India laments loss of defense guru
By Mohan Balaji
17/02/2011
ภายหลังแสดงบทบาทในการกำหนดยุทธศาสตร์และกิจการด้านนิวเคลียร์ของอินเดีย อยู่เป็นเวลาถึง 5 ทศวรรษ กฤษณะสวามี สุพราห์มะณะยัม ผู้เป็นที่รู้จักลือเลื่องด้วยสมญานาม “เฮนรี คิสซิงเจอร์ แห่งอินเดีย” ก็ได้ถึงแก่มรณกรรมในต้นเดือนนี้ สิริอายุได้ 82 ปี ในฐานะที่เป็นผู้อาวุโสทางด้านความมั่นคง ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้สร้างกิจการด้านความมั่นคงของแดนภารตะขึ้นมาใหม่ ภายหลังความพ่ายแพ้อย่างยับเยินในสงครามอินเดีย-จีนปี 1962 สุพราห์มะณะยัมน่าที่จะรู้สึกภาคภูมิใจที่อำลาจากเวทีไป ในขณะที่ประเทศของเขากำลังก้าวผงาดขึ้นสู่ฐานะความเป็นมหาอำนาจระดับโลก
ด้วยการถึงแก่มรณกรรมของ กฤษณะสวามี สุพราห์มะณะยัม (Krishnaswamy Subrahmanyam) เมื่อต้นเดือนนี้ในวัย 82 ปี อินเดียก็ได้สูญเสียผู้เชี่ยวชาญกิจการด้านยุทธศาสตร์ที่เยี่ยมที่สุดของตน รวมทั้งยังเป็นผู้เขียนหลักการทางด้านนิวเคลียร์ของแดนภารตะอีกด้วย สุพราห์มะณะยัมมักถูกนำไปเปรียบเทียบกับ จาณักยะ (Chanakya) รัฐบุรุษและนักปรัชญาฮินดูโบราณ และ เฮนรี คิสซิงเจอร์ (Henry Kissinger) อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ซึ่งก็เป็นหลักฐานบ่งชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของเขาได้เป็นอย่างดี
สุพราห์มะณะยัม สิ้นชีวิตในกรุงนิวเดลีเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ภายหลังล้มป่วยด้วยโรคมะเร็งมาเป็นเวลานาน นายกรัฐมนตรีร มานโมหัน ซิงห์ ของอินเดีย ได้ออกคำแถลงแสดงความไว้อาลัยไปถึงครอบครัวของสุพราห์มะณะยัม โดยกล่าวว่า “มันเป็นความเศร้าเสียใจอย่างใหญ่หลวงเมื่อผมได้ทราบข่าวการถึงแก่มรณกรรมของ เค สุพราห์มะณะยัม ผู้บิดาของพวกท่าน ผู้ซึ่งเป้นผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงและนักยุทธศาสตร์ชั้นนำผู้หนึ่งของประเทศเรา”
สุพราห์มะณะยัมเริ่มต้นงานของเขาที่กระทรวงกลาโหมในช่วงต้นทศวรรษ 1960 และปฏิบัติหน้าที่อยู่ในภาคราชKrishnaswamy Subrahmanyamการเป็นเวลาหลายทศวรรษ เขาเป็นผู้อำนวยการคนแรกเริ่มก่อตั้งของ สถาบันเพื่อการศึกษาและการวิเคราะห์ด้านกลาโหม (Institute for Defense Studies and Analyses) ที่ตั้งอยู่ในกรุงนิวเดลี เขาไม่ยึดติดอยู่กับแนวความคิดอุดมการณ์ใดๆ หากแต่ยึดมั่นกับการดำเนินการทางการเมืองโดยคำนึงถึงผลในทางปฏิบัติเป็นสำคัญ
