(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
India's 'Mr Clean' in muddy times
By Raja Murthy
13/01/2011
นายกรัฐมนตรี มานโมหัน ซิงห์ ของอินเดีย กำลังต่อสู้ดิ้นรนหนักเพื่อรักษาเครดิตความน่าเชื่อถือของคณะรัฐบาลของเขา สืบเนื่องจากกรณีคอร์รัปชั่นอันอื้อฉาวของพวกพรรคร่วมรัฐบาลผสม แล้วยังบวกด้วยวิกฤตราคาอาหารที่กำลังทำให้ความยากลำบากทางเศรษฐกิจยิ่งหนักหน่วงสาหัสขึ้นไปอีก เขาจะต้องตัดสินใจเลือกให้ชัดเจนเด็ดขาด ระหว่างการเก็บรักษากลุ่มที่เปรอะเปื้อนความทุจริตเอาไว้เพื่อประคับประคองให้คณะรัฐบาลผสมยังคงครองอำนาจต่อไป หรือไม่ก็ต้องหั่นเฉือนพวกคนเหล่านี้ทิ้งไป แต่นั่นก็มีความเสี่ยงที่จะต้องลงเลือกตั้งทั่วไปก่อนกำหนดวาระ
มุมไบ – นายกรัฐมนตรี มานโมหัน ซิงห์ ของอินเดียกำลังตกอยู่ในสภาพที่ต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดของตัวเอง ในเมื่อภาพลักษณ์ “มิสเตอร์คลีน” ใจซื่อมือสะอาดของเขากำลังถูกคุกคามสั่นคลอนจากหลายๆ กรณีทุจริตคอร์รัปชั่นอื้อฉาวของพวกพรรคร่วมรัฐบาลผสม ยิ่งกว่านั้นราคาอาหารและภาวะค่าครองชีพก็กำลังพุ่งลิ่วซึ่งทำให้เพิ่มโอกาสที่จะเกิดความวุ่นวายไม่สงบทางสังคมขึ้นมา
ขณะที่พวกฝ่ายค้านในแวดวงการเมืองไม่มีใครเลยที่ตั้งคำถามแสดงความกังขาเกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริตของตัวนายกฯมานโมหัน แต่ก็เป็นที่เข้าใจกันอย่างกว้างขวางว่า พรรคคองเกรส (Congress) ของเขาซึ่งเป็นผู้นำของคณะรัฐบาลผสมที่ประกอบด้วยพรรคและกลุ่มการเมืองประมาณ 10 ฝ่าย โดยเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า พันธมิตรก้าวหน้าสามัคคี (United Progress Alliance หรือ UPA) นั้น กำลังช่วยเหลือปกป้องผู้คนในพันธมิตรที่เป็นพวกฉ้อฉล ตลอดจนเป็นพวกที่มีผลประโยชน์ผูกพันกับกลุ่มธุรกิจบางกลุ่มอย่างเหนียวแน่น
เวลานี้มานโมหันและพรรคคองเกรสของเขาจึงกำลังจะต้องตัดสินใจเลือกอย่างจริงจังเด็ดขาด ระหว่างการเก็บรักษาพวกที่เปรอะเปื้อนความทุจริตเอาไว้ เพื่อให้มั่นใจว่าพันธมิตร UPA จะสามารถบริหารประเทศไปได้ตลอดวาระห้าปีเป็นวาระที่สองติดต่อกัน หรือไม่ก็จะต้องตัดขาดแยกทางกับคนเหล่านี้ ซึ่งมีความเป็นไปได้อยู่มากที่จะนำไปสู่การจัดการเลือกตั้งทั่วไปก่อนกำหนดโดยพรรคคองเกรสจะประสบความพ่ายแพ้
จวบจนถึงเวลานี้ รัฐบาลใช้ท่าทีปฏิเสธไม่ยอมรับรู้ขนาดขอบเขตของกรณีคอร์รัปชั่นที่ฉาวโฉ่ที่สุด นั่นคือ เรื่องการให้สัมปทานโทรศัพท์มือถือแบบไม่ชอบมาพากลซึ่งกำลังเป็นสร้างแรงสะท้านสะเทือนไปทั่วประเทศ ทั้งนี้ในปีที่แล้ว เอ ราชา (A Raja) อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการสื่อสาร ได้ถูกกล่าวหาว่าจัดสรรสัมปทานคลื่นความถี่โทรศัพท์มือถือระบบ 2 จี โดยใช้วิธีใครมาก่อนได้ก่อน แทนที่จะเปิดประมูลหาผู้เสนอราคาสูงสุด จึงเป็นเหตุให้รัฐบาลสูญเสียรายได้ที่พึงได้ไปถึงประมาณ 40,000 ล้านดอลลาร์
