เอเจนซีส์ - รัฐบาลคูเวตอาจสั่งห้ามประชาชนเกือบ 100,000 รายที่ยังติดค้างหนี้รัฐเดินทางออกนอกประเทศ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นรายงาน โดยอ้างคำแถลงของเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงยุติธรรม
หนังสือพิมพ์ คูเวต ไทม์ส ฉบับวันนี้(29) อ้างถ้อยแถลงของ โมฮัมหมัด อัล-ดูอัยจ์ ประธานสำนักงานบังคับคดีอาญาและความร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งอธิบายว่า นโยบายดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแผนเรียกเก็บค่าธรรมเนียม และค่าปรับคดีอุกฉกรรจ์และความผิดลหุโทษต่างๆ รวมเป็นเงินเกือบ 12 ล้านดินาร์คูเวต (ราว 1,300 ล้านบาท) เพื่อนำมาใช้สนับสนุนโครงการต่างๆของภาครัฐ
ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม เป็นต้นไป รัฐบาลจะขึ้นบัญชีดำพลเมืองทุกรายที่ยังติดค้างหนี้ และจะให้ศาลเป็นผู้ออกคำสั่งห้ามเดินทางออกนอกประเทศซึ่งจะมีผลบังคับในอีก 90 วันให้หลัง ทั้งนี้ คำสั่งห้ามเดินทางจะถูกยกเลิกทันทีที่บุคคลผู้นั้นจ่ายคืนหนี้ หรือด้วยเหตุผลด้านมนุษยธรรม
อัล-ดูอัยจ์ ระบุว่า คำสั่งห้ามเดินทางเป็นเพียงบทลงโทษขั้นแรก ซึ่งหากไม่ได้ผลก็จะระงับธุรกรรมทางการเงินของลูกหนี้กับทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ส่วนขั้นสุดท้ายคือออกหมายเรียกตัวมาขึ้นศาล และสั่งจำคุกสูงสุด 6 เดือน
ด้านหนังสือพิมพ์ เดลี อัล-ไร รายงานว่า คำสั่งห้ามเดินทางจะบังคับใช้ทั้งกับพลเมืองคูเวต และชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในคูเวต
คูเวตมีประชากรราว 3.7 ล้านคน ซึ่ง 2 ใน 3 เป็นชาวต่างประเทศ
หนังสือพิมพ์ คูเวต ไทม์ส ฉบับวันนี้(29) อ้างถ้อยแถลงของ โมฮัมหมัด อัล-ดูอัยจ์ ประธานสำนักงานบังคับคดีอาญาและความร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งอธิบายว่า นโยบายดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแผนเรียกเก็บค่าธรรมเนียม และค่าปรับคดีอุกฉกรรจ์และความผิดลหุโทษต่างๆ รวมเป็นเงินเกือบ 12 ล้านดินาร์คูเวต (ราว 1,300 ล้านบาท) เพื่อนำมาใช้สนับสนุนโครงการต่างๆของภาครัฐ
ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม เป็นต้นไป รัฐบาลจะขึ้นบัญชีดำพลเมืองทุกรายที่ยังติดค้างหนี้ และจะให้ศาลเป็นผู้ออกคำสั่งห้ามเดินทางออกนอกประเทศซึ่งจะมีผลบังคับในอีก 90 วันให้หลัง ทั้งนี้ คำสั่งห้ามเดินทางจะถูกยกเลิกทันทีที่บุคคลผู้นั้นจ่ายคืนหนี้ หรือด้วยเหตุผลด้านมนุษยธรรม
อัล-ดูอัยจ์ ระบุว่า คำสั่งห้ามเดินทางเป็นเพียงบทลงโทษขั้นแรก ซึ่งหากไม่ได้ผลก็จะระงับธุรกรรมทางการเงินของลูกหนี้กับทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ส่วนขั้นสุดท้ายคือออกหมายเรียกตัวมาขึ้นศาล และสั่งจำคุกสูงสุด 6 เดือน
ด้านหนังสือพิมพ์ เดลี อัล-ไร รายงานว่า คำสั่งห้ามเดินทางจะบังคับใช้ทั้งกับพลเมืองคูเวต และชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในคูเวต
คูเวตมีประชากรราว 3.7 ล้านคน ซึ่ง 2 ใน 3 เป็นชาวต่างประเทศ