ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ - การตัดสินใจของนายวิลลาร์ด มิตต์ รอมนีย์ อดีตผู้ว่าการมลรัฐแมสซาชูเซ็ตต์ส วัย 65 ปี เมื่อวันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันที่ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ 2012 จากฟากฝั่งของพรรครีพับลิกันรายนี้ ประกาศเปิดตัว “พอล เดวิส ไรอัน” ในฐานะของการเป็น “Running mate” หรือผู้สมัครชิงตำแหน่ง “รองประธานาธิบดี” เมืองลุงแซม ถือเป็นการตัดสินใจที่สร้างความฮือฮาไม่น้อย
ก่อนหน้านี้รายงานข่าวของสื่อมวลชนหลายสำนักในสหรัฐฯ เคยมีการพูดถึงรายชื่อของบุคคลสำคัญหลายรายที่อาจถูกเลือกเป็น “คู่หู” ของรอมนีย์ในการต่อกรกับประธานาธิบดีบารัค โอบามา และรองประธานาธิบดีโจ ไบเดน จากพรรคเดโมแครตในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันที่ 6 พฤศจิกายนนี้ โดยหนึ่งในนั้นมีชื่อของ “หญิงเก่ง” อย่าง ดร.คอนโดลีซซา ไรซ์ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศหญิงเชื้อสายแอฟริกัน-อเมริกันรายแรกในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ รวมอยู่ด้วย
อย่างไรก็ดี การตัดสินใจของรอมนีย์ที่เลือกพอล ไรอัน นักการเมืองหนุ่มไฟแรง แถมหน้าตายังอยู่ในเกณฑ์ดี วัย 42 ปี จากมลรัฐวิสคอนซินถือเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก แม้กระแสข่าววงในของพรรค “ตราช้าง” หรือพรรครีพับลิกันจะระบุว่า ไรอัน คือ “ตัวจริงเสียงจริง” ที่รอมนีย์ต้องการเลือกมาเป็นรองประธานาธิบดีของเขามาสักพักหนึ่งแล้วนับตั้งแต่ที่รอมนีย์กลับจากการเดินทางทัวร์สหราชอาณาจักร โปแลนด์ และอิสราเอล เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา
ผลสำรวจความคิดเห็นของ “ยูเอสเอ ทูเดย์/แกลลัป” หลังการประกาศเปิดตัวไรอัน เป็นคู่ชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีของรอมนีย์ พบว่า 39 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าไรอัน เป็น “ตัวเลือกที่ยอดเยี่ยม” ส่วนอีก 42 เปอร์เซ็นต์มีความเห็นที่ค่อนข้างไปในทิศทางตรงกันข้าม
นักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์การเมืองอเมริกันจากหลายสำนักระบุว่า สาเหตุที่มีคน “ชื่นชอบ” และ “ชิงชัง” ไรอันในสัดส่วนที่มากพอๆ กัน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนักการเมืองหนุ่มจากเมืองเจนสวิลล์ มลรัฐวิสคอนซินรายนี้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีจุดยืนและแนวคิดทางการเมืองที่เป็นอนุรักษนิยมในระดับที่ “เข้มข้นที่สุด” ของพรรครีพับลิกัน ที่ถูกเลือกมาเป็นผู้ชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1900 เป็นต้นมา ซึ่งแน่นอนว่าจุดยืนของเขาย่อมโดนใจชาวอเมริกันจำนวนไม่น้อยที่เป็นพวกอนุรักษนิยม แต่ในอีกมุมหนึ่งไรอันก็ย่อมถูกมองว่าเป็น “ศัตรูตัวเอ้” ของพวกที่เทิดทูนลัทธิเสรีนิยมในสหรัฐฯ ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยเช่นกัน
ไรอันซึ่งถูกขนานนามว่าเป็นสถาปนิกแห่งการจัดทำงบประมาณแบบ “อนุรักษนิยมที่มีความสมดุล” และเป็นหนึ่งในผู้คัดค้านแถวหน้าต่อการใช้จ่ายแบบไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาลโอบามา ยังได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในนักการเมืองอเมริกันที่มีจุดยืนต่อต้านการทำแท้งอย่างรุนแรง และยังคัดค้านอย่างหัวชนฝาต่อการแต่งงานของคน “เพศเดียวกัน” นอกจากนั้น ไรอันยังประกาศตัวว่าเขาสนับสนุนสิทธิในการครอบครองอาวุธปืนของคนอเมริกันอย่างเต็มที่ เพื่อปกป้องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินอีกด้วย
