(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Rocker Kim sets tongues wagging
By Sunny Lee
17/02/2011
บุตรชายคนที่ 2 ของ คิม จองอิล ผู้นำเกาหลีเหนือ กลายเป็นข่าวฮือฮาพอสมควรในสัปดาห์ที่แล้ว เมื่อมีผู้พบเห็นเขาเข้าไปชมการแสดงคอนเสิร์ตของ อีริก แคลปตัน ที่สิงคโปร์ อันที่จริงแล้วเรื่องนี้ก็เป็นเพียงการยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่า เขาเป็นแฟนระดับฮาร์ดคอร์ของร็อกเกอร์ดาวค้างฟ้าชาวอังกฤษผู้นี้ แต่กระนั้น การปรากฏตัวของ คิม จองชุล ก็จุดชนวนให้เกิดการคาดเดากะเก็งกันอีกคำรบหนึ่ง ในประเด็นที่ว่าทำไมเขาจึงไม่ได้รับเลือกให้เป็นทายาทของ “ท่านผู้นำผู้เป็นที่รัก” โดยผู้ที่ได้รับความโปรดปรานกลับเป็น คิม จองอุน น้องชายแท้ๆ ของเขา ซึ่งเป็นผู้ที่โลกภายนอกรู้จักกันน้อยที่สุดในบรรดาบุตรชายทั้ง 3 ของท่านผู้นำ
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
ปักกิ่ง ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่า คิม จองชุล (Kim Jong-chul) บุตรชายคนที่ 2 ของ “ท่านผู้นำผู้เป็นที่รัก” คิม จองอิล จะเดินทางไปยังกรุงโซลในวันอาทิตย์ (20) นี้หรือไม่ เพื่อชมการแสดงคอนเสิร์ตของ อีริก แคลปตัน (Eric Clapton) เขาเข้าชมการแสดงของร็อกเกอร์รุ่นเดอะและนักกีตาร์ระดับเทพผู้นี้มาแล้วรอบหนึ่งที่สิงคโปร์เมื่อวันจันทร์ (14) เป็นที่ทราบกันดีว่า จองชุลซึ่งปัจจุบันอยู่ในวัย 30 ปี คือสาวกผู้มีความหลงใหลคลั่งไคล้ในศิลปินชาวอังกฤษผู้นี้ในระดับผิดปกติ ถ้าหากยังไม่ถึงขั้นให้ความเลื่อมใสศรัทธาประดุจดังศาสดา
ระหว่างการทัวร์เยอรมนีของแคลปตันในปี 2006 (ซึ่งก็เป็นครั้งหลังสุดที่มีผู้พบเห็นจองอิลในที่สาธารณะนอกประเทศเกาหลีเหนือ) เขาเข้าชมการแสดงคอนเสิร์ตครบถ้วนทั้ง 4 รอบ โดยตามติดร็อกเกอร์ดาวค้างฟังผู้นี้ที่เดินทางจากเมืองหนึ่งไปอีกเมืองหนึ่ง จองชุลกระทั่งเคยพยายามเชื้อเชิญแคลปตันให้ไปเปิดการแสดงคอนเสิร์ตในกรุงเปียงยางด้วยซ้ำไป ทว่ายังไม่ประสบผลสำเร็จ
จองชุล คือพี่ชายคนถัดขึ้นมาของ จองอุน (Jong-eun บุตรชายคนสุดน้องของท่านผู้นำผู้นี้เกิดเมื่อปี 1983 แต่ในเกาหลีเหนือบอกกันว่าเป็นปี 1982) ซึ่งเวลานี้เป็นผู้ได้รับการวางตัวให้เป็นทายาทสืบทอดตำแหน่งผู้นำโสมแดงคนต่อไป พี่ชาย-น้องชายคู่นี้มีมารดาคนเดียวกัน คือ โกห์ ยังฮี (Koh Young-hee ชาตะ 1953 มรณะ 2004) ขณะที่บุตรชายคนหัวปีของคิม จองอิล คือ จองนัม (Jong-nam) ซึ่งเกิดในปี 1971 เป็นบุตรของมารดาอีกคนหนึ่ง คือ ซุง ฮีริม (Sung Hye-rim 1937-2002)
