เอเอฟพี/เอเจนซี - 2 บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือยักษ์ใหญ่ระดับโลก ต่างเพิ่มแรงกดดันชาติยุโรปเมื่อวันจันทร์(12) โดยมูดี้ส์เผยเตรียมทบทวนเรตติ้งสมาชิกอียูทั้ง 27 ประเทศในช่วง 3 เดือนแรกของปีหน้า เนื่องจากเห็นได้ว่า ซัมมิตปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาล้มเหลวในการออกมาตรการขั้นเด็ดขาด ขณะที่หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) ระบุว่าเวลาใกล้หมดลงแล้วสำหรับให้ประเทศยูโรโซนแก้ไขปัญหา และอาจจำเป็นต้องมีภาวะช็อกทางการเงินอีกรอบหนึ่งจึงจะทำให้ชาติเหล่านี้เคลื่อนไหวได้
มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส แถลงเมื่อวันจันทร์ (12) ว่า การขาดมาตรการสร้างเสถียรภาพตลาดสินเชื่อในระยะสั้นเท่ากับว่า ยูโรโซนและอียูยังเสี่ยงต่อผลกระทบ ขณะที่การร่วมมือกันในยูโรโซนก็อยู่ภายใต้การคุกคามต่อเนื่อง
“เมื่อพิจารณาว่า ขณะนี้ยังปราศจากมาตรการนโยบายที่เด็ดขาดแม้เพิ่งมีการประชุมสุดยอดในหมู่สมาชิกยูโรโซนมาสดๆ ร้อนๆ มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิสจึงขอยืนยันเจตนารมณ์เดิมในการทบทวนอันดับของตราสารหนี้ภาครัฐของอียูทุกประเทศในช่วงไตรมาสแรกของปี 2012”
มูดี้ส์เสริมว่า การประกาศภายหลังการพยายามฝ่าฟันการต่อต้านอย่างหนักหน่วงของผู้วางนโยบายอียูเพื่อเสนอ “มาตรการใหม่ไม่กี่อย่าง” ในช่วงเช้าวันศุกร์ (9) บ่งชี้ว่า ผู้วางนโยบายเหล่านั้นคาดว่า ตลาดพันธบัตรจะยังมีปัญหาอีกมากสำหรับลูกหนี้ภาครัฐ
“ดังนั้น มาตรการที่ประกาศออกมาจึงไม่ทำให้มุมมองของมูดี้ส์ก่อนหน้านี้เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด มุมมองดังกล่าวก็คือ วิกฤตกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญ ซึ่งตลาดพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้ของแบงก์มีแนวโน้มผันผวนรุนแรง และผู้วางนโยบายจะควบคุมได้ยากขึ้น”
ในบันทึกถึงนักลงทุน มูดี้ส์ยังระบุว่า แม้ซัมมิตอียูทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อรักษาเสถียรภาพในตลาดในระยะยาว แต่แทบไม่ได้ทำอะไรสำหรับแนวโน้มระยะสั้นเลย
ทางด้าน ฌอง-มิเชล ซิกซ์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของเอสแอนด์พี กล่าวระหว่างเข้าร่วมการประชุมสัมมนาทางธุรกิจที่กรุงเทลอาวีฟในวันจันทร์ว่า สิ่งที่ตกลงกันได้ในระหว่างผู้นำของอียูยกเว้นอังกฤษเมื่อวันศุกร์ ถือว่าเป็นก้าวเดินที่สำคัญ ทว่ายังไม่เพียงพอ
ย้อนกลับไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เอสแอนด์พี ประกาศว่ากำลังพิจารณาลดความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ของ 15 จาก 17 ชาติที่ใช้เงินตราสกุลเดียวแห่งยุโรป ไม่เว้นกระทั่งประเทศที่มีเรตติ้งสูงสุด AAA อย่างฝรั่งเศสและเยอรมนี