เขาได้รับความยอมรับนับถือว่ามีบทบาทในการช่วยทำให้อินเดียกลับมีความมั่นอกมั่นใจในด้านกิจการโลกขึ้นมาใหม่ ภายหลังที่แดนภารตะพ่ายแพ้อย่างย่อยยับในการทำสงครามกับจีนเมื่อปี 1962 ระหว่างที่ทำงานอยู่ในกระทรวงกลาโหม สุพราห์มะณะยัมได้ประจักษ์พบเห็นด้วยตนเองถึงความล้มเหลวต่างๆ ของ ชวาหระลาล เนห์รู (Jawaharlal Nehru) นายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย และรัฐมนตรีกลาโหม วี เค กฤษณะ เมนอน (V K Krishna Menon) ในการสู้รบคราวนั้น ผู้สังเกตการณ์หลายคนชี้ว่า ความผิดหวังท้อแท้จากการปราชัยในสงครามสู้รบกับจีนคราวนั้น ได้ส่งผลกระทบกระเทือนเนห์รูอย่างลึกซึ้ง และเขาก็ถึงแก่อนิจกรรมในอีกเพียง 2 ปีต่อมา
เห็นกันว่าอิทธิพลของสุพราห์มะณะยัม คือกุญแจสำคัญในการช่วยเหลือ อินทิรา คานธี (Indira Gandhi) นายกรัฐมนตรีคนที่สามของอินเดีย นำพาประเทศชาติเอาชนะปากีสถานในสงครามปลดแอกบังกลาเทศปี 1971 ชัยชนะเหนือปากีสถานคราวนั้นเองได้ช่วยต่ออายุชีวิตทางการเมืองให้แก่ อินทิรา คานธี ผู้เป็นบุตรสาวของเนห์รู สำหรับในพิธีศพของสุพราห์มะณะยัม ปรากฏว่า ราหุล คานธี เลขาธิการพรรคคองเกรส (Congress party) ที่เป็นแกนนำคณะรัฐบาลผสมชุดปัจจุบัน และก็เป็นหลานย่าของอินทิรา คานธี ได้เข้าร่วมในพิธีด้วย
เค สุพราห์มะณะยัม ถูกมองว่ามีความคล้ายคลึงอย่างมากกับ จาณักยะ ในเรื่องของการเป็นนักสัจจนิยมที่มุ่งคำนึงถึงผลในทางปฏิบัติ (pragmatic realist) ในระหว่างยุคสงครามเย็น เขาให้คำแนะนำแก่พวกผู้วางนโยบายด้านการต่างประเทศและด้านยุทธศาสตร์ของอินเดียว่า ไม่ควรใช้ท่าทีเล่นๆ ไม่จริงใจกับสหรัฐฯ เขายังเป็นคนแรกๆ ที่เรียกร้องให้อินเดียเสาะแสวงหาสมรรถนะในการยับยั้งป้องปรามด้านนิวเคลียร์ ทั้งนี้เขาดำเนินการคัดค้านอย่างดุเดือดไม่ให้อินเดียลงนามทั้งในสนธิสัญญาห้ามแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ (Non-Proliferation Treaty) และสนธิสัญญาห้ามการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์อย่างทั่วด้าน (Comprehensive Test Ban Treaty)
สุพราห์มะณะยัมแสดงความยินดีต้อนรับข้อตกลงนิวเคลียร์ระหว่างอินเดีย-สหรัฐฯปี 2007 ซึ่งเป็นการสถาปนาความร่วมมือด้านนิวเคลียร์ฝ่ายพลเรือนเต็มรูปแบบระหว่างประเทศทั้งสอง และกล่าวอยู่เสมอว่า ความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับสหรัฐฯมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับโครงสร้างด้านความมั่นคงของอินเดีย โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงการก้าวผงาดขึ้นมาของจีน
ระหว่างที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯเยือนอินเดียในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว สุพราห์มะณะยัมกล่าวว่า ถ้าหากสหรัฐฯต้องการที่จะล้ำหน้าจีนในด้านเทคโนโลยีและด้านเศรษฐกิจต่อไปเรื่อยๆ แล้ว สหรัฐฯก็มีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยความรู้ด้านโนว-ฮาว และความเป็นผู้ประกอบการของอินเดียอย่างต่อเนื่อง
