(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
Ang Lee shows China the way forward
By Francesco Sisci
05/02/2013
จีนจะมีฐานะเช่นไรต่อไปในอนาคต ปัจจัยทางด้านวัฒนธรรมจะมีส่วนเป็นตัวชี้ขาดด้วย ไม่เพียงเฉพาะแค่ปัจจัยทางด้านการเมือง ความสำเร็จของสหรัฐฯนั้นส่วนหนึ่งสร้างขึ้นมาได้ก็เนื่องเพราะการรู้จักใช้ผู้มีความรู้ความสามารถจากต่างแดนและการดูดซับรับเอาวัฒนธรรม “ต่างประเทศ” และนี่ก็เป็นความจำเป็นทั้งสองประการสำหรับยักษ์ใหญ่เอเชียที่กำลังก้าวผงาดขึ้นมารายนี้ ถ้าหากต้องการที่จะแซงหน้าสหรัฐฯในฐานะของการเป็นมหาอำนาจระดับโลก ความตระหนักรับรู้แบบข้ามวัฒนธรรมเช่นนี้จะสามารถนำมาซึ่งความเติบใหญ่เข้มแข็งได้มากขนาดไหน อัง ลี ผู้กำกับภาพยนตร์ซึ่งเป็นที่นิยมชมชื่นทั้งในสหรัฐฯและในจีนเวลานี้ คือผู้ที่กำลังแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม
ศาสนา, ความทะเยอทะยานทางการเมือง, สัมฤทธิผลทางวัฒนธรรม, และผลงานของศิลปินเพียงคนเดียว บางครั้งบางคราก็เกี่ยวข้องพัวพันกันอย่างพัลวันจนแยกไม่ออก และนี่ดูจะเป็นกรณีที่เกิดขึ้นกับภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของ อัง ลี (Ang Lee)
ในภาพยนตร์เรื่องนี้ เด็กหนุ่มชาวอินเดียวัย 16 ปีต้องระหกระเหินอยู่กลางทะเลภายหลังเรือแตกพร้อมๆ กับผู้ร่วมทางจำนวนหนึ่ง เวอร์ชั่นหนึ่งของเรื่องบอกว่าเขาถูกซัดเซไปท่ามกลางแผ่นน้ำกว้างใหญ่พร้อมๆ กับกลาสีชาวญี่ปุ่นคนหนึ่ง, กุ๊กชาวฝรั่งเศสคนหนึ่ง, และมารดาของเขาเอง ส่วนในอีกเวอร์ชั่นหนึ่งนั้น เขาร่วมทางไปกับม้าลายตัวหนึ่ง, หมาไนไฮยีน่าตัวหนึ่ง, ลิงอุรังอุงตัวหนึ่ง, และเสืออีกตัวหนึ่ง ในเวอร์ชั่นหนึ่งนั้น ชีวิตดูน่าเกลียดน่าชิงชังและไร้ความหมาย แต่ในอีกเวอร์ชั่นหนึ่ง มันทั้งงดงามและเต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกเต็มไปด้วยชีวิตชีวา ภาพยนตร์เรื่อง “ชีวิตมหัศจรรย์ของพาย” (Life of Pi) นี้เป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับศาสนาและเกี่ยวกับเค้าโครงแห่งชีวิต เมื่อมีศาสนา ชีวิตดูมีความหมาย เมื่อไม่มีศาสนา มันก็เป็นเพียงความน่าเกลียดน่าชิงชัง
แล้วศาสนาที่ว่านี้คือศาสนาอะไรล่ะ พาย ตัวเอกของหนังเรื่องนี้ ให้คำตอบแบบชาวอินเดีย พายขอบคุณพระวิษณุที่แนะนำให้เขาได้รู้จักศาสนาคริสต์ และพายก็รู้สึกถึงความผูกพันกับพระผู้เป็นเจ้าจากการเข้าร่วมพิธีละหมาดในมัสยิดของอิสลาม จากการณ์นี้เขามีลักษณะเป็นชาวอินเดียเอามากๆ ถึงแม้มีข้อเท็จจริงอยู่ว่าหนังเรื่องนี้มีผู้กำกับเป็นชาวจีน ซึ่งก็คือ อัง ลี หรือว่า หลี่ อาน (Li An) อย่างที่นิยมเรียกขานกันในปักกิ่ง
