(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Jockeying intensifies for China’s politburo
By Willy Lam
02/11/2011
การเคลื่อนไหวเดิมหมากอย่างดุเดือดเข้มข้นกำลังเริ่มต้นขึ้นแล้ว เพื่อช่วงชิงกันเข้าครองเก้าอี้ในคณะกรรมการประจำแห่งกรมการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่มีสมาชิกรวม 9 คน ทั้งนี้เป็นที่คาดหมายกันว่า ผู้ที่นั่งอยู่ในองค์กรซึ่งเป็นวงในอันทรงอำนาจที่สุดของพรรคคอมมิวนิสต์แดนมังกรในเวลานี้ จะมีถึง 7 คนทีเดียวที่จะก้าวลงจากตำแหน่งในปี 2012 สำหรับบรรดาตัวเก็งที่ถูกจับตามองว่าเป็นผู้แข่งขันในเที่ยวนี้ บุคคลที่ถูกพูดถึงมากที่สุดย่อมต้องเป็น ป๋อ ซีไหล เลขาธิการพรรคสาขามหานครฉงชิ่ง เขาเป็นผู้ที่มีอำนาจบารมีสูงในกลุ่มที่เรียกกันว่า “แก๊งลูกท่านหลานเธอ” ถ้อยคำที่เขาที่โปรดโปรนหยิบยกขึ้นมาพูดอยู่เรื่อยๆ ก็คือ “ร้องเพลงสีแดงและเล่นงานพวกสีดำ”
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
ถ้าหากความพยายามต่างๆ ของ ป๋อ ซีไหล เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนสาขามหานครฉงชิ่ง ยังคงประสบความล้มเหลว ไม่อาจทำให้เขาก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสมาชิกในคณะกรรมการประจำของกรมการเมืองพรรคได้สำเร็จ หยีว์ เจิงเซิง (Yu Zhengsheng) เลขาธิการพรรคสาขามหานครเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นพวกลูกท่านหลานเธออีกคนหนึ่ง ก็เป็นผู้ที่ได้รับการจับตามองว่ามีโอกาสอยู่มากที่จะได้เลื่อนขั้นขึ้นไปอยู่ในตำแหน่งดังกล่าว ถึงแม้ในบางครั้ง หยีว์ ได้รับการเรียกขานว่าเป็น “ลูกพี่ใหญ่ในบรรดาพวกลูกท่านหลานเธอ” ทว่าเขาเป็นคนที่เก็บเนื้อเก็บตัวพอๆ กันกับที่ ป๋อ เป็นพวกชอบตีฆ้องร้องป่าวให้ผู้คนรู้จัก
เมื่อถึงเวลาเปิดการประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ 18 ในปีหน้า หยีว์จะอยู่ในวัย 67 ปี อันเป็นขีดอายุสูงสุดซึ่งเป็นที่ยอมรับกันได้ในเวลานี้สำหรับการก้าวเข้าสู่คณะกรรมการประจำกรมการเมือง ขณะที่ประวัติผลงานของเขาในฐานะเลขาธิการพรรคสาขาเซี่ยงไฮ้ ตลอดจนก่อนหน้านั้นที่เขาเป็นเลขาธิการพรรคสาขามณฑลเหอเป่ย ถูกมองว่าอยู่ในขั้นดาดๆ ธรรมดา แต่เขาก็เป็นที่ยอมรับได้ของกลุ่มแทบทุกกลุ่มภายในพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ยิ่งกว่านั้น ฐานะของ หยีว์ ในการเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของครอบครัวของเติ้ง เสี่ยวผิง ก็อาจทำให้เขาเป็นที่ชื่นชมของพวกผู้ปฏิบัติงานที่ถือตนเองเป็นลูกศิษย์ของ “สถาปนิกออกแบบการปฏิรูปผู้ยิ่งใหญ่” (Great Architect of Reform) ผู้นี้
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าเวลานี้ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนกำลังอยู่ในกระแสต่อต้านคัดค้าน ป๋อ การปรากฏตัวอย่างไม่คาดหมายของอดีตประธานาธิบดีเจียง เจ๋อหมิน เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ณ งานชุมนุมที่มหาศาลาประชาชน เพื่อรำลึกวาระครบรอบ 100 ปีของการปฏิวัติซินไห่ปี 1911 (การปฏิวัติโค่นล้มราชวงศ์ชิง และสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นมา) ได้รับการพิจารณาว่าเป็นข่าวในทางบวกสำหรับบรรดาพวกลูกท่านหลานเธอเฉกเช่น ป๋อ