ตลอดชีวิตทางอาชีพการงานของเขา สุพราห์มะณะยัมได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ อย่างหลากหลาย ทั้งประธานคณะทำงานเฉพาะกิจของนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพัฒนาการทางยุทธศาสตร์ระดับโลก (Prime Minister's Task Force on Global Strategic Developments) , คณะกรรมาธิการศึกษาทบทวนกรณีคาร์กิล (Kargil Review Committee) ซึ่งจัดตั้งขึ้นภายหลังสงครามสู้รบกันสั้นๆ ระหว่างอินเดียกับปากีสถานเมื่อปี 1999, คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติ เขายังเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันเพื่อการศึกษาและการวิเคราะห์ด้านกลาโหม (Institute for Defense Studies and Analyses) ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงนิวเดลี
นอกจากนั้นเขาเคยเป็นบรรณาธิการที่ปรึกษาของหนังสือพิมพ์ไทมส์แห่งอินเดีย (the Times of India) บทความที่เขาเขียนนั้นเป็นที่เชื่อกันว่ามีอิทธิพลสำคัญมากต่อนโยบายการต่างประเทศและด้านกลาโหมของอินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดสินใจของแดนภารตะที่จัดการทดลองระเบิดนิวเคลียร์จากปี 1974 ไปจนถึงปี 1998
ในฐานะผู้สังเกตการณ์ด้านเหตุการณ์ปัจจุบันที่มีสายตาแหลมคมยาวไกล เขามักแสดงความเศร้าใจที่อินเดียขาดไร้ซึ่ง “วัฒนธรรมเชิงยุทธศาสตร์” (strategic culture) และเขาพยายามที่จะแก้ไขเรื่องนี้ในช่วงเวลา 3 ทศวรรษที่เขาทำหน้าที่คอยเป็นที่ปรึกษาผู้นำทางให้แก่บรรดานักหนังสือพิมพ์, นักการเมือง, และข้าราชการของอินเดีย
สุพราห์มะณะยัมถือกำเนิดในครอบครัวที่มีฐานะปานกลาง เมื่อวันที่ 24 มกราคม 1929 ณ เมืองติรุจิระปัลลี (Tiruchirapalli) ในรัฐทมิฬนาฑู (Tamil Nadu) เขาสังกัดอยู่ในวรรณะพราหมณ์ เฉกเช่นเดียวกับ จาณักยะ เขาเดินทางไปศึกษาระดับปริญญาโทด้านเคมี ที่วิทยาลัยมัทราส เพรสซิเดนซี คอลเลจ (Madras Presidency College) โดยที่ได้รับทุนการศึกษา จากนั้นจึงได้รับแต่งตั้งให้ไปทำงานที่สำนักงานบริหารข้าราชการพลเรือนอินเดีย (Indian Administrative Service)
ภายหลังที่ได้รับทุนร็อกกีเฟลเลอร์ไปรับการอบรมทางด้านยุทธศาสตร์ศึกษา (Strategic Studies) ณ ลอนดอน สคูล ออฟ อีโคโนมิกส์ (London School of Economics) ในปี 1966 เขาก็กลับมายังอินเดียเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการของสถาบันเพื่อการศึกษาและการวิเคราะห์ด้านกลาโหม ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นมา โดยที่เขาดำรงตำแหน่งนี้อยู่จนกระทั่งถึงปี 1975
ระหว่างปี 1974 ถึง 1986 สุพราห์มะณะยัมยังเข้าร่วมเป็นสมาชิกในกลุ่มศึกษาต่างๆ ของสหประชาชาติ และกลุ่มศึกษาระดับพหุภาคีอื่นๆ รวมทั้งเป็นประธานในการอภิปรายถกเถียงว่าด้วยประเด็นปัญหาต่างๆ เป็นต้นว่า กิจการมหาสมุทรอินเดีย, การลดอาวุธ, และการป้องปรามทางนิวเคลียร์
