลือกตั้งในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา กำลังเร่งทวีการรุกเกี้ยวพาประเทศต่างๆ เพื่อก่อตั้งกลุ่มพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ของเหล่าประเทศริมมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งมีความกังวลวิตกเช่นเดียวกับตัวเขา เกี่ยวกับแสนยานุภาพทางนาวีที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วของจีน ทั้งนี้เป้าหมายสำคัญที่สุดของอาเบะนั้น อยู่ที่การจัดวาง “พื้นที่รูปเพชรแห่งความมั่นคงของเหล่าประเทศประชาธิปไตย” เชื่อมโยงอาณาเขตระหว่างออสเตรเลีย-อินเดีย-ญี่ปุ่น-มลรัฐฮาวาย ของสหรัฐอเมริกา ขึ้นมา การมุ่งมั่นที่จะ “ปักหมุด” ทางยุทธศาสตร์ทางด้านใต้ของแดนอาทิตย์อุทัยเช่นนี้ จะต้องส่งผลสะเทือนอย่างลึกซึ้งต่อความมั่นคงของภูมิภาคแถบนี้อย่างไม่ต้องสงสัย
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
**ญี่ปุ่นในฐานะตัวคานอำนาจจีน**
ในช่วงก่อนที่เขาจะเข้ารับตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งของญี่ปุ่นอีกสมัยหนึ่งในคราวนี้ ชินโซ อาเบะไม่ได้มีความบันยะบันยังเลยในการออกมาแถลงแสดงความไม่พอใจที่จีนกำลังพยายามบุกรุกเข้าไปในน่านน้ำใกล้ๆ หมู่เกาะเซงกากุ/เตี้ยวอี๋ว์ที่แดนอาทิตย์อุทัยกับแดนมังกรพิพาทกันอยู่ครั้งแล้วครั้งเล่า
“(หมู่เกาะเซงกากุ)เป็นดินแดนของญี่ปุ่นมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว ... ขณะที่เราไม่ได้มีเจตนารมณ์ที่จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับจีนอยู่ในสภาพที่เลวร้ายลงแต่อย่างใด” อาเบะอธิบายแจกแจงถึงเหตุผลที่แดนอาทิตย์อุทัยต้องใช้แนวทางอันเหนียวแน่นยืนกรานต่อแดนมังกรในกรณีพิพาททางดินแดนซึ่งดำเนินมายาวนานนี้ ทว่า “จีนขาดการยอมรับเรื่องนี้ไปสักนิดนึง ผมต้องการให้พวกเขาขบคิดใหม่เกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ร่วมกันให้แก่ทั้งสองฝ่าย”[6]
เมื่อตอนที่เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยแรกในระหว่างปี 2006-07 อาเบะเลือกประเทศจีนเป็นจุดหมายปลายทางแห่งแรกในการออกเดินทางเยือนต่างแดนภายหลังจากขึ้นครองอำนาจของเขา เพื่อเป็นการตอกย้ำให้เห็นความสำคัญของสายสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระดับทวิภาคีที่กำลังเติบใหญ่ขยายตัวในเวลานั้น อย่างไรก็ตาม สำหรับคราวนี้ เขาแสดงความกระตือรือร้นน้อยลงมากเกี่ยวกับการเดินทางเยือนปักกิ่งโดยกล่าวย้ำว่า “ปัญหาก็คือกำลังมีการสร้างความเสียหายให้แก่พวกบริษัทญี่ปุ่นและผู้คนสัญชาติญี่ปุ่นในประเทศจีน ผู้ซึ่งกำลังสร้างคุณูปการให้แก่เศรษฐกิจจีนและสังคมจีน”[7]
กระนั้นก็ตามที จีนน่าจะยังมีความสำคัญลำดับสูงสุดในวาระด้านการต่างประเทศของอาเบะ ถึงแม้ไม่ใช่เป็นเพียงเพราะเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจเท่านั้น เมื่อปีที่แล้ว อาเบะได้เขียนบทความชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์เผยแพร่ก่อนการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรและก่อให้เกิดการถกเถียงโต้แย้งกันมาก ในบทความดังกล่าวอาเบะให้คำมั่นสัญญาที่จะผลักดันเดินหน้านโยบายการต่างประเทศซึ่งมีฤทธิ์มีเดชมากขึ้นและแข็งกร้าวยืนกรานยิ่งขึ้น ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะปิดล้อมจำกัดเขตจีน และรวมศูนย์ก่อตั้ง “พื้นที่รูปเพชรแห่งความมั่นคงของเหล่าประเทศประชาธิปไตย” (democratic security diamond) ในภูมิภาคขึ้นมา