อดีตผู้นำสูงสุดที่ปัจจุบันอายุ 85 ปีผู้นี้ ไม่ได้ไปปรากฏตัวในงานพิธีเมื่อเดือนกรกฎาคมเพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 90 ปีของการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน ทำให้เกิดข่าวลือแพร่สะพัดว่าเขาป่วยหนักกำลังใกล้จะสิ้นชีวิตแล้ว เจียง ซึ่งตัวเขาเองก็เป็นพวกลูกท่านหลานเธอผู้หนึ่ง เป็นเพื่อนมิตรสนิทสนมกับ ป๋อ อี้โป (Bo Yibo) ผู้อาวุโสของพรรคผู้ล่วงลับที่เป็นบิดาของ ป๋อ ซีไหล
ณ การประชุมสมัชชาผู้แทนพรรคทั่วประเทศครั้งที่ 17 เมื่อปี 2007 เจียงยังแสดงบทบาทอันสำคัญมากในการเลือกสรรให้รองประธานาธิบดีสี จิ้นผิง (Xi Jinping) ซึ่งก็เป็นพวกลูกท่านหลานเธออีกคนหนึ่ง ได้รับการวางตัวที่จะขึ้นเป็นทายาทสืบทอดตำแหน่งเลขาธิการใหญ่พรรค และประธานาธิบดีแห่งรัฐต่อจาก หู จิ่นเทา ก่อนที่เขาจะล้มป่วยหนักในช่วงต้นปีนี้ มีรายงานว่า เจียง ให้การสนับสนุนอย่างแข็งขันต่อรองนายกรัฐมนตรี หวัง ฉีซาน (Wang Qishan) บุตรเขยของรองนายกรัฐมนตรี เหยา อี้หลิน (Yao Yilin) ผู้ล่วงลับ ให้ก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีสืบแทน เวิน เจียเป่า ผู้ซึ่งจะสละตำแหน่งนี้ในการประชุมสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติ ไม่นานนักภายหลังการประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ 18
เรื่องนี้บังเกิดขึ้นทั้งๆ ที่มีความเข้าใจกันอย่างเป็นนัยๆ ณ การประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ 17 แล้วว่า รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร หลี่ เค่อเฉียง (Li Keqiang) บุคคลสำคัญมากของกลุ่มสันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์ อีกทั้งเป็นลูกศิษย์คนสำคัญคนหนึ่งของประธานาธิบดีหู คือผู้ที่จะได้รับตำแหน่งของเวิน
อย่างไรก็ดี พัฒนาการหลายๆ ประการที่เกิดขึ้นทั้งในช่วงก่อนหน้าและภายหลังจากการประชุมเต็มคณะครั้งที่ 6 ของคณะกรรมการกลางพรรคชุดที่ 17 ในกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมาคราวนี้ ดูเหมือนจะบ่งชี้ให้เห็นว่า โชคลาภทางการเมืองของ หลี่ ผู้ซึ่งเวลานี้อยู่ในวัย 56 ปี กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น และเขาไม่น่าจะมีปัญหาอะไรในการขึ้นเป็นทายาทสืบทอดตำแหน่งหัวหน้าคณะรัฐบาลต่อจาก เวิน
เรื่องนี้มีเครื่องพิสูจน์ยืนยันจากข้อเท็จจริงที่ว่า สื่อมวลชนของทางการได้เผยแพร่บทความหลายต่อหลายชิ้นที่มีเนื้อหายกย่องสรรเสริญความสำเร็จของ หลี่ เมื่อตอนที่เขาปฏิบัติงานอยู่ตามมณฑลต่างๆ ตัวอย่างเช่น สำนักข่าวซินหวาเมื่อช่วงต้นเดือนนี้ได้เสนอบทความที่เขียนโดยคอมเมนเตเตอร์ผู้ใช้นามว่า กง เหวิน (Gong Wen) มีเนื้อความยกย่องผลงานของ หลี่ ในตอนที่ทำงานอยู่ในมณฑลเหอหนานระหว่างปี 1998 ถึงปี 2004
บทความชิ้นนี้สดุดี หลี่ ว่าได้ดำเนินการสร้างความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจอย่างได้ผลกับทั้งฝ่ายตะวันออกและฝ่ายตะวันตก โดยเขียนไว้ว่า “หลี่สามารถดึงดูดทั้งเทคโนโลยี, เงินทุน, และผู้มีความรู้ความสามารถจากบรรดาประเทศพัฒนาแล้ว ... เหอหนานยังได้สร้างสายสัมพันธ์กับเอเชียตะวันออก, เอเชียกลาง, และยุโรปตะวันออกอีกด้วย”