ถึงแม้เป็นผู้ที่มีสติปัญญาอันยิ่งใหญ่ แต่สุพราห์มะณะยัมก็เป็นผู้ที่ติดดินและถ่อมตน โดยปฏิเสธไม่ยอมรับรางวัลเกียรติยศต่างๆ เป็นต้นว่า ในปี 1999 เขาปฏิเสธไม่ขอรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ปัฐมา ภูชาน (Padma Bhushan เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับฝ่ายพลเรือนที่สูงสุดเป็นลำดับสาม ของอินเดีย) โดยให้เหตุผลว่ารัฐไม่สามารถที่จะมาวัดผลงานของนักหนังสือพิมพ์และข้าราชการ
สุพราห์มะณะยัมถึงแก่มรณกรรม โดยที่ยังอยู่แต่ภรรยา คือ ซาโลจานา (Salochana) และบุตรชาย 3 คนกับบุตรสาว 1 คน บุตรชายคนโตของเขา คือ ชัยจันการ์ สุพราห์มะณะยัม (Jaishankar Subrahmanyam) ปัจจุบันเป็นเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศจีน ส่วนคนที่สอง วิชัย สุพราห์มะณะยัม (Vijay Subrahmanyam) เป็นข้าราชการระดับสูงในรัฐบาลกลางของอินเดีย, และคนที่สาม สัญชัย สุพราห์มะณะยัม (Sanjay Subrahmanyam) เป็นนักประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียง โดยเวลานี้เป็นศาสตราจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตลอสแองเจลิส
ในเวลาที่อินเดียกำลังก้าวหน้าไปในด้านกิจการโลก ความรู้ความเข้าใจอันลึกซึ้งหลักแหลมของสุพราห์มะณะยัม จักเป็นที่คิดถึงคนึงหาด้วยความเสียดาย
By Mohan Balaji
17/02/2011
ภายหลังแสดงบทบาทในการกำหนดยุทธศาสตร์และกิจการด้านนิวเคลียร์ของอินเดีย อยู่เป็นเวลาถึง 5 ทศวรรษ กฤษณะสวามี สุพราห์มะณะยัม ผู้เป็นที่รู้จักลือเลื่องด้วยสมญานาม “เฮนรี คิสซิงเจอร์ แห่งอินเดีย” ก็ได้ถึงแก่มรณกรรมในต้นเดือนนี้ สิริอายุได้ 82 ปี ในฐานะที่เป็นผู้อาวุโสทางด้านความมั่นคง ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้สร้างกิจการด้านความมั่นคงของแดนภารตะขึ้นมาใหม่ ภายหลังความพ่ายแพ้อย่างยับเยินในสงครามอินเดีย-จีนปี 1962 สุพราห์มะณะยัมน่าที่จะรู้สึกภาคภูมิใจที่อำลาจากเวทีไป ในขณะที่ประเทศของเขากำลังก้าวผงาดขึ้นสู่ฐานะความเป็นมหาอำนาจระดับโลก
ด้วยการถึงแก่มรณกรรมของ กฤษณะสวามี สุพราห์มะณะยัม (Krishnaswamy Subrahmanyam) เมื่อต้นเดือนนี้ในวัย 82 ปี อินเดียก็ได้สูญเสียผู้เชี่ยวชาญกิจการด้านยุทธศาสตร์ที่เยี่ยมที่สุดของตน รวมทั้งยังเป็นผู้เขียนหลักการทางด้านนิวเคลียร์ของแดนภารตะอีกด้วย สุพราห์มะณะยัมมักถูกนำไปเปรียบเทียบกับ จาณักยะ (Chanakya) รัฐบุรุษและนักปรัชญาฮินดูโบราณ และ เฮนรี คิสซิงเจอร์ (Henry Kissinger) อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ซึ่งก็เป็นหลักฐานบ่งชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของเขาได้เป็นอย่างดี
