(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Kazakhstan wipes blood off the map
By Farangis Najibullah
02/11/2012
เมืองเล็กๆ ไกลโพ้นที่ชื่อ ซานาโอเซน ในคาซัคสถาน คอยกระตุ้นเตือนให้ระลึกถึงภาพเหตุการณ์ยิงสังหารผู้ประท้วง 17 คนในการปราบปรามการนัดหยุดงานของพวกคนงานน้ำมันเมื่อปีที่แล้ว เวลานี้เมื่อวาระครบรอบขวบปีของกรณีนองเลือดคราวนั้นกำลังใกล้เข้ามา ก็มีข้อเสนอจากพวกผู้อาวุโสในท้องถิ่น ให้เปลี่ยนชื่อเมืองนี้เสียใหม่ตามชื่อของนักปรัชญาชื่อดังเมื่อหลายร้อยปีก่อนซึ่งเป็นคนท้องที่นี้ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้กำลังก่อให้เกิดการโต้แย้งกันอย่างตึงเครียดขึ้นมา
เมื่อเอ่ยชื่อ ซานาโอเซน (Zhanaozen) ขึ้นมา ใครๆ ที่เคยตระหนักเคยรับรู้เรื่องราวของเมืองเล็กๆ ที่อยู่ไกลโพ้นของคาซัคสถานแห่งนี้ น่าจะระลึกได้ถึงกรณีนองเลือดซึ่งเกิดขึ้นที่นั่นในปี 2011 มันเป็นฉากเหตุการณ์ที่อัปลักษณ์น่าชิงชัง โดยมีพวกคนงานน้ำมันจัดการนัดหยุดงานเพื่อประท้วงต่อต้านรัฐบาล ครั้นแล้วก็เปลี่ยนไปเป็นความรุนแรง จนนำไปสู่ความตายของผู้คนอย่างน้อยที่สุด 17 คน
เวลานี้ เมื่อวาระครบรอบปีแรกของเหตุการณ์ความไม่สงบในวันที่ 16 ธันวาคมคราวนั้นกำลังเคลื่อนใกล้เข้ามา ชื่อของซานาโอเซนก็เริ่มกลายเป็นข่าวพาดหัวขึ้นมาอีกคำรบหนึ่ง และกระตุ้นให้เกิดการถกเถียงทะเลาะกันอย่างดุเดือดพลุ่งพล่าน ครั้นแล้วก็มีข้อเสนอจากสภาผู้อาวุโส (Council of Elders) ในเขตมันกีสเตา โอบลาสต์ (Manghystau Oblast) ซึ่งเมืองซาโนโอเซนสังกัดอยู่ ขอให้ทางการผู้รับผิดชอบในท้องถิ่นเปลี่ยนชื่อเมืองซานาโอเซนเสียใหม่ โดยให้ไปใช้ชื่อของ เบเคต-อาตา (Beket-Ata) บุคคลในศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นทั้งนักปรัชญานิกายซูฟี (Sufi) และปราชญ์ชื่อดัง และที่สำคัญคือเป็นคนในท้องที่แถบนี้นี่เอง
พวกผู้อาวุโสเหล่านี้ได้ยื่นข้อเสนอดังกล่าว ในระหว่างการพบปะหารือกับ บาอูร์ซาน มูฮาเมดอฟ (Baurzhan Muhamedov) ผู้ว่าราชการจังหวัด ในงานเฉลิมฉลองเทศกาลอีดิลอัฏฮา (Eid al-Adha) ของศาสนาอิสลามเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม และถ้าหากสามารถผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆ ในระบบราชการไปได้จนตลอดรอดฝั่ง ก็จะมีการลบชื่อ ซานาโอเซน ออกจากแผนที่อย่างเป็นทางการ
นูร์บอล เตเลเกนอฟ (Nurbol Telegenov) หัวหน้าส่วนนโยบายภายในของจังหวัด บอกกับ เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี ภาคภาษาคาซัค (RFE/RL's Kazakh Service) ว่า การตัดสินใจขั้นสุดท้ายในเรื่องนี้จะกระทำที่ส่วนกลางในเมืองหลวงอัสตานา
