เอเอฟพี - การแต่งตั้ง นาจิบ มิกาติ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของเลบานอน หลังรับการสนับสนุนจากทางฮิซบอลเลาะห์ ส่งผลให้กลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงนิกายชีอะห์ดังกล่าวขยายอิทธิพลปกคลุมประเทศที่เกิดความแตกแยกทางศาสนาแห่งนี้ ขณะเดียวกันมวลชนมุสลิมสุหนี่ที่ไม่พอใจต่างออกมาประท้วงว่าที่หัวหน้ารัฐบาลคนใหม่
ประธานาธิบดีมิเชล สุไลมาน ได้เสนอให้ นาจิบ มิกาติ ตั้งรัฐบาล ท่ามกลางการประท้วงของกลุ่มมุสลิมสุหนี่ผู้เดือดดาล โดยมีทั้งการปิดถนน เผายางรถยนต์ เนื่องจากเกิดความโกรธแค้น หลังตัวแทนของกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ได้รับการแต่งตั้ง ขณะที่ฝรั่งเศส และสหรัฐฯ ต่างแสดงท่าทีวิตกต่อความไม่สงบดังกล่าว
สหรัฐฯ กล่าวหากลุ่มฮิซบอลเลาะห์ว่า ใช้กำลังกดดันรัฐบาล พร้อมทั้งยืนกรานว่าศาลพิเศษเลบานอนที่ยูเอ็นให้การสนับสนุนจะเดินหน้าทำงานต่อไป เพื่อหาตัวผู้อยู่เบื้องหลังการลอบสังหารอดีตนายกรัฐมนตรีราฟิก ฮาริรี อนึ่งกลุ่มฮิซบอลเลาะห์มีอิหร่านกับซีเรียคอยหนุนหลัง
ทั้งนี้ หลังได้รับการแต่งตั้ง นาจิบ มิกาติ ออกมายืนยันว่าเขาไม่ใช่ “คนของฮิซบอลเลาะห์” และจะทำงานร่วมกับชาวเลบานอนทุกคน เพื่อก่อตั้งรัฐบาลที่เสมอภาค “ผมขอกล่าวด้วยความจริงใจว่า การได้รับเสนอชื่อจากทางฮิซบอลเลาะห์ไม่ได้หมายความว่า ผมผูกมัดอยู่กับจุดยืนทางการเมือของพวกเขาแต่อย่างใด เว้นแต่เรื่องการปกป้องชาติบ้านเมือง (จากอิสราเอล)”
ฮิซบอลเลาะห์และแนวร่วมเป็นแกนนำล้มรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีซาอัด ฮาริรี ที่ชาติตะวันตกเชื่อถือ เมื่อ 12 มกราคมที่ผ่านมา หลังความขัดแย้งกับกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ กรณีการสืบสวนคดีลอบสังหารราฟิก ฮาริรี บิดาของซาอัด ฮาริรี ทางกลุ่มฮิซบอลเลาะห์เชื่อว่า ศาลพิเศษเลบานอนของยูเอ็นจะลากเอาสมาชิกของตนเข้าไปพัวพันกับคดีดังกล่าว และระบุว่า การสืบสวนครั้งนี้เป็นแผนสมรู้ร่วมคิดกันระหว่างสหรัฐฯ-อิสราเอล
“แม้การแต่งตั้งรัฐบาลใหม่เป็นการตัดสินใจของชาวเลบานอน แต่การตัดสินใจดังกล่าวไม่ควรถูกบีบบังคับ หรือข่มขู่ด้วยความรุนแรง” ฟิลิป ครอว์ลีย์ โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุในคำแถลง
อย่างไรก็ตาม นาจิบ มิกาติ เคยให้สมัภาษณ์กับสื่อก่อนหน้านี้ว่า จะทาบทามไปยังทุกพรรคให้เข้าร่วมรัฐบาล สอดคล้องกับคำกล่าวของ ฮัสซัน นาสรัลเลาะห์ ผู้นำกลุ่มฮิสบอลเลาะห์ที่ระบุว่า “รัฐบาลชุดใหม่นี้ไม่ใช่รัฐบาลฮิซบอลเลาะห์ ไม่ได้มีฮิซบอลเลาะห์เป็นแกนนำ ... เราไม่ต้องการอำนาจ”
นอกจากนี้ เกิดการประท้วงก่อเหตุความไม่สงบในเมืองทริโปลี ของกลุ่มมุสลิมนิกายสุหนี่ โดยผู้ประท้วงที่กำลังบ้าคลั่งได้เผารถตู้ของสถานีข่าวอัลญะซีเราะห์ และปล้นสะดมสำนักงานของ ส.ส.มุสลิมสุหนี่ที่สนับสนุนนาจิบ มิกาติ อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานการบาดเจ็บล้มตาย เจ้าหน้าที่ความมั่นคงเลบานอนให้ข้อมูลกับเอเอฟพี
ผู้ประท้วงวัย 50 ปีรายหนึ่งกล่าวว่า “ผมเป็นมุสลิมสุหนี่ และจะไม่ยอมให้ใครหน้าไหนมาแต่งตั้งตัวแทนขึ้นมาปกครองเรา ... เราจะชุมนุมบนถนน จนกว่ามิกาติ จอมหักหลัง จะลงจากตำแหน่ง”
สหรัฐฯ เตือนว่า รัฐบาลที่ถูกฮิซบอลเลาะห์บงการจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างทั้ง 2 ประเทศ โดยทางกรุงวอชิงตันยังคงขึ้นบัญชีดำกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในฐานะ “องค์กรก่อการร้าย”