“ผมจินตนาการไปถึงยุทธศาสตร์ซึ่งออสเตรเลีย, อินเดีย, ญี่ปุ่น, และมลรัฐฮาวายของสหรัฐฯ ก่อรูปขึ้นเป็นพื้นที่รูปเพชรเพื่อทำการปกป้องคุ้มครองความปกติร่วมกันทางทะเล ในอาณาบริเวณที่แผ่กว้างจากพื้นที่มหาสมุทรอินเดียไปจนถึงแปซิฟิกตะวันตก” เขาเขียนเอาไว้เช่นนี้ และประกาศด้วยว่า “ผมเตรียมพร้อมที่จะลงทุน เตรียมพร้อมที่จะผลักดันให้เกิดการแผ่ขยายออกไปให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในเรื่องศักยภาพด้านต่างๆ นานาของญี่ปุ่นภายในพื้นที่รูปเพชรแห่งความมั่นคงนี้”[8]
ในการออกเดินทางเยือนต่างแดนเป็นเที่ยวแรกของเหล่าผู้นำระดับสูงของญี่ปุ่นในคราวนี้ ปรากฏว่ามีเพียงออสเตรเลียเท่านั้นซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางที่มิใช่รัฐสมาชิกของสมาคมอาเซียน ทั้งนี้ความสำคัญของแดนจิงโจ้อยู่ตรงที่มีฐานะเป็นซี่ล้อซี่หนึ่ง (ขณะที่อีกซี่หนึ่งก็คือญี่ปุ่น) ในเครือข่ายพันธมิตร “ศูนย์กลางล้อและซี่ล้อ (hub and spokes) ในย่านแปซิฟิก โดยที่ศูนย์ของล้อซึ่งอยู่ตรงกลางก็คือสหรัฐฯ
มหาอำนาจแปซิฟิกทั้ง 3 -- ญี่ปุ่น, สหรัฐฯ, และออสเตรเลีย – อยู่ในสภาพที่มีปฏิสัมพันธ์กันและมีการร่วมมือประสานงานกันอย่างสม่ำเสมอตลอดเวลา ภายใต้กลไกที่มีชื่อว่า การสนทนาด้านความมั่นคงไตรภาคี (Trilateral Security Dialogue หรือ TSD) ในเวลาเดียวกัน เอกสาร ปฎิญญาร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงปี 2007 (2007 Joint Declaration on Security Cooperation) ก็มีฐานะเป็นแกนหลักสำคัญอย่างหนึ่งในความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กันระหว่างญี่ปุ่นกับออสเตรเลียที่กำลังพัฒนาคลี่คลายไปไม่หยุดยั้ง [9]
แดนอาทิตย์อุทัยกับแดนจิงโจ้นอกจากจัดการสนทนาระดับรัฐมนตรี (ระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศและรัฐมนตรีกลาโหมของทั้ง 2 ฝ่าย จึงเรียกกันว่า 2+2) กันอยู่เป็นประจำแล้ว ประเทศทั้งสองยังร่วมลงนามในข้อตกลงแลกเปลี่ยนข่าวกรอง และข้อตกลงเพื่อความร่วมมือและการสนับสนุนซึ่งกันและกันในด้านอาหาร พลังงาน และการลำเลียงขนส่ง (Acquisitions and Cross-Serving Agreement) ในระยะใกล้ๆ นี้ [10] ขณะที่ในเรื่องของการส่งเสริมเพิ่มพูนความสามารถที่จะปฏิบัติการร่วมกัน ญี่ปุ่นกับออสเตรเลียก็ได้จัดการซ้อมรบทางนาวีร่วมมาตั้งแต่ปี 2009
สำหรับอินเดีย เวลานี้ญี่ปุ่นกำลังแสดงการรับทราบและยอมรับการที่แดนภารตะเพิ่มบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ในแปซิฟิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากการที่อินเดียเข้าทำการลงทุนโดยตรงในด้านพลังงานในบริเวณน่านน้ำทะเลจีนใต้ที่เวียดนามเป็นผู้ควบคุมอยู่ทว่ายังคงเป็นกรณีพิพาทกับจีน รวมทั้งโตเกียวยังกำลังพยายามเสาะแสวงหาความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์อันลึกซึ้งยิ่งขึ้นกับนิวเดลีอีกด้วย
