(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Temple tantrum in Cambodia
By Julie Masis
16/03/2012
กองทุนทางศาสนาแห่งหนึ่งของอินเดียประกาศ จะก็อปปี้นครวัดอันมีชื่อเสียงโด่งดังของกัมพูชา ไปสร้างขึ้นที่ริมแม่น้ำคงคาของแดนภารตะ โดยระบุว่าเนื่องจากชื่นชมโบราณสถานที่สร้างขึ้นตั้งแต่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 12 แห่งนี้เป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม คำยกยอนี้ไม่ได้เป็นที่ยินดีปรีดาของชาวกัมพูชาหรือของรัฐบาลในกรุงพนมเปญแต่อย่างใด ท่ามกลางความหวาดวิตกว่านครวัดของพวกเขาจะต้องสูญเสียความโดดเด่นอันเป็นเอกไป รวมทั้งพวกนักท่องเที่ยวทั้งหลายก็อาจหันไปหลงเสน่ห์ “นครวัด” แห่งใหม่ที่จะสร้างขึ้นด้วยคอนกรีตและหินแกรนิต
พนมเปญ – ถ้าหาก กองทุนมหาวีร์ มันทิร์ ทรัสต์ (Mahavir Mandir Trust) องค์การศาสนาซึ่งตั้งฐานอยู่ในอินเดีย สามารถดำเนินการตามโครงการของพวกเขาได้สำเร็จแล้ว สิ่งปลูกสร้างขนาดมหึมาที่ลอกเลียนแบบโบราณสถานนครวัดของกัมพูชา ก็จะตั้งตระหง่านอย่างสง่างามอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคงคาของอินเดีย อย่างไรก็ตาม โบราณสถานจำลองแห่งนี้ ซึ่งกองทุนเจ้าของโครงการแสดงความมุ่งมั่นศรัทธาที่จะทำให้กลายเป็นวัดฮินดูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก จะต้องปรากฏขึ้นมาท่ามกลางเสียงร้องเรียนคัดค้านจากทางการกัมพูชา ตลอดจนเป็นการทำร้ายความรู้สึกของประชาชนชาวกัมพูชาจำนวนมาก
เมื่อวันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมา ได้มีการจัดพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์เพื่อชำระที่ดินในรัฐพิหาร (Bihar) ของอินเดีย ผืนที่จะใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างโบราณสถานจำลอง ให้มีความบริสุทธิ์ไร้มลทิน โดยที่การก่อสร้างมีกำหนดจะเริ่มต้นขึ้นในเดือนเมษายนนี้ ทั้งนี้ตามการแถลงของ อัจฉะรยา คิชอร์ คูนัล (Acharya Kishore Kunal) เลขาธิการของกองทุนมหาวีร์ มันทิร์ ทรัสต์ เขาบอกว่าโบราณสถานจำลองขนาดมหึมา ซึ่งออกแบบเอาไว้ให้มีขนาดใหญ่โตกว่านครวัดของจริงเสียอีก สร้างขึ้นมาด้วย “ความชื่นชมยกย่องในผลงานของประชาชนชาวกัมพูชา”
“สำหรับผมแล้ว นี่คืออนุสรณ์สถานอันสุดแสนมหัศจรรย์ที่สุดเท่าที่มนุษยชาติเคยสร้างกันขึ้นมา” คูนัล กล่าว “ผมเพียงแค่ต้องการสร้างวัดฮินดูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกขึ้นมาเท่านั้น สิ่งที่ผมต้องการแข่งขันด้วยนั้นไม่ใช่เพื่อแข่งกับวัฒนธรรมของชาวกัมพูชา แต่เป็นการแข่งขันกับสถานที่ทางศาสนาฮินดูด้วยกัน”
กระนั้นก็ตามที พวกเจ้าหน้าที่กัมพูชาต่างพากันออกมาแสดงความโกรธขึ้ง โดยโต้แย้งว่าองค์การของอินเดียแห่งนี้ไม่มีสิทธิ์ที่จะลอกเลียนดีไซน์ดั้งเดิมของนครวัด โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนมเปญ
กอย กวง (Koy Kuong) โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาแถลงว่า สถานเอกอัครราชทูตของตนในกรุงนิวเดลี กำลังทำการประเมินสถานการณ์ และถ้าหากรัฐบาลกัมพูชาไม่ได้อนุญาตแล้ว “พวกเขาก็จะต้องหยุด” แต่ กวง ก็ยอมรับว่านิวเดลียังไม่ได้ตอบกลับคำร้องเรียนของรัฐบาลของเขาแต่อย่างใด
ทางด้าน ไฟ สีฟาน (Phay Siphan) โฆษกคณะรัฐมนตรีกัมพูชากล่าวว่า เขารู้สึกโกรธเกรี้ยวขณะเดียวกันก็ประหลาดใจมาก “นครวัดนั้นเป็นจิตวิญญาณของประเทศชาติของเรา ภาพของนครวัดปรากฏอยู่ในธงชาติของเรา นครวัดเป็นอำนาจอธิปไตยของชาวกัมพูชา จึงไม่ถูกต้องที่จะมาลอกเลียนแบบ”
เขาเปรียบเทียบโครงการนี้ว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของลัทธิจักรวรรดินิยม ทำนองเดียวกับตอนที่พวกชาติยุโรปหลายต่อหลายชาติ เข้ายึดเอาบรรดาศิลปวัตถุที่เป็นของเก่าแก่ทางประวัติศาสตร์และมักมีความสำคัญทางศาสนาด้วยจากประเทศอื่นๆ ทั่วโลก “เราจะต่อสู้คัดค้านการลอกเลียนแบบ ... เราต้องการที่จะถอนรากถอนโคนแนวความคิดแบบนี้ให้หมดสิ้น” เขาประกาศ “พวกเขาควรต้องละเว้นไม่มายุ่งกับนครวัดของพวกเรา นี่เป็นสถานที่ซึ่งโดดเด่นเป็นเอกไม่มีใครเหมือนในโลกนี้”
นครวัดก่อสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 12 โดยพระมหากษัตริย์เขมรนามว่า พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 โบราณสถานแห่งนี้และสถานที่แห่งอื่นๆ ที่อยู่รายรอบ บางครั้งก็ได้รับการอ้างอิงในฐานะที่เป็นอนุสรณ์ทางศาสนาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ตอนเริ่มต้นสร้างขึ้นมา นครวัดเป็นเทวสถานทางศาสนาฮินดู ภายหลังได้ถูกใช้เป็นศาสนสถานทางพุทธศาสนา หลังจากที่พระมหากษัตริย์ของกัมพูชาได้ทรงเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธในอีกหลายร้อยปีต่อมา ทั้งศาสนาพุทธและศาสนาฮินดูต่างก็มีรากเหง้าทางจิตวัญญาณมาจากอินเดียโบราณ
ทุกวันนี้ นครวัดซึ่งได้รับการประกาศให้เป็น “สถานที่อันเป็นมรดกโลก” จากสหประชาชาติ คือศูนย์กลางของอัตลักษณ์แห่งชาติของกัมพูชา และก็เป็นสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งสามารถดึงดูดเงินทองจากนักท่องเที่ยวได้มากที่สุดในประเทศนี้
ประชาชนชาวกัมพูชาระดับรากหญ้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ ต่างแสดงความเห็นไปในทางเดียวกับรัฐบาลที่ไม่พอใจแผนการลอกเลียนแบบนครวัด “ผมรู้สึกหงุดหงิดไม่พอใจ เพราะผมต้องการให้มีนครวัดเพียงแห่งเดียวในโลกเท่านั้น” แสง นารา (Seang Nara) นักศึกษาวิชานิติศาสตร์ซึ่งเรียนอยู่ในกรุงพนมเปญให้ทัศนะ “ผมไม่ต้องการให้นครวัดถูกโจรกรรมโดยสถานที่อีกแห่งหนึ่ง”
ส่วน ไล สรุน ฉาย (Ly Srun Chhay) นักศึกษามหาวิทยาลัยวัย 20 ปีซึ่งเรียนอยู่ในเมืองหลวงของกัมพูชาเช่นกัน บอกว่า “คงจะไม่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมากัมพูชากันแล้ว พวกเขาจะไปที่อินเดีย เพราะ (นครวัดจำลอง) ที่นั่นจะใหม่และใหญ่กว่าที่อยู่ในกัมพูชา”