น้อยครั้งนักที่จองชุลจะเผยโฉมในที่สาธารณะ แต่เขากลับปรากฏตัวในต่างแดนในสัปดาห์เดียวกันกับที่บิดาของเขาเฉลิมฉลองวันเกิดครบรอบ 70 ปี เรื่องนี้ได้จุดชนวนให้เกิดการคาดเดาวาดจินตนาการเกี่ยวกับเจ้าชายทั้ง 3 แห่งราชวงศ์คิม อย่างสนุกสนานกันอีกคำรบหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริศนาซึ่งยังหาคำตอบอันน่าพอใจไม่ได้ ในเรื่องที่ว่าทำไม จองอุน บุตรชายคนที่ 3 จึงได้รับความโปรดปรานจนได้ขึ้นเป็นรัชทายาท ทั้งนี้ โลกภายนอกแทบไม่รู้จักว่าที่ผู้นำโสมแดงในอนาคตผู้นี้กันเลย
ถือกันว่า จองอุน ได้รับการยอมรับอย่างเปิดเผยเป็นทางการในเดือนกันยายนปีที่แล้ว ว่าเป็นทายาทที่จะสืบทอดตำแหน่งผู้นำเกาหลีเหนือคนต่อไป เมื่อเขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพลเอก 4 ดาว ระหว่างการประชุมของพรรคคอมมิวนิสต์โสมแดง ซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า พรรคผู้ใช้แรงงานเกาหลี ในสัปดาห์นี้เอง ก็มีสัญญาณสำคัญประการหนึ่งที่บ่งบอกว่า ฐานะของจองอุนได้รับการยกระดับขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง เมื่อชื่อของเขาอยู่ถัดลงมาจากชื่อของคิม จองอิล ในรายชื่อของบรรดาเจ้าหน้าที่ซึ่งเข้าร่วมชมการแสดงของคณะนักร้องประสานเสียง เนื่องในโอกาสวันเกิดของท่านผู้นำ
ดูเหมือนจะมีผู้คนในโลกเพียงหยิบมือเดียวเท่านั้นที่รู้จักจองอุนแบบตัวเป็นๆ และในจำนวนนี้ก็มีเพียงคนเดียวที่ออกมาพูดถึงเขาให้โลกภายนอกได้รับรู้ บุคคลผู้นี้เป็นคนญี่ปุ่นนามว่า เคนจิ ฟุจิโมโตะ (Kenji Fujimoto)
ฟูจิโมโตะ ทำหน้าที่เป็นพ่อครัวส่วนตัวให้ครอบครัวคิมอยู่ 13 ปี จวบจนกระทั่งถึงปี 2001 เมื่อเขาหลบหนีกลับมายังญี่ปุ่น ช่วงปลายปีที่แล้ว เขาเขียนหนังสือเล่มหนึ่งในหัวข้อซึ่งน่าสนใจเป็นพิเศษ นั่นคือว่าด้วยเรื่องราวของจองอุน “เมื่อผมพบกับคิม จองอุน ครั้งแรกนั้น เขาเพิ่งมีอายุ 7 ขวบ” ฟูจิโมโตะกล่าวเน้นในคำนำของหนังสือเล่มนี้ซึ่งมีชื่อว่า “North Korea's Successor Kim Jong-eun” (คิม จองอุน รัชทายาทของเกาหลีเหนือ)
ในหนังสือเล่มนี้ ฟูจิโมโตะให้ความกระจ่างแก่ข้อถกเถียงเกี่ยวกับจองอุนบางประการ เป็นต้นว่า อายุของเขา โดยอดีตเชฟของครอบครัวคิมผู้นี้บอกว่า จองอุนเกิดในปี 1983 ทั้งนี้เขาจำได้ว่าได้ยินคิมน้อยผู้นี้พูดออกมาเองว่า “ผมเกิดปีหมู เหมือนกับคุณนะ ฟูจิโมโตะ” ฟูจิโมโตะนั้นเกิดในปี 1947 ซึ่งก็เป็นปีกุน ที่มีหมูเป็นสัตว์สัญลักษณ์ ดังนั้นจึงทำให้เขาจดจำเรื่องราวนี้ได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น