**ประเด็นร้อน**
อย่างไรก็ตาม เตเลเกนอฟชี้ว่า ข้อเสนอนี้ได้กลายเป็นหัวข้อสุดฮอตสำหรับการถกเถียงโต้แย้งกันไปเรียบร้อยแล้ว ถึงแม้เขาจะยืนยันว่า “มันขึ้นอยู่กับประชาชนว่าต้องการที่จะเปลี่ยนชื่อเมืองนี้เสียใหม่หรือเปล่า” เขาย้ำด้วยว่า “หลังจากประชาชนตัดสินใจอย่างหนึ่งอย่างใดแน่นอนแล้ว ทางสำนักงานผู้ว่าราชการที่เป็นหน่วยงานระดับภูมิภาค ก็จะยื่นคำร้องดังกล่าวต่อรัฐบาลกลางในกรุงอัสตานาต่อไป”
เตเลเกนอฟ กล่าวด้วยว่า ทางฝ่ายปกครองของเมืองซานาโอเซน ได้จัดการอภิปรายหารือสาธารณะเพื่อให้ชาวเมืองนี้ได้แสดงความคิดเนมาหลายครั้งแล้ว รวมทั้งการจัดโต้วาทีถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์คาซัคสถาน-อัคเตา (Kazakhstan-Aqtau) ซึ่งเป็นสถานีทีวีส่วนภูมิภาคของทางการ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม
พวกสื่อทางสังคมก็เป็นเครื่องมือที่ชาวคาซัคนิยมใช้กันมากในการแสดงความเห็นเกี่ยวกับข้อเสนอเปลี่ยนชื่อเมืองนี้ มีผู้ใช้เฟซบุ๊กชาวคาซัคบางคนสนับสนุนเรื่องนี้ โดยระบุว่า เบเคต-อาตา เป็นผู้นำทางศาสนานิกายซูฟี และนักปราชญ์ที่มีความสำคัญมาก
ผู้คนในท้องที่เขตมันกีสเตา ต่างยกย่องนับถือเบเคต-อีตา ด้วยการตั้งชื่อมัสยิดสำคัญๆ หลายแห่งในบริเวณนี้ตามชื่อของเขา รวมทั้งมัสยิดออร์ลันดี (Orlandy Mosque)ใต้ดิน แห่งที่สภาผู้อาวุโสพบปะกับผู้ว่าราชการจังหวัดในสัปดาห์ที่ผ่านมา
“เบเคต-อาตา เป็นบุคคลผู้ยิ่งใหญ่” ผู้จดทะเบียนโดยใช้นามว่า “อัลมาติเนตซ์” (Almatinetc) เขียนเช่นนี้ในเฟซบุ๊ก “เขาเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ เป็นนักวิทยาศาสตร์ และเป็นนักคิดผู้ยิ่งใหญ่”
**ลบทิ้งไปจากแผนที่**
แต่ก็มีคนอื่นๆ ที่รู้สึกว่าเรื่องนี้ไม่ชอบมาพากล และแสดงความเห็นว่าจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของข้อเสนอนี้ อาจจะอยู่ที่การลบรอยดำปื้นน่าอับอายออกไปจากหน้าประวัติศาสตร์ของคาซัคสถานมากกว่า ผู้เล่นเฟซบุ๊กที่ใช้นามว่า เออร์เกเนคอน (Ergenekon) เขียนแสดงทัศนะว่า “ซานาโอเซน จะต้องถูกลืมไปให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อมีการเปลี่ยนชื่อเมืองนี้ เวลาใครมาถามหาชื่อเก่า เราก็สามารถบอกว่า “มันอยู่ที่ไหนแน่ๆ นะ เราไม่มีเมืองชื่อนี้ในคาซัคสถานหรอก”