เป็นต้นว่า เมื่อปีที่แล้ว กองกำลังรักษาชายฝั่งของญี่ปุ่นและของอินเดีย ได้จัดการฝึกซ้อมร่วมที่ใช้ชื่อว่า “ซาห์ยอก ไกจิน 11” (Sahyog Kaijin XI) จากเมืองท่าเชนไน (Chennai) ของอินเดีย โดยที่กองกำลังรักษาชายฝั่งฝ่ายญี่ปุ่นได้ส่งเรือ เซตสึ (Settsu PLH-07) อันเป็นเรือตรวจการณ์ขนาดใหญ่มีเฮลิคอปเตอร์ประจำการ, เรือเร็วสกัดกั้น (interceptor boat) 2 ลำ, และเรือรักษาชายฝั่งอื่นๆ อีก 8 ลำเข้าร่วมในการฝึกซ้อมคราวนี้[11]
กองกำลังป้องกันทางเรือ หรือก็คือ กองทัพเรือ ของญี่ปุ่นนั้น ถูกจับตามองในฐานะที่เป็นตัวคานอำนาจซึ่งทรงความสำคัญที่สุดในการรับมือกับแสนยานุภาพทางนาวีของจีนในภูมิภาคนี้ โดยที่ในระยะไม่กี่ปีหลังมานี้ กองทัพเรือของแดนมังกรได้เร่งพัฒนาเสริมสร้างสมรรถนะทั้งในด้านการต่อต้านกีดขวางไม่ให้กำลังภายนอกเข้ามาในพื้นที่ซึ่งจีนไม่ประสงค์จะให้เข้า และในด้านกำลังทางนาวีเขตทะเลลึก ทั้งนี้เนื่องจากแดนอาทิตย์อุทัยเป็นประเทศที่มีงบประมาณรายจ่ายด้านการทหารมากเป็นอันดับ 6 ของโลก[12] ขณะเดียวกัน กองทัพเรือของญี่ปุ่นก็คุยได้ว่ามีเรือผิวน้ำเพื่อการสู้รบขนาดใหญ่อยู่ถึง 48 ลำ โดยเป็นเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ขนาดใหญ่ 2 ลำ นอกจากนั้นยังมี เรือคอร์เวตต์ เรือฟริเกต และเรือดำน้ำพลังงานดีเซลที่มีเทคโนโลยีหลบหลีกเรดาร์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรือดำน้ำเครื่องยนต์ดีเซลที่มีเทคโนโลยีหลบหลีกเรดาร์ของญี่ปุ่นนี้ ได้รับการยกย่องว่ายอดเยี่ยมที่สุดในเรือประเภทเดียวกัน) ตลอดจนระบบอาวุธ “เอจิส” (Aegis) อันล้ำยุค[13]
แน่นอนทีเดียวว่า ประเทศที่มีความสำคัญสูงที่สุดใน “พื้นที่รูปเพชรแห่งความมั่นคง” ของอาเบะ ย่อมต้องเป็นสหรัฐฯ ในระยะไม่กี่เดือนหลังๆ มานี้ สหรัฐฯกับญี่ปุ่นยังได้ดำเนินการซ้อมรบร่วมทางนาวีขนาดใหญ่เป็นข่าวเอิกเกริกหลายต่อหลายครั้ง โดยเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2012 ในการซ้อมรบซึ่งใช้ชื่อรหัสว่า “ดาบคมกล้า” (Keen Sword) ที่จัดขึ้นทุกๆ 2 ปี ปรากฏว่าในคราวนี้ซึ่งจัดขึ้นที่บริเวณนอกชายฝั่งโอกินาวานั้น จำนวนบุคลากรที่เข้าร่วมมีสูงถึง 47,000 คน และตามแผนการที่วางไว้แต่แรกนั้นจะเป็นการฝึกซ้อมโดยสมมุติสถานการณ์ให้เป็นการบุกเข้ายึดคืนหมู่เกาะไร้ผู้คนพำนักอาศัยบริเวณนอกชายฝั่งทางด้านใต้ของญี่ปุ่น[14] ต่อมาในเดือนมกราคมปีนี้ เครื่องขับขับไล่ของญี่ปุ่นและสหรัฐฯก็ได้ดำเนินการฝึกซ้อมทางอากาศร่วมกันเป็นเวลา 5 วัน โดยที่มีเครื่องบินขับไล่ เอฟเอ-18 (FA-18) จำนวน 6 ลำของสหรัฐฯ และ เอฟ-4 (F-4) จำนวน 4 ลำของญี่ปุ่นเข้าร่วม การซ้อมรบคราวหลังนี้บังเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วันนับจากที่เครื่องบินขับไล่ของญี่ปุ่นได้เข้าสกัดขับไล่เครื่องบินจีนที่กำลังพยายามสำรวจตรวจการณ์เหนือบริเวณหมู่เกาะที่สองประเทศพิพาทช่วงชิงกรรมสิทธิ์กันอยู่ [15]