ฟูจิโมโตะอาศัยความรู้ความเข้าใจเรื่องเบื้องลึกเบื้องหลังของเขา เพื่ออธิบายว่าทำไมบุตรชายคนที่ 3 จึงได้กลายเป็นทายาทสืบบัลลังก์ ทั้งๆ ที่เป็นการขัดกับธรรมเนียมปฏิบัติปกติในเอเชียตะวันออก ที่ให้สิทธิบุตรชายคนหัวปีเป็นผู้รับมรดกของบิดา สิ่งที่อาจจะสำคัญยิ่งกว่านั้นอีกก็คือ โดยอาศัยความเข้าอกเข้าใจของเขาเกี่ยวกับบุคลิกภาพและสไตล์ความเป็นผู้นำของจองอุน ฟูจิโมโตะยังพยายามที่จะคาดการณ์เกี่ยวกับอนาคตของเกาหลีเหนือภายใต้คิม จองอุน รวมทั้งตอบคำถามที่ว่าจองอุนน่าจะยกเลิกอาวุธนิวเคลียร์หรือไม่
อดีตเชฟส่วนตัวของครอบครัวคิมระบุว่า บุตรชายคนโต คือ จองนัม ได้ตกกระป๋องไม่เป็นที่โปรดปรานของท่านผู้นำคิม จองอิล “ตั้งแต่แรกๆ แล้ว” เพราะตลอดเวลา 12 ปีกว่าๆ ที่เขาพำนักอยู่ในเปียงยางนั้น เขาไม่เคยเห็น จองนัม ได้เข้าร่วมในงานเลี้ยงต่างๆ ที่คิม จองอิล จัดขึ้นสำหรับพวกผู้ช่วยระดับท็อปของเขา ตลอดจนสมาชิกครอบครัวผู้ใกล้ชิดเลย
รายงานของสื่อมวลชนในโลกตะวันตกมักวาดภาพให้เห็นว่า จองนัมไม่เป็นที่โปรดปราน เนื่องจากเขาทำให้บิดาของเขาอับอายขายหน้า จากการถูกเนรเทศออกจากญี่ปุ่นด้วยข้อหาต้องสงสัยว่ากำลังพยายามที่จะเข้าประเทศนั้นด้วยเอกสารเดินทางปลอม โดยที่จองนัมกระทำการเช่นนี้ก็ด้วยมุ่งประสงค์ที่จะไปเที่ยวสวนสนุกโตเกียว ดิสนีย์แลนด์ ฟูจิโมโตะยังจำได้ด้วยว่า เพลงที่ชื่อ “รอยเท้า” (Footsteps) ซึ่งได้รับการพิจารณากันอย่างกว้างขวางในฐานะของเพลงโฆษณาชวนเชื่อที่มุ่งโปรโมตให้จองอุนขึ้นเป็นผู้นำประเทศคนถัดไปนั้น แท้ที่จริงแล้วได้ทำกันออกมาตั้งแต่เมื่อตอนที่จองอุนมีอายุเพียงแค่ 9 ขวบ นั่นเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าบิดาของเขาได้ตัดสินใจเรื่องนี้มาตั้งนมนานหลายปีแล้ว
จองอุน กับ จองชุล ซึ่งมีอายุห่างกัน 2 ปี เป็นพี่น้องที่เข้ากันได้ดีมาก ฟูจิโมโตะทบทวนความหลัง ความสัมพันธ์ของทั้งคู่อยู่ในขั้น “ดีมาก” เขาบอก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ จองชุล ไม่ค่อยแสดงท่าทีเอาแต่ใจเมื่ออยู่ต่อหน้า จองอุน “ระหว่างเจ้าชายน้อยทั้ง 2 ปกติแล้วจะเป็น จองอุน ที่เป็นผู้ตัดสินใจว่าพวกเขาจะเล่นอะไรกัน” เขาเขียนเอาไว้เช่นนี้
สำหรับฟูจิโมโตะแล้ว เขาเห็นว่า จองอุน แสดงให้เห็นความเป็นผู้นำตั้งแต่อายุน้อยๆ แล้ว และเขาก็ได้ยกตัวอย่างจำนวนหนึ่งเพื่อสนับสนุนความคิดเห็นเช่นนี้ของเขา
จองอุนยังแสดงให้เห็นว่ามีความสนใจในเพศตรงข้าม ทว่าแนวโน้มเช่นนี้น่าจะอยู่ในระดับ “พอประมาณ” เท่านั้น ฟูจิโมโตะยกตัวอย่างว่า “ผมจำได้ว่าครั้งหนึ่ง จองอุน ชี้ไปที่สมาชิกคนหนึ่งของ “หน่วยสร้างความสุขสันต์” (Pleasure Squad) ที่มีหน้าอกหน้าใจใหญ่โต แล้วพูดว่า ว้าว หน้าอกเธอเบ้อเริ่มเลย” ทว่าเขาไม่เหมือน จองชุล ซึ่งถึงแม้ปกติเป็นคนขี้อาย แต่พร้อมที่จะเปลี่ยนมาเล่นบทเสี่ยงเมื่อเป็นเรื่องเกี่ยวกับสาวๆ และ “เข้าไปประชิดติดพันสาวๆ ที่เขาสนอกสนใจ” ขณะที่ จองอุน ไม่เคยแปรความสนอกสนใจของเขาให้กลายเป็นปฏิบัติการเลย ฟูจิโมโตะบอก
