เอเอฟพี - การปฏิวัติต่อต้านระบบกัดดาฟีในลิเบียอาจเป็นแรงกระตุ้นที่ดี แต่ไม่อาจเกิดขึ้นซ้ำอีกในโลกอาหรับ เนื่องจากต้องมีปัจจัยพร้อมทั้งกองกำลังติดอาวุธ และการแทรกแซงทางทหารจากต่างชาติ นักวิเคราะห์สถานการณ์โลกอาหรับแสดงทรรศนะไว้เช่นนี้
พันเอก มูอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้กุมอำนาจปกครองลิเบียจากการรัฐประหารเมื่อ 42 ปีก่อน กำลังอยู่ในสภาพล่อแหลมที่จะกลายเป็นผู้นำโลกอาหรับลำดับที่ 3 ที่ถูกโค่นล้มใน “อาหรับ สปริง” ต่อจากประธานาธิบดีตูนิเซียและอียิปต์
ขณะที่บัลลังก์ของ ซิเน เอล อาบีดีน เบน อาลี แห่งตูนิเซีย และฮอสนี มูบารัค แห่งอียิปต์ ถูกทลายลงจากการประท้วงโดยปราศจากความรุนแรง และใช้เวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ ทว่า กลุ่มกบฏลิเบียที่มีนาโตหนุนหลังกลับต้องใช้เวลานานถึง 6 เดือน กระทั่งเดินมาถึงจุดนี้
ทั้งนี้ การปราบปรามประชาชนของซีเรียตั้งแต่เดือนมีนาคม ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตแล้วมากกว่า 2,200 ราย ส่วนประธานาธิบดีอาลี อับดุลเลาะห์ ซาเลห์ แห่งเยเมน ได้ประกาศแผนเดินทางกลับประเทศ หลังเข้ารักษาตัวอยู่ในซาอุดีอาระเบีย ประชาชนทั้งสองประเทศกำลังชุมนุมประท้วงเรียกร้องการปฏิรูปการเมืองไม่ต่างจากลิเบีย
“ดิฉันคิดว่า การมีผู้ปกครองชาติอาหรับอีกรายหนึ่งถูกโค่นอำนาจจะเป็นแรงกระตุ้นต่อการเคลื่อนไหวต่อต้านผู้นำในชาติอาหรับอื่นๆ” เจน คินนินมอนต์ (Jane Kinninmont) ผู้เชี่ยวชาญโลกอาหรับจากสถาบันชาธัมเฮาส์ (Chatham House) แสดงความเห็นไว้
“โมร็อกโกสามารถรับมือการประท้วงด้วยการประกาศปฏิรูปบางส่วน ขณะที่แอลจีเรียสามารถสกัดกันการประท้วงได้สำเร็จ ซึ่งดูเหมือนไม่สามารถนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองได้”
ขณะเดียวกัน ซอลัม คอวากิบี (Salam Kawakibi) ผู้อำนวยสถาบันวิจัยอาหรับ รีฟอร์ม อินิเชียทีฟ (Arab Reform Initiative) ยอมรับว่า การบุกเข้ากรุงตริโปลีของกบฏลิเบีย อาจทำให้นักปฏิวัติในโลกอาหรับมีความหวัง
อย่างไรก็ตาม คอวากิบีแสดงความผิดหวังที่ “กบฏลิเบียเดินสู่ชัยชนะด้วยความช่วยเหลือจากต่างชาติ” พร้อมทั้งสำทับว่า การประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในซีเรียและเยเมน ต้องดำเนินต่อไปโดยไม่ใช้ความรุนแรง และหลีกเลี่ยงการแทรกแซงจากต่างชาติ
นอกจากนี้ เขายังแสดงความกังวลถึง “กลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง” ที่อาจปล้นชัยชนะไปจากกลุ่มปฏิวัติลิเบีย รวมถึงการแทรกแซงจากต่างชาติ
“ประเทศที่ส่งกำลังเข้าแทรกแซงลิเบีย โดยอ้างถึงมนุษยธรรม ต่างจับจ้องตลาดที่จะเปิดขึ้น และการบูรณะประเทศใหม่หลังจากนี้”
ทั้งนี้ ลิเบียมีน้ำมันดิบสำรอง 44,000 ล้านบาร์เรล ซึ่งมากที่สุดในแอฟริกา ยิ่งไปกว่านั้น น้ำมันลิเบียเป็นที่ต้องการ เนื่องจากมีค่ากำมะถันต่ำสุด จัดเป็นน้ำมันคุณภาพสูง ประกอบกับการที่ลิเบียตั้งอยูไม่ไกลจากยุโรป
“ผมกลัวว่าหลังจากปลดปล่อยลิเบีย นอกเหนือจากราคาค่างวดทางเศรษฐกิจที่ต้องจ่ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ลิเบียยังต้องจ่ายราคาทางการเมือง จากการที่จะกลายเป็นประเทศที่มีนโยบายใกล้ชิดชาติตะวันตก” ซอลัม คอวากิบี กล่าวทิ้งท้าย