แต่ก็มีนักวิชาการบางคนซึ่งมีความคิดเห็นแตกต่างออกไปเกี่ยวกับการถกเถียงกันในเรื่องกรรมสิทธิ์นครวัดนี้ โดยพยายามมองผ่านแง่มุมทางประวัติศาสตร์ที่กว้างไกล สมโบ มานารา (Sombo Manara) รองประธานภาควิชาประวัติศาสตร์ ของ ราชมหาวิทยาลัยแห่งพนมเปญ (Royal University of Phnom Penh) กล่าวว่า เขามองเรื่องที่อินเดียสนอกสนใจนครวัดไปในทางบวก และเปรียบเทียบแผนการสร้างโบราณสถานจำลองขึ้นมาว่า เป็นเสมือนกับกัมพูชามีแฟรนไชส์ซึ่งกำลังจะกลายเป็นที่นิยมกันในต่างประเทศ
“เมื่อก่อนเราคิดว่าวัฒนธรรมทุกๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นลัทธิพราหมณ์ หรือพุทธศาสนา ต่างออกจากอินเดียมาสู่กัมพูชา แต่มาถึงตอนนี้ทำไมเราจึงไม่รู้สึกยินดีที่วัฒนธรรมของชาวกัมพูชาเรากำลังแพร่กระจายกลับไปยังอินเดียแล้ว?” เขาตั้งปุจฉา “นี่เป็นครั้งแรกเลยนะที่พวกเขาก็อปปี้จากกัมพูชา ... ทำไมเราจึงไม่รู้สึกยินดีกับเรื่องนี้ล่ะ?”
มานาราตั้งข้อสังเกตด้วยว่า อินเดียเป็นประเทศแรกที่ส่งความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการมาให้กัมพูชาภายหลังสิ้นสุดยุคเขมรแดงครองเมือง โดยในความช่วยเหลือเหล่านี้ก็มีทั้งเงินทุนที่ใช้สนับสนุนการบูรณะนครวัดด้วย เขาเชื่อว่านครวัดจำลองที่วางแผนจะสร้างกันขึ้นมานั้น น่าจะมีความสง่างามโอฬารสู้โบราณสถานของจริงไม่ได้ รวมทั้งไม่สามารถที่จะลอกเลียนส่วนที่เป็นรายละเอียดอันวิจิตรประณีต เป็นต้นว่า ภาพสลักนูนต่ำของนางอัปสรากว่า 3,000 นางที่ปรากฏอยู่ตามกำแพงหินของนครวัด
“ถ้ามีการสร้างนครวัดจำลองขึ้นมาจริงๆ มันก็ยังคงไม่เหมือนกับของแท้ของดั้งเดิมในกัมพูชาหรอก แน่นอนล่ะว่าในโลกเรานั้นมีการแข่งขันกัน ซึ่งเราก็ต้องพยายามดึงดูดนักท่องเที่ยวของเราด้วยสิ่งที่เป็นของแท้ของดั้งเดิม” เขากล่าว “หน้าของนางอัปสราไม่ใช่หน้าแบบคนอินเดีย เป็นหน้าแบบคนกัมพูชา แล้วยังงี้คนอินเดียจะสามารถลอกเลียนแบบได้หรือ?”
คูนัล แห่งกองทุน มหาวีร์ มันทิร์ ทรัสต์ ก็ยอมรับว่าจะต้องมีส่วนที่แตกต่างกันอย่างสำคัญเป็นจำนวนมากทีเดียว ตัวอย่างเช่น นครวัดจำลองจะไม่มีโครงสร้างส่วนด้านนอกและคูน้ำแบบของจริงของดั้งเดิม ทั้งนี้คูน้ำที่อยู่ด้านหน้าของทางเข้าหลักของนครวัด เป็นสิ่งที่เสริมส่งความงดงามของโบราณสถานแห่งนี้เป็นอย่างมาก คูนัลกล่าวด้วยว่า นครวัดจำลองยังจะต้องมีพระปรางค์ (tower) มากกว่าหรือน้อยกว่า 13 พระปรางค์ของโบราณสถานของจริง เนื่องจากเลข 13 ถือเป็นเลขอัปมงคลในอินเดีย
นอกจากนั้น นครวัดจำลองที่ตั้งอยู่ในอินเดียยังจะสร้างด้วยวัสดุที่แตกต่างไปจากของเดิม โดยในขณะที่โบราณสถานของจริงแห่งยุคคริสต์ศตวรรษที่ 12 สร้างขึ้นจากหินก้อนใหญ่ๆ นครวัดแห่งปี 2012 ซึ่งจะใช้ชื่อว่า วีรัต อังกอร์ วัด ราม มันทิร์ (Virat Angkor Wat Ram Mandir) จะสร้างด้วยคอนกรีตและหินแกรนิต คูนัลบอก
“ผมพร้อมที่จะทำการเปลี่ยนแปลงทุกๆ อย่าง พร้อมที่จะรับฟังข้อเสนอแนะทุกๆ อย่างถ้าหากจะมีปัญหาอะไรขึ้นมา” เขากล่าว “ผมอยากจะให้เกิดความมั่นใจกันว่า จะไม่มีการขัดแย้งใดๆ ทั้งสิ้นกับความปรารถนาดีทั้งหลายที่มาจากประชาชนชาวกัมพูชาหรอก”