อัง ลี มีพรสวรรค์ในเรื่องของการจับสาระสำคัญของวัฒนธรรม ในภาพยนตร์ 3 เรื่องแรกของเขา (Pushing Hands, The Wedding Banquet, and Eat Drink Man Woman) มีความเป็นไต้หวันอย่างลึกซึ้ง โดยที่แสดงให้เห็นทั้งความล้ำลึกและอารมณ์ความรู้สึกอ่อนไหวของวัฒนธรรมของเกาะแห่งนี้ตลอดจนขนบธรรมเนียมแบบจีนเมื่อเผชิญหน้ากับวิถีชีวิตสมัยใหม่ แต่เมื่อเขากำกับหนังเรื่อง Sense and Sensibility เขาก็กลายเป็นคนอังกฤษไปอย่างแท้จริง ครั้นมาถึงเรื่อง Crouching Tiger, Hidden Dragon เขาอุตสาหะพยายามสร้างผลงานระดับมาสเตอร์พีซของภาพยนตร์กำลังภายในจีนแบบคลาสสิก สำหรับเรื่อง Hulk และเรื่อง Brokeback Mountain คือ 2 ด้านของวัฒนธรรมอเมริกัน เรื่องหนึ่งเป็นโลกของหนังสือการ์ตูน ส่วนอีกเรื่องหนึ่งเป็นเวอร์ชั่นเสรีนิยมสมัยใหม่ของตำนานคาวบอย ครั้นมาถึงภาพยนตร์เรื่องล่าสุด Life of Pi เขาก็ขุดค้นเข้าไปหาความลึกซึ้งของวัฒนธรรมอินเดีย
อัง ลี ไม่เหมือนกับคนอื่นๆ เขาเป็นผู้กำกับที่มีความสามารถสูงส่งในการทำงานข้ามวัฒนธรรม, สามารถที่จะนำตัวเขาเองจุ่มลงไปในความคิดความเชื่อประเภทต่างๆ อันผิดแผกแตกต่างกันมากมายหลายหลาก และนำเสนอความคิดความเชื่อเหล่านั้นออกมาด้วยความแปลกใหม่อย่างเต็มภาคภูมิโดยที่ไม่มีความผิดเพี้ยนไปจากรากเหง้าของมัน เขาเป็นแบบอย่างของความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมอันสมบูรณ์แข็งแกร่งในโลกที่ประกอบด้วยวัฒนธรรมต่างๆ หลายหลากมากมาย เขาเป็นปรากฏการณ์ใหม่ในฮอลลีวู้ด ซึ่งกลายเป็นฐานพำนักพักพิงของเขาในปัจจุบัน อเมริกาสามารถที่จะแผ่อิทธิพลบารมีต่อโลกได้ ไม่เพียงด้วยการนำเสนอตำนานของอเมริกันเท่านั้น แต่โดยการใช้คำบรรยายในเชิงวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลายอีกด้วย
ทว่า อัง ลี ก็สามารถที่จะกลายเป็นแรงบันดาลใจในประเทศจีนได้ด้วยเช่นกัน ในแดนมังกรนั้น พวกเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและปัญญาชนจำนวนมากมีความดูหมิ่นดูแคลนนักสร้างหนังท้องถิ่นของพวกเขาเองแทบทั้งหมด แต่ค่อนข้างนิยมชมชื่น อัง ลี จากผลงานที่มีความลึกซึ้งของเขา
ด้วยเหตุนี้ เรื่องราวของ หลี่ อาน จึงอาจจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจและการเมืองด้วย
จีนจะเป็นอย่างไรในอีก 20 ปีข้างหน้า ดูน่าจะมีความเป็นไปได้อยู่ 3 ประการ อย่างแรกคือจีนใช้ความพยายามอย่างหนักจนประสบความสำเร็จในการเอาชนะสหรัฐฯและกลายเป็นเขตเศรษฐกิจหมายเลข 1 ของโลก ความเป็นไปได้อย่างที่ 2 คือแดนมังกรประสบความล้มเหลวที่จะทำเช่นนั้น และดำดิ่งจมลงสู่วิกฤตอันล้ำลึก โดยมีความเป็นไปได้ที่ประเทศจะแตกแยกออกเป็นก๊กเป็นเหล่าจำนวนมากซึ่งต่างแข่งขันต่อสู้กันเอง และอย่างที่ 3 คือจีนมุมานะพยายามจนสามารถหลีกเลี่ยงจากการจ่อมจมลงสู่วิกฤตใหญ่ๆ ได้ แต่ยังคงล้มเหลวไม่สามารถแซงหน้าอเมริกา ในขณะที่พวกเพื่อนบ้านผู้ก้าวร้าวจำนวนมากก้าวขึ้นมาแข่งขันกับจีนเพื่อช่วงชิงความเป็นใหญ่ในเอเชีย