พันเอก มูอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้กุมอำนาจปกครองลิเบียจากการรัฐประหารเมื่อ 42 ปีก่อน กำลังอยู่ในสภาพล่อแหลมที่จะกลายเป็นผู้นำโลกอาหรับลำดับที่ 3 ที่ถูกโค่นล้มใน “อาหรับ สปริง” ต่อจากประธานาธิบดีตูนิเซียและอียิปต์
ขณะที่บัลลังก์ของ ซิเน เอล อาบีดีน เบน อาลี แห่งตูนิเซีย และฮอสนี มูบารัค แห่งอียิปต์ ถูกทลายลงจากการประท้วงโดยปราศจากความรุนแรง และใช้เวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ ทว่า กลุ่มกบฏลิเบียที่มีนาโตหนุนหลังกลับต้องใช้เวลานานถึง 6 เดือน กระทั่งเดินมาถึงจุดนี้
ทั้งนี้ การปราบปรามประชาชนของซีเรียตั้งแต่เดือนมีนาคม ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตแล้วมากกว่า 2,200 ราย ส่วนประธานาธิบดีอาลี อับดุลเลาะห์ ซาเลห์ แห่งเยเมน ได้ประกาศแผนเดินทางกลับประเทศ หลังเข้ารักษาตัวอยู่ในซาอุดีอาระเบีย ประชาชนทั้งสองประเทศกำลังชุมนุมประท้วงเรียกร้องการปฏิรูปการเมืองไม่ต่างจากลิเบีย
“ดิฉันคิดว่า การมีผู้ปกครองชาติอาหรับอีกรายหนึ่งถูกโค่นอำนาจจะเป็นแรงกระตุ้นต่อการเคลื่อนไหวต่อต้านผู้นำในชาติอาหรับอื่นๆ” เจน คินนินมอนต์ (Jane Kinninmont) ผู้เชี่ยวชาญโลกอาหรับจากสถาบันชาธัมเฮาส์ (Chatham House) แสดงความเห็นไว้
“โมร็อกโกสามารถรับมือการประท้วงด้วยการประกาศปฏิรูปบางส่วน ขณะที่แอลจีเรียสามารถสกัดกันการประท้วงได้สำเร็จ ซึ่งดูเหมือนไม่สามารถนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองได้”
ขณะเดียวกัน ซอลัม คอวากิบี (Salam Kawakibi) ผู้อำนวยสถาบันวิจัยอาหรับ รีฟอร์ม อินิเชียทีฟ (Arab Reform Initiative) ยอมรับว่า การบุกเข้ากรุงตริโปลีของกบฏลิเบีย อาจทำให้นักปฏิวัติในโลกอาหรับมีความหวัง
อย่างไรก็ตาม คอวากิบีแสดงความผิดหวังที่ “กบฏลิเบียเดินสู่ชัยชนะด้วยความช่วยเหลือจากต่างชาติ” พร้อมทั้งสำทับว่า การประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในซีเรียและเยเมน ต้องดำเนินต่อไปโดยไม่ใช้ความรุนแรง และหลีกเลี่ยงการแทรกแซงจากต่างชาติ
นอกจากนี้ เขายังแสดงความกังวลถึง “กลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง” ที่อาจปล้นชัยชนะไปจากกลุ่มปฏิวัติลิเบีย รวมถึงการแทรกแซงจากต่างชาติ
“ประเทศที่ส่งกำลังเข้าแทรกแซงลิเบีย โดยอ้างถึงมนุษยธรรม ต่างจับจ้องตลาดที่จะเปิดขึ้น และการบูรณะประเทศใหม่หลังจากนี้”
ทั้งนี้ ลิเบียมีน้ำมันดิบสำรอง 44,000 ล้านบาร์เรล ซึ่งมากที่สุดในแอฟริกา ยิ่งไปกว่านั้น น้ำมันลิเบียเป็นที่ต้องการ เนื่องจากมีค่ากำมะถันต่ำสุด จัดเป็นน้ำมันคุณภาพสูง ประกอบกับการที่ลิเบียตั้งอยูไม่ไกลจากยุโรป
“ผมกลัวว่าหลังจากปลดปล่อยลิเบีย นอกเหนือจากราคาค่างวดทางเศรษฐกิจที่ต้องจ่ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ลิเบียยังต้องจ่ายราคาทางการเมือง จากการที่จะกลายเป็นประเทศที่มีนโยบายใกล้ชิดชาติตะวันตก” ซอลัม คอวากิบี กล่าวทิ้งท้าย