บทความดังกล่าวซึ่งเริ่มแรกทีเดียวปรากฏในวารสาร “การสร้างพรรค” (Party Construction) ยังเชิดชูประวัติการทำงานในด้านเกษตรกรรมของ หลี่ โดยระบุว่า “เหอหนานไม่เพียงใช้ความพยายามอย่างหนักจนสามารถเลี้ยงดูประชาชน 100 ล้านคนของตนได้เท่านั้น แต่ยังสามารถส่งอาหารแปรรูปชนิดต่างๆ จำนวนมากไปยังมณฑลอื่นๆ อีกด้วย”
สื่อมวลชนของรัฐแห่งอื่นๆ อีกสองสามแห่ง ได้เผยแพร่เรื่องราวของ หลี่ ในฐานะเป็นเยาวชนตัวอย่างผู้ยืนหยัดในโครงการรณรงค์มุ่งสู่ชนบท ด้วยการไปอยู่ในชนบทของมณฑลอานฮุยตั้งแต่ปี 1974 จนถึงปี 1977 รายงานเหล่านี้ได้ยกย่องความสามารถของ หลี่ ในวัยหนุ่ม ผู้ขยันขันแข็งทำการศึกษาดูตำรับตำราไปจนถึงกลางค่ำกลางคืน ถึงแม้ในระหว่างช่วงกลางวันก็ต้องทำงานอย่างหนักในไร่นา
การที่มีรายงานข่าวอย่างเอิกเกริกไม่ขาดสายเรื่องที่ หลี่ ไปเยือนสถานที่ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศจีน เป็นสัญญาณบ่งบอกอีกประการหนึ่งว่าดวงดาราของรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหารผู้นี้ยังคงเจิดจรัสแสงต่อไป ตัวอย่างเช่น หลี่ ได้เป็นตัวแทนของคณะรัฐมนตรีจีนในการเยือนฮ่องกงในเดือนสิงหาคม โดยระหว่างอยู่ที่เขตปกครองพิเศษแห่งนั้น เขาให้สัญญาที่จะดำเนินนโยบายเศรษฐกิจอันเอื้ออำนวย เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจของฮ่องกงให้เจริญรุ่งเรือง
ตอนต้นเดืนอกันยายน หลี่ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของจีนในงานแสดงสินค้า ไชน่า-ยูเรเชีย เอ็กซ์โป (China-Eurasia Expo) ครั้งที่ 1 ณ เมืองอุรุมชี เขตปกครองตนเองชนชาติอุยกูร์แห่งซินเจียง (ซินเกียง) งานแสดงสินค้าคราวนี้เป็นตัวแทนความพยายามอันกระตือรือร้นของทางฝ่ายจีน ในการส่งเสริมเพิ่มพูนความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและด้านอื่นๆ กับประเทศในเอเชียใต้และเอเชียกลาง อย่างเช่น ปากีสถาน, อัฟกานิสถาน, คีร์กีซสถาน, อาเซอร์ไบจาน, และ คาซัคสถาน ในช่วงสิ้นเดือนตุลาคมต่อมาจนถึงต้นเดือนนี้ หลี่ ยังได้เดินทางไปเยือนเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้เป็นเวลา 1 สัปดาห์ โดยดูเหมือนจะเป็นความพยายามที่จะฟื้นฟูการเจรจา 6 ฝ่ายว่าด้วยการปลดอาวุธนิวเคลียร์ในคาบสมุทรเกาหลี ที่อยู่ในภาวะชะงักงันมายาวนาน
การประชุมเต็มคณะของคณะกรรมการกลางพรรคคราวนี้ ยังเป็นการสาดแสงทำให้พอมองเห็นเป็นเลาๆ ถึงโอกาสที่จะเข้าสู่ตำแหน่งคณะกรรมการประจำกรมการเมืองของผู้ปฏิบัติงานหลายๆ คนที่ไม่ได้เป็นพันธมิตรกับทั้งกลุ่มสันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์ และทั้งแก๊งลูกท่านหลานเธอ ถ้าหากสาเหตุมีเพียงเพราะคณะผู้นำพรรคกำลังให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้นทุกทีกับประเด็นปัญหาอันเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม, อุดมการณ์, และอำนาจละมุนแล้ว หลิว หยุนซาน (Liu Yunshan) สมาชิกกรมการเมืองผู้รับผิดชอบดูแลงานโฆษณา ก็มีโอกาสเพิ่มขึ้นมากที่จะได้เก้าอี้ในคณะกรรมการประจำกรมการเมืองตัวที่ หลี่ ฉางชุน (Li Changchun) ครองอยู่ในเวลานี้และจะอำลาไปในสมัชชาพรรคปีหน้า