“บางทีอาจจำเป็นจะต้องมีการช็อกกันอีกรอบหนึ่ง ก่อนที่ทุกๆ คนในยูโรโซนจะสามารถอ่านสถานการณ์ให้ตรงกันได้ ตัวอย่างเช่น ธนาคารเยอรมันใหญ่ๆ สักแห่งหนึ่งอาจต้องประสบความยากลำบากจริงๆ บางอย่างบางประการในตลาด ซึ่งเรื่องนี้มีความเป็นไปได้จริงๆ เสียด้วยในระยะใกล้ๆ นี้” เขากล่าว
“จากนั้นแล้วจึงจะเกิดการรับทราบกันขึ้นว่าว่า แท้ที่จริงแล้วทุกๆ คนอยู่ในเรือลำเดียวกัน และแม้กระทั่งพวกสถาบันของเยอรมันก็ยังสามารถที่จะได้รับผลกระทบกระเทือนจากการติดเชื้อคราวนี้ ผมเกรงว่านี่อาจจะยังคงเป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องเกิดขึ้น”
ซิกซ์บอกว่า ผลประชุมซัมมิตในวันศุกร์ได้ทำให้เกิดความก้าวหน้า ในแง่ที่ทำให้รัฐบาลต่างๆ เกิดการเตรียมพร้อมในทางจิตใจที่จะให้คำมั่นสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรในรูปลักษณ์บางอย่างบางประการของรัฐธรรมนูญ โดยเป็นคำมั่นสัญญาเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ทางการคลังระยะกลาง ซึ่งจะเปิดทางให้ธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี) สามารถที่จะกลายเป็นผู้ให้กู้รายสุดท้ายของยูโรโซน เมื่อไม่อาจจะไปกู้ที่ไหนได้อีก
นักวิเคราะห์ในตลาดการเงินจำนวนมากเชื่อว่า การทำให้อีซีบีกลายเป็นผู้ให้กู้รายสุดท้ายของยูโรโซน จะสามารถช่วยประเทศยูโรโซนที่ประสบปัญหาหนี้สินรุงรัง ให้หลุดพ้นจากการต้องตกลงสู่ภาวะหยุดพักชำระหนี้ได้ ซึ่งนี่จะทำให้ตลาดการเงินหวนกลับมามีความเชื่อมั่นต่อยูโรโซนอีกคำรบหนึ่ง
อย่างไรก็ดี เยอรมนีที่เป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของยูโรโซน ยังคงคัดค้านเรื่องนี้ เพราะเกรงว่าจะมีผลกระทบทำให้รัฐสมาชิกทั้งหลายไม่สนใจรักษาวินัยการคลัง
มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส แถลงเมื่อวันจันทร์ (12) ว่า การขาดมาตรการสร้างเสถียรภาพตลาดสินเชื่อในระยะสั้นเท่ากับว่า ยูโรโซนและอียูยังเสี่ยงต่อผลกระทบ ขณะที่การร่วมมือกันในยูโรโซนก็อยู่ภายใต้การคุกคามต่อเนื่อง
“เมื่อพิจารณาว่า ขณะนี้ยังปราศจากมาตรการนโยบายที่เด็ดขาดแม้เพิ่งมีการประชุมสุดยอดในหมู่สมาชิกยูโรโซนมาสดๆ ร้อนๆ มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิสจึงขอยืนยันเจตนารมณ์เดิมในการทบทวนอันดับของตราสารหนี้ภาครัฐของอียูทุกประเทศในช่วงไตรมาสแรกของปี 2012”
มูดี้ส์เสริมว่า การประกาศภายหลังการพยายามฝ่าฟันการต่อต้านอย่างหนักหน่วงของผู้วางนโยบายอียูเพื่อเสนอ “มาตรการใหม่ไม่กี่อย่าง” ในช่วงเช้าวันศุกร์ (9) บ่งชี้ว่า ผู้วางนโยบายเหล่านั้นคาดว่า ตลาดพันธบัตรจะยังมีปัญหาอีกมากสำหรับลูกหนี้ภาครัฐ