รูปแบบสถานการณ์สมมุติในแต่ละรูปแบบเหล่านี้ ต่างก็อาจจะมีการคลี่คลายพัฒนาที่เป็นไปได้หลายๆ ประการ แทบไม่ต้องสงสัยเลยว่าปักกิ่งย่อมพออกพอใจกับสถานการณ์สมมุติรูปแบบแรก ทว่าสถานการณ์สมมุติดังกล่าวก็เป็นสิ่งที่ประเทศจำนวนมากในโลกรู้สึกหวาดผวาอย่างที่สุดด้วยเช่นกัน มันจึงกลายเป็นสถานการณ์สมมุติซึ่งน่าที่จะถูกต่อต้านอย่างรุนแรงที่สุด ด้วยเหตุผลง่ายๆ เพียงประการเดียวว่า มันเป็นเรื่องใหม่อย่างสิ้นเชิง เพราะแม้กระทั่งในอดีตที่ผ่านมา เอเชียตะวันออกภายใต้การครอบงำของจีนและรวมเอาเกาหลีกับเวียดนามเข้าไว้ด้วย ก็ไม่เคยเลยที่ส่งอิทธิพลบารมีเหนือโลกทั้งใบ
นี่เป็นประเด็นปัญหาทางการเมือง แต่ก็เป็นประเด็นปัญหาทางวัฒนธรรมเป็นอย่างมากเช่นกัน ฐานะการครอบงำโลกของอเมริกาในปัจจุบัน ก็เช่นเดียวกับความเป็นเจ้าอาณานิคมของอังกฤษในช่วงก่อนหน้านี้ เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยวัฒนธรรม โดยที่กำลังทหารเป็นตัวสนับสนุนลำดับสอง หนังฮอลลีวู้ด, ดนตรีป๊อป, สื่อมวลชนระหว่างประเทศ, และมหาวิทยาลัยระดับโลก เหล่านี้คือสิ่งที่สร้างอำนาจละมุน (soft power) ของพวกอภิมหาอำนาจ และผลงานศิลปะของพวกเขา (ไม่เฉพาะงานของเชคสเปียร์ แต่ยังรวมถึงนักเขียนสนับสนุนลัทธิจักรวรรดินิยมอย่าง รัดยาร์ด คิปลิง ด้วย) ก็กลายเป็นปากเสียงซึ่งแม้กระทั่งประเทศที่ถูกครอบงำอย่างอินเดีย ยังคงซาบซึ้งตรึงใจไปด้วยจวบจนกระทั่งบัดนี้ สำหรับฮอลลีวู้ดถือว่าก้าวไปไกลกว่านั้นอีก ด้วยการเรียกระดมผู้มีความรู้ความสามารถจากทั่วทั้งโลกให้มาสร้างสรรค์จินตนาการของตน ในฐานะที่เป็นตัวแทนของโลก ไม่เพียงเฉพาะเป็นตัวแทนของอเมริกาเท่านั้น
ในอีก 20 ปีข้างหน้า ไม่ว่าสถานการณ์สมมุติประการใดจะกลายเป็นความจริงขึ้นมาก็ตามที จีนจะสามารถสำแดงวัฒนธรรมของตนให้ประจักษ์แก่โลก หรือว่าจะทำอะไรอย่างอื่น? จากระบบการเมืองและการบริหารอันติดกรอบเข้มงวดในเวลานี้ดูเหมือนจะชี้ให้เห็นว่า แดนมังกรคงจะเพียงแค่พยายามผลักดันให้เกิดผลงานทางวัฒนธรรมที่สร้างขึ้นมาเองภายในบ้านให้มากขึ้นเท่านั้น กระนั้นด้วยประสบการณ์ของ หลี่ อาน มันก็กำลังบอกเล่าเรื่องราวที่แตกต่างออกไป นั่นคือจีนจำเป็นที่จะต้องจ้างผู้มีความรู้ความสามารถจากต่างแดน และจำเป็นที่จะต้องเข้าอกเข้าใจวัฒนธรรมต่างๆ ที่แตกต่างออกไปอย่างเต็มที่ พูดกันโดยสรุปแล้ว นี่แหละคือเคล็ดลับแห่งความสำเร็จของสหรัฐฯ และถ้าหากไม่มีสิ่งนี้ จีนก็ไม่น่าที่จะมีสัมฤทธิผลอะไรในเรื่องนี้
