เอเอฟพี - คณะกรรมาธิการพิเศษ (super committee) ของรัฐสภาสหรัฐฯ ล้มเหลวในความพยายามหาข้อตกลงตัดลดยอดขาดดุลงบประมาณของสหรัฐฯ ซ้ำเติมความตื่นตระหนกแก่เศรษฐกิจโลกที่ยังกระวนกระวายต่อวิกฤตหนี้ยูโรโซนอยู่ในตอนนี้
“เรารู้สึกผิดหวังอย่างมากที่ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงลดยอดขาดดุลงบประมาณ” แพตตี เมอร์เรย์ วุฒิสมาชิกจากเดโมแครต และ เจบ เฮนซาร์ลิง ส.ส.จากรีพับลิกันกล่าวในถ้อยแถลงร่วม
ถ้อยแถลงนี้ยืนยันถึงการคาดเดาอย่างถูกต้องก่อนหน้านี้ ว่า คณะกรรมาธิการพิเศษที่ประกอบด้วย สมาชิกพรรคเดโมแครต 6 คน และพรรครีพับลิกัน 6 คน จะไม่สามารถตกลงกันได้ในภารกิจลดยอดขาดดุลงบประมาณท่ามกลางความเห็นต่างเกี่ยวกับการขึ้นภาษีคนรวยและลดการใช้จ่ายภาคสังคม
ผู้นำในคองเกรสตั้งคณะกรรมาธิการพิเศษชุดนี้ขึ้น ในช่วงที่เกิดศึกงบประมาณฤดูร้อนที่ผ่านมา ซึ่งฉุดความเชื่อมั่นผู้บริโภค และกระตุ้นให้ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส (เอสแอนด์พี) ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ ที่ขณะนั้นอยู่ที่ AAA เป็นครั้งแรก รวมทั้งฉุดหุ้นวอลล์สตรีทดิ่งกว่า 2,000 จุด
คณะกรรมาธิการพิเศษมีภารกิจในการจัดทำรายละเอียดข้อตกลงตัดลดงบประมาณอย่างน้อย 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ ภายใน 10 ปี ซึ่งเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่า วอชิงตันสามารถผ่อนเพลาภาระหนี้ที่มีมูลค่าอยู่ที่ 15 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หรือเท่ากับมูลค่าเศรษฐกิจของประเทศ
“แม้ว่าเราไม่สามารถข้ามสะพานความเห็นต่างอย่างมากของคณะกรรมาธิการ แต่เราก็ยุติกระบวนการนี้ร่วมกันในความเชื่อที่ว่าวิกฤตงบประมาณของประเทศจำเป็นต้องได้รับการจัดการและเรามิอาจรอให้คนยุคถัดไปเข้ามาคลี่คลายได้” ถ้อยแถลงของเมอร์เรย์ กับเฮนซาร์ลิง กล่าว “เรายังหวังว่าสภาคองเกรสจะยึดพื้นฐานการทำงานของคณะกรรมาธิการนี้ และสามารถหาแนวทางจัดการกับปัญหาในแนวทางของการทำงานเพื่ออเมริกันชนและเพื่อเศรษฐกิจของเรา”
ก่อนหน้านี้ ทอม พอร์เซลลี หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ในอเมริกาของ อาร์บีซี แคปิตอล มาร์เก็ตส์ กังวลว่า หากไม่สามารถตกลงกันได้ อาจทำให้เหล่าสมาชิกสภาต้องกลับลำและพยายามผลักดันกฎหมายฉบับใหม่เพื่อสกัดการเริ่มต้นลดงบประมาณโดยอัตโนมัติ อันจะทำให้ระบบการเงินผันผวนและแนวโน้มความเสี่ยงเลวร้ายลง