ทั้งนี้หลังจากที่มีรายงานว่า ในการซ้อมรบทางทะเลของกองกำลังนาวีภาคจีนตะวันออก (East China Fleet) ของกองทัพปลดแอกประชาชนจีนเมื่อปีที่แล้ว หนึ่งในการประลองยุทธ์ดังกล่าวมีการสมมุติสถานการณ์ว่าด้วยการเข้าโจมตีบุกยึดหมู่เกาะเซงกากุ/เตี้ยวอี๋ว์ ซึ่งแดนมังกรกับแดนอาทิตย์อุทัยพิพาทช่วงชิงกันอยู่ ก็ปรากฏว่าฝ่ายญี่ปุ่นได้ดำเนินการฝึกซ้อมทางทหารหลายต่อหลายคราวซึ่งมีจุดมุ่งหมายเป็นการฝึกฝนเตรียมพร้อมสำหรับการบุกเข้ายึดคืนหมู่เกาะที่ไร้ผู้คนพำนักอาศัย เฉกเช่นหมู่เกาะเซงกากุ/เตี้ยวอี๋ว์นั่นเอง [16]
กล่าวโดยสรุปแล้ว คณะรัฐบาลอาเบะในเวลานี้ไม่เพียงแต่กำลังเริ่มต้นเข้าแบกรับความรับผิดชอบด้านกลาโหมของญี่ปุ่นในสัดส่วนที่ใหญ่โตมากขึ้นกว่าเดิม หลังจากที่สหรัฐฯต้องประสบปัญหาหนักหน่วงและยืดเยื้อทางด้านการคลัง อีกทั้งยังมีความสับสนไม่ชัดเจนในทางยุทธศาสตร์ หากรัฐบาลอาเบะยังกำลังทำให้ญี่ปุ่นค่อยๆ กลายเป็นเสาหลักเสาหนึ่งในความพยายามของประเทศต่างๆ ภายในภูมิภาคแปซิฟิกที่จะจับมือเป็นหุ้นส่วนกันเพื่อควบคุมขัดขวางความแข็งกร้าวยืนกรานในเรื่องดินแดนของจีนอีกด้วย ความเคลื่อนไหวเหล่านี้ของแดนอาทิตย์อุทัยจึงเป็นการปักหมุดทางยุทธศาสตร์ ที่จะส่งผลกระทบกระเทือนอย่างลึกซึ้งต่อความมั่นคงของภูมิภาคแถบนี้ในระยะเวลาหลายๆ ปีต่อจากนี้ไป
**หมายเหตุ**
[1] ดูเรื่อง Citing China's increasing naval power, Japan seeking closer ties with NATO, Atlantic Council, January 13, 2013.
[2] ดูเรื่อง Japan Keeps Its Cool, Foreign Affairs, January 21, 2013.
[3] ดูเรื่อง Philippines backs rearming of Japan, Financial Times, December 9, 2012.
[4 ดูเรื่อง Philippines to get 12 new patrol boats from Japan, Philippine Daily Inquirer, July 30, 2012.
[5] ดูเรื่อง Japan Is Flexing Its Military Muscle to Counter a Rising China, The New York Times, November 26, 2012.
[6] ดูเรื่อง Japan election: LDP's Shinzo Abe vows tough China line, BBC News, December 16, 2012.
[7] ดูเรื่อง Shinzo Abe's ASEAN Tour Stresses Regional Tension, Atlantic Council, January 16, 2013.
[8] ดูเรื่อง Abe advocates 'security diamond' against China, Deutsche Welle, January 21, 2013.
[9] ดูเรื่อง Australia and Japan: Allies in the making, EastAsiaForum, July 30, 2011.
[10] ดูเรื่อง Two Large Steps for the Australia-Japan Relationship on the Horizon?, Japan Security Watch, September 26, 2012.
[11] ดูเรื่อง India-Japan Coast Guards conduct joint exercise, Zeenews.com, January 29, 2012.
[12] ดูเรื่อง Japan Is Flexing Its Military Muscle to Counter a Rising China, The New York Times, November 26, 2012.
[13] ดูเรื่อง The Sino-Japanese Naval War of 2012, ForeignPolicy.com (subscription only), August 20, 2012.
[14] ดูเรื่อง US and Japan begin military drills amid China tension, BBC News, November 5, 2012.
[15] ดูเรื่อง Japan, US fighter planes in joint drill: official, Agence-France Presse, January 15, 2013.
[16] ดูเรื่อง Japan to hold military drill for recapturing islands, CCTV.Com, January 13, 2013.