ตรงกันข้าม จองอุนให้ความสนใจอย่างจริงจังมากกว่าในเรื่องประเด็นปัญหาทางสังคม และในเรื่องโลกภายนอก ตัวอย่างเช่น เขาศึกษาเล่าเรียนภาษาอังกฤษอย่างหนัก “ในฐานะที่เป็นภาษาระหว่างประเทศที่สำคัญภาษาหนึ่ง” ฟูจิโมโตะเล่าย้อนความหลัง
ระหว่างช่วงปิดเทอมฤดูร้อนในปี 2000 จองอุนซึ่งไปเข้าเรียนที่โรงเรียนในสวิตเซอร์แลนด์ ได้เดินทางกลับบ้าน และขึ้นรถไฟขบวนพิเศษของครอบครัวคิม ออกจากกรุงเปียงยางไปยังเมืองวอนซาน (Wonsan)
“จองอุนได้เข้ามายังห้องพักของผม พูดขึ้นว่า คุยกันหน่อยได้ไหม” ในโอกาสที่นานๆ จะเกิดขึ้นสักครั้งเช่นนั้น จองอุน พรั่งพรูความในใจของเขาเกี่ยวกับสถานการณ์ที่ประเทศของเขาเผชิญอยู่ “เปรียบเทียบกับประเทศเอเชียอื่นๆ ประเทศของผมกำลังล้าหลังในเรื่องเทคโนโลยีทางด้านอุตสาหกรรม ในแง่ของทรัพยากรธรรมชาติ ประเทศของผมอาจจะพอคุยอวดได้ก็แค่เรื่องแร่ยูเรเนียม ปัญหาขาดแคลนไฟฟ้าดูจะหนักหนาสาหัสมาก” จองอุนพูดขึ้นในตอนนั้น ฟูจิโมโตะมองเรื่องนี้ว่า เป็นสัญญาณแสดงให้เห็นว่า จองอุน ไม่ได้เป็นแค่เด็กเกเรที่ถูกตามใจจนเสียนิสัยอีกต่อไปแล้ว
“จากการที่เขาเดินทางไปในประเทศพัฒนาแล้วหลายๆ แห่ง ดูเหมือนจะทำให้เขามีความต้องการทำให้ประเทศของเขาเป็นเช่นนั้นบ้าง” ฟูจิโมโตะเขียนเอาไว้ในหนังสือของเขา
เกี่ยวกับประเทศจีน จองอุน บอกว่า “เปรียบเทียบกับประเทศของผมที่มีคน 23 ล้าน จีนมีคนถึง 1,300 ล้าน แล้วยังสามารถที่จะบริหารจัดการได้ดี พวกเขาหาอาหารมาเลี้ยงดูประชากรตั้งมากมายขนาดนั้นได้ยังไงนะ จีนมีความเข้มแข็งมากในเรื่องเกษตรกรรม การส่งออกของเขาก็ดีด้วย เราอาจจะเรียนรู้จากเขาได้มั๊ง” ฟูจิโมโตะบอกว่า จำได้ว่า “เจ้าชายน้อย” ผู้นี้ให้ความสนใจมากเกี่ยวกับเรื่องราวความสำเร็จของจีนจากการดำเนินการปฏิรูปและเปิดประตูประเทศ
ในหนังสือของฟูจิโมโตะ เขาวาดภาพของ จองอุน ในฐานะที่เป็นผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมแก่การเป็นผู้นำ และกำลังค่อยๆ สั่งสมเพิ่มพูนคุณภาพขึ้นเรื่อยๆ มีอยู่ครั้งหนึ่ง จองอุน บอกกับเขาว่า “ผมสามารถออกไปขี่ม้าเล่นได้ทุกวัน เล่นโรลเลอร์เบลด และบาสเกตบอล ในช่วงหน้าร้อน ผมสามารถเล่นเจ็ตสกี และว่ายน้ำในสระ แต่ผมสงสัยจังเลยว่าชาวบ้านธรรมดาสามัญเขาใช้ชีวิตกันยังไง” ในตอนนั้น จองอุน เพิ่งจะมีอายุ 8 ขวบเท่านั้น
ซันนี่ ลี (sleethenational@gmail.com) เป็นคอลัมนิสต์และนักหนังสือพิมพ์ที่กำเนิดในกรุงโซล เขาได้รับปริญญาหลายใบทีเดียวจากสหรัฐฯและจีน