ผู้เล่นเฟซบุ๊กอีกคนหนึ่งซึ่งใช้ชือว่า กอนัก (Qonaq) เสนอความเห็นโดยเปรียบเปรยว่า “มันทำให้ผมหวนนึกไปถึงเด็กคนหนึ่งซึ่งทำคะแนนได้แย่มากในโรงเรียน เขาจึงพยายามทำลายสมุดพกของเขา เพื่อที่เขาจะได้สามารถเริ่มต้นใหม่ด้วยสมุดพกเล่มใหม่”
ทางการคาซัคสถานถูกนานาชาติวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักหน่วง จากเหตุยิงใส่กลุ่มคนงานน้ำมันที่ประท้วง และจากการกวาดจับนักเคลื่อนไหวตลอดจนผู้นำฝ่ายค้านหลังจากนั้น อย่างไรก็ตาม ไซยิน นาซาร์เบค-อูลี (Saiyn Nazarbek-uly) สมาชิกคนหนึ่งของสภาผู้อาวุโสแห่งมันกีสเตา ปฏิเสธไม่ยอมรับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่อข้อเสนอของทางสภา
“คุณปิดปากทุกคนไม่ได้หรอก ไม่ว่าขยับทำอะไรก็ทำให้เกิดข่าวซุบซิบทั้งนั้นแหละ ถ้ามีใครบางคนคัดค้านการตัดสินใจในบางอย่างบางเรื่อง พวกเขาก็จะใช้วิธีแพร่กระจายข่าวซุบซิบ” นาซาร์เบค-อูลี บอก “ไม่ว่าจะตัดสินใจเรื่องอะไรก็ตามที มันยากเหลือเกินที่จะทำให้คนทุกๆ คนต่างก็รู้สึกพออกพอใจ”
**เขียนประวัติศาสตร์กันใหม่กันได้ง่ายๆ เลยหรือ?**
สภาผู้อาวุโสยืนยันว่า ข้อเสนอริเริ่มของตนไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับวาระครบรอบปีของการประท้วงที่ซานาโอเซน ซึ่งกำลังขยับใกล้เข้ามา ผู้อาวุโสเหล่านี้ยืนกรานว่าพวกเขาเพียงแค่ต้องการที่จะยกย่องให้เกียรติคนสำคัญที่มาจากท้องที่นี้ให้เป็นที่จดจำกันตลอดไป ด้วยการตั้งชื่อเมืองๆ หนึ่งตามชื่อของเขา
สำหรับชาวเมืองซานาโอเซน ความทรงจำเกี่ยวกับกรณีนองเลือดในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ตลอดจนความพยายามในการปกปิดข่าวสารที่ติดตามต่อเนื่องมา ยังคงประทับตรึงตาอยู่ในสมอง พวกเขาจำนวนมากจึงยังลังเลที่จะแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยต่อสื่อมวลชน นักศึกษามหาวิทยาลัยคนหนึ่ง ซึ่งกล่าวให้ทัศนะในเงื่อนไขที่ว่าต้องไม่เปิดเผยชื่อของเขา บอกว่าเขามองไม่เห็นเหตุผลใดๆ เลยที่จะเปลี่ยนชื่อเมืองที่เป็นบ้านเกิดของเขาแห่งนี้เสียใหม่ จากชื่อเดิมที่แปลว่า “แม่น้ำใหม่”
“ผมคัดค้านการเปลี่ยนชื่อเมือง คนหนุ่มๆ อื่นๆ อีกมากมายก็มีความเห็นอย่างเดียวกับผม” นักศึกษาผู้นี้กล่าว “ข้อเสนอนี้ออกมาโดยพวกคอยเลียแข้งเลียขาเอาใจพวกเจ้าขุนมูลนายผู้มีอำนาจ”
อย่างไรก็ตาม ถ้าฟังสุ้มเสียงความเห็นจำนวนมากบนสื่อทางสังคมแล้ว ชาวเมืองซานาโอเซนดูเหมือนจะเชื่อว่า ไม่ช้าก็เร็วเจ้าหน้าที่ทั้งหลายในเมืองหลวงอัสตานาก็จะต้องอนุมัติรับรองข้อเสนอนี้ของผู้อาวุโสในท้องถิ่น มีคนจำนวนมากที่บอกว่าสภาผู้อาวุโสแท้ที่จริงเป็นเพียงตรายางคอยประทับรับรองทำตามความต้องการของพวกเจ้าหน้าที่เท่านั้น