เขาเปิดเผยด้วยว่า นครวัดจำลอง ซึ่งความสนับสนุนทางการเงินจะมาจากการบริจาคนั้น คงต้องใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 10 ปี และเสียค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างราว 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยที่กองทุน มหาวีร์ มันทิร์ ทรัสต์ ได้สร้างเพจ และบล็อก ในเฟซบุ๊ก เพื่อโปรโมตโครงการนี้แล้ว
อย่างไรก็ตาม พวกนักวิจารณ์ในกัมพูชากำลังตั้งข้อสงสัยข้องใจขึ้นมาว่า กลุ่มในอินเดียกลุ่มนี้อาจจะมีแรงจูงใจในเชิงพาณิชย์มากกว่าแรงจูงใจในทางจิตวิญญาณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากตัวคูนัล ซึ่งไม่เคยเดินทางไปที่นครวัดด้วยตนเองเลย
“ที่จริงผมต้องการไปที่นั่นในช่วงหยุดงานยาวในเดือนมิถุนายนนี้ (ของผม) แต่มาถึงตอนนี้ผมรู้สึกหวาดกลัวนิดๆ เพราะคนเรามีหลายอย่างหลายประเภทเหลือเกิน” เขากล่าว “คนบางคน (ในกัมพูชา) คงต้องการขว้างรองเท้าใส่ผม”
จูลี่ มาซิส เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่พำนักอยู่ในกัมพูชา
Temple tantrum in Cambodia
By Julie Masis
16/03/2012
กองทุนทางศาสนาแห่งหนึ่งของอินเดียประกาศ จะก็อปปี้นครวัดอันมีชื่อเสียงโด่งดังของกัมพูชา ไปสร้างขึ้นที่ริมแม่น้ำคงคาของแดนภารตะ โดยระบุว่าเนื่องจากชื่นชมโบราณสถานที่สร้างขึ้นตั้งแต่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 12 แห่งนี้เป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม คำยกยอนี้ไม่ได้เป็นที่ยินดีปรีดาของชาวกัมพูชาหรือของรัฐบาลในกรุงพนมเปญแต่อย่างใด ท่ามกลางความหวาดวิตกว่านครวัดของพวกเขาจะต้องสูญเสียความโดดเด่นอันเป็นเอกไป รวมทั้งพวกนักท่องเที่ยวทั้งหลายก็อาจหันไปหลงเสน่ห์ “นครวัด” แห่งใหม่ที่จะสร้างขึ้นด้วยคอนกรีตและหินแกรนิต
พนมเปญ – ถ้าหาก กองทุนมหาวีร์ มันทิร์ ทรัสต์ (Mahavir Mandir Trust) องค์การศาสนาซึ่งตั้งฐานอยู่ในอินเดีย สามารถดำเนินการตามโครงการของพวกเขาได้สำเร็จแล้ว สิ่งปลูกสร้างขนาดมหึมาที่ลอกเลียนแบบโบราณสถานนครวัดของกัมพูชา ก็จะตั้งตระหง่านอย่างสง่างามอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคงคาของอินเดีย อย่างไรก็ตาม โบราณสถานจำลองแห่งนี้ ซึ่งกองทุนเจ้าของโครงการแสดงความมุ่งมั่นศรัทธาที่จะทำให้กลายเป็นวัดฮินดูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก จะต้องปรากฏขึ้นมาท่ามกลางเสียงร้องเรียนคัดค้านจากทางการกัมพูชา ตลอดจนเป็นการทำร้ายความรู้สึกของประชาชนชาวกัมพูชาจำนวนมาก