(อ่านต่อตอน 2 ซึ่งเป็นตอนจบ)
Rocker Kim sets tongues wagging
By Sunny Lee
17/02/2011
บุตรชายคนที่ 2 ของ คิม จองอิล ผู้นำเกาหลีเหนือ กลายเป็นข่าวฮือฮาพอสมควรในสัปดาห์ที่แล้ว เมื่อมีผู้พบเห็นเขาเข้าไปชมการแสดงคอนเสิร์ตของ อีริก แคลปตัน ที่สิงคโปร์ อันที่จริงแล้วเรื่องนี้ก็เป็นเพียงการยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่า เขาเป็นแฟนระดับฮาร์ดคอร์ของร็อกเกอร์ดาวค้างฟ้าชาวอังกฤษผู้นี้ แต่กระนั้น การปรากฏตัวของ คิม จองชุล ก็จุดชนวนให้เกิดการคาดเดากะเก็งกันอีกคำรบหนึ่ง ในประเด็นที่ว่าทำไมเขาจึงไม่ได้รับเลือกให้เป็นทายาทของ “ท่านผู้นำผู้เป็นที่รัก” โดยผู้ที่ได้รับความโปรดปรานกลับเป็น คิม จองอุน น้องชายแท้ๆ ของเขา ซึ่งเป็นผู้ที่โลกภายนอกรู้จักกันน้อยที่สุดในบรรดาบุตรชายทั้ง 3 ของท่านผู้นำ
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
ปักกิ่ง ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่า คิม จองชุล (Kim Jong-chul) บุตรชายคนที่ 2 ของ “ท่านผู้นำผู้เป็นที่รัก” คิม จองอิล จะเดินทางไปยังกรุงโซลในวันอาทิตย์ (20) นี้หรือไม่ เพื่อชมการแสดงคอนเสิร์ตของ อีริก แคลปตัน (Eric Clapton) เขาเข้าชมการแสดงของร็อกเกอร์รุ่นเดอะและนักกีตาร์ระดับเทพผู้นี้มาแล้วรอบหนึ่งที่สิงคโปร์เมื่อวันจันทร์ (14) เป็นที่ทราบกันดีว่า จองชุลซึ่งปัจจุบันอยู่ในวัย 30 ปี คือสาวกผู้มีความหลงใหลคลั่งไคล้ในศิลปินชาวอังกฤษผู้นี้ในระดับผิดปกติ ถ้าหากยังไม่ถึงขั้นให้ความเลื่อมใสศรัทธาประดุจดังศาสดา
ระหว่างการทัวร์เยอรมนีของแคลปตันในปี 2006 (ซึ่งก็เป็นครั้งหลังสุดที่มีผู้พบเห็นจองอิลในที่สาธารณะนอกประเทศเกาหลีเหนือ) เขาเข้าชมการแสดงคอนเสิร์ตครบถ้วนทั้ง 4 รอบ โดยตามติดร็อกเกอร์ดาวค้างฟังผู้นี้ที่เดินทางจากเมืองหนึ่งไปอีกเมืองหนึ่ง จองชุลกระทั่งเคยพยายามเชื้อเชิญแคลปตันให้ไปเปิดการแสดงคอนเสิร์ตในกรุงเปียงยางด้วยซ้ำไป ทว่ายังไม่ประสบผลสำเร็จ
จองชุล คือพี่ชายคนถัดขึ้นมาของ จองอุน (Jong-eun บุตรชายคนสุดน้องของท่านผู้นำผู้นี้เกิดเมื่อปี 1983 แต่ในเกาหลีเหนือบอกกันว่าเป็นปี 1982) ซึ่งเวลานี้เป็นผู้ได้รับการวางตัวให้เป็นทายาทสืบทอดตำแหน่งผู้นำโสมแดงคนต่อไป พี่ชาย-น้องชายคู่นี้มีมารดาคนเดียวกัน คือ โกห์ ยังฮี (Koh Young-hee ชาตะ 1953 มรณะ 2004) ขณะที่บุตรชายคนหัวปีของคิม จองอิล คือ จองนัม (Jong-nam) ซึ่งเกิดในปี 1971 เป็นบุตรของมารดาอีกคนหนึ่ง คือ ซุง ฮีริม (Sung Hye-rim 1937-2002)