สุพราห์มะณะยัม สิ้นชีวิตในกรุงนิวเดลีเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ภายหลังล้มป่วยด้วยโรคมะเร็งมาเป็นเวลานาน นายกรัฐมนตรีร มานโมหัน ซิงห์ ของอินเดีย ได้ออกคำแถลงแสดงความไว้อาลัยไปถึงครอบครัวของสุพราห์มะณะยัม โดยกล่าวว่า “มันเป็นความเศร้าเสียใจอย่างใหญ่หลวงเมื่อผมได้ทราบข่าวการถึงแก่มรณกรรมของ เค สุพราห์มะณะยัม ผู้บิดาของพวกท่าน ผู้ซึ่งเป้นผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงและนักยุทธศาสตร์ชั้นนำผู้หนึ่งของประเทศเรา”
สุพราห์มะณะยัมเริ่มต้นงานของเขาที่กระทรวงกลาโหมในช่วงต้นทศวรรษ 1960 และปฏิบัติหน้าที่อยู่ในภาคราชKrishnaswamy Subrahmanyamการเป็นเวลาหลายทศวรรษ เขาเป็นผู้อำนวยการคนแรกเริ่มก่อตั้งของ สถาบันเพื่อการศึกษาและการวิเคราะห์ด้านกลาโหม (Institute for Defense Studies and Analyses) ที่ตั้งอยู่ในกรุงนิวเดลี เขาไม่ยึดติดอยู่กับแนวความคิดอุดมการณ์ใดๆ หากแต่ยึดมั่นกับการดำเนินการทางการเมืองโดยคำนึงถึงผลในทางปฏิบัติเป็นสำคัญ
เขาได้รับความยอมรับนับถือว่ามีบทบาทในการช่วยทำให้อินเดียกลับมีความมั่นอกมั่นใจในด้านกิจการโลกขึ้นมาใหม่ ภายหลังที่แดนภารตะพ่ายแพ้อย่างย่อยยับในการทำสงครามกับจีนเมื่อปี 1962 ระหว่างที่ทำงานอยู่ในกระทรวงกลาโหม สุพราห์มะณะยัมได้ประจักษ์พบเห็นด้วยตนเองถึงความล้มเหลวต่างๆ ของ ชวาหระลาล เนห์รู (Jawaharlal Nehru) นายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย และรัฐมนตรีกลาโหม วี เค กฤษณะ เมนอน (V K Krishna Menon) ในการสู้รบคราวนั้น ผู้สังเกตการณ์หลายคนชี้ว่า ความผิดหวังท้อแท้จากการปราชัยในสงครามสู้รบกับจีนคราวนั้น ได้ส่งผลกระทบกระเทือนเนห์รูอย่างลึกซึ้ง และเขาก็ถึงแก่อนิจกรรมในอีกเพียง 2 ปีต่อมา
เห็นกันว่าอิทธิพลของสุพราห์มะณะยัม คือกุญแจสำคัญในการช่วยเหลือ อินทิรา คานธี (Indira Gandhi) นายกรัฐมนตรีคนที่สามของอินเดีย นำพาประเทศชาติเอาชนะปากีสถานในสงครามปลดแอกบังกลาเทศปี 1971 ชัยชนะเหนือปากีสถานคราวนั้นเองได้ช่วยต่ออายุชีวิตทางการเมืองให้แก่ อินทิรา คานธี ผู้เป็นบุตรสาวของเนห์รู สำหรับในพิธีศพของสุพราห์มะณะยัม ปรากฏว่า ราหุล คานธี เลขาธิการพรรคคองเกรส (Congress party) ที่เป็นแกนนำคณะรัฐบาลผสมชุดปัจจุบัน และก็เป็นหลานย่าของอินทิรา คานธี ได้เข้าร่วมในพิธีด้วย
เค สุพราห์มะณะยัม ถูกมองว่ามีความคล้ายคลึงอย่างมากกับ จาณักยะ ในเรื่องของการเป็นนักสัจจนิยมที่มุ่งคำนึงถึงผลในทางปฏิบัติ (pragmatic realist) ในระหว่างยุคสงครามเย็น เขาให้คำแนะนำแก่พวกผู้วางนโยบายด้านการต่างประเทศและด้านยุทธศาสตร์ของอินเดียว่า ไม่ควรใช้ท่าทีเล่นๆ ไม่จริงใจกับสหรัฐฯ เขายังเป็นคนแรกๆ ที่เรียกร้องให้อินเดียเสาะแสวงหาสมรรถนะในการยับยั้งป้องปรามด้านนิวเคลียร์ ทั้งนี้เขาดำเนินการคัดค้านอย่างดุเดือดไม่ให้อินเดียลงนามทั้งในสนธิสัญญาห้ามแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ (Non-Proliferation Treaty) และสนธิสัญญาห้ามการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์อย่างทั่วด้าน (Comprehensive Test Ban Treaty)