เมื่อวันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมา ได้มีการจัดพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์เพื่อชำระที่ดินในรัฐพิหาร (Bihar) ของอินเดีย ผืนที่จะใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างโบราณสถานจำลอง ให้มีความบริสุทธิ์ไร้มลทิน โดยที่การก่อสร้างมีกำหนดจะเริ่มต้นขึ้นในเดือนเมษายนนี้ ทั้งนี้ตามการแถลงของ อัจฉะรยา คิชอร์ คูนัล (Acharya Kishore Kunal) เลขาธิการของกองทุนมหาวีร์ มันทิร์ ทรัสต์ เขาบอกว่าโบราณสถานจำลองขนาดมหึมา ซึ่งออกแบบเอาไว้ให้มีขนาดใหญ่โตกว่านครวัดของจริงเสียอีก สร้างขึ้นมาด้วย “ความชื่นชมยกย่องในผลงานของประชาชนชาวกัมพูชา”
“สำหรับผมแล้ว นี่คืออนุสรณ์สถานอันสุดแสนมหัศจรรย์ที่สุดเท่าที่มนุษยชาติเคยสร้างกันขึ้นมา” คูนัล กล่าว “ผมเพียงแค่ต้องการสร้างวัดฮินดูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกขึ้นมาเท่านั้น สิ่งที่ผมต้องการแข่งขันด้วยนั้นไม่ใช่เพื่อแข่งกับวัฒนธรรมของชาวกัมพูชา แต่เป็นการแข่งขันกับสถานที่ทางศาสนาฮินดูด้วยกัน”
กระนั้นก็ตามที พวกเจ้าหน้าที่กัมพูชาต่างพากันออกมาแสดงความโกรธขึ้ง โดยโต้แย้งว่าองค์การของอินเดียแห่งนี้ไม่มีสิทธิ์ที่จะลอกเลียนดีไซน์ดั้งเดิมของนครวัด โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนมเปญ
กอย กวง (Koy Kuong) โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาแถลงว่า สถานเอกอัครราชทูตของตนในกรุงนิวเดลี กำลังทำการประเมินสถานการณ์ และถ้าหากรัฐบาลกัมพูชาไม่ได้อนุญาตแล้ว “พวกเขาก็จะต้องหยุด” แต่ กวง ก็ยอมรับว่านิวเดลียังไม่ได้ตอบกลับคำร้องเรียนของรัฐบาลของเขาแต่อย่างใด
ทางด้าน ไฟ สีฟาน (Phay Siphan) โฆษกคณะรัฐมนตรีกัมพูชากล่าวว่า เขารู้สึกโกรธเกรี้ยวขณะเดียวกันก็ประหลาดใจมาก “นครวัดนั้นเป็นจิตวิญญาณของประเทศชาติของเรา ภาพของนครวัดปรากฏอยู่ในธงชาติของเรา นครวัดเป็นอำนาจอธิปไตยของชาวกัมพูชา จึงไม่ถูกต้องที่จะมาลอกเลียนแบบ”
เขาเปรียบเทียบโครงการนี้ว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของลัทธิจักรวรรดินิยม ทำนองเดียวกับตอนที่พวกชาติยุโรปหลายต่อหลายชาติ เข้ายึดเอาบรรดาศิลปวัตถุที่เป็นของเก่าแก่ทางประวัติศาสตร์และมักมีความสำคัญทางศาสนาด้วยจากประเทศอื่นๆ ทั่วโลก “เราจะต่อสู้คัดค้านการลอกเลียนแบบ ... เราต้องการที่จะถอนรากถอนโคนแนวความคิดแบบนี้ให้หมดสิ้น” เขาประกาศ “พวกเขาควรต้องละเว้นไม่มายุ่งกับนครวัดของพวกเรา นี่เป็นสถานที่ซึ่งโดดเด่นเป็นเอกไม่มีใครเหมือนในโลกนี้”
นครวัดก่อสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 12 โดยพระมหากษัตริย์เขมรนามว่า พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 โบราณสถานแห่งนี้และสถานที่แห่งอื่นๆ ที่อยู่รายรอบ บางครั้งก็ได้รับการอ้างอิงในฐานะที่เป็นอนุสรณ์ทางศาสนาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ตอนเริ่มต้นสร้างขึ้นมา นครวัดเป็นเทวสถานทางศาสนาฮินดู ภายหลังได้ถูกใช้เป็นศาสนสถานทางพุทธศาสนา หลังจากที่พระมหากษัตริย์ของกัมพูชาได้ทรงเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธในอีกหลายร้อยปีต่อมา ทั้งศาสนาพุทธและศาสนาฮินดูต่างก็มีรากเหง้าทางจิตวัญญาณมาจากอินเดียโบราณ