กระทั่งถึงเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา มานโมหันก็ยังถูกมองว่าเอาแต่พยุงตัวเองให้ล่องลอยอยู่บนห้วงน้ำสกปรกขุ่นคลักของการเมืองแห่งรัฐบาลผสม แต่เมื่อตระหนักถึงอารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป มานโมหันจึงได้จัดการประชุมฉุกเฉินกับพวกรัฐมนตรีคนสำคัญๆ ในตอนเช้าของวันอังคารที่ 11 มกราคมที่ผ่านมา เพื่อหาวิธีรับมือแก้ไขวิกฤตราคาอาหารที่กำลังไต่ขึ้นไม่ยอมหยุด
ราคาอาหารประจำวันพื้นฐานไม่ว่าจะเป็น ผลไม้, ไข่, และเนื้อสัตว์ ต่างกำลังขยับขึ้นอย่างน่าใจหาย จนทำให้อัตราเงินเฟ้อของสินค้าประเภทอาหารอยู่ในระดับเกือบๆ 17% แล้ว หัวหอมใหญ่ที่เป็นอาหารสำคัญของชาวอินเดียทั่วไป เวลานี้ทะยานขึ้นไปอยู่ที่กิโลกรัมละ 1.67 ดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ค่าจ้างโดยเฉลี่ยของประชาชนแดนภารตะอยู่ที่วันละ 2.23 ดอลลาร์ “เวลานี้ราคาอาหารกำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ แต่กลับดูเหมือนว่ารัฐบาลไม่สามารถที่จะเข้าไปจัดการควบคุมอะไรได้” ปราสันนา อนันธาสุพรามาเนียม (Prasanna Ananthasubramaniam) หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ที่ตั้งฐานอยู่ในนครมุมไบ (บอมเบย์) ของบริษัทหลักทรัพย์ ไอซีไอซีไอ ซีเคียวริตีส์ ไพรมารี ดีลเลอร์ชิป (ICICI Securities Primary Dealership) บอกกับสำนักข่าวบรูมเบิร์กเช่นนี้เมื่อวันที่ 13 มกราคม
ขณะที่วิกฤตราคาอาหารกำลังทำท่ากลายเป็นเรื่องร้ายแรงยิ่งขึ้นทุกทีนี้เอง ปรากฏว่า รัฐมนตรีกระทรวงเกษตร ชารัด ปาวาร์ (Sharad Pawar) ซึ่งเป็นบุคคลระดับอาวุโสในคณะรัฐบาลผสมชุดนี้ ก็กลับกำลังถูกกล่าวหาโจมตีว่าทำตัวเป็นทองไม่รู้ร้อนทั้งๆ ที่ไฟกำลังไหม้ใกล้เข้ามาทุกขณะ กล่าวคือในโมงยามที่ประเทศทุกข์ยากเดือดร้อนจากวิกฤตอันเกี่ยวข้องกับการเกษตรครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบหลายสิบปีอยู่นี้ ปาวาร์กลับทำท่าว่าให้ความสนใจมากกว่ากับการประกอบกิจกรรมของเขาในฐานะที่เป็นประธานของสภากีฬาคริกเก็ตระหว่างประเทศ (International Cricket Council) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ดูไบ โดยที่ทางสภากำลังสาละวนอยู่กับการเตรียมงานจัดการแข่งขันคริกเก็ต เวิลด์ คัป (Cricket World Cup) ซึ่งอินเดียจะเป็นเจ้าภาพในเดือนกุมภาพันธ์นี้
