เอเอฟพี - เงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ยังเป็นปัจจัย “ความเสี่ยงสำคัญ” ภายในภูมิภาคเอเชีย และสามารถส่งผลเป็นความเสียหายในด้านของค่าจ้างแรงงาน ตลอดจนอาจปะทุขึ้นเป็นวงจรอุบาทว์ที่เกิดลูกชิ่งไปมาระหว่างระดับเงินเฟ้อกับค่าจ้างแรงงาน ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย หรือเอดีบีเตือนไว้ในรายงาน Asia Economic Monitor ซึ่งเป็นการติดตามสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจในเอเชีย โดยมีการนำออกเผยแพร่กันที่กรุงปักกิ่ง เมื่อวันพฤหัสบดี (28)
เอดีบีชี้ว่า อุปสงค์ภายในประเทศที่รุนแรง ผนวกกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ทะยานสูง ได้ผลักดันในภาวะเงินเฟ้อปรับสูงขึ้นเกินกว่าระดับเฉลี่ยของรอบระยะ 10 ปีที่ผ่านมาแล้วในบางประเทศย่านเอเชียตะวันออก ขณะเดียวกันปัญหาเงินเฟ้อร้อนแรงยังถูกซ้ำเติมจากบรรดาเม็ดเงินเก็งกำไรที่ท่วมเข้าสู่ภูมิภาคแถบนี้
ปัจจัยเหล่านี้เป็นภัยคุกคามเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจมหภาค และบั่นทอนทางเลือกในการใช้นโยบายกำกำบดูแลระบบเศรษฐกิจ ในเมื่อแรงงานย่อมบีบนายจ้างขึ้นค่าแรงให้ทันกับราคาสินค้าที่ทะยานตัว แล้วค่าแรงที่ปรับขึ้นไป ก็ส่งผลกระทบต่อระดับราคาสินค้า
ในการนี้ เครื่องมือคุมสภาพเงินเฟ้อจำพวกอัตราดอกเบี้ยที่แพงขึ้น และการเพิ่มความเข้มงวดในด้านของข้อจำกัดต่างๆ อีกทั้งการแข็งแกร่งของค่าเงินที่ทวีตัวรวดเร็ว ล้วนแต่จะยังสามารถช่วยฝ่ายผู้กำหนดนโยบายให้รับมือกับสภาะราคาพุ่งสูงได้ ทั้งนี้ เห็นได้ชัดว่าเอดีบีพูดถึงเรื่องนี้ก็โดยหมายจะส่งสารไปถึงจีน ซึ่งยังเดินนโยบายแทรกแซงให้ค่าเงินอ่อนตัวกว่าความเป็นจริง
รายงาน Asia Economic Monitor ฉบับล่าสุดของของเอดีบีนี้ให้ตัวเลขว่า ระดับเงินเฟ้อทั่วเอเชียเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 3-6% แต่ในประเทศที่ปัญหาเงินเฟ้ออักเสบรุนแรงอย่างเวียดนาม อัตราขยายตัวของภาวะเงินเฟ้อทะยานสูงถึง 20% ณ ปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
ส่วนสำหรับจีนผู้เป็นระบบเศรษฐกิจขนาดยักษ์อันดับสองของโลก และเป็นตัวขับเคลื่อนใหญ่ให้แก่การเติบโตของภูมิภาคและของโลกนั้น สถานการณ์เงินเฟ้อมีอัตราขยายตัวอยู่ที่ 6.4% ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดในรอบ 3 ปี ทั้งๆ ที่โดยตลอดที่ผ่านมา ทางการจีนใช้มาตรการหลายอย่างเพื่อชะลอระดับราคาให้บรรเทาความร้อนแรงลงมา
รายงานของเอดีบีให้ประมาณการว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกซึ่งครอบคลุมจีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ เวียดนาม มาเลย์เซีย ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และลาว จะเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อขยายตัวสูงถึง 7.9% ในปีนี้ สูงขึ้นกว่าประมาณการเดิมที่เคยมองไว้ ณ ระดับ 7.3% เมื่อเดือนธันวาคม อย่างไรก็ตาม ต้องถือว่าสถานการณ์ขณะนี้ ดุเดือดน้อยลงกว่าเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งเคยทำสถิติที่ 9.3% หลังจากทางการของประเทศต่างๆ ล้วนเอาจริงกับการนำหลายๆ มาตรการมาต่อสู้กับระดับราคาที่คอยแต่จะพุ่งทะยาน