กระนั้น ก็มีบางคนอย่างเช่นผู้ใช้เฟซบุ๊กที่ใช้นามว่า ทาเกชิ (Takeshi) ซึ่งกล่าวว่า ถึงแม้มีการเปลี่ยนชื่อเมือง มันก็จะไม่สามารถเขียนประวัติศาสตร์กันใหม่ได้อยู่นั่นเอง
“คุณสามารถตั้งชื่อที่ต่างออกไปจากเดิมให้แก่เมืองๆ หนึ่ง แต่ปัญหาต่างๆ จะยังคงอยู่ที่นั่นเหมือนเดิม ตอนนี้เราสามารถเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นว่าเป็น “เหตุการณ์ที่ซานาโอเซน” แต่ในอนาคตมันก็จะถูกเรียกว่า “เหตุการณ์ที่เบเคต-อาตา” ทาเกชิ เขียนเอาไว้เช่นนี้
“ผมกลัวแต่ว่าท่านเบเคต-อาตาของพวกเราอาจจะกำลังรู้สึกขยะแขยงอยู่ในหลุมศพของท่านอยู่ในตอนนี้นะ ขอให้ท่านได้อยู่อย่างสงบเถิด”
เขียนขึ้นโดยได้ข้อมูลข่าวเพิ่มเติมจาก มัคพัล มูคันคีซี (Makpal Mukankyzy) ผู้สื่อข่าวของ เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี ภาคภาษาคาซัค
(รายงานนี้มาจาก เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี Radio Free Europe/Radio Liberty หรือ RFE/RL)
เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี เป็นกิจการกระจายเสียงที่ได้รับเงินทุนจากรัฐสภาสหรัฐฯ เพื่อเสนอข่าวสารข้อมูลและบทวิเคราะห์ไปยังประเทศต่างๆ ในยุโรปตะวันออก, เอเชียกลาง, และตะวันออกกลาง
Kazakhstan wipes blood off the map
By Farangis Najibullah
02/11/2012
เมืองเล็กๆ ไกลโพ้นที่ชื่อ ซานาโอเซน ในคาซัคสถาน คอยกระตุ้นเตือนให้ระลึกถึงภาพเหตุการณ์ยิงสังหารผู้ประท้วง 17 คนในการปราบปรามการนัดหยุดงานของพวกคนงานน้ำมันเมื่อปีที่แล้ว เวลานี้เมื่อวาระครบรอบขวบปีของกรณีนองเลือดคราวนั้นกำลังใกล้เข้ามา ก็มีข้อเสนอจากพวกผู้อาวุโสในท้องถิ่น ให้เปลี่ยนชื่อเมืองนี้เสียใหม่ตามชื่อของนักปรัชญาชื่อดังเมื่อหลายร้อยปีก่อนซึ่งเป็นคนท้องที่นี้ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้กำลังก่อให้เกิดการโต้แย้งกันอย่างตึงเครียดขึ้นมา
เมื่อเอ่ยชื่อ ซานาโอเซน (Zhanaozen) ขึ้นมา ใครๆ ที่เคยตระหนักเคยรับรู้เรื่องราวของเมืองเล็กๆ ที่อยู่ไกลโพ้นของคาซัคสถานแห่งนี้ น่าจะระลึกได้ถึงกรณีนองเลือดซึ่งเกิดขึ้นที่นั่นในปี 2011 มันเป็นฉากเหตุการณ์ที่อัปลักษณ์น่าชิงชัง โดยมีพวกคนงานน้ำมันจัดการนัดหยุดงานเพื่อประท้วงต่อต้านรัฐบาล ครั้นแล้วก็เปลี่ยนไปเป็นความรุนแรง จนนำไปสู่ความตายของผู้คนอย่างน้อยที่สุด 17 คน