อย่างไรก็ดี ยังมีแง่มุมในทางศาสนาด้วย ซึ่งภาพยนตร์เรื่อง Life of Pi ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนานั่นเอง รายงานการวิจัยที่เพิ่งนำออกเผยแพร่ใหม่ๆ ชิ้นหนึ่งของ มหาวิทยาลัยสันตะปาปาเกรกอเรียน (Pontifical Gregorian University) ในกรุงโรม ชื่อ “China Today: Challenges And Prospects For The New Evangelization” (จีนวันนี้: ความท้าทายและความหวังสำหรับการเปลี่ยนผู้คนหน้าใหม่ๆ ให้หันมานับถือศาสนาคริสต์) จัดทำโดย เหยียน คินชึง คิอาเรตโต (Yan Kin Sheung Chiaretto) ให้คำตอบบางส่วนต่อคำถามเหล่านี้ ดร.เหยียน มุ่งที่จะอธิบายแจกแจงให้เห็นถึงความต้องการทางสังคมของจีนในปัจจุบันที่เป็นผลบวกและผลลบต่อการเผยแผ่ศาสนา
ลัทธิเต๋าและลัทธิขงจื๊อในแบบประเพณีดั้งเดิมนั้น ไม่ได้เป็นศาสนาที่แท้จริง และไม่สามารถตอบสนองสร้างความพอใจให้แก่การเสาะแสวงหาความหมายใหม่ของชีวิตในจีนทุกวันนี้ได้ ดร.เหยียน เสนอว่านิกายคาทอลิกและศาสนาคริสต์สามารถที่จะเป็นคำตอบในเรื่องนี้ ยิ่งกว่านั้น จีนอาจจะเป็นพรมแดนใหม่ที่จริงแท้แน่นอนสำหรับคริสตจักรคาทอลิกด้วยซ้ำไป เนื่องจากอินเดีย ประเทศขนาดยักษ์ที่มีประชากรจำนวนมหาศาลอีกรายหนึ่งนั้น เป็นประเทศที่อาบอิ่มอยู่ในศาสนาอย่างเต็มที่อยู่แล้ว ดังที่ภาพยนตร์เรื่อง Life of Pi ก็สาธิตให้เห็นอย่างชัดเจน
เหยียนบอกว่า เป็นเรื่องยากเย็นสำหรับศาสนาอื่นๆ ที่จะเข้าไปตั้งหลักปักฐานในอินเดีย ถึงแม้ศาสนาคริสต์จะปรากฏตัวในแดนภารตะมานมนานย้อนหลังกลับไปได้จนถึงยุคของเซนต์โธมัส (St Thomas) ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 ด้วยซ้ำ เนื่องจากศาสนาฮินดูคือส่วนหนึ่งแห่งอัตลักษณ์ของชาวอินเดีย และจากการกำเนิดขึ้นมาของปากีสถาน อันสืบเนื่องจากการแผ่ขยายอย่างกว้างของศาสนาอิสลาม ศาสนาที่แตกต่างออกไปและมาจากต่างแดน ก็ได้ทำให้อนุทวีปนี้แตกเป็นเสี่ยง
สำหรับจีนมีความแตกต่างจากอินเดีย ลัทธิเต๋าและลัทธิขงจื้อแบบประเพณีดั้งเดิม ไม่ได้เป็นศาสนา ส่วนศาสนาพุทธ ก็เฉกเช่นเดียวกับศาสนาคริสต์ มีฐานะเป็นศาสนาจากต่างประเทศ ซึ่งมิได้ทำให้ประเทศนี้แตกเป็นเสี่ยง ทว่านำเอาวิถีชีวิตแบบใหม่เข้าไปในแดนมังกร อย่างไรก็ดี มีคำถามที่มีอายุเก่าแก่ยาวนานแล้วที่ตั้งปุจฉาว่า ทำไมศาสนาคริสต์ซึ่งเข้าไปในจีนหลังจากศาสนาพุทธไม่นานนัก และเข้าไปในช่วงเวลาเดียวกันกับศาสนาอิสลาม จึงไม่สามารถที่จะหยั่งรากปักฐานในแดนมังกรได้
เหยียนไม่ได้ให้คำตอบต่อคำถามนี้ แต่ได้อภิปรายเสนอความคิดเห็นที่ชี้ว่าชาวจีนมีความใส่ใจต่อสายสัมพันธ์ทางศาสนาแบบข้ามวัฒนธรรม เขายกตัวอย่างว่าภาพของแม่พระมาดอนนาแห่งกัวดาลูปจากเม็กซิโก (Mexican Madonna of Guadalupe) ทำให้ชาวจีนมีความรู้สึกใกล้ชิดผูกพันมากกว่าแม่พระมาดอนนาตาสีฟ้าที่มาจากยุโรป ดังนั้น จึงดูเหมือนว่าวิธีการในการเล่าเรื่องของคุณ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก
ฟรานเชสโก ซิสซี เป็นคอลัมนิสต์ให้กับ อิล โซเล 24 โอเร (Il Sole 24 Ore) หนังสือพิมพ์รายวันในอิตาลี สามารถที่จะติดต่อเขาทางอีเมล์ได้ที่ fsisci@gmail