ขณะที่ หลิว ซึ่งเป็นนักทฤษฎีผู้อยู่ในวัย 64 ปี ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยเหล่าปัญญาชนเสรีนิยมว่าทำตัวเป็นคอมมิสซาร์หัวอนุรักษนิยม แต่เขาก็ทำตัวเองให้เป็นที่รักใคร่ชื่นชมของกลุ่มต่างๆ ในพรรคคอมมิวนิสต์จีน จากความสามารถในการบรรจุคนลงในป้อมค่ายของฝ่ายเคร่งอุดมการณ์ หลิวซึ่งเคยทำงานเป็นนักข่าวของสำนักข่าวซินหวา ยังถูกมองว่ามีประสิทธิภาพสูงในการสร้างความมั่นใจว่า ปากเสียงที่ก่อให้เกิดความไร้เสถียรภาพ และที่ “ไม่สอดคล้องกลมเกลียว” ยังคงถูกกีดกันไม่ให้มีบทบาทในการอภิปรายถกเถียงของสาธารณชน
การที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนอุทิศการประชุมเต็มๆ ของคณะกรรมการกลางเต็มคณะคราวนี้ ให้แก่เรื่องวัฒนธรรมและอุดมการณ์ ยังสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของ หลิว ในการชักนำให้พรรคบังเกิดความสนใจเรื่องซึ่งแต่ไหนแต่ไรมาก็ถูกทอดทิ้งละเลยอย่างเช่นเรื่องแผนการเกี่ยวกับอำนาจละมุนของจีน และการพิทักษ์ปกป้อง “ความมั่นคงทางวัฒนธรรม” ของประเทศชาติ
เป้าหมายสำคัญที่สุดประการหนึ่งของ “การปฏิรูปทางวัฒนธรรม” ตามที่คณะกรรมการกลางระบุเอาไว้ ได้แก่การที่ชาวจีนทั้งมวลควรที่จะ “เพิ่มความเข้มแข็งให้แก่จิตสำนึกในด้านวัฒนธรรมของตนเอง และความเชื่อมั่นในวัฒนธรรมของตนเอง” เพื่อที่จะได้ “เพิ่มพูนส่งเสริมอำนาจละมุนทางวัฒนธรรมของประเทศชาติ” ได้ดียิ่งขึ้น
เนื่องจากพรรคคอมมิวนิสต์มีเป้าหมายมาอย่างยาวนานแล้วที่จะพยายามโฆษณาเชิงรุกเกี่ยวกับโมเดลการปกครองโดยพรรคเดียวแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จของจีน ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้นจึงไม่น่าที่จะมีการนำเสนอกลไกการเมือง “แบบตะวันตก” เข้าสู่กระบวนการในการคัดสรรสมาชิกกรมการเมืองของพรรค
เรื่องนี้บังเกิดขึ้นถึงแม้ทั้งประธานาธิบดีหู และนายกรัฐมนตรีเวิน ได้ให้คำมั่นสัญญาที่ว่าขยาย“ประชาธิปไตยภายในพรรค” และนำเอา “บรรทัดฐานระดับโลก ดังเช่น ประชาธิปไตย และหลักนิติธรรม เข้ามาใช้ให้มากขึ้นตามลำดับ เมื่อพิจารณาจากประเพณีอันยาวนานแห่งการคบคิดงุบงิบกันภายในกลุ่มต่างๆ ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนแล้ว ส่วนประกอบของสมาชิกกรมการเมือง ตลอดจนของคณะกรรมการประจำกรมการเมืองชุดใหม่ ยังน่าที่จะตัดสินกันโดยกลเม็ดสกปรกแบบเก่าๆ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนต่อรองกันในแบบลักษณะพิเศษของจีน
ดร.วิลลี โว-ลัป ลัม (Dr Willy Wo-Lap Lam) เป็นนักวิจัยอาวุโส ณ มูลนิธิเจมส์ทาวน์ (The Jamestown Foundation) และเคยทำงานในระดับบรรณาธิการอาวุโสของสื่อระหว่างประเทศหลายเจ้า เช่น นิตยสารเอเชียวีก, หนังสือพิมพ์เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์, และในสำนักงานใหญ่ภาคเอเชีย-แปซิฟิก ของ ซีเอ็นเอ็น เขาเขียนหนังสือเกี่ยวกับประเทศจีนมาแล้ว 5 เล่ม โดยเล่มที่เพิ่งตีพิมพ์จำหน่ายเมื่อเร็วๆ นี้คือ “Chinese Politics in the Hu Jintao Era: New Leaders, New Challenges” เขายังเป็นศาสตราจารย์สมทบในด้านจีนศึกษา ณ มหาวิทยาลัยนานาชาติอะคิตะ (Akita International University) ประเทศญี่ปุ่น และที่ มหาวิทยาลัยจีนแห่งฮ่องกง (Chinese University of Hong Kong)
