เอเอฟพี / เอเจนซีส์ - รัฐมนตรีน้ำมัน อาลี อัล ไนมี ของซาอุดีอาระเบีย ให้ความหวังแก่บรรดาผู้บริโภคซึ่งกำลังวิตกที่ราคาน้ำมันดิบทำท่าจะขยับทะลุระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยเขากล่าววานนี้ (24) ว่า ชาติสมาชิกองค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) อาจจะเพิ่มการผลิตของตน เพื่อสนองดีมานด์ความต้องการของโลก ซึ่งน่าจะสูงขึ้นราว 2% นอกจากนั้น เขายังแสดงความคาดหมายว่า จะสามารถรักษาราคาน้ำมันเอาไว้ในระดับเดียวกันกับปีที่แล้ว
อัล ไนมี กล่าวต่อที่ประชุม “เวทีประจำปีว่าด้วยความสามารถในการแข่งขันของทั่วโลก” (Annual Global Competitiveness Forum) ที่กรุงริยาด โดยคาดหมายว่า พวกชาติผู้ผลิตน้ำมันซึ่งอยู่นอกโอเปก จะเพิ่มการผลิตของพวกเขา และเหล่าประเทศโอเปกก็เช่นเดียวกัน มีโอกาสที่จะ “เพิ่มพูนซัปพลายของพวกเขาเข้าสู่ตลาดโลก เพื่อสนองดีมานด์ของโลกที่กำลังขยับขึ้น”
“ผมคาดหมายว่า ระดับราคาจะยังคงอยู่ในระดับเดียวกันกับปีที่แล้ว” รัฐมนตรีน้ำมันของชาติผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของโอเปกบอก โดยเขาระบุว่า เขา “คาดเดา” ว่า ดีมานด์ความต้องการใช้น้ำมันของโลกในปีนี้จะสูงขึ้น “2%”
อัล ไนมี ยังระบุว่า เขามองการณ์ “ในแง่ดีเกี่ยวกับสถานการณ์ของตลาดน้ำมันในปีนี้” โดยเขาคาดว่า จะเกิด “ภาวะสมดุลระหว่างซัปพลายกับดีมานด์”
คำพูดของเขามีส่วนทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกลดลงเล็กน้อยวานนี้ โดยสัญญาณล่วงหน้าน้ำมันดิบไลต์สวีตครูดของนิวยอร์ก เพื่อการส่งมอบเดือนมีนาคม ได้ตกลงมา 42 เซนต์ เหลือ 88.68 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนต์ของทะเลเหนือ เพื่อการส่งมอบเดือนมีนาคมเช่นกัน ถอยลงมา 4 เซนต์ อยู่ที่ 97.56 ดอลลาร์
ก่อนหน้านี้ สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency หรือ IEA) หน่วยงานด้านวางนโยบายและติดตามเรื่องพลังงาน ขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (โออีซีดี) ระบุใน “รายงานตลาดน้ำมัน” ซึ่งนำออกเผยแพร่วันอังคาร(18)ที่แล้วว่า ในปี 2010 โลกมีความต้องการใช้น้ำมันสูงขึ้น 3.2% กลายเป็นหนึ่งในปีที่มีอัตราเพิ่มมากที่สุดในรอบ 30 ปีทีเดียว แม้ว่าจะเป็นการคำนวณจากฐานในปี 2009 ซึ่งอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำมาก
ในรายงานนี้ไออีเอ ยังเตือนว่า การที่ราคาน้ำมันพุ่งไปอยู่ในระดับใกล้ๆ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ถือว่าก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างแท้จริงต่อเศรษฐกิจโลก
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันเมื่อไปถึง 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จะเท่ากับว่า “ภาระน้ำมัน” อยู่ในระดับ 5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของเศรษฐกิจทั่วโลก รายงานของไออีเอ กล่าวพร้อมกับระบุว่า ในอดีตเมื่อภาระน้ำมันอยู่ในระดับสูงขนานนี้ “มันก็มีผลเชื่อมโยงกับปัญหาทางเศรษฐกิจต่างๆ อย่างชัดเจน”
อัล ไนมี กล่าวต่อที่ประชุม “เวทีประจำปีว่าด้วยความสามารถในการแข่งขันของทั่วโลก” (Annual Global Competitiveness Forum) ที่กรุงริยาด โดยคาดหมายว่า พวกชาติผู้ผลิตน้ำมันซึ่งอยู่นอกโอเปก จะเพิ่มการผลิตของพวกเขา และเหล่าประเทศโอเปกก็เช่นเดียวกัน มีโอกาสที่จะ “เพิ่มพูนซัปพลายของพวกเขาเข้าสู่ตลาดโลก เพื่อสนองดีมานด์ของโลกที่กำลังขยับขึ้น”
“ผมคาดหมายว่า ระดับราคาจะยังคงอยู่ในระดับเดียวกันกับปีที่แล้ว” รัฐมนตรีน้ำมันของชาติผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของโอเปกบอก โดยเขาระบุว่า เขา “คาดเดา” ว่า ดีมานด์ความต้องการใช้น้ำมันของโลกในปีนี้จะสูงขึ้น “2%”
อัล ไนมี ยังระบุว่า เขามองการณ์ “ในแง่ดีเกี่ยวกับสถานการณ์ของตลาดน้ำมันในปีนี้” โดยเขาคาดว่า จะเกิด “ภาวะสมดุลระหว่างซัปพลายกับดีมานด์”
คำพูดของเขามีส่วนทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกลดลงเล็กน้อยวานนี้ โดยสัญญาณล่วงหน้าน้ำมันดิบไลต์สวีตครูดของนิวยอร์ก เพื่อการส่งมอบเดือนมีนาคม ได้ตกลงมา 42 เซนต์ เหลือ 88.68 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนต์ของทะเลเหนือ เพื่อการส่งมอบเดือนมีนาคมเช่นกัน ถอยลงมา 4 เซนต์ อยู่ที่ 97.56 ดอลลาร์
ก่อนหน้านี้ สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency หรือ IEA) หน่วยงานด้านวางนโยบายและติดตามเรื่องพลังงาน ขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (โออีซีดี) ระบุใน “รายงานตลาดน้ำมัน” ซึ่งนำออกเผยแพร่วันอังคาร(18)ที่แล้วว่า ในปี 2010 โลกมีความต้องการใช้น้ำมันสูงขึ้น 3.2% กลายเป็นหนึ่งในปีที่มีอัตราเพิ่มมากที่สุดในรอบ 30 ปีทีเดียว แม้ว่าจะเป็นการคำนวณจากฐานในปี 2009 ซึ่งอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำมาก
ในรายงานนี้ไออีเอ ยังเตือนว่า การที่ราคาน้ำมันพุ่งไปอยู่ในระดับใกล้ๆ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ถือว่าก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างแท้จริงต่อเศรษฐกิจโลก
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันเมื่อไปถึง 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จะเท่ากับว่า “ภาระน้ำมัน” อยู่ในระดับ 5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของเศรษฐกิจทั่วโลก รายงานของไออีเอ กล่าวพร้อมกับระบุว่า ในอดีตเมื่อภาระน้ำมันอยู่ในระดับสูงขนานนี้ “มันก็มีผลเชื่อมโยงกับปัญหาทางเศรษฐกิจต่างๆ อย่างชัดเจน”