Ang Lee shows China the way forward
By Francesco Sisci
05/02/2013
จีนจะมีฐานะเช่นไรต่อไปในอนาคต ปัจจัยทางด้านวัฒนธรรมจะมีส่วนเป็นตัวชี้ขาดด้วย ไม่เพียงเฉพาะแค่ปัจจัยทางด้านการเมือง ความสำเร็จของสหรัฐฯนั้นส่วนหนึ่งสร้างขึ้นมาได้ก็เนื่องเพราะการรู้จักใช้ผู้มีความรู้ความสามารถจากต่างแดนและการดูดซับรับเอาวัฒนธรรม “ต่างประเทศ” และนี่ก็เป็นความจำเป็นทั้งสองประการสำหรับยักษ์ใหญ่เอเชียที่กำลังก้าวผงาดขึ้นมารายนี้ ถ้าหากต้องการที่จะแซงหน้าสหรัฐฯในฐานะของการเป็นมหาอำนาจระดับโลก ความตระหนักรับรู้แบบข้ามวัฒนธรรมเช่นนี้จะสามารถนำมาซึ่งความเติบใหญ่เข้มแข็งได้มากขนาดไหน อัง ลี ผู้กำกับภาพยนตร์ซึ่งเป็นที่นิยมชมชื่นทั้งในสหรัฐฯและในจีนเวลานี้ คือผู้ที่กำลังแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม
ศาสนา, ความทะเยอทะยานทางการเมือง, สัมฤทธิผลทางวัฒนธรรม, และผลงานของศิลปินเพียงคนเดียว บางครั้งบางคราก็เกี่ยวข้องพัวพันกันอย่างพัลวันจนแยกไม่ออก และนี่ดูจะเป็นกรณีที่เกิดขึ้นกับภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของ อัง ลี (Ang Lee)
ในภาพยนตร์เรื่องนี้ เด็กหนุ่มชาวอินเดียวัย 16 ปีต้องระหกระเหินอยู่กลางทะเลภายหลังเรือแตกพร้อมๆ กับผู้ร่วมทางจำนวนหนึ่ง เวอร์ชั่นหนึ่งของเรื่องบอกว่าเขาถูกซัดเซไปท่ามกลางแผ่นน้ำกว้างใหญ่พร้อมๆ กับกลาสีชาวญี่ปุ่นคนหนึ่ง, กุ๊กชาวฝรั่งเศสคนหนึ่ง, และมารดาของเขาเอง ส่วนในอีกเวอร์ชั่นหนึ่งนั้น เขาร่วมทางไปกับม้าลายตัวหนึ่ง, หมาไนไฮยีน่าตัวหนึ่ง, ลิงอุรังอุงตัวหนึ่ง, และเสืออีกตัวหนึ่ง ในเวอร์ชั่นหนึ่งนั้น ชีวิตดูน่าเกลียดน่าชิงชังและไร้ความหมาย แต่ในอีกเวอร์ชั่นหนึ่ง มันทั้งงดงามและเต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกเต็มไปด้วยชีวิตชีวา ภาพยนตร์เรื่อง “ชีวิตมหัศจรรย์ของพาย” (Life of Pi) นี้เป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับศาสนาและเกี่ยวกับเค้าโครงแห่งชีวิต เมื่อมีศาสนา ชีวิตดูมีความหมาย เมื่อไม่มีศาสนา มันก็เป็นเพียงความน่าเกลียดน่าชิงชัง
แล้วศาสนาที่ว่านี้คือศาสนาอะไรล่ะ พาย ตัวเอกของหนังเรื่องนี้ ให้คำตอบแบบชาวอินเดีย พายขอบคุณพระวิษณุที่แนะนำให้เขาได้รู้จักศาสนาคริสต์ และพายก็รู้สึกถึงความผูกพันกับพระผู้เป็นเจ้าจากการเข้าร่วมพิธีละหมาดในมัสยิดของอิสลาม จากการณ์นี้เขามีลักษณะเป็นชาวอินเดียเอามากๆ ถึงแม้มีข้อเท็จจริงอยู่ว่าหนังเรื่องนี้มีผู้กำกับเป็นชาวจีน ซึ่งก็คือ อัง ลี หรือว่า หลี่ อาน (Li An) อย่างที่นิยมเรียกขานกันในปักกิ่ง