ทั้งนี้ มีการตกลงกันไว้แล้วว่าถ้าหาก “ซูเปอร์คอมมิตตี” ชุดนี้ทำงานไม่สำเร็จ ก็จะต้องหันไปตัดลดงบประมาณรายจ่ายอัตโนมัติในงบด้านกลาโหม และโครงการภายในประเทศในจำนวนเท่าๆ กัน
“เรารู้สึกผิดหวังอย่างมากที่ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงลดยอดขาดดุลงบประมาณ” แพตตี เมอร์เรย์ วุฒิสมาชิกจากเดโมแครต และ เจบ เฮนซาร์ลิง ส.ส.จากรีพับลิกันกล่าวในถ้อยแถลงร่วม
ถ้อยแถลงนี้ยืนยันถึงการคาดเดาอย่างถูกต้องก่อนหน้านี้ ว่า คณะกรรมาธิการพิเศษที่ประกอบด้วย สมาชิกพรรคเดโมแครต 6 คน และพรรครีพับลิกัน 6 คน จะไม่สามารถตกลงกันได้ในภารกิจลดยอดขาดดุลงบประมาณท่ามกลางความเห็นต่างเกี่ยวกับการขึ้นภาษีคนรวยและลดการใช้จ่ายภาคสังคม
ผู้นำในคองเกรสตั้งคณะกรรมาธิการพิเศษชุดนี้ขึ้น ในช่วงที่เกิดศึกงบประมาณฤดูร้อนที่ผ่านมา ซึ่งฉุดความเชื่อมั่นผู้บริโภค และกระตุ้นให้ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส (เอสแอนด์พี) ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ ที่ขณะนั้นอยู่ที่ AAA เป็นครั้งแรก รวมทั้งฉุดหุ้นวอลล์สตรีทดิ่งกว่า 2,000 จุด
คณะกรรมาธิการพิเศษมีภารกิจในการจัดทำรายละเอียดข้อตกลงตัดลดงบประมาณอย่างน้อย 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ ภายใน 10 ปี ซึ่งเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่า วอชิงตันสามารถผ่อนเพลาภาระหนี้ที่มีมูลค่าอยู่ที่ 15 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หรือเท่ากับมูลค่าเศรษฐกิจของประเทศ
“แม้ว่าเราไม่สามารถข้ามสะพานความเห็นต่างอย่างมากของคณะกรรมาธิการ แต่เราก็ยุติกระบวนการนี้ร่วมกันในความเชื่อที่ว่าวิกฤตงบประมาณของประเทศจำเป็นต้องได้รับการจัดการและเรามิอาจรอให้คนยุคถัดไปเข้ามาคลี่คลายได้” ถ้อยแถลงของเมอร์เรย์ กับเฮนซาร์ลิง กล่าว “เรายังหวังว่าสภาคองเกรสจะยึดพื้นฐานการทำงานของคณะกรรมาธิการนี้ และสามารถหาแนวทางจัดการกับปัญหาในแนวทางของการทำงานเพื่ออเมริกันชนและเพื่อเศรษฐกิจของเรา”
ก่อนหน้านี้ ทอม พอร์เซลลี หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ในอเมริกาของ อาร์บีซี แคปิตอล มาร์เก็ตส์ กังวลว่า หากไม่สามารถตกลงกันได้ อาจทำให้เหล่าสมาชิกสภาต้องกลับลำและพยายามผลักดันกฎหมายฉบับใหม่เพื่อสกัดการเริ่มต้นลดงบประมาณโดยอัตโนมัติ อันจะทำให้ระบบการเงินผันผวนและแนวโน้มความเสี่ยงเลวร้ายลง
ทั้งนี้ มีการตกลงกันไว้แล้วว่าถ้าหาก “ซูเปอร์คอมมิตตี” ชุดนี้ทำงานไม่สำเร็จ ก็จะต้องหันไปตัดลดงบประมาณรายจ่ายอัตโนมัติในงบด้านกลาโหม และโครงการภายในประเทศในจำนวนเท่าๆ กัน