พรรคดราวิดา มุนเนตรา คาชากัม (Dravida Munnetra Kazhagam หรือ DMK) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองระดับภูมิภาคที่มีอิทธิพลสูงใน 2 รัฐทางตอนใต้ของอินเดีย ก็ถูกมองว่าเป็นภาระหนักอึ้งอีกอย่างหนึ่งที่ผูกอยู่รอบคอของมานโมหัน พรรค DMK นี้เองคือพรรคที่รับผิดชอบกระทรวงการสื่อสารในตอนที่พัวพันกับกรณีอื้อฉาวการจัดสรรคลื่นความถี่ 2 จี ด้วยเหตุผลซึ่งมีแต่พรรค DMK เองคือผู้ที่ทราบดีที่สุด พรรคนี้ยืนกรานให้สมาชิกของตนเข้าเป็นรัฐมนตรีคุมกระทรวงนี้ตลอดทั้ง 2 วาระที่พันธมิตร UPA ครองอำนาจเป็นรัฐบาล โดยที่ เอ ราชา ผู้ลาออกจากตำแหน่งในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ก็เป็นหนึ่งในรัฐมนตรีการสื่อสารที่สังกัดพรรค DMK เช่นกัน
ตัวละครที่มีบทบาทสำคัญยิ่งของเรื่องนี้ คือ มุธุเวล กรุณานิธิ (Muthuvel Karunanidhi) หัวหน้าพรรค DMK และ มุขมนตรีแห่งรัฐทมิฬนาฑู (chief minister of Tamil Nadu) ผู้ซึ่งเวลานี้อยู่ในวัย 86 ปี เขาเป็นผู้ให้การสนับสนุนอย่างแข็งขันต่อ นางโซเนีย คานธี (Sonia Gandhi) หัวหน้าพรรคคองเกรสเมื่อปี 2004 ตอนที่เธอนำพาพรรคของเธอชนะได้ที่นั่งมากกว่าพรรคภราติยะ ชนะตะ (Bharatiya Janata Party หรือ BJP) พรรคแกนนำรัฐบาลเดิมในการเลือกตั้งทั่วไปในปีนั้น
เอ ราชาผู้เป็นอดีตรัฐมนตรีการสื่อสาร เป็นผู้ที่ผ่านการศึกษาอบรมในทางกฎหมาย และเป็นที่ทราบกันดีว่ามีความใกล้ชิดกับ กรุณานิธิ กานิโมซี (Karunanidhi Kanimozhi) บุตรสาวคนโปรดของ มุธุเวล โดยที่เวลานี้เธอดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาสูงของอินเดียอยู่ด้วย
ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า พรรคคองเกรสกำลังแสดงความกตัญญูรู้คุณพรรค DMK สำหรับความสนับสนุนในอดีตที่ผ่านมา ทว่าราคาของการธำรงรักษาความสัมพันธ์ดังกล่าว (ซึ่งถึงขั้นทำให้มานโมหันกำลังถูกมองว่าสูญเสียอำนาจควบคุมประดาพรรคร่วมรัฐบาลผสมของเขา) อาจจะสูงลิ่วเกินไปเสียแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่าง DMK กับพรรคคองเกรส เริ่มทำท่ายุ่งยากไม่ราบรื่น หลังจากที่สำนักงานสอบสวนกลาง (Central Bureau of Investigation หรือ CBI) ซึ่งเป็นหน่วยงานสำคัญที่สุดในด้านการสืบสวนสอบสวนคดีความผิดต่างๆ ของอินเดีย เริ่มดำเนินการสอบสวนแผนกโลบายทุจริตคลื่นความถี่ 2 จี และทำท่าขยายเข้าไปตรวจสอบความเกี่ยวข้องของพรรค DMK ในเรื่องนี้ มานโมหัน ซิงห์ ต้องเดินทางไปพบปะกับ กรุณานิธิ ที่เมืองเชนไน (Chennai) เมืองหลวงของรัฐทมิฬนาฑู ในวันที่ 3 มกราคมที่ผ่านมา โดยดูเหมือนกับเขาจะไปปลอบประโลมเอาอกเอาใจหัวหน้าพรรคร่วมพรรคหนึ่งในคณะรัฐบาลผสมของเขาผู้นี้