อัง ลี มีพรสวรรค์ในเรื่องของการจับสาระสำคัญของวัฒนธรรม ในภาพยนตร์ 3 เรื่องแรกของเขา (Pushing Hands, The Wedding Banquet, and Eat Drink Man Woman) มีความเป็นไต้หวันอย่างลึกซึ้ง โดยที่แสดงให้เห็นทั้งความล้ำลึกและอารมณ์ความรู้สึกอ่อนไหวของวัฒนธรรมของเกาะแห่งนี้ตลอดจนขนบธรรมเนียมแบบจีนเมื่อเผชิญหน้ากับวิถีชีวิตสมัยใหม่ แต่เมื่อเขากำกับหนังเรื่อง Sense and Sensibility เขาก็กลายเป็นคนอังกฤษไปอย่างแท้จริง ครั้นมาถึงเรื่อง Crouching Tiger, Hidden Dragon เขาอุตสาหะพยายามสร้างผลงานระดับมาสเตอร์พีซของภาพยนตร์กำลังภายในจีนแบบคลาสสิก สำหรับเรื่อง Hulk และเรื่อง Brokeback Mountain คือ 2 ด้านของวัฒนธรรมอเมริกัน เรื่องหนึ่งเป็นโลกของหนังสือการ์ตูน ส่วนอีกเรื่องหนึ่งเป็นเวอร์ชั่นเสรีนิยมสมัยใหม่ของตำนานคาวบอย ครั้นมาถึงภาพยนตร์เรื่องล่าสุด Life of Pi เขาก็ขุดค้นเข้าไปหาความลึกซึ้งของวัฒนธรรมอินเดีย
อัง ลี ไม่เหมือนกับคนอื่นๆ เขาเป็นผู้กำกับที่มีความสามารถสูงส่งในการทำงานข้ามวัฒนธรรม, สามารถที่จะนำตัวเขาเองจุ่มลงไปในความคิดความเชื่อประเภทต่างๆ อันผิดแผกแตกต่างกันมากมายหลายหลาก และนำเสนอความคิดความเชื่อเหล่านั้นออกมาด้วยความแปลกใหม่อย่างเต็มภาคภูมิโดยที่ไม่มีความผิดเพี้ยนไปจากรากเหง้าของมัน เขาเป็นแบบอย่างของความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมอันสมบูรณ์แข็งแกร่งในโลกที่ประกอบด้วยวัฒนธรรมต่างๆ หลายหลากมากมาย เขาเป็นปรากฏการณ์ใหม่ในฮอลลีวู้ด ซึ่งกลายเป็นฐานพำนักพักพิงของเขาในปัจจุบัน อเมริกาสามารถที่จะแผ่อิทธิพลบารมีต่อโลกได้ ไม่เพียงด้วยการนำเสนอตำนานของอเมริกันเท่านั้น แต่โดยการใช้คำบรรยายในเชิงวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลายอีกด้วย
ทว่า อัง ลี ก็สามารถที่จะกลายเป็นแรงบันดาลใจในประเทศจีนได้ด้วยเช่นกัน ในแดนมังกรนั้น พวกเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและปัญญาชนจำนวนมากมีความดูหมิ่นดูแคลนนักสร้างหนังท้องถิ่นของพวกเขาเองแทบทั้งหมด แต่ค่อนข้างนิยมชมชื่น อัง ลี จากผลงานที่มีความลึกซึ้งของเขา
ด้วยเหตุนี้ เรื่องราวของ หลี่ อาน จึงอาจจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจและการเมืองด้วย
จีนจะเป็นอย่างไรในอีก 20 ปีข้างหน้า ดูน่าจะมีความเป็นไปได้อยู่ 3 ประการ อย่างแรกคือจีนใช้ความพยายามอย่างหนักจนประสบความสำเร็จในการเอาชนะสหรัฐฯและกลายเป็นเขตเศรษฐกิจหมายเลข 1 ของโลก ความเป็นไปได้อย่างที่ 2 คือแดนมังกรประสบความล้มเหลวที่จะทำเช่นนั้น และดำดิ่งจมลงสู่วิกฤตอันล้ำลึก โดยมีความเป็นไปได้ที่ประเทศจะแตกแยกออกเป็นก๊กเป็นเหล่าจำนวนมากซึ่งต่างแข่งขันต่อสู้กันเอง และอย่างที่ 3 คือจีนมุมานะพยายามจนสามารถหลีกเลี่ยงจากการจ่อมจมลงสู่วิกฤตใหญ่ๆ ได้ แต่ยังคงล้มเหลวไม่สามารถแซงหน้าอเมริกา ในขณะที่พวกเพื่อนบ้านผู้ก้าวร้าวจำนวนมากก้าวขึ้นมาแข่งขันกับจีนเพื่อช่วงชิงความเป็นใหญ่ในเอเชีย
