เอเอฟพี - งานวิจัยระบุชาติในเอเชียเสี่ยงที่จะเสียหายทางเศรษฐกิจหนักที่สุด จากแผ่นดินไหว น้ำท่วม พายุ และภัยธรรมชาติอื่นๆ โดยมีถึง 6 ประเทศติดท็อปเทน นำโดยบังคลาเทศ ฟิลิปปินส์ และพม่า
ในการประเมินสถานการณ์ความเสี่ยงของ 197 ประเทศ เมเปิลครอฟต์ บริษัทที่ปรึกษาด้านความเสี่ยงของอังกฤษ ระบุว่า บรรดา 10 ประเทศซึ่งระบบเศรษฐกิจมีความเสี่ยงได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติธรรมชาติมากที่สุดนั้น มีชาติเอเชียติดกลุ่มอยู่ถึง 6 ชาติ
ประเทศจ่าฝูงในตารางนี้ คือชาติเอเชียอย่าง บังกลาเทศ แล้วตามด้วยฟิลิปปินส์ จากนั้นจึงมีประเทศแถบทะเลแคริบเบียนมาคั่น ได้แก่ สาธารณรัฐโดมินิกัน แล้วอันดับ 4 ก็เป็นชาติเอเชียอย่าง พม่า
ส่วนประเทศอื่นๆ ที่เหลือใน 10 อันดับแรก ได้แก่ อินเดีย เวียดนาม ฮอนดูรัส ลาว เฮติ และนิคารากัว
“แผนที่ความเสี่ยงจากภัยพิบัติธรรมชาติ” ของเมเปิลครอฟต์นี้ จัดทำขึ้นโดยอิงอาศัยการศึกษาในแง่ที่ว่า ภัยพิบัติธรรมชาติจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของแต่ละประเทศอย่างไร รวมทั้งพิจารณาไปถึงปัจจัยด้านความพร้อมในการรับมือเหตุการณ์ภัยพิบัติเหล่านี้ ตลอดจนความสามารถในการฟื้นตัวของสังคมนั้นๆ
เมเปิลครอฟต์อธิบายว่า หากโครงสร้างพื้นฐานและหลักธรรมาภิบาลของประเทศใดอ่อนแอ ผลกระทบทางเศรษฐกิจก็จะสูงมาก
รายงานนี้เป็นการตอกย้ำอธิบายว่า ทำไมเศรษฐกิจฟิลิปปินส์จึงได้ผลกระทบหนัก หลังจากเกิดพายุ ดินถล่ม ภูเขาไฟระเบิด และน้ำท่วม รวมถึงอุทกภัยร้ายแรงที่เกิดขึ้นบนเกาะลูซอนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
นอกจากนั้น ยังมีการตั้งข้อสังเกตว่า ความแห้งแล้งในอินเดีย มีแนวโน้มว่าจะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ปีนี้หดหายไป 0.5% ทีเดียว
หลักเกณฑ์อื่นๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความเสียหายโดยสัมบูรณ์จากภัยธรรมชาติ ซึ่งหมายถึงค่าใช้จ่ายโดยรวมทั้งหมดจากภัยพิบัติ หลักเกณฑ์นี้แตกต่างจาก ความเสียหายโดยสัมพัทธ์จากภัยธรรมชาติ ที่หมายถึงความเจ็บปวดในทางเศรษฐกิจจากภัยพิบัติ
หากดูจากหลักเกณฑ์เรื่อง ความเสียหายโดยสัมบูรณ์จากภัยธรรมชาติแล้ว เมเปิลครอฟต์บอกว่า ประเทศที่ที่มีค่าใช้จ่ายสูงสุดเมื่อเกิดภัยพิบัติธรรมชาติ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ จีน ไต้หวัน และเม็กซิโก
อย่างไรก็ตาม ประเทศเหล่านี้มีทรัพยากรและสถาบันที่เข้มแข็งในการรับมือ จึงสามารถจำกัดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจของพวกตน
เฮเลน ฮอดจ์ นักวิเคราะห์ของเมเปิลครอฟต์ ชี้ว่า จากการที่ประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ กำลังมีอิทธิพลเพิ่มมากขึ้นในโลก ทำให้ความสามารถในการเผชิญภัยพิบัติธรรมชาติของพวกเขามีความสำคัญและมีผลกระทบต่อทั่วโลกเพิ่มมากขึ้นและลึกซึ้งขึ้น
เธอชี้ว่า การสร้างศักยภาพที่เข้มแข็งยิ่งขึ้นในการรับมือกับการท้าทายทางสิ่งแวดล้อมซึ่งเกิดขึ้นอยู่เสมอนั้น กำลังกลายเป็นบททดสอบสำหรับพวกประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา โดยถ้าหากพวกเขาล้มเหลวไม่อาจเพิ่มศักยภาพในเรื่องนี้ ก็จะทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของพวกเขาตกอยู่ในความเสี่ยง เมื่อเกิดภัยพิบัติรรมชาติขึ้นมา
ทั้งนี้ จากข้อมูลของมิวนิก รี บริษัทรับประกันภัยต่อรายยักษ์ ปี 2011 เป็นปีที่ภัยพิบัติธรรมชาติสร้างความเสียหายมากที่สุด โดยทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจถึง 380,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่ง 55% ของตัวเลขนี้เป็นผลจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิในญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 11 มีนาคมปีที่แล้ว