“ดังนั้น มาตรการที่ประกาศออกมาจึงไม่ทำให้มุมมองของมูดี้ส์ก่อนหน้านี้เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด มุมมองดังกล่าวก็คือ วิกฤตกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญ ซึ่งตลาดพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้ของแบงก์มีแนวโน้มผันผวนรุนแรง และผู้วางนโยบายจะควบคุมได้ยากขึ้น”
ในบันทึกถึงนักลงทุน มูดี้ส์ยังระบุว่า แม้ซัมมิตอียูทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อรักษาเสถียรภาพในตลาดในระยะยาว แต่แทบไม่ได้ทำอะไรสำหรับแนวโน้มระยะสั้นเลย
ทางด้าน ฌอง-มิเชล ซิกซ์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของเอสแอนด์พี กล่าวระหว่างเข้าร่วมการประชุมสัมมนาทางธุรกิจที่กรุงเทลอาวีฟในวันจันทร์ว่า สิ่งที่ตกลงกันได้ในระหว่างผู้นำของอียูยกเว้นอังกฤษเมื่อวันศุกร์ ถือว่าเป็นก้าวเดินที่สำคัญ ทว่ายังไม่เพียงพอ
ย้อนกลับไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เอสแอนด์พี ประกาศว่ากำลังพิจารณาลดความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ของ 15 จาก 17 ชาติที่ใช้เงินตราสกุลเดียวแห่งยุโรป ไม่เว้นกระทั่งประเทศที่มีเรตติ้งสูงสุด AAA อย่างฝรั่งเศสและเยอรมนี
“บางทีอาจจำเป็นจะต้องมีการช็อกกันอีกรอบหนึ่ง ก่อนที่ทุกๆ คนในยูโรโซนจะสามารถอ่านสถานการณ์ให้ตรงกันได้ ตัวอย่างเช่น ธนาคารเยอรมันใหญ่ๆ สักแห่งหนึ่งอาจต้องประสบความยากลำบากจริงๆ บางอย่างบางประการในตลาด ซึ่งเรื่องนี้มีความเป็นไปได้จริงๆ เสียด้วยในระยะใกล้ๆ นี้” เขากล่าว
“จากนั้นแล้วจึงจะเกิดการรับทราบกันขึ้นว่าว่า แท้ที่จริงแล้วทุกๆ คนอยู่ในเรือลำเดียวกัน และแม้กระทั่งพวกสถาบันของเยอรมันก็ยังสามารถที่จะได้รับผลกระทบกระเทือนจากการติดเชื้อคราวนี้ ผมเกรงว่านี่อาจจะยังคงเป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องเกิดขึ้น”
ซิกซ์บอกว่า ผลประชุมซัมมิตในวันศุกร์ได้ทำให้เกิดความก้าวหน้า ในแง่ที่ทำให้รัฐบาลต่างๆ เกิดการเตรียมพร้อมในทางจิตใจที่จะให้คำมั่นสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรในรูปลักษณ์บางอย่างบางประการของรัฐธรรมนูญ โดยเป็นคำมั่นสัญญาเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ทางการคลังระยะกลาง ซึ่งจะเปิดทางให้ธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี) สามารถที่จะกลายเป็นผู้ให้กู้รายสุดท้ายของยูโรโซน เมื่อไม่อาจจะไปกู้ที่ไหนได้อีก
นักวิเคราะห์ในตลาดการเงินจำนวนมากเชื่อว่า การทำให้อีซีบีกลายเป็นผู้ให้กู้รายสุดท้ายของยูโรโซน จะสามารถช่วยประเทศยูโรโซนที่ประสบปัญหาหนี้สินรุงรัง ให้หลุดพ้นจากการต้องตกลงสู่ภาวะหยุดพักชำระหนี้ได้ ซึ่งนี่จะทำให้ตลาดการเงินหวนกลับมามีความเชื่อมั่นต่อยูโรโซนอีกคำรบหนึ่ง
อย่างไรก็ดี เยอรมนีที่เป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของยูโรโซน ยังคงคัดค้านเรื่องนี้ เพราะเกรงว่าจะมีผลกระทบทำให้รัฐสมาชิกทั้งหลายไม่สนใจรักษาวินัยการคลัง