น้อยครั้งนักที่จองชุลจะเผยโฉมในที่สาธารณะ แต่เขากลับปรากฏตัวในต่างแดนในสัปดาห์เดียวกันกับที่บิดาของเขาเฉลิมฉลองวันเกิดครบรอบ 70 ปี เรื่องนี้ได้จุดชนวนให้เกิดการคาดเดาวาดจินตนาการเกี่ยวกับเจ้าชายทั้ง 3 แห่งราชวงศ์คิม อย่างสนุกสนานกันอีกคำรบหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริศนาซึ่งยังหาคำตอบอันน่าพอใจไม่ได้ ในเรื่องที่ว่าทำไม จองอุน บุตรชายคนที่ 3 จึงได้รับความโปรดปรานจนได้ขึ้นเป็นรัชทายาท ทั้งนี้ โลกภายนอกแทบไม่รู้จักว่าที่ผู้นำโสมแดงในอนาคตผู้นี้กันเลย
ถือกันว่า จองอุน ได้รับการยอมรับอย่างเปิดเผยเป็นทางการในเดือนกันยายนปีที่แล้ว ว่าเป็นทายาทที่จะสืบทอดตำแหน่งผู้นำเกาหลีเหนือคนต่อไป เมื่อเขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพลเอก 4 ดาว ระหว่างการประชุมของพรรคคอมมิวนิสต์โสมแดง ซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า พรรคผู้ใช้แรงงานเกาหลี ในสัปดาห์นี้เอง ก็มีสัญญาณสำคัญประการหนึ่งที่บ่งบอกว่า ฐานะของจองอุนได้รับการยกระดับขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง เมื่อชื่อของเขาอยู่ถัดลงมาจากชื่อของคิม จองอิล ในรายชื่อของบรรดาเจ้าหน้าที่ซึ่งเข้าร่วมชมการแสดงของคณะนักร้องประสานเสียง เนื่องในโอกาสวันเกิดของท่านผู้นำ
ดูเหมือนจะมีผู้คนในโลกเพียงหยิบมือเดียวเท่านั้นที่รู้จักจองอุนแบบตัวเป็นๆ และในจำนวนนี้ก็มีเพียงคนเดียวที่ออกมาพูดถึงเขาให้โลกภายนอกได้รับรู้ บุคคลผู้นี้เป็นคนญี่ปุ่นนามว่า เคนจิ ฟุจิโมโตะ (Kenji Fujimoto)
ฟูจิโมโตะ ทำหน้าที่เป็นพ่อครัวส่วนตัวให้ครอบครัวคิมอยู่ 13 ปี จวบจนกระทั่งถึงปี 2001 เมื่อเขาหลบหนีกลับมายังญี่ปุ่น ช่วงปลายปีที่แล้ว เขาเขียนหนังสือเล่มหนึ่งในหัวข้อซึ่งน่าสนใจเป็นพิเศษ นั่นคือว่าด้วยเรื่องราวของจองอุน “เมื่อผมพบกับคิม จองอุน ครั้งแรกนั้น เขาเพิ่งมีอายุ 7 ขวบ” ฟูจิโมโตะกล่าวเน้นในคำนำของหนังสือเล่มนี้ซึ่งมีชื่อว่า “North Korea's Successor Kim Jong-eun” (คิม จองอุน รัชทายาทของเกาหลีเหนือ)
ในหนังสือเล่มนี้ ฟูจิโมโตะให้ความกระจ่างแก่ข้อถกเถียงเกี่ยวกับจองอุนบางประการ เป็นต้นว่า อายุของเขา โดยอดีตเชฟของครอบครัวคิมผู้นี้บอกว่า จองอุนเกิดในปี 1983 ทั้งนี้เขาจำได้ว่าได้ยินคิมน้อยผู้นี้พูดออกมาเองว่า “ผมเกิดปีหมู เหมือนกับคุณนะ ฟูจิโมโตะ” ฟูจิโมโตะนั้นเกิดในปี 1947 ซึ่งก็เป็นปีกุน ที่มีหมูเป็นสัตว์สัญลักษณ์ ดังนั้นจึงทำให้เขาจดจำเรื่องราวนี้ได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น