สุพราห์มะณะยัมแสดงความยินดีต้อนรับข้อตกลงนิวเคลียร์ระหว่างอินเดีย-สหรัฐฯปี 2007 ซึ่งเป็นการสถาปนาความร่วมมือด้านนิวเคลียร์ฝ่ายพลเรือนเต็มรูปแบบระหว่างประเทศทั้งสอง และกล่าวอยู่เสมอว่า ความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับสหรัฐฯมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับโครงสร้างด้านความมั่นคงของอินเดีย โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงการก้าวผงาดขึ้นมาของจีน
ระหว่างที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯเยือนอินเดียในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว สุพราห์มะณะยัมกล่าวว่า ถ้าหากสหรัฐฯต้องการที่จะล้ำหน้าจีนในด้านเทคโนโลยีและด้านเศรษฐกิจต่อไปเรื่อยๆ แล้ว สหรัฐฯก็มีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยความรู้ด้านโนว-ฮาว และความเป็นผู้ประกอบการของอินเดียอย่างต่อเนื่อง
ตลอดชีวิตทางอาชีพการงานของเขา สุพราห์มะณะยัมได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ อย่างหลากหลาย ทั้งประธานคณะทำงานเฉพาะกิจของนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพัฒนาการทางยุทธศาสตร์ระดับโลก (Prime Minister's Task Force on Global Strategic Developments) , คณะกรรมาธิการศึกษาทบทวนกรณีคาร์กิล (Kargil Review Committee) ซึ่งจัดตั้งขึ้นภายหลังสงครามสู้รบกันสั้นๆ ระหว่างอินเดียกับปากีสถานเมื่อปี 1999, คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติ เขายังเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันเพื่อการศึกษาและการวิเคราะห์ด้านกลาโหม (Institute for Defense Studies and Analyses) ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงนิวเดลี
นอกจากนั้นเขาเคยเป็นบรรณาธิการที่ปรึกษาของหนังสือพิมพ์ไทมส์แห่งอินเดีย (the Times of India) บทความที่เขาเขียนนั้นเป็นที่เชื่อกันว่ามีอิทธิพลสำคัญมากต่อนโยบายการต่างประเทศและด้านกลาโหมของอินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดสินใจของแดนภารตะที่จัดการทดลองระเบิดนิวเคลียร์จากปี 1974 ไปจนถึงปี 1998
ในฐานะผู้สังเกตการณ์ด้านเหตุการณ์ปัจจุบันที่มีสายตาแหลมคมยาวไกล เขามักแสดงความเศร้าใจที่อินเดียขาดไร้ซึ่ง “วัฒนธรรมเชิงยุทธศาสตร์” (strategic culture) และเขาพยายามที่จะแก้ไขเรื่องนี้ในช่วงเวลา 3 ทศวรรษที่เขาทำหน้าที่คอยเป็นที่ปรึกษาผู้นำทางให้แก่บรรดานักหนังสือพิมพ์, นักการเมือง, และข้าราชการของอินเดีย