ริชาร์ด จาวัด เฮย์ดาเรียน เป็นนักวิเคราะห์ด้านกิจการต่างประเทศซึ่งพำนักอยู่ในมะนิลา เขาเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Economics of the Arab Spring: How Globalization Failed the Arab World, Zed Books, 2013 ซึ่งมีกำหนดออกวางจำหน่ายในเร็วๆ นี้ ทั้งนี้สามารถติดต่อกับเขาทางอีเมลได้ที่ jrheydarian@gmail.com
Japan pivots south, with eye on China
By Richard Javad Heydarian
25/01/2013
นายกรัฐมนตรีชินโซะ อาเบะ ผู้เพิ่งก้าวขึ้นรับตำแหน่งอีกสมัยหนึ่งหลังชนะการเลือกตั้งในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา กำลังเร่งทวีการรุกเกี้ยวพาประเทศต่างๆ เพื่อก่อตั้งกลุ่มพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ของเหล่าประเทศริมมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งมีความกังวลวิตกเช่นเดียวกับตัวเขา เกี่ยวกับแสนยานุภาพทางนาวีที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วของจีน ทั้งนี้เป้าหมายสำคัญที่สุดของอาเบะนั้น อยู่ที่การจัดวาง “พื้นที่รูปเพชรแห่งความมั่นคงของเหล่าประเทศประชาธิปไตย” เชื่อมโยงอาณาเขตระหว่างออสเตรเลีย-อินเดีย-ญี่ปุ่น-มลรัฐฮาวาย ของสหรัฐอเมริกา ขึ้นมา การมุ่งมั่นที่จะ “ปักหมุด” ทางยุทธศาสตร์ทางด้านใต้ของแดนอาทิตย์อุทัยเช่นนี้ จะต้องส่งผลสะเทือนอย่างลึกซึ้งต่อความมั่นคงของภูมิภาคแถบนี้อย่างไม่ต้องสงสัย
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
**ญี่ปุ่นในฐานะตัวคานอำนาจจีน**
ในช่วงก่อนที่เขาจะเข้ารับตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งของญี่ปุ่นอีกสมัยหนึ่งในคราวนี้ ชินโซ อาเบะไม่ได้มีความบันยะบันยังเลยในการออกมาแถลงแสดงความไม่พอใจที่จีนกำลังพยายามบุกรุกเข้าไปในน่านน้ำใกล้ๆ หมู่เกาะเซงกากุ/เตี้ยวอี๋ว์ที่แดนอาทิตย์อุทัยกับแดนมังกรพิพาทกันอยู่ครั้งแล้วครั้งเล่า
“(หมู่เกาะเซงกากุ)เป็นดินแดนของญี่ปุ่นมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว ... ขณะที่เราไม่ได้มีเจตนารมณ์ที่จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับจีนอยู่ในสภาพที่เลวร้ายลงแต่อย่างใด” อาเบะอธิบายแจกแจงถึงเหตุผลที่แดนอาทิตย์อุทัยต้องใช้แนวทางอันเหนียวแน่นยืนกรานต่อแดนมังกรในกรณีพิพาททางดินแดนซึ่งดำเนินมายาวนานนี้ ทว่า “จีนขาดการยอมรับเรื่องนี้ไปสักนิดนึง ผมต้องการให้พวกเขาขบคิดใหม่เกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ร่วมกันให้แก่ทั้งสองฝ่าย”[6]
เมื่อตอนที่เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยแรกในระหว่างปี 2006-07 อาเบะเลือกประเทศจีนเป็นจุดหมายปลายทางแห่งแรกในการออกเดินทางเยือนต่างแดนภายหลังจากขึ้นครองอำนาจของเขา เพื่อเป็นการตอกย้ำให้เห็นความสำคัญของสายสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระดับทวิภาคีที่กำลังเติบใหญ่ขยายตัวในเวลานั้น อย่างไรก็ตาม สำหรับคราวนี้ เขาแสดงความกระตือรือร้นน้อยลงมากเกี่ยวกับการเดินทางเยือนปักกิ่งโดยกล่าวย้ำว่า “ปัญหาก็คือกำลังมีการสร้างความเสียหายให้แก่พวกบริษัทญี่ปุ่นและผู้คนสัญชาติญี่ปุ่นในประเทศจีน ผู้ซึ่งกำลังสร้างคุณูปการให้แก่เศรษฐกิจจีนและสังคมจีน”[7]