รูปแบบสถานการณ์สมมุติในแต่ละรูปแบบเหล่านี้ ต่างก็อาจจะมีการคลี่คลายพัฒนาที่เป็นไปได้หลายๆ ประการ แทบไม่ต้องสงสัยเลยว่าปักกิ่งย่อมพออกพอใจกับสถานการณ์สมมุติรูปแบบแรก ทว่าสถานการณ์สมมุติดังกล่าวก็เป็นสิ่งที่ประเทศจำนวนมากในโลกรู้สึกหวาดผวาอย่างที่สุดด้วยเช่นกัน มันจึงกลายเป็นสถานการณ์สมมุติซึ่งน่าที่จะถูกต่อต้านอย่างรุนแรงที่สุด ด้วยเหตุผลง่ายๆ เพียงประการเดียวว่า มันเป็นเรื่องใหม่อย่างสิ้นเชิง เพราะแม้กระทั่งในอดีตที่ผ่านมา เอเชียตะวันออกภายใต้การครอบงำของจีนและรวมเอาเกาหลีกับเวียดนามเข้าไว้ด้วย ก็ไม่เคยเลยที่ส่งอิทธิพลบารมีเหนือโลกทั้งใบ
นี่เป็นประเด็นปัญหาทางการเมือง แต่ก็เป็นประเด็นปัญหาทางวัฒนธรรมเป็นอย่างมากเช่นกัน ฐานะการครอบงำโลกของอเมริกาในปัจจุบัน ก็เช่นเดียวกับความเป็นเจ้าอาณานิคมของอังกฤษในช่วงก่อนหน้านี้ เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยวัฒนธรรม โดยที่กำลังทหารเป็นตัวสนับสนุนลำดับสอง หนังฮอลลีวู้ด, ดนตรีป๊อป, สื่อมวลชนระหว่างประเทศ, และมหาวิทยาลัยระดับโลก เหล่านี้คือสิ่งที่สร้างอำนาจละมุน (soft power) ของพวกอภิมหาอำนาจ และผลงานศิลปะของพวกเขา (ไม่เฉพาะงานของเชคสเปียร์ แต่ยังรวมถึงนักเขียนสนับสนุนลัทธิจักรวรรดินิยมอย่าง รัดยาร์ด คิปลิง ด้วย) ก็กลายเป็นปากเสียงซึ่งแม้กระทั่งประเทศที่ถูกครอบงำอย่างอินเดีย ยังคงซาบซึ้งตรึงใจไปด้วยจวบจนกระทั่งบัดนี้ สำหรับฮอลลีวู้ดถือว่าก้าวไปไกลกว่านั้นอีก ด้วยการเรียกระดมผู้มีความรู้ความสามารถจากทั่วทั้งโลกให้มาสร้างสรรค์จินตนาการของตน ในฐานะที่เป็นตัวแทนของโลก ไม่เพียงเฉพาะเป็นตัวแทนของอเมริกาเท่านั้น
ในอีก 20 ปีข้างหน้า ไม่ว่าสถานการณ์สมมุติประการใดจะกลายเป็นความจริงขึ้นมาก็ตามที จีนจะสามารถสำแดงวัฒนธรรมของตนให้ประจักษ์แก่โลก หรือว่าจะทำอะไรอย่างอื่น? จากระบบการเมืองและการบริหารอันติดกรอบเข้มงวดในเวลานี้ดูเหมือนจะชี้ให้เห็นว่า แดนมังกรคงจะเพียงแค่พยายามผลักดันให้เกิดผลงานทางวัฒนธรรมที่สร้างขึ้นมาเองภายในบ้านให้มากขึ้นเท่านั้น กระนั้นด้วยประสบการณ์ของ หลี่ อาน มันก็กำลังบอกเล่าเรื่องราวที่แตกต่างออกไป นั่นคือจีนจำเป็นที่จะต้องจ้างผู้มีความรู้ความสามารถจากต่างแดน และจำเป็นที่จะต้องเข้าอกเข้าใจวัฒนธรรมต่างๆ ที่แตกต่างออกไปอย่างเต็มที่ พูดกันโดยสรุปแล้ว นี่แหละคือเคล็ดลับแห่งความสำเร็จของสหรัฐฯ และถ้าหากไม่มีสิ่งนี้ จีนก็ไม่น่าที่จะมีสัมฤทธิผลอะไรในเรื่องนี้