Jockeying intensifies for China’s politburo
By Willy Lam
02/11/2011
การเคลื่อนไหวเดิมหมากอย่างดุเดือดเข้มข้นกำลังเริ่มต้นขึ้นแล้ว เพื่อช่วงชิงกันเข้าครองเก้าอี้ในคณะกรรมการประจำแห่งกรมการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่มีสมาชิกรวม 9 คน ทั้งนี้เป็นที่คาดหมายกันว่า ผู้ที่นั่งอยู่ในองค์กรซึ่งเป็นวงในอันทรงอำนาจที่สุดของพรรคคอมมิวนิสต์แดนมังกรในเวลานี้ จะมีถึง 7 คนทีเดียวที่จะก้าวลงจากตำแหน่งในปี 2012 สำหรับบรรดาตัวเก็งที่ถูกจับตามองว่าเป็นผู้แข่งขันในเที่ยวนี้ บุคคลที่ถูกพูดถึงมากที่สุดย่อมต้องเป็น ป๋อ ซีไหล เลขาธิการพรรคสาขามหานครฉงชิ่ง เขาเป็นผู้ที่มีอำนาจบารมีสูงในกลุ่มที่เรียกกันว่า “แก๊งลูกท่านหลานเธอ” ถ้อยคำที่เขาที่โปรดโปรนหยิบยกขึ้นมาพูดอยู่เรื่อยๆ ก็คือ “ร้องเพลงสีแดงและเล่นงานพวกสีดำ”
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
ถ้าหากความพยายามต่างๆ ของ ป๋อ ซีไหล เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนสาขามหานครฉงชิ่ง ยังคงประสบความล้มเหลว ไม่อาจทำให้เขาก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสมาชิกในคณะกรรมการประจำของกรมการเมืองพรรคได้สำเร็จ หยีว์ เจิงเซิง (Yu Zhengsheng) เลขาธิการพรรคสาขามหานครเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นพวกลูกท่านหลานเธออีกคนหนึ่ง ก็เป็นผู้ที่ได้รับการจับตามองว่ามีโอกาสอยู่มากที่จะได้เลื่อนขั้นขึ้นไปอยู่ในตำแหน่งดังกล่าว ถึงแม้ในบางครั้ง หยีว์ ได้รับการเรียกขานว่าเป็น “ลูกพี่ใหญ่ในบรรดาพวกลูกท่านหลานเธอ” ทว่าเขาเป็นคนที่เก็บเนื้อเก็บตัวพอๆ กันกับที่ ป๋อ เป็นพวกชอบตีฆ้องร้องป่าวให้ผู้คนรู้จัก
เมื่อถึงเวลาเปิดการประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ 18 ในปีหน้า หยีว์จะอยู่ในวัย 67 ปี อันเป็นขีดอายุสูงสุดซึ่งเป็นที่ยอมรับกันได้ในเวลานี้สำหรับการก้าวเข้าสู่คณะกรรมการประจำกรมการเมือง ขณะที่ประวัติผลงานของเขาในฐานะเลขาธิการพรรคสาขาเซี่ยงไฮ้ ตลอดจนก่อนหน้านั้นที่เขาเป็นเลขาธิการพรรคสาขามณฑลเหอเป่ย ถูกมองว่าอยู่ในขั้นดาดๆ ธรรมดา แต่เขาก็เป็นที่ยอมรับได้ของกลุ่มแทบทุกกลุ่มภายในพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ยิ่งกว่านั้น ฐานะของ หยีว์ ในการเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของครอบครัวของเติ้ง เสี่ยวผิง ก็อาจทำให้เขาเป็นที่ชื่นชมของพวกผู้ปฏิบัติงานที่ถือตนเองเป็นลูกศิษย์ของ “สถาปนิกออกแบบการปฏิรูปผู้ยิ่งใหญ่” (Great Architect of Reform) ผู้นี้
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าเวลานี้ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนกำลังอยู่ในกระแสต่อต้านคัดค้าน ป๋อ การปรากฏตัวอย่างไม่คาดหมายของอดีตประธานาธิบดีเจียง เจ๋อหมิน เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ณ งานชุมนุมที่มหาศาลาประชาชน เพื่อรำลึกวาระครบรอบ 100 ปีของการปฏิวัติซินไห่ปี 1911 (การปฏิวัติโค่นล้มราชวงศ์ชิง และสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นมา) ได้รับการพิจารณาว่าเป็นข่าวในทางบวกสำหรับบรรดาพวกลูกท่านหลานเธอเฉกเช่น ป๋อ