หลายฝ่ายลงความเห็นว่า การที่รอมนีย์เลือกไรอันมาเป็น “บัดดี้” ลงชิงชัยในช่วงปลายปีนี้ ส่วนหนึ่งก็เพื่อช่วยกลบ “จุดด้อย” ของรอมนีย์เกี่ยวกับเงื่อนงำเรื่องการคืนภาษี ในสมัยที่รอมนีย์ยังโลดแล่นอยูในแวดวงการเงินวอลล์สตรีท แถมยังจะช่วยให้รอมนีย์สามารถ “เปิดแผล” ของประธานาธิบดีโอบามาและพรรคเดโมแครตต่อความล้มเหลวในการลดจำนวนผู้ว่างงาน และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้อย่างถนัดถนี่มากยิ่งขึ้น
ประเด็นสำคัญอีกอย่างที่หลายฝ่ายพูดถึง คือ ความอ่อนด้อยประสบการณ์ด้านการต่างประเทศของไรอันซึ่งพรรคเดโมแครตฉวยโอกาสหยิบมาโจมตีว่าเขาไม่คู่ควรจะมาเป็นรองประธานาธิบดี ทั้งที่จะว่าไปแล้ว ไรอันซึ่งเติบโตมาในสายของการเมือง กฎหมายและงบประมาณมาโดยตลอดก็ดูจะมีประสบการณ์ในเรื่องต่างประเทศอยู่พอตัวทีเดียว เพราะจากสถิติของสภาคองเกรสสหรัฐฯ พบว่า ไรอันเคยเป็นตัวตั้งตัวตีในการเสนอร่างกฎหมายเกี่ยวกับประเด็นด้านกิจการต่างประเทศด้วยตัวเองถึง 8 ฉบับ และร่วมสนับสนุนกฎหมายที่เกี่ยวข้องอีก 74 ฉบับ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับทั้งอิสราเอล อิหร่าน อิรัก ญี่ปุ่น อาร์เมเนีย และองค์การสหประชาชาติ รวมถึงร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของกองทัพสหรัฐฯในต่างแดน ซึ่งอาจพอจะช่วยหักล้างข้อกล่าวหาของฝั่งเดโมแครตในเรื่องความไร้ประสบการณ์ของเขาในด้านกิจการระหว่างประเทศลงได้พอสมควร
ผู้สันทัดกรณีบางรายถึงกับให้ความเห็นว่า หากจะวัดกันแบบ “ตัวต่อตัว” หรือ “หมัดต่อหมัด” แล้ว ไรอันดูจะมีภาษีโดดเด่นกว่า และน่าจะได้ใจชาวอเมริกันมากกว่าตัวรองประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของพรรคเดโมแครตเสียอีก แต่การที่ มิตต์ รอมนีย์ จะชนะศึกชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้หรือไม่นั้น ลำเพียงการเลือกไรอันมาเป็นคู่หู คงมิอาจช่วยให้รอมนีย์ก้าวไปถึงฝั่งฝันได้ เพราะหากรอมนีย์ต้องการโค่นประธานาธิบดีโอบามา และก้าวขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีคนที่ 45 ของสหรัฐฯ เขาคงต้องเร่งทำคะแนนเอาชนะใจชาวอเมริกันให้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ในช่วงระยะเวลาที่เหลือไม่กี่เดือนนับจากนี้
ก่อนหน้านี้รายงานข่าวของสื่อมวลชนหลายสำนักในสหรัฐฯ เคยมีการพูดถึงรายชื่อของบุคคลสำคัญหลายรายที่อาจถูกเลือกเป็น “คู่หู” ของรอมนีย์ในการต่อกรกับประธานาธิบดีบารัค โอบามา และรองประธานาธิบดีโจ ไบเดน จากพรรคเดโมแครตในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันที่ 6 พฤศจิกายนนี้ โดยหนึ่งในนั้นมีชื่อของ “หญิงเก่ง” อย่าง ดร.คอนโดลีซซา ไรซ์ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศหญิงเชื้อสายแอฟริกัน-อเมริกันรายแรกในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ รวมอยู่ด้วย
อย่างไรก็ดี การตัดสินใจของรอมนีย์ที่เลือกพอล ไรอัน นักการเมืองหนุ่มไฟแรง แถมหน้าตายังอยู่ในเกณฑ์ดี วัย 42 ปี จากมลรัฐวิสคอนซินถือเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก แม้กระแสข่าววงในของพรรค “ตราช้าง” หรือพรรครีพับลิกันจะระบุว่า ไรอัน คือ “ตัวจริงเสียงจริง” ที่รอมนีย์ต้องการเลือกมาเป็นรองประธานาธิบดีของเขามาสักพักหนึ่งแล้วนับตั้งแต่ที่รอมนีย์กลับจากการเดินทางทัวร์สหราชอาณาจักร โปแลนด์ และอิสราเอล เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา
ผลสำรวจความคิดเห็นของ “ยูเอสเอ ทูเดย์/แกลลัป” หลังการประกาศเปิดตัวไรอัน เป็นคู่ชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีของรอมนีย์ พบว่า 39 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าไรอัน เป็น “ตัวเลือกที่ยอดเยี่ยม” ส่วนอีก 42 เปอร์เซ็นต์มีความเห็นที่ค่อนข้างไปในทิศทางตรงกันข้าม
นักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์การเมืองอเมริกันจากหลายสำนักระบุว่า สาเหตุที่มีคน “ชื่นชอบ” และ “ชิงชัง” ไรอันในสัดส่วนที่มากพอๆ กัน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนักการเมืองหนุ่มจากเมืองเจนสวิลล์ มลรัฐวิสคอนซินรายนี้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีจุดยืนและแนวคิดทางการเมืองที่เป็นอนุรักษนิยมในระดับที่ “เข้มข้นที่สุด” ของพรรครีพับลิกัน ที่ถูกเลือกมาเป็นผู้ชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1900 เป็นต้นมา ซึ่งแน่นอนว่าจุดยืนของเขาย่อมโดนใจชาวอเมริกันจำนวนไม่น้อยที่เป็นพวกอนุรักษนิยม แต่ในอีกมุมหนึ่งไรอันก็ย่อมถูกมองว่าเป็น “ศัตรูตัวเอ้” ของพวกที่เทิดทูนลัทธิเสรีนิยมในสหรัฐฯ ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยเช่นกัน
ไรอันซึ่งถูกขนานนามว่าเป็นสถาปนิกแห่งการจัดทำงบประมาณแบบ “อนุรักษนิยมที่มีความสมดุล” และเป็นหนึ่งในผู้คัดค้านแถวหน้าต่อการใช้จ่ายแบบไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาลโอบามา ยังได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในนักการเมืองอเมริกันที่มีจุดยืนต่อต้านการทำแท้งอย่างรุนแรง และยังคัดค้านอย่างหัวชนฝาต่อการแต่งงานของคน “เพศเดียวกัน” นอกจากนั้น ไรอันยังประกาศตัวว่าเขาสนับสนุนสิทธิในการครอบครองอาวุธปืนของคนอเมริกันอย่างเต็มที่ เพื่อปกป้องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินอีกด้วย
หลายฝ่ายลงความเห็นว่า การที่รอมนีย์เลือกไรอันมาเป็น “บัดดี้” ลงชิงชัยในช่วงปลายปีนี้ ส่วนหนึ่งก็เพื่อช่วยกลบ “จุดด้อย” ของรอมนีย์เกี่ยวกับเงื่อนงำเรื่องการคืนภาษี ในสมัยที่รอมนีย์ยังโลดแล่นอยูในแวดวงการเงินวอลล์สตรีท แถมยังจะช่วยให้รอมนีย์สามารถ “เปิดแผล” ของประธานาธิบดีโอบามาและพรรคเดโมแครตต่อความล้มเหลวในการลดจำนวนผู้ว่างงาน และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้อย่างถนัดถนี่มากยิ่งขึ้น
ประเด็นสำคัญอีกอย่างที่หลายฝ่ายพูดถึง คือ ความอ่อนด้อยประสบการณ์ด้านการต่างประเทศของไรอันซึ่งพรรคเดโมแครตฉวยโอกาสหยิบมาโจมตีว่าเขาไม่คู่ควรจะมาเป็นรองประธานาธิบดี ทั้งที่จะว่าไปแล้ว ไรอันซึ่งเติบโตมาในสายของการเมือง กฎหมายและงบประมาณมาโดยตลอดก็ดูจะมีประสบการณ์ในเรื่องต่างประเทศอยู่พอตัวทีเดียว เพราะจากสถิติของสภาคองเกรสสหรัฐฯ พบว่า ไรอันเคยเป็นตัวตั้งตัวตีในการเสนอร่างกฎหมายเกี่ยวกับประเด็นด้านกิจการต่างประเทศด้วยตัวเองถึง 8 ฉบับ และร่วมสนับสนุนกฎหมายที่เกี่ยวข้องอีก 74 ฉบับ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับทั้งอิสราเอล อิหร่าน อิรัก ญี่ปุ่น อาร์เมเนีย และองค์การสหประชาชาติ รวมถึงร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของกองทัพสหรัฐฯในต่างแดน ซึ่งอาจพอจะช่วยหักล้างข้อกล่าวหาของฝั่งเดโมแครตในเรื่องความไร้ประสบการณ์ของเขาในด้านกิจการระหว่างประเทศลงได้พอสมควร
ผู้สันทัดกรณีบางรายถึงกับให้ความเห็นว่า หากจะวัดกันแบบ “ตัวต่อตัว” หรือ “หมัดต่อหมัด” แล้ว ไรอันดูจะมีภาษีโดดเด่นกว่า และน่าจะได้ใจชาวอเมริกันมากกว่าตัวรองประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของพรรคเดโมแครตเสียอีก แต่การที่ มิตต์ รอมนีย์ จะชนะศึกชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้หรือไม่นั้น ลำเพียงการเลือกไรอันมาเป็นคู่หู คงมิอาจช่วยให้รอมนีย์ก้าวไปถึงฝั่งฝันได้ เพราะหากรอมนีย์ต้องการโค่นประธานาธิบดีโอบามา และก้าวขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีคนที่ 45 ของสหรัฐฯ เขาคงต้องเร่งทำคะแนนเอาชนะใจชาวอเมริกันให้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ในช่วงระยะเวลาที่เหลือไม่กี่เดือนนับจากนี้