เวลานี้ เมื่อวาระครบรอบปีแรกของเหตุการณ์ความไม่สงบในวันที่ 16 ธันวาคมคราวนั้นกำลังเคลื่อนใกล้เข้ามา ชื่อของซานาโอเซนก็เริ่มกลายเป็นข่าวพาดหัวขึ้นมาอีกคำรบหนึ่ง และกระตุ้นให้เกิดการถกเถียงทะเลาะกันอย่างดุเดือดพลุ่งพล่าน ครั้นแล้วก็มีข้อเสนอจากสภาผู้อาวุโส (Council of Elders) ในเขตมันกีสเตา โอบลาสต์ (Manghystau Oblast) ซึ่งเมืองซาโนโอเซนสังกัดอยู่ ขอให้ทางการผู้รับผิดชอบในท้องถิ่นเปลี่ยนชื่อเมืองซานาโอเซนเสียใหม่ โดยให้ไปใช้ชื่อของ เบเคต-อาตา (Beket-Ata) บุคคลในศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นทั้งนักปรัชญานิกายซูฟี (Sufi) และปราชญ์ชื่อดัง และที่สำคัญคือเป็นคนในท้องที่แถบนี้นี่เอง
พวกผู้อาวุโสเหล่านี้ได้ยื่นข้อเสนอดังกล่าว ในระหว่างการพบปะหารือกับ บาอูร์ซาน มูฮาเมดอฟ (Baurzhan Muhamedov) ผู้ว่าราชการจังหวัด ในงานเฉลิมฉลองเทศกาลอีดิลอัฏฮา (Eid al-Adha) ของศาสนาอิสลามเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม และถ้าหากสามารถผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆ ในระบบราชการไปได้จนตลอดรอดฝั่ง ก็จะมีการลบชื่อ ซานาโอเซน ออกจากแผนที่อย่างเป็นทางการ
นูร์บอล เตเลเกนอฟ (Nurbol Telegenov) หัวหน้าส่วนนโยบายภายในของจังหวัด บอกกับ เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี ภาคภาษาคาซัค (RFE/RL's Kazakh Service) ว่า การตัดสินใจขั้นสุดท้ายในเรื่องนี้จะกระทำที่ส่วนกลางในเมืองหลวงอัสตานา
**ประเด็นร้อน**
อย่างไรก็ตาม เตเลเกนอฟชี้ว่า ข้อเสนอนี้ได้กลายเป็นหัวข้อสุดฮอตสำหรับการถกเถียงโต้แย้งกันไปเรียบร้อยแล้ว ถึงแม้เขาจะยืนยันว่า “มันขึ้นอยู่กับประชาชนว่าต้องการที่จะเปลี่ยนชื่อเมืองนี้เสียใหม่หรือเปล่า” เขาย้ำด้วยว่า “หลังจากประชาชนตัดสินใจอย่างหนึ่งอย่างใดแน่นอนแล้ว ทางสำนักงานผู้ว่าราชการที่เป็นหน่วยงานระดับภูมิภาค ก็จะยื่นคำร้องดังกล่าวต่อรัฐบาลกลางในกรุงอัสตานาต่อไป”
เตเลเกนอฟ กล่าวด้วยว่า ทางฝ่ายปกครองของเมืองซานาโอเซน ได้จัดการอภิปรายหารือสาธารณะเพื่อให้ชาวเมืองนี้ได้แสดงความคิดเนมาหลายครั้งแล้ว รวมทั้งการจัดโต้วาทีถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์คาซัคสถาน-อัคเตา (Kazakhstan-Aqtau) ซึ่งเป็นสถานีทีวีส่วนภูมิภาคของทางการ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม
พวกสื่อทางสังคมก็เป็นเครื่องมือที่ชาวคาซัคนิยมใช้กันมากในการแสดงความเห็นเกี่ยวกับข้อเสนอเปลี่ยนชื่อเมืองนี้ มีผู้ใช้เฟซบุ๊กชาวคาซัคบางคนสนับสนุนเรื่องนี้ โดยระบุว่า เบเคต-อาตา เป็นผู้นำทางศาสนานิกายซูฟี และนักปราชญ์ที่มีความสำคัญมาก