กระนั้นก็ตามที จีนน่าจะยังมีความสำคัญลำดับสูงสุดในวาระด้านการต่างประเทศของอาเบะ ถึงแม้ไม่ใช่เป็นเพียงเพราะเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจเท่านั้น เมื่อปีที่แล้ว อาเบะได้เขียนบทความชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์เผยแพร่ก่อนการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรและก่อให้เกิดการถกเถียงโต้แย้งกันมาก ในบทความดังกล่าวอาเบะให้คำมั่นสัญญาที่จะผลักดันเดินหน้านโยบายการต่างประเทศซึ่งมีฤทธิ์มีเดชมากขึ้นและแข็งกร้าวยืนกรานยิ่งขึ้น ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะปิดล้อมจำกัดเขตจีน และรวมศูนย์ก่อตั้ง “พื้นที่รูปเพชรแห่งความมั่นคงของเหล่าประเทศประชาธิปไตย” (democratic security diamond) ในภูมิภาคขึ้นมา
“ผมจินตนาการไปถึงยุทธศาสตร์ซึ่งออสเตรเลีย, อินเดีย, ญี่ปุ่น, และมลรัฐฮาวายของสหรัฐฯ ก่อรูปขึ้นเป็นพื้นที่รูปเพชรเพื่อทำการปกป้องคุ้มครองความปกติร่วมกันทางทะเล ในอาณาบริเวณที่แผ่กว้างจากพื้นที่มหาสมุทรอินเดียไปจนถึงแปซิฟิกตะวันตก” เขาเขียนเอาไว้เช่นนี้ และประกาศด้วยว่า “ผมเตรียมพร้อมที่จะลงทุน เตรียมพร้อมที่จะผลักดันให้เกิดการแผ่ขยายออกไปให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในเรื่องศักยภาพด้านต่างๆ นานาของญี่ปุ่นภายในพื้นที่รูปเพชรแห่งความมั่นคงนี้”[8]
ในการออกเดินทางเยือนต่างแดนเป็นเที่ยวแรกของเหล่าผู้นำระดับสูงของญี่ปุ่นในคราวนี้ ปรากฏว่ามีเพียงออสเตรเลียเท่านั้นซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางที่มิใช่รัฐสมาชิกของสมาคมอาเซียน ทั้งนี้ความสำคัญของแดนจิงโจ้อยู่ตรงที่มีฐานะเป็นซี่ล้อซี่หนึ่ง (ขณะที่อีกซี่หนึ่งก็คือญี่ปุ่น) ในเครือข่ายพันธมิตร “ศูนย์กลางล้อและซี่ล้อ (hub and spokes) ในย่านแปซิฟิก โดยที่ศูนย์ของล้อซึ่งอยู่ตรงกลางก็คือสหรัฐฯ
มหาอำนาจแปซิฟิกทั้ง 3 -- ญี่ปุ่น, สหรัฐฯ, และออสเตรเลีย – อยู่ในสภาพที่มีปฏิสัมพันธ์กันและมีการร่วมมือประสานงานกันอย่างสม่ำเสมอตลอดเวลา ภายใต้กลไกที่มีชื่อว่า การสนทนาด้านความมั่นคงไตรภาคี (Trilateral Security Dialogue หรือ TSD) ในเวลาเดียวกัน เอกสาร ปฎิญญาร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงปี 2007 (2007 Joint Declaration on Security Cooperation) ก็มีฐานะเป็นแกนหลักสำคัญอย่างหนึ่งในความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กันระหว่างญี่ปุ่นกับออสเตรเลียที่กำลังพัฒนาคลี่คลายไปไม่หยุดยั้ง [9]
แดนอาทิตย์อุทัยกับแดนจิงโจ้นอกจากจัดการสนทนาระดับรัฐมนตรี (ระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศและรัฐมนตรีกลาโหมของทั้ง 2 ฝ่าย จึงเรียกกันว่า 2+2) กันอยู่เป็นประจำแล้ว ประเทศทั้งสองยังร่วมลงนามในข้อตกลงแลกเปลี่ยนข่าวกรอง และข้อตกลงเพื่อความร่วมมือและการสนับสนุนซึ่งกันและกันในด้านอาหาร พลังงาน และการลำเลียงขนส่ง (Acquisitions and Cross-Serving Agreement) ในระยะใกล้ๆ นี้ [10] ขณะที่ในเรื่องของการส่งเสริมเพิ่มพูนความสามารถที่จะปฏิบัติการร่วมกัน ญี่ปุ่นกับออสเตรเลียก็ได้จัดการซ้อมรบทางนาวีร่วมมาตั้งแต่ปี 2009
สำหรับอินเดีย เวลานี้ญี่ปุ่นกำลังแสดงการรับทราบและยอมรับการที่แดนภารตะเพิ่มบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ในแปซิฟิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากการที่อินเดียเข้าทำการลงทุนโดยตรงในด้านพลังงานในบริเวณน่านน้ำทะเลจีนใต้ที่เวียดนามเป็นผู้ควบคุมอยู่ทว่ายังคงเป็นกรณีพิพาทกับจีน รวมทั้งโตเกียวยังกำลังพยายามเสาะแสวงหาความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์อันลึกซึ้งยิ่งขึ้นกับนิวเดลีอีกด้วย
