เอเจนซี - สหรัฐฯ เร่งตรวจสอบข้อกล่าวหา สายลับรัฐบาลอินเดียแฮกอีเมลคณะกรรมการของอเมริกาซึ่งทำหน้าที่ติดตามความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและความมั่นคงระหว่างวอชิงตัน-ปักกิ่ง โดยรวมถึงประเด็นความปลอดภัยในระบบอินเทอร์เน็ตด้วย
คำขอเพื่อให้มีการตรวจสอบมีขึ้น หลังจากแฮกเกอร์โพสต์สิ่งที่อ้างว่า เป็นเอกสารลับของกองทัพแดนภารตะเกี่ยวกับการสอดแนมระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งกล่าวถึงแผนการที่พุ่งเป้าหมายไปยังคณะกรรมการดังกล่าว อันมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า คณะกรรมการตรวจสอบความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและความมั่นคงสหรัฐฯ-จีน โดยใช้โนว์ฮาวที่ได้มาจากบริษัทโทรศัพท์มือถือตะวันตก
เอกสารนี้ยังแนบมาพร้อมกับสำเนาสิ่งที่อ้างว่า เป็นอีเมลโต้ตอบระหว่างสมาชิกในคณะกรรมการ
ทางด้าน โจนาธาน เวสตัน โฆษกคณะกรรมการชุดนี้ แถลงเมื่อวันจันทร์ (9) ว่าได้ติดต่อเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อขอให้ตรวจสอบเรื่องนี้แล้ว แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้มากกว่านี้
ถึงแม้ยังไม่สามารถตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารได้ แต่มีข้อน่าสังเกตว่าคณะกรรมการก็ไม่ได้แถลงปฏิเสธว่าอีเมลเหล่านั้นไม่ใช่ของจริง
สำหรับพวกเจ้าหน้าที่อินเดียปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาหรือความถูกต้องของเอกสาร ขณะที่เว็บไซต์แห่งหนึ่งของอินเดียอ้างตัวแทนของกองทัพที่ไม่เปิดเผยชื่อได้ออกมาปฏิเสธว่า อินเดียไม่ได้ใช้บริษัทโทรศัพท์สอดแนมคณะกรรมการของสหรัฐฯ และว่าเอกสารเหล่านั้นปลอมแปลงขึ้นมา
บันทึกที่ถูกกล่าวอ้างยังระบุว่า อินเดียทำข้อตกลงกับผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือในเรื่องเทคนิค เพื่อแลกเปลี่ยนกับการที่บริษัทจะได้สิทธิเข้าสู่ตลาดอินเดีย โดยมีการระบุชื่อบริษัทผู้ผลิตมือถือ 3 แห่ง ได้แก่ รีเสิร์ช อิน โมชั่น ผู้ผลิตแบล็กเบอร์รี, โนเกีย และแอปเปิล
ทรูดี้ มูลเลอร์ โฆษกแอปเปิล ยืนยันว่า บริษัทไม่มีการสนอหนทางลับๆ แก่รัฐบาลอินเดียเพื่อการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ของแอปเปิล ขณะที่โฆษกของอีกสองบริษัทปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นต่อเรื่องนี้
คณะกรรมการตรวจสอบความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและความมั่นคงสหรัฐฯ-จีนนั้น ก่อตั้งขึ้นในปี 2000 เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบและรายงานนัยด้านความมั่นคงแห่งชาติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐฯ กับจีนต่อรัฐสภา โดยสมาชิกคณะกรรมการที่ประกอบด้วยตัวแทนจากทั้งสองพรรคจำนวน 12 คน จะต้องแถลงต่อรัฐสภาปีละครั้งเกี่ยวกับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับจีน เช่น ความปลอดภัยในระบบอินเทอร์เน็ต การแพร่กระจายอาวุธ นโยบายข้อมูล ฯลฯ
หากได้รับการยืนยันแล้ว การแฮกข้อมูลครั้งนี้ก็นับเป็นการโจมตีทางอินเทอร์เน็ตครั้งล่าสุดต่อสถาบันอเมริกันไล่ตั้งแต่เพนตากอนจนถึงผู้รับเหมาสัญญากลาโหม กูเกิล และอีกมากมาย
กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า ลอร์ด ออฟ ธรรมราชา โพสต์ไว้ว่า ตนเป็นผู้ค้นพบการเจาะข้อมูลดังกล่าว รวมถึงค้นพบรหัสแหล่งข้อมูลของบริษัทซอฟต์แวร์นับสิบแห่งในเซิร์ฟเวอร์ของหน่วยข่าวกรองของกองทัพอินเดีย
เจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐฯ ที่ไม่ประสงค์ออกนาม บอกว่า กำลังมีการตรวจสอบเรื่องนี้ ทั้งนี้ เอฟบีไอมีอำนาจตรวจสอบการเจาะข้อมูลในอินเทอร์เน็ตภายในสหรัฐฯ ทว่า โฆษกของเอฟบีไอปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็น
การแฮกข้อมูลครั้งก่อนๆ ส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็นฝีมือจีน แต่กรณีนี้ ยังไม่ชัดเจนว่าอินเดียดำเนินการดังกล่าวเพื่อตนเอง หรือเป็นพยายามส่งต่อข้อมูลที่แฮกได้ไปให้แก่พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในจีน
อินเดียนั้นมีผลประโยชน์อย่างชัดเจนในการรับรู้มุมมองของสหรัฐฯ ที่มีต่อจีน เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างนิวเดลีกับปักกิ่งซึ่งเคยเลวร้ายถึงขั้นเกิดการสู้รบกันช่วงสั้นๆ ในปี 1962 นั้น ปัจจุบันยังคงมีปัญหาอยู่ โดยอินเดียมองจีนเป็นศัตรูระยะยาว
สจ๊วร์ต เบเกอร์ อดีตผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ตของสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติและกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของสหรัฐฯ กล่าวว่า คณะกรรมการนี้ ถือเป็นเป้าหมายสำคัญของจีน เนื่องจากเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่มีอิทธิพลที่สุดในการเตือนภัยการเจาะข้อมูลของแฮกเกอร์จีน และสิ่งที่น่าสนใจก็คือ ดูเหมือนว่าคณะกรรมการชุดนี้ยังตกเป็นเป้าหมายของอินเดียด้วยเหตุผลเดียวกัน
“หากเป็นเรื่องจริง คงจะอับอายขายหน้ากันไปหมด ทั้งคณะกรรมการฯ ที่ถูกหน่วยข่าวกรองอินเดียแฮก และหน่วยข่าวกรองอินเดียเองที่ถูกกลุ่มแฮกเกอร์มือสมัครเล่นแฮกอีกทอด”
คำขอเพื่อให้มีการตรวจสอบมีขึ้น หลังจากแฮกเกอร์โพสต์สิ่งที่อ้างว่า เป็นเอกสารลับของกองทัพแดนภารตะเกี่ยวกับการสอดแนมระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งกล่าวถึงแผนการที่พุ่งเป้าหมายไปยังคณะกรรมการดังกล่าว อันมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า คณะกรรมการตรวจสอบความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและความมั่นคงสหรัฐฯ-จีน โดยใช้โนว์ฮาวที่ได้มาจากบริษัทโทรศัพท์มือถือตะวันตก
เอกสารนี้ยังแนบมาพร้อมกับสำเนาสิ่งที่อ้างว่า เป็นอีเมลโต้ตอบระหว่างสมาชิกในคณะกรรมการ
ทางด้าน โจนาธาน เวสตัน โฆษกคณะกรรมการชุดนี้ แถลงเมื่อวันจันทร์ (9) ว่าได้ติดต่อเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อขอให้ตรวจสอบเรื่องนี้แล้ว แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้มากกว่านี้
ถึงแม้ยังไม่สามารถตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารได้ แต่มีข้อน่าสังเกตว่าคณะกรรมการก็ไม่ได้แถลงปฏิเสธว่าอีเมลเหล่านั้นไม่ใช่ของจริง
สำหรับพวกเจ้าหน้าที่อินเดียปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาหรือความถูกต้องของเอกสาร ขณะที่เว็บไซต์แห่งหนึ่งของอินเดียอ้างตัวแทนของกองทัพที่ไม่เปิดเผยชื่อได้ออกมาปฏิเสธว่า อินเดียไม่ได้ใช้บริษัทโทรศัพท์สอดแนมคณะกรรมการของสหรัฐฯ และว่าเอกสารเหล่านั้นปลอมแปลงขึ้นมา