อย่างไรก็ดี ยังมีแง่มุมในทางศาสนาด้วย ซึ่งภาพยนตร์เรื่อง Life of Pi ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนานั่นเอง รายงานการวิจัยที่เพิ่งนำออกเผยแพร่ใหม่ๆ ชิ้นหนึ่งของ มหาวิทยาลัยสันตะปาปาเกรกอเรียน (Pontifical Gregorian University) ในกรุงโรม ชื่อ “China Today: Challenges And Prospects For The New Evangelization” (จีนวันนี้: ความท้าทายและความหวังสำหรับการเปลี่ยนผู้คนหน้าใหม่ๆ ให้หันมานับถือศาสนาคริสต์) จัดทำโดย เหยียน คินชึง คิอาเรตโต (Yan Kin Sheung Chiaretto) ให้คำตอบบางส่วนต่อคำถามเหล่านี้ ดร.เหยียน มุ่งที่จะอธิบายแจกแจงให้เห็นถึงความต้องการทางสังคมของจีนในปัจจุบันที่เป็นผลบวกและผลลบต่อการเผยแผ่ศาสนา
ลัทธิเต๋าและลัทธิขงจื๊อในแบบประเพณีดั้งเดิมนั้น ไม่ได้เป็นศาสนาที่แท้จริง และไม่สามารถตอบสนองสร้างความพอใจให้แก่การเสาะแสวงหาความหมายใหม่ของชีวิตในจีนทุกวันนี้ได้ ดร.เหยียน เสนอว่านิกายคาทอลิกและศาสนาคริสต์สามารถที่จะเป็นคำตอบในเรื่องนี้ ยิ่งกว่านั้น จีนอาจจะเป็นพรมแดนใหม่ที่จริงแท้แน่นอนสำหรับคริสตจักรคาทอลิกด้วยซ้ำไป เนื่องจากอินเดีย ประเทศขนาดยักษ์ที่มีประชากรจำนวนมหาศาลอีกรายหนึ่งนั้น เป็นประเทศที่อาบอิ่มอยู่ในศาสนาอย่างเต็มที่อยู่แล้ว ดังที่ภาพยนตร์เรื่อง Life of Pi ก็สาธิตให้เห็นอย่างชัดเจน
เหยียนบอกว่า เป็นเรื่องยากเย็นสำหรับศาสนาอื่นๆ ที่จะเข้าไปตั้งหลักปักฐานในอินเดีย ถึงแม้ศาสนาคริสต์จะปรากฏตัวในแดนภารตะมานมนานย้อนหลังกลับไปได้จนถึงยุคของเซนต์โธมัส (St Thomas) ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 ด้วยซ้ำ เนื่องจากศาสนาฮินดูคือส่วนหนึ่งแห่งอัตลักษณ์ของชาวอินเดีย และจากการกำเนิดขึ้นมาของปากีสถาน อันสืบเนื่องจากการแผ่ขยายอย่างกว้างของศาสนาอิสลาม ศาสนาที่แตกต่างออกไปและมาจากต่างแดน ก็ได้ทำให้อนุทวีปนี้แตกเป็นเสี่ยง
สำหรับจีนมีความแตกต่างจากอินเดีย ลัทธิเต๋าและลัทธิขงจื้อแบบประเพณีดั้งเดิม ไม่ได้เป็นศาสนา ส่วนศาสนาพุทธ ก็เฉกเช่นเดียวกับศาสนาคริสต์ มีฐานะเป็นศาสนาจากต่างประเทศ ซึ่งมิได้ทำให้ประเทศนี้แตกเป็นเสี่ยง ทว่านำเอาวิถีชีวิตแบบใหม่เข้าไปในแดนมังกร อย่างไรก็ดี มีคำถามที่มีอายุเก่าแก่ยาวนานแล้วที่ตั้งปุจฉาว่า ทำไมศาสนาคริสต์ซึ่งเข้าไปในจีนหลังจากศาสนาพุทธไม่นานนัก และเข้าไปในช่วงเวลาเดียวกันกับศาสนาอิสลาม จึงไม่สามารถที่จะหยั่งรากปักฐานในแดนมังกรได้
เหยียนไม่ได้ให้คำตอบต่อคำถามนี้ แต่ได้อภิปรายเสนอความคิดเห็นที่ชี้ว่าชาวจีนมีความใส่ใจต่อสายสัมพันธ์ทางศาสนาแบบข้ามวัฒนธรรม เขายกตัวอย่างว่าภาพของแม่พระมาดอนนาแห่งกัวดาลูปจากเม็กซิโก (Mexican Madonna of Guadalupe) ทำให้ชาวจีนมีความรู้สึกใกล้ชิดผูกพันมากกว่าแม่พระมาดอนนาตาสีฟ้าที่มาจากยุโรป ดังนั้น จึงดูเหมือนว่าวิธีการในการเล่าเรื่องของคุณ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก
ฟรานเชสโก ซิสซี เป็นคอลัมนิสต์ให้กับ อิล โซเล 24 โอเร (Il Sole 24 Ore) หนังสือพิมพ์รายวันในอิตาลี สามารถที่จะติดต่อเขาทางอีเมล์ได้ที่ fsisci@gmail