เป็นต้นว่า เมื่อปีที่แล้ว กองกำลังรักษาชายฝั่งของญี่ปุ่นและของอินเดีย ได้จัดการฝึกซ้อมร่วมที่ใช้ชื่อว่า “ซาห์ยอก ไกจิน 11” (Sahyog Kaijin XI) จากเมืองท่าเชนไน (Chennai) ของอินเดีย โดยที่กองกำลังรักษาชายฝั่งฝ่ายญี่ปุ่นได้ส่งเรือ เซตสึ (Settsu PLH-07) อันเป็นเรือตรวจการณ์ขนาดใหญ่มีเฮลิคอปเตอร์ประจำการ, เรือเร็วสกัดกั้น (interceptor boat) 2 ลำ, และเรือรักษาชายฝั่งอื่นๆ อีก 8 ลำเข้าร่วมในการฝึกซ้อมคราวนี้[11]
กองกำลังป้องกันทางเรือ หรือก็คือ กองทัพเรือ ของญี่ปุ่นนั้น ถูกจับตามองในฐานะที่เป็นตัวคานอำนาจซึ่งทรงความสำคัญที่สุดในการรับมือกับแสนยานุภาพทางนาวีของจีนในภูมิภาคนี้ โดยที่ในระยะไม่กี่ปีหลังมานี้ กองทัพเรือของแดนมังกรได้เร่งพัฒนาเสริมสร้างสมรรถนะทั้งในด้านการต่อต้านกีดขวางไม่ให้กำลังภายนอกเข้ามาในพื้นที่ซึ่งจีนไม่ประสงค์จะให้เข้า และในด้านกำลังทางนาวีเขตทะเลลึก ทั้งนี้เนื่องจากแดนอาทิตย์อุทัยเป็นประเทศที่มีงบประมาณรายจ่ายด้านการทหารมากเป็นอันดับ 6 ของโลก[12] ขณะเดียวกัน กองทัพเรือของญี่ปุ่นก็คุยได้ว่ามีเรือผิวน้ำเพื่อการสู้รบขนาดใหญ่อยู่ถึง 48 ลำ โดยเป็นเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ขนาดใหญ่ 2 ลำ นอกจากนั้นยังมี เรือคอร์เวตต์ เรือฟริเกต และเรือดำน้ำพลังงานดีเซลที่มีเทคโนโลยีหลบหลีกเรดาร์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรือดำน้ำเครื่องยนต์ดีเซลที่มีเทคโนโลยีหลบหลีกเรดาร์ของญี่ปุ่นนี้ ได้รับการยกย่องว่ายอดเยี่ยมที่สุดในเรือประเภทเดียวกัน) ตลอดจนระบบอาวุธ “เอจิส” (Aegis) อันล้ำยุค[13]
แน่นอนทีเดียวว่า ประเทศที่มีความสำคัญสูงที่สุดใน “พื้นที่รูปเพชรแห่งความมั่นคง” ของอาเบะ ย่อมต้องเป็นสหรัฐฯ ในระยะไม่กี่เดือนหลังๆ มานี้ สหรัฐฯกับญี่ปุ่นยังได้ดำเนินการซ้อมรบร่วมทางนาวีขนาดใหญ่เป็นข่าวเอิกเกริกหลายต่อหลายครั้ง โดยเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2012 ในการซ้อมรบซึ่งใช้ชื่อรหัสว่า “ดาบคมกล้า” (Keen Sword) ที่จัดขึ้นทุกๆ 2 ปี ปรากฏว่าในคราวนี้ซึ่งจัดขึ้นที่บริเวณนอกชายฝั่งโอกินาวานั้น จำนวนบุคลากรที่เข้าร่วมมีสูงถึง 47,000 คน และตามแผนการที่วางไว้แต่แรกนั้นจะเป็นการฝึกซ้อมโดยสมมุติสถานการณ์ให้เป็นการบุกเข้ายึดคืนหมู่เกาะไร้ผู้คนพำนักอาศัยบริเวณนอกชายฝั่งทางด้านใต้ของญี่ปุ่น[14] ต่อมาในเดือนมกราคมปีนี้ เครื่องขับขับไล่ของญี่ปุ่นและสหรัฐฯก็ได้ดำเนินการฝึกซ้อมทางอากาศร่วมกันเป็นเวลา 5 วัน โดยที่มีเครื่องบินขับไล่ เอฟเอ-18 (FA-18) จำนวน 6 ลำของสหรัฐฯ และ เอฟ-4 (F-4) จำนวน 4 ลำของญี่ปุ่นเข้าร่วม การซ้อมรบคราวหลังนี้บังเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วันนับจากที่เครื่องบินขับไล่ของญี่ปุ่นได้เข้าสกัดขับไล่เครื่องบินจีนที่กำลังพยายามสำรวจตรวจการณ์เหนือบริเวณหมู่เกาะที่สองประเทศพิพาทช่วงชิงกรรมสิทธิ์กันอยู่ [15]
ทั้งนี้หลังจากที่มีรายงานว่า ในการซ้อมรบทางทะเลของกองกำลังนาวีภาคจีนตะวันออก (East China Fleet) ของกองทัพปลดแอกประชาชนจีนเมื่อปีที่แล้ว หนึ่งในการประลองยุทธ์ดังกล่าวมีการสมมุติสถานการณ์ว่าด้วยการเข้าโจมตีบุกยึดหมู่เกาะเซงกากุ/เตี้ยวอี๋ว์ ซึ่งแดนมังกรกับแดนอาทิตย์อุทัยพิพาทช่วงชิงกันอยู่ ก็ปรากฏว่าฝ่ายญี่ปุ่นได้ดำเนินการฝึกซ้อมทางทหารหลายต่อหลายคราวซึ่งมีจุดมุ่งหมายเป็นการฝึกฝนเตรียมพร้อมสำหรับการบุกเข้ายึดคืนหมู่เกาะที่ไร้ผู้คนพำนักอาศัย เฉกเช่นหมู่เกาะเซงกากุ/เตี้ยวอี๋ว์นั่นเอง [16]