อย่างไรก็ตาม เอดีบีย้ำต่อชาติเอเชียที่มีระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจค่อนข้างก้าวหน้า ไม่ให้ใช้มาตรการที่สุดโต่งเกินจำเป็น ในอันที่จะดึงให้ฝีก้าวของระบบเศรษฐกิจหนืดช้าลงมากๆ ทั้งนี้ เอดีบีชี้ว่าศักยภาพการเติบโตของเอเชียยังมีความยืดหยุ่นและทรหด
เอดีบีชี้ว่า อุปสงค์ภายในประเทศที่รุนแรง ผนวกกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ทะยานสูง ได้ผลักดันในภาวะเงินเฟ้อปรับสูงขึ้นเกินกว่าระดับเฉลี่ยของรอบระยะ 10 ปีที่ผ่านมาแล้วในบางประเทศย่านเอเชียตะวันออก ขณะเดียวกันปัญหาเงินเฟ้อร้อนแรงยังถูกซ้ำเติมจากบรรดาเม็ดเงินเก็งกำไรที่ท่วมเข้าสู่ภูมิภาคแถบนี้
ปัจจัยเหล่านี้เป็นภัยคุกคามเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจมหภาค และบั่นทอนทางเลือกในการใช้นโยบายกำกำบดูแลระบบเศรษฐกิจ ในเมื่อแรงงานย่อมบีบนายจ้างขึ้นค่าแรงให้ทันกับราคาสินค้าที่ทะยานตัว แล้วค่าแรงที่ปรับขึ้นไป ก็ส่งผลกระทบต่อระดับราคาสินค้า
ในการนี้ เครื่องมือคุมสภาพเงินเฟ้อจำพวกอัตราดอกเบี้ยที่แพงขึ้น และการเพิ่มความเข้มงวดในด้านของข้อจำกัดต่างๆ อีกทั้งการแข็งแกร่งของค่าเงินที่ทวีตัวรวดเร็ว ล้วนแต่จะยังสามารถช่วยฝ่ายผู้กำหนดนโยบายให้รับมือกับสภาะราคาพุ่งสูงได้ ทั้งนี้ เห็นได้ชัดว่าเอดีบีพูดถึงเรื่องนี้ก็โดยหมายจะส่งสารไปถึงจีน ซึ่งยังเดินนโยบายแทรกแซงให้ค่าเงินอ่อนตัวกว่าความเป็นจริง
รายงาน Asia Economic Monitor ฉบับล่าสุดของของเอดีบีนี้ให้ตัวเลขว่า ระดับเงินเฟ้อทั่วเอเชียเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 3-6% แต่ในประเทศที่ปัญหาเงินเฟ้ออักเสบรุนแรงอย่างเวียดนาม อัตราขยายตัวของภาวะเงินเฟ้อทะยานสูงถึง 20% ณ ปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
ส่วนสำหรับจีนผู้เป็นระบบเศรษฐกิจขนาดยักษ์อันดับสองของโลก และเป็นตัวขับเคลื่อนใหญ่ให้แก่การเติบโตของภูมิภาคและของโลกนั้น สถานการณ์เงินเฟ้อมีอัตราขยายตัวอยู่ที่ 6.4% ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดในรอบ 3 ปี ทั้งๆ ที่โดยตลอดที่ผ่านมา ทางการจีนใช้มาตรการหลายอย่างเพื่อชะลอระดับราคาให้บรรเทาความร้อนแรงลงมา
รายงานของเอดีบีให้ประมาณการว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกซึ่งครอบคลุมจีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ เวียดนาม มาเลย์เซีย ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และลาว จะเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อขยายตัวสูงถึง 7.9% ในปีนี้ สูงขึ้นกว่าประมาณการเดิมที่เคยมองไว้ ณ ระดับ 7.3% เมื่อเดือนธันวาคม อย่างไรก็ตาม ต้องถือว่าสถานการณ์ขณะนี้ ดุเดือดน้อยลงกว่าเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งเคยทำสถิติที่ 9.3% หลังจากทางการของประเทศต่างๆ ล้วนเอาจริงกับการนำหลายๆ มาตรการมาต่อสู้กับระดับราคาที่คอยแต่จะพุ่งทะยาน
อย่างไรก็ตาม เอดีบีย้ำต่อชาติเอเชียที่มีระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจค่อนข้างก้าวหน้า ไม่ให้ใช้มาตรการที่สุดโต่งเกินจำเป็น ในอันที่จะดึงให้ฝีก้าวของระบบเศรษฐกิจหนืดช้าลงมากๆ ทั้งนี้ เอดีบีชี้ว่าศักยภาพการเติบโตของเอเชียยังมีความยืดหยุ่นและทรหด