สำนักงานสอบสวนกลาง ซึ่งรัฐบาลอินเดียเป็นผู้ควบคุมบังคับบัญชาโดยตรง ถูกกล่าวหาติเตียนอยู่เสมอว่า ไม่เอาจริงเอาจังกับเรื่องทุจริตอื้อฉาว เป็นต้นว่ามักจะบุกเข้าไปตรวจค้นจับกุมผู้ต้องสงสัยอย่างเชื่องช้าเกินไป ทำให้คนเหล่านั้นมีเวลาที่จะทำลายประดาหลักฐานที่สามารถโยงใยเอาผิดกับพวกเขาได้ พวกนักวิพากษ์วิจารณ์ยังระบุด้วยว่า หน่วยงานนี้ละเลยไม่คิดรวบตัวใหญ่ระดับนักการเมืองเฮฟวี่เวต โดยมุ่งแต่จะจับกุมฟ้องร้องข้าราชการชั้นผู้น้อย ตลอดจนพวกผู้ช่วยส่วนตัวของนักการเมืองที่เกี่ยวข้องกับแผนกโลบายทุจริต นั่นก็เท่ากับการปิดปากตัดตอนพวกที่อาจจะรู้เห็นอะไรๆ มากเกินไปแล้ว
เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา มีข้าราชการ 2 คน ที่กำลังถูกขังอยู่ในเรือนจำติหาร์ (Tihar Jail) ของกรุงนิวเดลี เพื่อรอเวลาถูกพิจาณาคดีในศาลด้วยข้อหาทุจริตในโครงการอันเกี่ยวเนื่องกับการเตรียมจัดการแข่งขันกีฬาเครือจักรภพ (Commonwealth Games) ปี 2010 ซึ่งจัดขึ้นในนครหลวงของอินเดียแห่งนี้ ปรากฏว่าทั้งคู่ได้ออกมาร้องทุกข์โวยวายว่า พวกเขากำลังตกเป็นเป้าถูกลอบสังหารเพื่อปิดปาก โดยที่มีเจ้าหน้าที่ของเรือนจำบางคนรู้เห็นเป็นใจด้วย
พวกพรรคฝ่ายค้านก็เหมือนฉลามร้ายที่ได้กลิ่นเลือด จึงพากันเคลื่อนไหวด้วยการเรียกร้องให้จัดตั้งคณะสอบสวนร่วมของรัฐสภาขึ้นมาทำการสืบสาวหาความกระจ่างเกี่ยวกับคดีทุจริตสัมปทานคลื่นความถี่ 2 จี ครั้นเมื่อฝ่ายรัฐบาลยังไม่ยินยอม พวกเขาก็คว่ำบาตรไม่ยอมเข้าร่วมการประชุมรัฐสภา แทบจะตลอดทั้งสมัยการประชุมช่วงฤดูหนาวทีเดียว พรรคฝ่ายค้านเหล่านี้ทราบดีว่าผลพวงจากการผลักดันให้มีการสอบสวน อาจก่อให้เกิดความร้าวฉานขึ้นในความเป็นพันธมิตรระหว่างพรรค DMK กับ พรรคคองเกรส โดยที่อาจมีศักยภาพถึงขั้นที่จะทำให้รัฐบาลผสมต้องล้มคว่ำลงได้
พวกนักวิจารณ์บอกว่า มานโมหันและพรรคของเขาจำเป็นจะต้องใช้วิธีการที่โปร่งใสมากขึ้นในการจัดการกับเรื่องอื้อฉาวอัปยศต่างๆ เหล่านี้ มิฉะนั้นประชาชนก็จะหมดความอดทนกับผู้นำท่านนี้ ซึ่งอันที่จริงก็ขึ้นมาครองอำนาจได้เนื่องจากได้รับการเสนอชื่อแต่งตั้งมากกว่าที่จะได้รับการเลือกตั้ง ถ้าหากประชาชนทำท่าไม่พอใจอย่างแรงต่อมานโมหันเสียแล้ว ความเป็นหุ้นส่วนกันที่เขากับ โซเนีย คานธี หัวหน้าพรรคคองเกรส ได้ร่วมกันสร้างขึ้นมา และเป็นสิ่งที่ได้รับการยกย่องสรรเสริญอย่างสูงด้วยนั้น ก็อาจจะตกอยู่ในอันตราย ทั้งนี้ โซเนีย คานธี ในฐานะหัวหน้าพรรค ย่อมเป็นผู้ที่ทำการตัดสินใจในขั้นสุดท้ายในประเด็นปัญหาสำคัญๆ ทั้งหลาย