ฟูจิโมโตะอาศัยความรู้ความเข้าใจเรื่องเบื้องลึกเบื้องหลังของเขา เพื่ออธิบายว่าทำไมบุตรชายคนที่ 3 จึงได้กลายเป็นทายาทสืบบัลลังก์ ทั้งๆ ที่เป็นการขัดกับธรรมเนียมปฏิบัติปกติในเอเชียตะวันออก ที่ให้สิทธิบุตรชายคนหัวปีเป็นผู้รับมรดกของบิดา สิ่งที่อาจจะสำคัญยิ่งกว่านั้นอีกก็คือ โดยอาศัยความเข้าอกเข้าใจของเขาเกี่ยวกับบุคลิกภาพและสไตล์ความเป็นผู้นำของจองอุน ฟูจิโมโตะยังพยายามที่จะคาดการณ์เกี่ยวกับอนาคตของเกาหลีเหนือภายใต้คิม จองอุน รวมทั้งตอบคำถามที่ว่าจองอุนน่าจะยกเลิกอาวุธนิวเคลียร์หรือไม่
อดีตเชฟส่วนตัวของครอบครัวคิมระบุว่า บุตรชายคนโต คือ จองนัม ได้ตกกระป๋องไม่เป็นที่โปรดปรานของท่านผู้นำคิม จองอิล “ตั้งแต่แรกๆ แล้ว” เพราะตลอดเวลา 12 ปีกว่าๆ ที่เขาพำนักอยู่ในเปียงยางนั้น เขาไม่เคยเห็น จองนัม ได้เข้าร่วมในงานเลี้ยงต่างๆ ที่คิม จองอิล จัดขึ้นสำหรับพวกผู้ช่วยระดับท็อปของเขา ตลอดจนสมาชิกครอบครัวผู้ใกล้ชิดเลย
รายงานของสื่อมวลชนในโลกตะวันตกมักวาดภาพให้เห็นว่า จองนัมไม่เป็นที่โปรดปราน เนื่องจากเขาทำให้บิดาของเขาอับอายขายหน้า จากการถูกเนรเทศออกจากญี่ปุ่นด้วยข้อหาต้องสงสัยว่ากำลังพยายามที่จะเข้าประเทศนั้นด้วยเอกสารเดินทางปลอม โดยที่จองนัมกระทำการเช่นนี้ก็ด้วยมุ่งประสงค์ที่จะไปเที่ยวสวนสนุกโตเกียว ดิสนีย์แลนด์ ฟูจิโมโตะยังจำได้ด้วยว่า เพลงที่ชื่อ “รอยเท้า” (Footsteps) ซึ่งได้รับการพิจารณากันอย่างกว้างขวางในฐานะของเพลงโฆษณาชวนเชื่อที่มุ่งโปรโมตให้จองอุนขึ้นเป็นผู้นำประเทศคนถัดไปนั้น แท้ที่จริงแล้วได้ทำกันออกมาตั้งแต่เมื่อตอนที่จองอุนมีอายุเพียงแค่ 9 ขวบ นั่นเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าบิดาของเขาได้ตัดสินใจเรื่องนี้มาตั้งนมนานหลายปีแล้ว
จองอุน กับ จองชุล ซึ่งมีอายุห่างกัน 2 ปี เป็นพี่น้องที่เข้ากันได้ดีมาก ฟูจิโมโตะทบทวนความหลัง ความสัมพันธ์ของทั้งคู่อยู่ในขั้น “ดีมาก” เขาบอก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ จองชุล ไม่ค่อยแสดงท่าทีเอาแต่ใจเมื่ออยู่ต่อหน้า จองอุน “ระหว่างเจ้าชายน้อยทั้ง 2 ปกติแล้วจะเป็น จองอุน ที่เป็นผู้ตัดสินใจว่าพวกเขาจะเล่นอะไรกัน” เขาเขียนเอาไว้เช่นนี้
สำหรับฟูจิโมโตะแล้ว เขาเห็นว่า จองอุน แสดงให้เห็นความเป็นผู้นำตั้งแต่อายุน้อยๆ แล้ว และเขาก็ได้ยกตัวอย่างจำนวนหนึ่งเพื่อสนับสนุนความคิดเห็นเช่นนี้ของเขา
จองอุนยังแสดงให้เห็นว่ามีความสนใจในเพศตรงข้าม ทว่าแนวโน้มเช่นนี้น่าจะอยู่ในระดับ “พอประมาณ” เท่านั้น ฟูจิโมโตะยกตัวอย่างว่า “ผมจำได้ว่าครั้งหนึ่ง จองอุน ชี้ไปที่สมาชิกคนหนึ่งของ “หน่วยสร้างความสุขสันต์” (Pleasure Squad) ที่มีหน้าอกหน้าใจใหญ่โต แล้วพูดว่า ว้าว หน้าอกเธอเบ้อเริ่มเลย” ทว่าเขาไม่เหมือน จองชุล ซึ่งถึงแม้ปกติเป็นคนขี้อาย แต่พร้อมที่จะเปลี่ยนมาเล่นบทเสี่ยงเมื่อเป็นเรื่องเกี่ยวกับสาวๆ และ “เข้าไปประชิดติดพันสาวๆ ที่เขาสนอกสนใจ” ขณะที่ จองอุน ไม่เคยแปรความสนอกสนใจของเขาให้กลายเป็นปฏิบัติการเลย ฟูจิโมโตะบอก