อดีตผู้นำสูงสุดที่ปัจจุบันอายุ 85 ปีผู้นี้ ไม่ได้ไปปรากฏตัวในงานพิธีเมื่อเดือนกรกฎาคมเพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 90 ปีของการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน ทำให้เกิดข่าวลือแพร่สะพัดว่าเขาป่วยหนักกำลังใกล้จะสิ้นชีวิตแล้ว เจียง ซึ่งตัวเขาเองก็เป็นพวกลูกท่านหลานเธอผู้หนึ่ง เป็นเพื่อนมิตรสนิทสนมกับ ป๋อ อี้โป (Bo Yibo) ผู้อาวุโสของพรรคผู้ล่วงลับที่เป็นบิดาของ ป๋อ ซีไหล
ณ การประชุมสมัชชาผู้แทนพรรคทั่วประเทศครั้งที่ 17 เมื่อปี 2007 เจียงยังแสดงบทบาทอันสำคัญมากในการเลือกสรรให้รองประธานาธิบดีสี จิ้นผิง (Xi Jinping) ซึ่งก็เป็นพวกลูกท่านหลานเธออีกคนหนึ่ง ได้รับการวางตัวที่จะขึ้นเป็นทายาทสืบทอดตำแหน่งเลขาธิการใหญ่พรรค และประธานาธิบดีแห่งรัฐต่อจาก หู จิ่นเทา ก่อนที่เขาจะล้มป่วยหนักในช่วงต้นปีนี้ มีรายงานว่า เจียง ให้การสนับสนุนอย่างแข็งขันต่อรองนายกรัฐมนตรี หวัง ฉีซาน (Wang Qishan) บุตรเขยของรองนายกรัฐมนตรี เหยา อี้หลิน (Yao Yilin) ผู้ล่วงลับ ให้ก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีสืบแทน เวิน เจียเป่า ผู้ซึ่งจะสละตำแหน่งนี้ในการประชุมสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติ ไม่นานนักภายหลังการประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ 18
เรื่องนี้บังเกิดขึ้นทั้งๆ ที่มีความเข้าใจกันอย่างเป็นนัยๆ ณ การประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ 17 แล้วว่า รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร หลี่ เค่อเฉียง (Li Keqiang) บุคคลสำคัญมากของกลุ่มสันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์ อีกทั้งเป็นลูกศิษย์คนสำคัญคนหนึ่งของประธานาธิบดีหู คือผู้ที่จะได้รับตำแหน่งของเวิน
อย่างไรก็ดี พัฒนาการหลายๆ ประการที่เกิดขึ้นทั้งในช่วงก่อนหน้าและภายหลังจากการประชุมเต็มคณะครั้งที่ 6 ของคณะกรรมการกลางพรรคชุดที่ 17 ในกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมาคราวนี้ ดูเหมือนจะบ่งชี้ให้เห็นว่า โชคลาภทางการเมืองของ หลี่ ผู้ซึ่งเวลานี้อยู่ในวัย 56 ปี กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น และเขาไม่น่าจะมีปัญหาอะไรในการขึ้นเป็นทายาทสืบทอดตำแหน่งหัวหน้าคณะรัฐบาลต่อจาก เวิน
เรื่องนี้มีเครื่องพิสูจน์ยืนยันจากข้อเท็จจริงที่ว่า สื่อมวลชนของทางการได้เผยแพร่บทความหลายต่อหลายชิ้นที่มีเนื้อหายกย่องสรรเสริญความสำเร็จของ หลี่ เมื่อตอนที่เขาปฏิบัติงานอยู่ตามมณฑลต่างๆ ตัวอย่างเช่น สำนักข่าวซินหวาเมื่อช่วงต้นเดือนนี้ได้เสนอบทความที่เขียนโดยคอมเมนเตเตอร์ผู้ใช้นามว่า กง เหวิน (Gong Wen) มีเนื้อความยกย่องผลงานของ หลี่ ในตอนที่ทำงานอยู่ในมณฑลเหอหนานระหว่างปี 1998 ถึงปี 2004
บทความชิ้นนี้สดุดี หลี่ ว่าได้ดำเนินการสร้างความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจอย่างได้ผลกับทั้งฝ่ายตะวันออกและฝ่ายตะวันตก โดยเขียนไว้ว่า “หลี่สามารถดึงดูดทั้งเทคโนโลยี, เงินทุน, และผู้มีความรู้ความสามารถจากบรรดาประเทศพัฒนาแล้ว ... เหอหนานยังได้สร้างสายสัมพันธ์กับเอเชียตะวันออก, เอเชียกลาง, และยุโรปตะวันออกอีกด้วย”