India's 'Mr Clean' in muddy times
By Raja Murthy
13/01/2011
นายกรัฐมนตรี มานโมหัน ซิงห์ ของอินเดีย กำลังต่อสู้ดิ้นรนหนักเพื่อรักษาเครดิตความน่าเชื่อถือของคณะรัฐบาลของเขา สืบเนื่องจากกรณีคอร์รัปชั่นอันอื้อฉาวของพวกพรรคร่วมรัฐบาลผสม แล้วยังบวกด้วยวิกฤตราคาอาหารที่กำลังทำให้ความยากลำบากทางเศรษฐกิจยิ่งหนักหน่วงสาหัสขึ้นไปอีก เขาจะต้องตัดสินใจเลือกให้ชัดเจนเด็ดขาด ระหว่างการเก็บรักษากลุ่มที่เปรอะเปื้อนความทุจริตเอาไว้เพื่อประคับประคองให้คณะรัฐบาลผสมยังคงครองอำนาจต่อไป หรือไม่ก็ต้องหั่นเฉือนพวกคนเหล่านี้ทิ้งไป แต่นั่นก็มีความเสี่ยงที่จะต้องลงเลือกตั้งทั่วไปก่อนกำหนดวาระ
มุมไบ – นายกรัฐมนตรี มานโมหัน ซิงห์ ของอินเดียกำลังตกอยู่ในสภาพที่ต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดของตัวเอง ในเมื่อภาพลักษณ์ “มิสเตอร์คลีน” ใจซื่อมือสะอาดของเขากำลังถูกคุกคามสั่นคลอนจากหลายๆ กรณีทุจริตคอร์รัปชั่นอื้อฉาวของพวกพรรคร่วมรัฐบาลผสม ยิ่งกว่านั้นราคาอาหารและภาวะค่าครองชีพก็กำลังพุ่งลิ่วซึ่งทำให้เพิ่มโอกาสที่จะเกิดความวุ่นวายไม่สงบทางสังคมขึ้นมา
ขณะที่พวกฝ่ายค้านในแวดวงการเมืองไม่มีใครเลยที่ตั้งคำถามแสดงความกังขาเกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริตของตัวนายกฯมานโมหัน แต่ก็เป็นที่เข้าใจกันอย่างกว้างขวางว่า พรรคคองเกรส (Congress) ของเขาซึ่งเป็นผู้นำของคณะรัฐบาลผสมที่ประกอบด้วยพรรคและกลุ่มการเมืองประมาณ 10 ฝ่าย โดยเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า พันธมิตรก้าวหน้าสามัคคี (United Progress Alliance หรือ UPA) นั้น กำลังช่วยเหลือปกป้องผู้คนในพันธมิตรที่เป็นพวกฉ้อฉล ตลอดจนเป็นพวกที่มีผลประโยชน์ผูกพันกับกลุ่มธุรกิจบางกลุ่มอย่างเหนียวแน่น
เวลานี้มานโมหันและพรรคคองเกรสของเขาจึงกำลังจะต้องตัดสินใจเลือกอย่างจริงจังเด็ดขาด ระหว่างการเก็บรักษาพวกที่เปรอะเปื้อนความทุจริตเอาไว้ เพื่อให้มั่นใจว่าพันธมิตร UPA จะสามารถบริหารประเทศไปได้ตลอดวาระห้าปีเป็นวาระที่สองติดต่อกัน หรือไม่ก็จะต้องตัดขาดแยกทางกับคนเหล่านี้ ซึ่งมีความเป็นไปได้อยู่มากที่จะนำไปสู่การจัดการเลือกตั้งทั่วไปก่อนกำหนดโดยพรรคคองเกรสจะประสบความพ่ายแพ้
จวบจนถึงเวลานี้ รัฐบาลใช้ท่าทีปฏิเสธไม่ยอมรับรู้ขนาดขอบเขตของกรณีคอร์รัปชั่นที่ฉาวโฉ่ที่สุด นั่นคือ เรื่องการให้สัมปทานโทรศัพท์มือถือแบบไม่ชอบมาพากลซึ่งกำลังเป็นสร้างแรงสะท้านสะเทือนไปทั่วประเทศ ทั้งนี้ในปีที่แล้ว เอ ราชา (A Raja) อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการสื่อสาร ได้ถูกกล่าวหาว่าจัดสรรสัมปทานคลื่นความถี่โทรศัพท์มือถือระบบ 2 จี โดยใช้วิธีใครมาก่อนได้ก่อน แทนที่จะเปิดประมูลหาผู้เสนอราคาสูงสุด จึงเป็นเหตุให้รัฐบาลสูญเสียรายได้ที่พึงได้ไปถึงประมาณ 40,000 ล้านดอลลาร์