ผู้คนในท้องที่เขตมันกีสเตา ต่างยกย่องนับถือเบเคต-อีตา ด้วยการตั้งชื่อมัสยิดสำคัญๆ หลายแห่งในบริเวณนี้ตามชื่อของเขา รวมทั้งมัสยิดออร์ลันดี (Orlandy Mosque)ใต้ดิน แห่งที่สภาผู้อาวุโสพบปะกับผู้ว่าราชการจังหวัดในสัปดาห์ที่ผ่านมา
“เบเคต-อาตา เป็นบุคคลผู้ยิ่งใหญ่” ผู้จดทะเบียนโดยใช้นามว่า “อัลมาติเนตซ์” (Almatinetc) เขียนเช่นนี้ในเฟซบุ๊ก “เขาเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ เป็นนักวิทยาศาสตร์ และเป็นนักคิดผู้ยิ่งใหญ่”
**ลบทิ้งไปจากแผนที่**
แต่ก็มีคนอื่นๆ ที่รู้สึกว่าเรื่องนี้ไม่ชอบมาพากล และแสดงความเห็นว่าจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของข้อเสนอนี้ อาจจะอยู่ที่การลบรอยดำปื้นน่าอับอายออกไปจากหน้าประวัติศาสตร์ของคาซัคสถานมากกว่า ผู้เล่นเฟซบุ๊กที่ใช้นามว่า เออร์เกเนคอน (Ergenekon) เขียนแสดงทัศนะว่า “ซานาโอเซน จะต้องถูกลืมไปให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อมีการเปลี่ยนชื่อเมืองนี้ เวลาใครมาถามหาชื่อเก่า เราก็สามารถบอกว่า “มันอยู่ที่ไหนแน่ๆ นะ เราไม่มีเมืองชื่อนี้ในคาซัคสถานหรอก”
ผู้เล่นเฟซบุ๊กอีกคนหนึ่งซึ่งใช้ชือว่า กอนัก (Qonaq) เสนอความเห็นโดยเปรียบเปรยว่า “มันทำให้ผมหวนนึกไปถึงเด็กคนหนึ่งซึ่งทำคะแนนได้แย่มากในโรงเรียน เขาจึงพยายามทำลายสมุดพกของเขา เพื่อที่เขาจะได้สามารถเริ่มต้นใหม่ด้วยสมุดพกเล่มใหม่”
ทางการคาซัคสถานถูกนานาชาติวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักหน่วง จากเหตุยิงใส่กลุ่มคนงานน้ำมันที่ประท้วง และจากการกวาดจับนักเคลื่อนไหวตลอดจนผู้นำฝ่ายค้านหลังจากนั้น อย่างไรก็ตาม ไซยิน นาซาร์เบค-อูลี (Saiyn Nazarbek-uly) สมาชิกคนหนึ่งของสภาผู้อาวุโสแห่งมันกีสเตา ปฏิเสธไม่ยอมรับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่อข้อเสนอของทางสภา
“คุณปิดปากทุกคนไม่ได้หรอก ไม่ว่าขยับทำอะไรก็ทำให้เกิดข่าวซุบซิบทั้งนั้นแหละ ถ้ามีใครบางคนคัดค้านการตัดสินใจในบางอย่างบางเรื่อง พวกเขาก็จะใช้วิธีแพร่กระจายข่าวซุบซิบ” นาซาร์เบค-อูลี บอก “ไม่ว่าจะตัดสินใจเรื่องอะไรก็ตามที มันยากเหลือเกินที่จะทำให้คนทุกๆ คนต่างก็รู้สึกพออกพอใจ”
**เขียนประวัติศาสตร์กันใหม่กันได้ง่ายๆ เลยหรือ?**
สภาผู้อาวุโสยืนยันว่า ข้อเสนอริเริ่มของตนไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับวาระครบรอบปีของการประท้วงที่ซานาโอเซน ซึ่งกำลังขยับใกล้เข้ามา ผู้อาวุโสเหล่านี้ยืนกรานว่าพวกเขาเพียงแค่ต้องการที่จะยกย่องให้เกียรติคนสำคัญที่มาจากท้องที่นี้ให้เป็นที่จดจำกันตลอดไป ด้วยการตั้งชื่อเมืองๆ หนึ่งตามชื่อของเขา