ทุกวันนี้ นครวัดซึ่งได้รับการประกาศให้เป็น “สถานที่อันเป็นมรดกโลก” จากสหประชาชาติ คือศูนย์กลางของอัตลักษณ์แห่งชาติของกัมพูชา และก็เป็นสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งสามารถดึงดูดเงินทองจากนักท่องเที่ยวได้มากที่สุดในประเทศนี้
ประชาชนชาวกัมพูชาระดับรากหญ้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ ต่างแสดงความเห็นไปในทางเดียวกับรัฐบาลที่ไม่พอใจแผนการลอกเลียนแบบนครวัด “ผมรู้สึกหงุดหงิดไม่พอใจ เพราะผมต้องการให้มีนครวัดเพียงแห่งเดียวในโลกเท่านั้น” แสง นารา (Seang Nara) นักศึกษาวิชานิติศาสตร์ซึ่งเรียนอยู่ในกรุงพนมเปญให้ทัศนะ “ผมไม่ต้องการให้นครวัดถูกโจรกรรมโดยสถานที่อีกแห่งหนึ่ง”
ส่วน ไล สรุน ฉาย (Ly Srun Chhay) นักศึกษามหาวิทยาลัยวัย 20 ปีซึ่งเรียนอยู่ในเมืองหลวงของกัมพูชาเช่นกัน บอกว่า “คงจะไม่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมากัมพูชากันแล้ว พวกเขาจะไปที่อินเดีย เพราะ (นครวัดจำลอง) ที่นั่นจะใหม่และใหญ่กว่าที่อยู่ในกัมพูชา”
แต่ก็มีนักวิชาการบางคนซึ่งมีความคิดเห็นแตกต่างออกไปเกี่ยวกับการถกเถียงกันในเรื่องกรรมสิทธิ์นครวัดนี้ โดยพยายามมองผ่านแง่มุมทางประวัติศาสตร์ที่กว้างไกล สมโบ มานารา (Sombo Manara) รองประธานภาควิชาประวัติศาสตร์ ของ ราชมหาวิทยาลัยแห่งพนมเปญ (Royal University of Phnom Penh) กล่าวว่า เขามองเรื่องที่อินเดียสนอกสนใจนครวัดไปในทางบวก และเปรียบเทียบแผนการสร้างโบราณสถานจำลองขึ้นมาว่า เป็นเสมือนกับกัมพูชามีแฟรนไชส์ซึ่งกำลังจะกลายเป็นที่นิยมกันในต่างประเทศ
“เมื่อก่อนเราคิดว่าวัฒนธรรมทุกๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นลัทธิพราหมณ์ หรือพุทธศาสนา ต่างออกจากอินเดียมาสู่กัมพูชา แต่มาถึงตอนนี้ทำไมเราจึงไม่รู้สึกยินดีที่วัฒนธรรมของชาวกัมพูชาเรากำลังแพร่กระจายกลับไปยังอินเดียแล้ว?” เขาตั้งปุจฉา “นี่เป็นครั้งแรกเลยนะที่พวกเขาก็อปปี้จากกัมพูชา ... ทำไมเราจึงไม่รู้สึกยินดีกับเรื่องนี้ล่ะ?”
มานาราตั้งข้อสังเกตด้วยว่า อินเดียเป็นประเทศแรกที่ส่งความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการมาให้กัมพูชาภายหลังสิ้นสุดยุคเขมรแดงครองเมือง โดยในความช่วยเหลือเหล่านี้ก็มีทั้งเงินทุนที่ใช้สนับสนุนการบูรณะนครวัดด้วย เขาเชื่อว่านครวัดจำลองที่วางแผนจะสร้างกันขึ้นมานั้น น่าจะมีความสง่างามโอฬารสู้โบราณสถานของจริงไม่ได้ รวมทั้งไม่สามารถที่จะลอกเลียนส่วนที่เป็นรายละเอียดอันวิจิตรประณีต เป็นต้นว่า ภาพสลักนูนต่ำของนางอัปสรากว่า 3,000 นางที่ปรากฏอยู่ตามกำแพงหินของนครวัด
“ถ้ามีการสร้างนครวัดจำลองขึ้นมาจริงๆ มันก็ยังคงไม่เหมือนกับของแท้ของดั้งเดิมในกัมพูชาหรอก แน่นอนล่ะว่าในโลกเรานั้นมีการแข่งขันกัน ซึ่งเราก็ต้องพยายามดึงดูดนักท่องเที่ยวของเราด้วยสิ่งที่เป็นของแท้ของดั้งเดิม” เขากล่าว “หน้าของนางอัปสราไม่ใช่หน้าแบบคนอินเดีย เป็นหน้าแบบคนกัมพูชา แล้วยังงี้คนอินเดียจะสามารถลอกเลียนแบบได้หรือ?”