บทความดังกล่าวซึ่งเริ่มแรกทีเดียวปรากฏในวารสาร “การสร้างพรรค” (Party Construction) ยังเชิดชูประวัติการทำงานในด้านเกษตรกรรมของ หลี่ โดยระบุว่า “เหอหนานไม่เพียงใช้ความพยายามอย่างหนักจนสามารถเลี้ยงดูประชาชน 100 ล้านคนของตนได้เท่านั้น แต่ยังสามารถส่งอาหารแปรรูปชนิดต่างๆ จำนวนมากไปยังมณฑลอื่นๆ อีกด้วย”
สื่อมวลชนของรัฐแห่งอื่นๆ อีกสองสามแห่ง ได้เผยแพร่เรื่องราวของ หลี่ ในฐานะเป็นเยาวชนตัวอย่างผู้ยืนหยัดในโครงการรณรงค์มุ่งสู่ชนบท ด้วยการไปอยู่ในชนบทของมณฑลอานฮุยตั้งแต่ปี 1974 จนถึงปี 1977 รายงานเหล่านี้ได้ยกย่องความสามารถของ หลี่ ในวัยหนุ่ม ผู้ขยันขันแข็งทำการศึกษาดูตำรับตำราไปจนถึงกลางค่ำกลางคืน ถึงแม้ในระหว่างช่วงกลางวันก็ต้องทำงานอย่างหนักในไร่นา
การที่มีรายงานข่าวอย่างเอิกเกริกไม่ขาดสายเรื่องที่ หลี่ ไปเยือนสถานที่ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศจีน เป็นสัญญาณบ่งบอกอีกประการหนึ่งว่าดวงดาราของรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหารผู้นี้ยังคงเจิดจรัสแสงต่อไป ตัวอย่างเช่น หลี่ ได้เป็นตัวแทนของคณะรัฐมนตรีจีนในการเยือนฮ่องกงในเดือนสิงหาคม โดยระหว่างอยู่ที่เขตปกครองพิเศษแห่งนั้น เขาให้สัญญาที่จะดำเนินนโยบายเศรษฐกิจอันเอื้ออำนวย เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจของฮ่องกงให้เจริญรุ่งเรือง
ตอนต้นเดืนอกันยายน หลี่ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของจีนในงานแสดงสินค้า ไชน่า-ยูเรเชีย เอ็กซ์โป (China-Eurasia Expo) ครั้งที่ 1 ณ เมืองอุรุมชี เขตปกครองตนเองชนชาติอุยกูร์แห่งซินเจียง (ซินเกียง) งานแสดงสินค้าคราวนี้เป็นตัวแทนความพยายามอันกระตือรือร้นของทางฝ่ายจีน ในการส่งเสริมเพิ่มพูนความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและด้านอื่นๆ กับประเทศในเอเชียใต้และเอเชียกลาง อย่างเช่น ปากีสถาน, อัฟกานิสถาน, คีร์กีซสถาน, อาเซอร์ไบจาน, และ คาซัคสถาน ในช่วงสิ้นเดือนตุลาคมต่อมาจนถึงต้นเดือนนี้ หลี่ ยังได้เดินทางไปเยือนเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้เป็นเวลา 1 สัปดาห์ โดยดูเหมือนจะเป็นความพยายามที่จะฟื้นฟูการเจรจา 6 ฝ่ายว่าด้วยการปลดอาวุธนิวเคลียร์ในคาบสมุทรเกาหลี ที่อยู่ในภาวะชะงักงันมายาวนาน
การประชุมเต็มคณะของคณะกรรมการกลางพรรคคราวนี้ ยังเป็นการสาดแสงทำให้พอมองเห็นเป็นเลาๆ ถึงโอกาสที่จะเข้าสู่ตำแหน่งคณะกรรมการประจำกรมการเมืองของผู้ปฏิบัติงานหลายๆ คนที่ไม่ได้เป็นพันธมิตรกับทั้งกลุ่มสันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์ และทั้งแก๊งลูกท่านหลานเธอ ถ้าหากสาเหตุมีเพียงเพราะคณะผู้นำพรรคกำลังให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้นทุกทีกับประเด็นปัญหาอันเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม, อุดมการณ์, และอำนาจละมุนแล้ว หลิว หยุนซาน (Liu Yunshan) สมาชิกกรมการเมืองผู้รับผิดชอบดูแลงานโฆษณา ก็มีโอกาสเพิ่มขึ้นมากที่จะได้เก้าอี้ในคณะกรรมการประจำกรมการเมืองตัวที่ หลี่ ฉางชุน (Li Changchun) ครองอยู่ในเวลานี้และจะอำลาไปในสมัชชาพรรคปีหน้า