บันทึกที่ถูกกล่าวอ้างยังระบุว่า อินเดียทำข้อตกลงกับผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือในเรื่องเทคนิค เพื่อแลกเปลี่ยนกับการที่บริษัทจะได้สิทธิเข้าสู่ตลาดอินเดีย โดยมีการระบุชื่อบริษัทผู้ผลิตมือถือ 3 แห่ง ได้แก่ รีเสิร์ช อิน โมชั่น ผู้ผลิตแบล็กเบอร์รี, โนเกีย และแอปเปิล
ทรูดี้ มูลเลอร์ โฆษกแอปเปิล ยืนยันว่า บริษัทไม่มีการสนอหนทางลับๆ แก่รัฐบาลอินเดียเพื่อการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ของแอปเปิล ขณะที่โฆษกของอีกสองบริษัทปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นต่อเรื่องนี้
คณะกรรมการตรวจสอบความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและความมั่นคงสหรัฐฯ-จีนนั้น ก่อตั้งขึ้นในปี 2000 เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบและรายงานนัยด้านความมั่นคงแห่งชาติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐฯ กับจีนต่อรัฐสภา โดยสมาชิกคณะกรรมการที่ประกอบด้วยตัวแทนจากทั้งสองพรรคจำนวน 12 คน จะต้องแถลงต่อรัฐสภาปีละครั้งเกี่ยวกับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับจีน เช่น ความปลอดภัยในระบบอินเทอร์เน็ต การแพร่กระจายอาวุธ นโยบายข้อมูล ฯลฯ
หากได้รับการยืนยันแล้ว การแฮกข้อมูลครั้งนี้ก็นับเป็นการโจมตีทางอินเทอร์เน็ตครั้งล่าสุดต่อสถาบันอเมริกันไล่ตั้งแต่เพนตากอนจนถึงผู้รับเหมาสัญญากลาโหม กูเกิล และอีกมากมาย
กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า ลอร์ด ออฟ ธรรมราชา โพสต์ไว้ว่า ตนเป็นผู้ค้นพบการเจาะข้อมูลดังกล่าว รวมถึงค้นพบรหัสแหล่งข้อมูลของบริษัทซอฟต์แวร์นับสิบแห่งในเซิร์ฟเวอร์ของหน่วยข่าวกรองของกองทัพอินเดีย
เจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐฯ ที่ไม่ประสงค์ออกนาม บอกว่า กำลังมีการตรวจสอบเรื่องนี้ ทั้งนี้ เอฟบีไอมีอำนาจตรวจสอบการเจาะข้อมูลในอินเทอร์เน็ตภายในสหรัฐฯ ทว่า โฆษกของเอฟบีไอปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็น
การแฮกข้อมูลครั้งก่อนๆ ส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็นฝีมือจีน แต่กรณีนี้ ยังไม่ชัดเจนว่าอินเดียดำเนินการดังกล่าวเพื่อตนเอง หรือเป็นพยายามส่งต่อข้อมูลที่แฮกได้ไปให้แก่พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในจีน
อินเดียนั้นมีผลประโยชน์อย่างชัดเจนในการรับรู้มุมมองของสหรัฐฯ ที่มีต่อจีน เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างนิวเดลีกับปักกิ่งซึ่งเคยเลวร้ายถึงขั้นเกิดการสู้รบกันช่วงสั้นๆ ในปี 1962 นั้น ปัจจุบันยังคงมีปัญหาอยู่ โดยอินเดียมองจีนเป็นศัตรูระยะยาว
สจ๊วร์ต เบเกอร์ อดีตผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ตของสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติและกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของสหรัฐฯ กล่าวว่า คณะกรรมการนี้ ถือเป็นเป้าหมายสำคัญของจีน เนื่องจากเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่มีอิทธิพลที่สุดในการเตือนภัยการเจาะข้อมูลของแฮกเกอร์จีน และสิ่งที่น่าสนใจก็คือ ดูเหมือนว่าคณะกรรมการชุดนี้ยังตกเป็นเป้าหมายของอินเดียด้วยเหตุผลเดียวกัน
“หากเป็นเรื่องจริง คงจะอับอายขายหน้ากันไปหมด ทั้งคณะกรรมการฯ ที่ถูกหน่วยข่าวกรองอินเดียแฮก และหน่วยข่าวกรองอินเดียเองที่ถูกกลุ่มแฮกเกอร์มือสมัครเล่นแฮกอีกทอด”