ในการประเมินสถานการณ์ความเสี่ยงของ 197 ประเทศ เมเปิลครอฟต์ บริษัทที่ปรึกษาด้านความเสี่ยงของอังกฤษ ระบุว่า บรรดา 10 ประเทศซึ่งระบบเศรษฐกิจมีความเสี่ยงได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติธรรมชาติมากที่สุดนั้น มีชาติเอเชียติดกลุ่มอยู่ถึง 6 ชาติ
ประเทศจ่าฝูงในตารางนี้ คือชาติเอเชียอย่าง บังกลาเทศ แล้วตามด้วยฟิลิปปินส์ จากนั้นจึงมีประเทศแถบทะเลแคริบเบียนมาคั่น ได้แก่ สาธารณรัฐโดมินิกัน แล้วอันดับ 4 ก็เป็นชาติเอเชียอย่าง พม่า
ส่วนประเทศอื่นๆ ที่เหลือใน 10 อันดับแรก ได้แก่ อินเดีย เวียดนาม ฮอนดูรัส ลาว เฮติ และนิคารากัว
“แผนที่ความเสี่ยงจากภัยพิบัติธรรมชาติ” ของเมเปิลครอฟต์นี้ จัดทำขึ้นโดยอิงอาศัยการศึกษาในแง่ที่ว่า ภัยพิบัติธรรมชาติจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของแต่ละประเทศอย่างไร รวมทั้งพิจารณาไปถึงปัจจัยด้านความพร้อมในการรับมือเหตุการณ์ภัยพิบัติเหล่านี้ ตลอดจนความสามารถในการฟื้นตัวของสังคมนั้นๆ
เมเปิลครอฟต์อธิบายว่า หากโครงสร้างพื้นฐานและหลักธรรมาภิบาลของประเทศใดอ่อนแอ ผลกระทบทางเศรษฐกิจก็จะสูงมาก
รายงานนี้เป็นการตอกย้ำอธิบายว่า ทำไมเศรษฐกิจฟิลิปปินส์จึงได้ผลกระทบหนัก หลังจากเกิดพายุ ดินถล่ม ภูเขาไฟระเบิด และน้ำท่วม รวมถึงอุทกภัยร้ายแรงที่เกิดขึ้นบนเกาะลูซอนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
นอกจากนั้น ยังมีการตั้งข้อสังเกตว่า ความแห้งแล้งในอินเดีย มีแนวโน้มว่าจะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ปีนี้หดหายไป 0.5% ทีเดียว
หลักเกณฑ์อื่นๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความเสียหายโดยสัมบูรณ์จากภัยธรรมชาติ ซึ่งหมายถึงค่าใช้จ่ายโดยรวมทั้งหมดจากภัยพิบัติ หลักเกณฑ์นี้แตกต่างจาก ความเสียหายโดยสัมพัทธ์จากภัยธรรมชาติ ที่หมายถึงความเจ็บปวดในทางเศรษฐกิจจากภัยพิบัติ
หากดูจากหลักเกณฑ์เรื่อง ความเสียหายโดยสัมบูรณ์จากภัยธรรมชาติแล้ว เมเปิลครอฟต์บอกว่า ประเทศที่ที่มีค่าใช้จ่ายสูงสุดเมื่อเกิดภัยพิบัติธรรมชาติ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ จีน ไต้หวัน และเม็กซิโก
อย่างไรก็ตาม ประเทศเหล่านี้มีทรัพยากรและสถาบันที่เข้มแข็งในการรับมือ จึงสามารถจำกัดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจของพวกตน
เฮเลน ฮอดจ์ นักวิเคราะห์ของเมเปิลครอฟต์ ชี้ว่า จากการที่ประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ กำลังมีอิทธิพลเพิ่มมากขึ้นในโลก ทำให้ความสามารถในการเผชิญภัยพิบัติธรรมชาติของพวกเขามีความสำคัญและมีผลกระทบต่อทั่วโลกเพิ่มมากขึ้นและลึกซึ้งขึ้น
เธอชี้ว่า การสร้างศักยภาพที่เข้มแข็งยิ่งขึ้นในการรับมือกับการท้าทายทางสิ่งแวดล้อมซึ่งเกิดขึ้นอยู่เสมอนั้น กำลังกลายเป็นบททดสอบสำหรับพวกประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา โดยถ้าหากพวกเขาล้มเหลวไม่อาจเพิ่มศักยภาพในเรื่องนี้ ก็จะทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของพวกเขาตกอยู่ในความเสี่ยง เมื่อเกิดภัยพิบัติรรมชาติขึ้นมา
ทั้งนี้ จากข้อมูลของมิวนิก รี บริษัทรับประกันภัยต่อรายยักษ์ ปี 2011 เป็นปีที่ภัยพิบัติธรรมชาติสร้างความเสียหายมากที่สุด โดยทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจถึง 380,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่ง 55% ของตัวเลขนี้เป็นผลจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิในญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 11 มีนาคมปีที่แล้ว