ขณะที่ หลิว ซึ่งเป็นนักทฤษฎีผู้อยู่ในวัย 64 ปี ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยเหล่าปัญญาชนเสรีนิยมว่าทำตัวเป็นคอมมิสซาร์หัวอนุรักษนิยม แต่เขาก็ทำตัวเองให้เป็นที่รักใคร่ชื่นชมของกลุ่มต่างๆ ในพรรคคอมมิวนิสต์จีน จากความสามารถในการบรรจุคนลงในป้อมค่ายของฝ่ายเคร่งอุดมการณ์ หลิวซึ่งเคยทำงานเป็นนักข่าวของสำนักข่าวซินหวา ยังถูกมองว่ามีประสิทธิภาพสูงในการสร้างความมั่นใจว่า ปากเสียงที่ก่อให้เกิดความไร้เสถียรภาพ และที่ “ไม่สอดคล้องกลมเกลียว” ยังคงถูกกีดกันไม่ให้มีบทบาทในการอภิปรายถกเถียงของสาธารณชน
การที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนอุทิศการประชุมเต็มๆ ของคณะกรรมการกลางเต็มคณะคราวนี้ ให้แก่เรื่องวัฒนธรรมและอุดมการณ์ ยังสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของ หลิว ในการชักนำให้พรรคบังเกิดความสนใจเรื่องซึ่งแต่ไหนแต่ไรมาก็ถูกทอดทิ้งละเลยอย่างเช่นเรื่องแผนการเกี่ยวกับอำนาจละมุนของจีน และการพิทักษ์ปกป้อง “ความมั่นคงทางวัฒนธรรม” ของประเทศชาติ
เป้าหมายสำคัญที่สุดประการหนึ่งของ “การปฏิรูปทางวัฒนธรรม” ตามที่คณะกรรมการกลางระบุเอาไว้ ได้แก่การที่ชาวจีนทั้งมวลควรที่จะ “เพิ่มความเข้มแข็งให้แก่จิตสำนึกในด้านวัฒนธรรมของตนเอง และความเชื่อมั่นในวัฒนธรรมของตนเอง” เพื่อที่จะได้ “เพิ่มพูนส่งเสริมอำนาจละมุนทางวัฒนธรรมของประเทศชาติ” ได้ดียิ่งขึ้น
เนื่องจากพรรคคอมมิวนิสต์มีเป้าหมายมาอย่างยาวนานแล้วที่จะพยายามโฆษณาเชิงรุกเกี่ยวกับโมเดลการปกครองโดยพรรคเดียวแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จของจีน ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้นจึงไม่น่าที่จะมีการนำเสนอกลไกการเมือง “แบบตะวันตก” เข้าสู่กระบวนการในการคัดสรรสมาชิกกรมการเมืองของพรรค
เรื่องนี้บังเกิดขึ้นถึงแม้ทั้งประธานาธิบดีหู และนายกรัฐมนตรีเวิน ได้ให้คำมั่นสัญญาที่ว่าขยาย“ประชาธิปไตยภายในพรรค” และนำเอา “บรรทัดฐานระดับโลก ดังเช่น ประชาธิปไตย และหลักนิติธรรม เข้ามาใช้ให้มากขึ้นตามลำดับ เมื่อพิจารณาจากประเพณีอันยาวนานแห่งการคบคิดงุบงิบกันภายในกลุ่มต่างๆ ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนแล้ว ส่วนประกอบของสมาชิกกรมการเมือง ตลอดจนของคณะกรรมการประจำกรมการเมืองชุดใหม่ ยังน่าที่จะตัดสินกันโดยกลเม็ดสกปรกแบบเก่าๆ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนต่อรองกันในแบบลักษณะพิเศษของจีน
ดร.วิลลี โว-ลัป ลัม (Dr Willy Wo-Lap Lam) เป็นนักวิจัยอาวุโส ณ มูลนิธิเจมส์ทาวน์ (The Jamestown Foundation) และเคยทำงานในระดับบรรณาธิการอาวุโสของสื่อระหว่างประเทศหลายเจ้า เช่น นิตยสารเอเชียวีก, หนังสือพิมพ์เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์, และในสำนักงานใหญ่ภาคเอเชีย-แปซิฟิก ของ ซีเอ็นเอ็น เขาเขียนหนังสือเกี่ยวกับประเทศจีนมาแล้ว 5 เล่ม โดยเล่มที่เพิ่งตีพิมพ์จำหน่ายเมื่อเร็วๆ นี้คือ “Chinese Politics in the Hu Jintao Era: New Leaders, New Challenges” เขายังเป็นศาสตราจารย์สมทบในด้านจีนศึกษา ณ มหาวิทยาลัยนานาชาติอะคิตะ (Akita International University) ประเทศญี่ปุ่น และที่ มหาวิทยาลัยจีนแห่งฮ่องกง (Chinese University of Hong Kong)