คูนัล แห่งกองทุน มหาวีร์ มันทิร์ ทรัสต์ ก็ยอมรับว่าจะต้องมีส่วนที่แตกต่างกันอย่างสำคัญเป็นจำนวนมากทีเดียว ตัวอย่างเช่น นครวัดจำลองจะไม่มีโครงสร้างส่วนด้านนอกและคูน้ำแบบของจริงของดั้งเดิม ทั้งนี้คูน้ำที่อยู่ด้านหน้าของทางเข้าหลักของนครวัด เป็นสิ่งที่เสริมส่งความงดงามของโบราณสถานแห่งนี้เป็นอย่างมาก คูนัลกล่าวด้วยว่า นครวัดจำลองยังจะต้องมีพระปรางค์ (tower) มากกว่าหรือน้อยกว่า 13 พระปรางค์ของโบราณสถานของจริง เนื่องจากเลข 13 ถือเป็นเลขอัปมงคลในอินเดีย
นอกจากนั้น นครวัดจำลองที่ตั้งอยู่ในอินเดียยังจะสร้างด้วยวัสดุที่แตกต่างไปจากของเดิม โดยในขณะที่โบราณสถานของจริงแห่งยุคคริสต์ศตวรรษที่ 12 สร้างขึ้นจากหินก้อนใหญ่ๆ นครวัดแห่งปี 2012 ซึ่งจะใช้ชื่อว่า วีรัต อังกอร์ วัด ราม มันทิร์ (Virat Angkor Wat Ram Mandir) จะสร้างด้วยคอนกรีตและหินแกรนิต คูนัลบอก
“ผมพร้อมที่จะทำการเปลี่ยนแปลงทุกๆ อย่าง พร้อมที่จะรับฟังข้อเสนอแนะทุกๆ อย่างถ้าหากจะมีปัญหาอะไรขึ้นมา” เขากล่าว “ผมอยากจะให้เกิดความมั่นใจกันว่า จะไม่มีการขัดแย้งใดๆ ทั้งสิ้นกับความปรารถนาดีทั้งหลายที่มาจากประชาชนชาวกัมพูชาหรอก”
เขาเปิดเผยด้วยว่า นครวัดจำลอง ซึ่งความสนับสนุนทางการเงินจะมาจากการบริจาคนั้น คงต้องใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 10 ปี และเสียค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างราว 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยที่กองทุน มหาวีร์ มันทิร์ ทรัสต์ ได้สร้างเพจ และบล็อก ในเฟซบุ๊ก เพื่อโปรโมตโครงการนี้แล้ว
อย่างไรก็ตาม พวกนักวิจารณ์ในกัมพูชากำลังตั้งข้อสงสัยข้องใจขึ้นมาว่า กลุ่มในอินเดียกลุ่มนี้อาจจะมีแรงจูงใจในเชิงพาณิชย์มากกว่าแรงจูงใจในทางจิตวิญญาณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากตัวคูนัล ซึ่งไม่เคยเดินทางไปที่นครวัดด้วยตนเองเลย
“ที่จริงผมต้องการไปที่นั่นในช่วงหยุดงานยาวในเดือนมิถุนายนนี้ (ของผม) แต่มาถึงตอนนี้ผมรู้สึกหวาดกลัวนิดๆ เพราะคนเรามีหลายอย่างหลายประเภทเหลือเกิน” เขากล่าว “คนบางคน (ในกัมพูชา) คงต้องการขว้างรองเท้าใส่ผม”
จูลี่ มาซิส เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่พำนักอยู่ในกัมพูชา