กระทั่งถึงเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา มานโมหันก็ยังถูกมองว่าเอาแต่พยุงตัวเองให้ล่องลอยอยู่บนห้วงน้ำสกปรกขุ่นคลักของการเมืองแห่งรัฐบาลผสม แต่เมื่อตระหนักถึงอารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป มานโมหันจึงได้จัดการประชุมฉุกเฉินกับพวกรัฐมนตรีคนสำคัญๆ ในตอนเช้าของวันอังคารที่ 11 มกราคมที่ผ่านมา เพื่อหาวิธีรับมือแก้ไขวิกฤตราคาอาหารที่กำลังไต่ขึ้นไม่ยอมหยุด
ราคาอาหารประจำวันพื้นฐานไม่ว่าจะเป็น ผลไม้, ไข่, และเนื้อสัตว์ ต่างกำลังขยับขึ้นอย่างน่าใจหาย จนทำให้อัตราเงินเฟ้อของสินค้าประเภทอาหารอยู่ในระดับเกือบๆ 17% แล้ว หัวหอมใหญ่ที่เป็นอาหารสำคัญของชาวอินเดียทั่วไป เวลานี้ทะยานขึ้นไปอยู่ที่กิโลกรัมละ 1.67 ดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ค่าจ้างโดยเฉลี่ยของประชาชนแดนภารตะอยู่ที่วันละ 2.23 ดอลลาร์ “เวลานี้ราคาอาหารกำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ แต่กลับดูเหมือนว่ารัฐบาลไม่สามารถที่จะเข้าไปจัดการควบคุมอะไรได้” ปราสันนา อนันธาสุพรามาเนียม (Prasanna Ananthasubramaniam) หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ที่ตั้งฐานอยู่ในนครมุมไบ (บอมเบย์) ของบริษัทหลักทรัพย์ ไอซีไอซีไอ ซีเคียวริตีส์ ไพรมารี ดีลเลอร์ชิป (ICICI Securities Primary Dealership) บอกกับสำนักข่าวบรูมเบิร์กเช่นนี้เมื่อวันที่ 13 มกราคม
ขณะที่วิกฤตราคาอาหารกำลังทำท่ากลายเป็นเรื่องร้ายแรงยิ่งขึ้นทุกทีนี้เอง ปรากฏว่า รัฐมนตรีกระทรวงเกษตร ชารัด ปาวาร์ (Sharad Pawar) ซึ่งเป็นบุคคลระดับอาวุโสในคณะรัฐบาลผสมชุดนี้ ก็กลับกำลังถูกกล่าวหาโจมตีว่าทำตัวเป็นทองไม่รู้ร้อนทั้งๆ ที่ไฟกำลังไหม้ใกล้เข้ามาทุกขณะ กล่าวคือในโมงยามที่ประเทศทุกข์ยากเดือดร้อนจากวิกฤตอันเกี่ยวข้องกับการเกษตรครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบหลายสิบปีอยู่นี้ ปาวาร์กลับทำท่าว่าให้ความสนใจมากกว่ากับการประกอบกิจกรรมของเขาในฐานะที่เป็นประธานของสภากีฬาคริกเก็ตระหว่างประเทศ (International Cricket Council) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ดูไบ โดยที่ทางสภากำลังสาละวนอยู่กับการเตรียมงานจัดการแข่งขันคริกเก็ต เวิลด์ คัป (Cricket World Cup) ซึ่งอินเดียจะเป็นเจ้าภาพในเดือนกุมภาพันธ์นี้