สำหรับชาวเมืองซานาโอเซน ความทรงจำเกี่ยวกับกรณีนองเลือดในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ตลอดจนความพยายามในการปกปิดข่าวสารที่ติดตามต่อเนื่องมา ยังคงประทับตรึงตาอยู่ในสมอง พวกเขาจำนวนมากจึงยังลังเลที่จะแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยต่อสื่อมวลชน นักศึกษามหาวิทยาลัยคนหนึ่ง ซึ่งกล่าวให้ทัศนะในเงื่อนไขที่ว่าต้องไม่เปิดเผยชื่อของเขา บอกว่าเขามองไม่เห็นเหตุผลใดๆ เลยที่จะเปลี่ยนชื่อเมืองที่เป็นบ้านเกิดของเขาแห่งนี้เสียใหม่ จากชื่อเดิมที่แปลว่า “แม่น้ำใหม่”
“ผมคัดค้านการเปลี่ยนชื่อเมือง คนหนุ่มๆ อื่นๆ อีกมากมายก็มีความเห็นอย่างเดียวกับผม” นักศึกษาผู้นี้กล่าว “ข้อเสนอนี้ออกมาโดยพวกคอยเลียแข้งเลียขาเอาใจพวกเจ้าขุนมูลนายผู้มีอำนาจ”
อย่างไรก็ตาม ถ้าฟังสุ้มเสียงความเห็นจำนวนมากบนสื่อทางสังคมแล้ว ชาวเมืองซานาโอเซนดูเหมือนจะเชื่อว่า ไม่ช้าก็เร็วเจ้าหน้าที่ทั้งหลายในเมืองหลวงอัสตานาก็จะต้องอนุมัติรับรองข้อเสนอนี้ของผู้อาวุโสในท้องถิ่น มีคนจำนวนมากที่บอกว่าสภาผู้อาวุโสแท้ที่จริงเป็นเพียงตรายางคอยประทับรับรองทำตามความต้องการของพวกเจ้าหน้าที่เท่านั้น
กระนั้น ก็มีบางคนอย่างเช่นผู้ใช้เฟซบุ๊กที่ใช้นามว่า ทาเกชิ (Takeshi) ซึ่งกล่าวว่า ถึงแม้มีการเปลี่ยนชื่อเมือง มันก็จะไม่สามารถเขียนประวัติศาสตร์กันใหม่ได้อยู่นั่นเอง
“คุณสามารถตั้งชื่อที่ต่างออกไปจากเดิมให้แก่เมืองๆ หนึ่ง แต่ปัญหาต่างๆ จะยังคงอยู่ที่นั่นเหมือนเดิม ตอนนี้เราสามารถเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นว่าเป็น “เหตุการณ์ที่ซานาโอเซน” แต่ในอนาคตมันก็จะถูกเรียกว่า “เหตุการณ์ที่เบเคต-อาตา” ทาเกชิ เขียนเอาไว้เช่นนี้
“ผมกลัวแต่ว่าท่านเบเคต-อาตาของพวกเราอาจจะกำลังรู้สึกขยะแขยงอยู่ในหลุมศพของท่านอยู่ในตอนนี้นะ ขอให้ท่านได้อยู่อย่างสงบเถิด”
เขียนขึ้นโดยได้ข้อมูลข่าวเพิ่มเติมจาก มัคพัล มูคันคีซี (Makpal Mukankyzy) ผู้สื่อข่าวของ เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี ภาคภาษาคาซัค
(รายงานนี้มาจาก เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี Radio Free Europe/Radio Liberty หรือ RFE/RL)
เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี เป็นกิจการกระจายเสียงที่ได้รับเงินทุนจากรัฐสภาสหรัฐฯ เพื่อเสนอข่าวสารข้อมูลและบทวิเคราะห์ไปยังประเทศต่างๆ ในยุโรปตะวันออก, เอเชียกลาง, และตะวันออกกลาง