ส่วนฝรั่งเศสในฐานะอดีตเจ้าอาณานิคมของเลบานอนก็แสดงความกังวลถึงความมั่นคง และเรียกร้องให้ มิกาติ ตั้งรัฐบาลโดยปราศจากการแทรกแซงจากภายนอก
ประธานาธิบดีมิเชล สุไลมาน ได้เสนอให้ นาจิบ มิกาติ ตั้งรัฐบาล ท่ามกลางการประท้วงของกลุ่มมุสลิมสุหนี่ผู้เดือดดาล โดยมีทั้งการปิดถนน เผายางรถยนต์ เนื่องจากเกิดความโกรธแค้น หลังตัวแทนของกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ได้รับการแต่งตั้ง ขณะที่ฝรั่งเศส และสหรัฐฯ ต่างแสดงท่าทีวิตกต่อความไม่สงบดังกล่าว
สหรัฐฯ กล่าวหากลุ่มฮิซบอลเลาะห์ว่า ใช้กำลังกดดันรัฐบาล พร้อมทั้งยืนกรานว่าศาลพิเศษเลบานอนที่ยูเอ็นให้การสนับสนุนจะเดินหน้าทำงานต่อไป เพื่อหาตัวผู้อยู่เบื้องหลังการลอบสังหารอดีตนายกรัฐมนตรีราฟิก ฮาริรี อนึ่งกลุ่มฮิซบอลเลาะห์มีอิหร่านกับซีเรียคอยหนุนหลัง
ทั้งนี้ หลังได้รับการแต่งตั้ง นาจิบ มิกาติ ออกมายืนยันว่าเขาไม่ใช่ “คนของฮิซบอลเลาะห์” และจะทำงานร่วมกับชาวเลบานอนทุกคน เพื่อก่อตั้งรัฐบาลที่เสมอภาค “ผมขอกล่าวด้วยความจริงใจว่า การได้รับเสนอชื่อจากทางฮิซบอลเลาะห์ไม่ได้หมายความว่า ผมผูกมัดอยู่กับจุดยืนทางการเมือของพวกเขาแต่อย่างใด เว้นแต่เรื่องการปกป้องชาติบ้านเมือง (จากอิสราเอล)”
ฮิซบอลเลาะห์และแนวร่วมเป็นแกนนำล้มรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีซาอัด ฮาริรี ที่ชาติตะวันตกเชื่อถือ เมื่อ 12 มกราคมที่ผ่านมา หลังความขัดแย้งกับกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ กรณีการสืบสวนคดีลอบสังหารราฟิก ฮาริรี บิดาของซาอัด ฮาริรี ทางกลุ่มฮิซบอลเลาะห์เชื่อว่า ศาลพิเศษเลบานอนของยูเอ็นจะลากเอาสมาชิกของตนเข้าไปพัวพันกับคดีดังกล่าว และระบุว่า การสืบสวนครั้งนี้เป็นแผนสมรู้ร่วมคิดกันระหว่างสหรัฐฯ-อิสราเอล
“แม้การแต่งตั้งรัฐบาลใหม่เป็นการตัดสินใจของชาวเลบานอน แต่การตัดสินใจดังกล่าวไม่ควรถูกบีบบังคับ หรือข่มขู่ด้วยความรุนแรง” ฟิลิป ครอว์ลีย์ โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุในคำแถลง
อย่างไรก็ตาม นาจิบ มิกาติ เคยให้สมัภาษณ์กับสื่อก่อนหน้านี้ว่า จะทาบทามไปยังทุกพรรคให้เข้าร่วมรัฐบาล สอดคล้องกับคำกล่าวของ ฮัสซัน นาสรัลเลาะห์ ผู้นำกลุ่มฮิสบอลเลาะห์ที่ระบุว่า “รัฐบาลชุดใหม่นี้ไม่ใช่รัฐบาลฮิซบอลเลาะห์ ไม่ได้มีฮิซบอลเลาะห์เป็นแกนนำ ... เราไม่ต้องการอำนาจ”
นอกจากนี้ เกิดการประท้วงก่อเหตุความไม่สงบในเมืองทริโปลี ของกลุ่มมุสลิมนิกายสุหนี่ โดยผู้ประท้วงที่กำลังบ้าคลั่งได้เผารถตู้ของสถานีข่าวอัลญะซีเราะห์ และปล้นสะดมสำนักงานของ ส.ส.มุสลิมสุหนี่ที่สนับสนุนนาจิบ มิกาติ อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานการบาดเจ็บล้มตาย เจ้าหน้าที่ความมั่นคงเลบานอนให้ข้อมูลกับเอเอฟพี
ผู้ประท้วงวัย 50 ปีรายหนึ่งกล่าวว่า “ผมเป็นมุสลิมสุหนี่ และจะไม่ยอมให้ใครหน้าไหนมาแต่งตั้งตัวแทนขึ้นมาปกครองเรา ... เราจะชุมนุมบนถนน จนกว่ามิกาติ จอมหักหลัง จะลงจากตำแหน่ง”
สหรัฐฯ เตือนว่า รัฐบาลที่ถูกฮิซบอลเลาะห์บงการจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างทั้ง 2 ประเทศ โดยทางกรุงวอชิงตันยังคงขึ้นบัญชีดำกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในฐานะ “องค์กรก่อการร้าย”
ส่วนฝรั่งเศสในฐานะอดีตเจ้าอาณานิคมของเลบานอนก็แสดงความกังวลถึงความมั่นคง และเรียกร้องให้ มิกาติ ตั้งรัฐบาลโดยปราศจากการแทรกแซงจากภายนอก