พรรคดราวิดา มุนเนตรา คาชากัม (Dravida Munnetra Kazhagam หรือ DMK) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองระดับภูมิภาคที่มีอิทธิพลสูงใน 2 รัฐทางตอนใต้ของอินเดีย ก็ถูกมองว่าเป็นภาระหนักอึ้งอีกอย่างหนึ่งที่ผูกอยู่รอบคอของมานโมหัน พรรค DMK นี้เองคือพรรคที่รับผิดชอบกระทรวงการสื่อสารในตอนที่พัวพันกับกรณีอื้อฉาวการจัดสรรคลื่นความถี่ 2 จี ด้วยเหตุผลซึ่งมีแต่พรรค DMK เองคือผู้ที่ทราบดีที่สุด พรรคนี้ยืนกรานให้สมาชิกของตนเข้าเป็นรัฐมนตรีคุมกระทรวงนี้ตลอดทั้ง 2 วาระที่พันธมิตร UPA ครองอำนาจเป็นรัฐบาล โดยที่ เอ ราชา ผู้ลาออกจากตำแหน่งในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ก็เป็นหนึ่งในรัฐมนตรีการสื่อสารที่สังกัดพรรค DMK เช่นกัน
ตัวละครที่มีบทบาทสำคัญยิ่งของเรื่องนี้ คือ มุธุเวล กรุณานิธิ (Muthuvel Karunanidhi) หัวหน้าพรรค DMK และ มุขมนตรีแห่งรัฐทมิฬนาฑู (chief minister of Tamil Nadu) ผู้ซึ่งเวลานี้อยู่ในวัย 86 ปี เขาเป็นผู้ให้การสนับสนุนอย่างแข็งขันต่อ นางโซเนีย คานธี (Sonia Gandhi) หัวหน้าพรรคคองเกรสเมื่อปี 2004 ตอนที่เธอนำพาพรรคของเธอชนะได้ที่นั่งมากกว่าพรรคภราติยะ ชนะตะ (Bharatiya Janata Party หรือ BJP) พรรคแกนนำรัฐบาลเดิมในการเลือกตั้งทั่วไปในปีนั้น
เอ ราชาผู้เป็นอดีตรัฐมนตรีการสื่อสาร เป็นผู้ที่ผ่านการศึกษาอบรมในทางกฎหมาย และเป็นที่ทราบกันดีว่ามีความใกล้ชิดกับ กรุณานิธิ กานิโมซี (Karunanidhi Kanimozhi) บุตรสาวคนโปรดของ มุธุเวล โดยที่เวลานี้เธอดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาสูงของอินเดียอยู่ด้วย
ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า พรรคคองเกรสกำลังแสดงความกตัญญูรู้คุณพรรค DMK สำหรับความสนับสนุนในอดีตที่ผ่านมา ทว่าราคาของการธำรงรักษาความสัมพันธ์ดังกล่าว (ซึ่งถึงขั้นทำให้มานโมหันกำลังถูกมองว่าสูญเสียอำนาจควบคุมประดาพรรคร่วมรัฐบาลผสมของเขา) อาจจะสูงลิ่วเกินไปเสียแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่าง DMK กับพรรคคองเกรส เริ่มทำท่ายุ่งยากไม่ราบรื่น หลังจากที่สำนักงานสอบสวนกลาง (Central Bureau of Investigation หรือ CBI) ซึ่งเป็นหน่วยงานสำคัญที่สุดในด้านการสืบสวนสอบสวนคดีความผิดต่างๆ ของอินเดีย เริ่มดำเนินการสอบสวนแผนกโลบายทุจริตคลื่นความถี่ 2 จี และทำท่าขยายเข้าไปตรวจสอบความเกี่ยวข้องของพรรค DMK ในเรื่องนี้ มานโมหัน ซิงห์ ต้องเดินทางไปพบปะกับ กรุณานิธิ ที่เมืองเชนไน (Chennai) เมืองหลวงของรัฐทมิฬนาฑู ในวันที่ 3 มกราคมที่ผ่านมา โดยดูเหมือนกับเขาจะไปปลอบประโลมเอาอกเอาใจหัวหน้าพรรคร่วมพรรคหนึ่งในคณะรัฐบาลผสมของเขาผู้นี้