ตรงกันข้าม จองอุนให้ความสนใจอย่างจริงจังมากกว่าในเรื่องประเด็นปัญหาทางสังคม และในเรื่องโลกภายนอก ตัวอย่างเช่น เขาศึกษาเล่าเรียนภาษาอังกฤษอย่างหนัก “ในฐานะที่เป็นภาษาระหว่างประเทศที่สำคัญภาษาหนึ่ง” ฟูจิโมโตะเล่าย้อนความหลัง
ระหว่างช่วงปิดเทอมฤดูร้อนในปี 2000 จองอุนซึ่งไปเข้าเรียนที่โรงเรียนในสวิตเซอร์แลนด์ ได้เดินทางกลับบ้าน และขึ้นรถไฟขบวนพิเศษของครอบครัวคิม ออกจากกรุงเปียงยางไปยังเมืองวอนซาน (Wonsan)
“จองอุนได้เข้ามายังห้องพักของผม พูดขึ้นว่า คุยกันหน่อยได้ไหม” ในโอกาสที่นานๆ จะเกิดขึ้นสักครั้งเช่นนั้น จองอุน พรั่งพรูความในใจของเขาเกี่ยวกับสถานการณ์ที่ประเทศของเขาเผชิญอยู่ “เปรียบเทียบกับประเทศเอเชียอื่นๆ ประเทศของผมกำลังล้าหลังในเรื่องเทคโนโลยีทางด้านอุตสาหกรรม ในแง่ของทรัพยากรธรรมชาติ ประเทศของผมอาจจะพอคุยอวดได้ก็แค่เรื่องแร่ยูเรเนียม ปัญหาขาดแคลนไฟฟ้าดูจะหนักหนาสาหัสมาก” จองอุนพูดขึ้นในตอนนั้น ฟูจิโมโตะมองเรื่องนี้ว่า เป็นสัญญาณแสดงให้เห็นว่า จองอุน ไม่ได้เป็นแค่เด็กเกเรที่ถูกตามใจจนเสียนิสัยอีกต่อไปแล้ว
“จากการที่เขาเดินทางไปในประเทศพัฒนาแล้วหลายๆ แห่ง ดูเหมือนจะทำให้เขามีความต้องการทำให้ประเทศของเขาเป็นเช่นนั้นบ้าง” ฟูจิโมโตะเขียนเอาไว้ในหนังสือของเขา
เกี่ยวกับประเทศจีน จองอุน บอกว่า “เปรียบเทียบกับประเทศของผมที่มีคน 23 ล้าน จีนมีคนถึง 1,300 ล้าน แล้วยังสามารถที่จะบริหารจัดการได้ดี พวกเขาหาอาหารมาเลี้ยงดูประชากรตั้งมากมายขนาดนั้นได้ยังไงนะ จีนมีความเข้มแข็งมากในเรื่องเกษตรกรรม การส่งออกของเขาก็ดีด้วย เราอาจจะเรียนรู้จากเขาได้มั๊ง” ฟูจิโมโตะบอกว่า จำได้ว่า “เจ้าชายน้อย” ผู้นี้ให้ความสนใจมากเกี่ยวกับเรื่องราวความสำเร็จของจีนจากการดำเนินการปฏิรูปและเปิดประตูประเทศ
ในหนังสือของฟูจิโมโตะ เขาวาดภาพของ จองอุน ในฐานะที่เป็นผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมแก่การเป็นผู้นำ และกำลังค่อยๆ สั่งสมเพิ่มพูนคุณภาพขึ้นเรื่อยๆ มีอยู่ครั้งหนึ่ง จองอุน บอกกับเขาว่า “ผมสามารถออกไปขี่ม้าเล่นได้ทุกวัน เล่นโรลเลอร์เบลด และบาสเกตบอล ในช่วงหน้าร้อน ผมสามารถเล่นเจ็ตสกี และว่ายน้ำในสระ แต่ผมสงสัยจังเลยว่าชาวบ้านธรรมดาสามัญเขาใช้ชีวิตกันยังไง” ในตอนนั้น จองอุน เพิ่งจะมีอายุ 8 ขวบเท่านั้น
ซันนี่ ลี (sleethenational@gmail.com) เป็นคอลัมนิสต์และนักหนังสือพิมพ์ที่กำเนิดในกรุงโซล เขาได้รับปริญญาหลายใบทีเดียวจากสหรัฐฯและจีน
(อ่านต่อตอน 2 ซึ่งเป็นตอนจบ)