กล่าวโดยสรุปแล้ว คณะรัฐบาลอาเบะในเวลานี้ไม่เพียงแต่กำลังเริ่มต้นเข้าแบกรับความรับผิดชอบด้านกลาโหมของญี่ปุ่นในสัดส่วนที่ใหญ่โตมากขึ้นกว่าเดิม หลังจากที่สหรัฐฯต้องประสบปัญหาหนักหน่วงและยืดเยื้อทางด้านการคลัง อีกทั้งยังมีความสับสนไม่ชัดเจนในทางยุทธศาสตร์ หากรัฐบาลอาเบะยังกำลังทำให้ญี่ปุ่นค่อยๆ กลายเป็นเสาหลักเสาหนึ่งในความพยายามของประเทศต่างๆ ภายในภูมิภาคแปซิฟิกที่จะจับมือเป็นหุ้นส่วนกันเพื่อควบคุมขัดขวางความแข็งกร้าวยืนกรานในเรื่องดินแดนของจีนอีกด้วย ความเคลื่อนไหวเหล่านี้ของแดนอาทิตย์อุทัยจึงเป็นการปักหมุดทางยุทธศาสตร์ ที่จะส่งผลกระทบกระเทือนอย่างลึกซึ้งต่อความมั่นคงของภูมิภาคแถบนี้ในระยะเวลาหลายๆ ปีต่อจากนี้ไป
**หมายเหตุ**
[1] ดูเรื่อง Citing China's increasing naval power, Japan seeking closer ties with NATO, Atlantic Council, January 13, 2013.
[2] ดูเรื่อง Japan Keeps Its Cool, Foreign Affairs, January 21, 2013.
[3] ดูเรื่อง Philippines backs rearming of Japan, Financial Times, December 9, 2012.
[4 ดูเรื่อง Philippines to get 12 new patrol boats from Japan, Philippine Daily Inquirer, July 30, 2012.
[5] ดูเรื่อง Japan Is Flexing Its Military Muscle to Counter a Rising China, The New York Times, November 26, 2012.
[6] ดูเรื่อง Japan election: LDP's Shinzo Abe vows tough China line, BBC News, December 16, 2012.
[7] ดูเรื่อง Shinzo Abe's ASEAN Tour Stresses Regional Tension, Atlantic Council, January 16, 2013.
[8] ดูเรื่อง Abe advocates 'security diamond' against China, Deutsche Welle, January 21, 2013.
[9] ดูเรื่อง Australia and Japan: Allies in the making, EastAsiaForum, July 30, 2011.
[10] ดูเรื่อง Two Large Steps for the Australia-Japan Relationship on the Horizon?, Japan Security Watch, September 26, 2012.
[11] ดูเรื่อง India-Japan Coast Guards conduct joint exercise, Zeenews.com, January 29, 2012.
[12] ดูเรื่อง Japan Is Flexing Its Military Muscle to Counter a Rising China, The New York Times, November 26, 2012.
[13] ดูเรื่อง The Sino-Japanese Naval War of 2012, ForeignPolicy.com (subscription only), August 20, 2012.
[14] ดูเรื่อง US and Japan begin military drills amid China tension, BBC News, November 5, 2012.
[15] ดูเรื่อง Japan, US fighter planes in joint drill: official, Agence-France Presse, January 15, 2013.
[16] ดูเรื่อง Japan to hold military drill for recapturing islands, CCTV.Com, January 13, 2013.
ริชาร์ด จาวัด เฮย์ดาเรียน เป็นนักวิเคราะห์ด้านกิจการต่างประเทศซึ่งพำนักอยู่ในมะนิลา เขาเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Economics of the Arab Spring: How Globalization Failed the Arab World, Zed Books, 2013 ซึ่งมีกำหนดออกวางจำหน่ายในเร็วๆ นี้ ทั้งนี้สามารถติดต่อกับเขาทางอีเมลได้ที่ jrheydarian@gmail.com