สุพราห์มะณะยัมถือกำเนิดในครอบครัวที่มีฐานะปานกลาง เมื่อวันที่ 24 มกราคม 1929 ณ เมืองติรุจิระปัลลี (Tiruchirapalli) ในรัฐทมิฬนาฑู (Tamil Nadu) เขาสังกัดอยู่ในวรรณะพราหมณ์ เฉกเช่นเดียวกับ จาณักยะ เขาเดินทางไปศึกษาระดับปริญญาโทด้านเคมี ที่วิทยาลัยมัทราส เพรสซิเดนซี คอลเลจ (Madras Presidency College) โดยที่ได้รับทุนการศึกษา จากนั้นจึงได้รับแต่งตั้งให้ไปทำงานที่สำนักงานบริหารข้าราชการพลเรือนอินเดีย (Indian Administrative Service)
ภายหลังที่ได้รับทุนร็อกกีเฟลเลอร์ไปรับการอบรมทางด้านยุทธศาสตร์ศึกษา (Strategic Studies) ณ ลอนดอน สคูล ออฟ อีโคโนมิกส์ (London School of Economics) ในปี 1966 เขาก็กลับมายังอินเดียเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการของสถาบันเพื่อการศึกษาและการวิเคราะห์ด้านกลาโหม ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นมา โดยที่เขาดำรงตำแหน่งนี้อยู่จนกระทั่งถึงปี 1975
ระหว่างปี 1974 ถึง 1986 สุพราห์มะณะยัมยังเข้าร่วมเป็นสมาชิกในกลุ่มศึกษาต่างๆ ของสหประชาชาติ และกลุ่มศึกษาระดับพหุภาคีอื่นๆ รวมทั้งเป็นประธานในการอภิปรายถกเถียงว่าด้วยประเด็นปัญหาต่างๆ เป็นต้นว่า กิจการมหาสมุทรอินเดีย, การลดอาวุธ, และการป้องปรามทางนิวเคลียร์
ถึงแม้เป็นผู้ที่มีสติปัญญาอันยิ่งใหญ่ แต่สุพราห์มะณะยัมก็เป็นผู้ที่ติดดินและถ่อมตน โดยปฏิเสธไม่ยอมรับรางวัลเกียรติยศต่างๆ เป็นต้นว่า ในปี 1999 เขาปฏิเสธไม่ขอรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ปัฐมา ภูชาน (Padma Bhushan เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับฝ่ายพลเรือนที่สูงสุดเป็นลำดับสาม ของอินเดีย) โดยให้เหตุผลว่ารัฐไม่สามารถที่จะมาวัดผลงานของนักหนังสือพิมพ์และข้าราชการ
สุพราห์มะณะยัมถึงแก่มรณกรรม โดยที่ยังอยู่แต่ภรรยา คือ ซาโลจานา (Salochana) และบุตรชาย 3 คนกับบุตรสาว 1 คน บุตรชายคนโตของเขา คือ ชัยจันการ์ สุพราห์มะณะยัม (Jaishankar Subrahmanyam) ปัจจุบันเป็นเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศจีน ส่วนคนที่สอง วิชัย สุพราห์มะณะยัม (Vijay Subrahmanyam) เป็นข้าราชการระดับสูงในรัฐบาลกลางของอินเดีย, และคนที่สาม สัญชัย สุพราห์มะณะยัม (Sanjay Subrahmanyam) เป็นนักประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียง โดยเวลานี้เป็นศาสตราจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตลอสแองเจลิส
ในเวลาที่อินเดียกำลังก้าวหน้าไปในด้านกิจการโลก ความรู้ความเข้าใจอันลึกซึ้งหลักแหลมของสุพราห์มะณะยัม จักเป็นที่คิดถึงคนึงหาด้วยความเสียดาย