สำนักงานสอบสวนกลาง ซึ่งรัฐบาลอินเดียเป็นผู้ควบคุมบังคับบัญชาโดยตรง ถูกกล่าวหาติเตียนอยู่เสมอว่า ไม่เอาจริงเอาจังกับเรื่องทุจริตอื้อฉาว เป็นต้นว่ามักจะบุกเข้าไปตรวจค้นจับกุมผู้ต้องสงสัยอย่างเชื่องช้าเกินไป ทำให้คนเหล่านั้นมีเวลาที่จะทำลายประดาหลักฐานที่สามารถโยงใยเอาผิดกับพวกเขาได้ พวกนักวิพากษ์วิจารณ์ยังระบุด้วยว่า หน่วยงานนี้ละเลยไม่คิดรวบตัวใหญ่ระดับนักการเมืองเฮฟวี่เวต โดยมุ่งแต่จะจับกุมฟ้องร้องข้าราชการชั้นผู้น้อย ตลอดจนพวกผู้ช่วยส่วนตัวของนักการเมืองที่เกี่ยวข้องกับแผนกโลบายทุจริต นั่นก็เท่ากับการปิดปากตัดตอนพวกที่อาจจะรู้เห็นอะไรๆ มากเกินไปแล้ว
เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา มีข้าราชการ 2 คน ที่กำลังถูกขังอยู่ในเรือนจำติหาร์ (Tihar Jail) ของกรุงนิวเดลี เพื่อรอเวลาถูกพิจาณาคดีในศาลด้วยข้อหาทุจริตในโครงการอันเกี่ยวเนื่องกับการเตรียมจัดการแข่งขันกีฬาเครือจักรภพ (Commonwealth Games) ปี 2010 ซึ่งจัดขึ้นในนครหลวงของอินเดียแห่งนี้ ปรากฏว่าทั้งคู่ได้ออกมาร้องทุกข์โวยวายว่า พวกเขากำลังตกเป็นเป้าถูกลอบสังหารเพื่อปิดปาก โดยที่มีเจ้าหน้าที่ของเรือนจำบางคนรู้เห็นเป็นใจด้วย
พวกพรรคฝ่ายค้านก็เหมือนฉลามร้ายที่ได้กลิ่นเลือด จึงพากันเคลื่อนไหวด้วยการเรียกร้องให้จัดตั้งคณะสอบสวนร่วมของรัฐสภาขึ้นมาทำการสืบสาวหาความกระจ่างเกี่ยวกับคดีทุจริตสัมปทานคลื่นความถี่ 2 จี ครั้นเมื่อฝ่ายรัฐบาลยังไม่ยินยอม พวกเขาก็คว่ำบาตรไม่ยอมเข้าร่วมการประชุมรัฐสภา แทบจะตลอดทั้งสมัยการประชุมช่วงฤดูหนาวทีเดียว พรรคฝ่ายค้านเหล่านี้ทราบดีว่าผลพวงจากการผลักดันให้มีการสอบสวน อาจก่อให้เกิดความร้าวฉานขึ้นในความเป็นพันธมิตรระหว่างพรรค DMK กับ พรรคคองเกรส โดยที่อาจมีศักยภาพถึงขั้นที่จะทำให้รัฐบาลผสมต้องล้มคว่ำลงได้
พวกนักวิจารณ์บอกว่า มานโมหันและพรรคของเขาจำเป็นจะต้องใช้วิธีการที่โปร่งใสมากขึ้นในการจัดการกับเรื่องอื้อฉาวอัปยศต่างๆ เหล่านี้ มิฉะนั้นประชาชนก็จะหมดความอดทนกับผู้นำท่านนี้ ซึ่งอันที่จริงก็ขึ้นมาครองอำนาจได้เนื่องจากได้รับการเสนอชื่อแต่งตั้งมากกว่าที่จะได้รับการเลือกตั้ง ถ้าหากประชาชนทำท่าไม่พอใจอย่างแรงต่อมานโมหันเสียแล้ว ความเป็นหุ้นส่วนกันที่เขากับ โซเนีย คานธี หัวหน้าพรรคคองเกรส ได้ร่วมกันสร้างขึ้นมา และเป็นสิ่งที่ได้รับการยกย่องสรรเสริญอย่างสูงด้วยนั้น ก็อาจจะตกอยู่ในอันตราย ทั้งนี้ โซเนีย คานธี ในฐานะหัวหน้าพรรค ย่อมเป็นผู้ที่ทำการตัดสินใจในขั้นสุดท้ายในประเด็นปัญหาสำคัญๆ ทั้งหลาย