เอเอฟพี - ผู้รักษาการตำแหน่งประธานาธิบดีของตูนิเซีย ให้คำมั่นว่าจะปฏิรูประบบการเมืองใหม่หมด และจัดการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 60 วันข้างหน้า หลังจากประชาชนทั่วประเทศซึ่งโกรธแค้นรัฐบาลจากปัญหาข้าวยากหมากแพงและปัญหาว่างงาน ลุกฮือขึ้นก่อจลาจลขับไล่ประธานาธิบดี ซิเน เอล อาบิดีน เบน อาลี ผู้ครองอำนาจมายาวนานถึง 23 ปี จนกระทั่งผู้นำเผด็จการผู้นี้ต้องลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่ซาอุดีอาระเบีย
หลังจาก ฟูเอ็ด เมบาซา ประธานสภาผู้แทนราษฎรของตูนิเซีย ทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีรักษาการแทนที่เบน อาลี ผู้นำเผด็จการซึ่งถูกประชาชนรวมตัวกันขับไล่จนต้องลาออกเมื่อวันศุกร์ (14) เมบาซาก็แถลงให้คำมั่นแก่ชาวตูนิเซียทั้งประเทศ โดยไม่มีข้อแม้ว่า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปประชาชนทุกคนจะมีส่วนร่วมในทางการเมืองของประเทศตามวิถีของระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
“รัฐบาลที่มีเอกภาพเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อผลประโยชน์แห่งชาติอันยิ่งใหญ่” เมบาซา แถลง ขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญของตูนิเซียประกาศ ว่า การเลือกตั้งประธานาธิบดีน่าจะจัดขึ้นภายใน 2 เดือนข้างหน้านี้
ด้าน นายกรัฐมนตรี โมฮัมเหม็ด กานนูชี ที่กำลังจะก้าวพ้นจากตำแหน่ง เริ่มต้นหยั่งเสียงพวกพรรคการเมืองและกลุ่มทางการเมืองอื่นๆ ในประเด็นการจัดตั้งระบบการเมืองใหม่หมายจะขุดรากถอนโคลนระบอบเผด็จการของเบน อาลีให้หมดไป โดย มุสตาฟา เบน จาฟฟาร์ ซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มเวทีประชาธิปไตยเพื่อการมีงานทำและเสรีภาพ ระบุว่า เมื่อช่วงเที่ยงวันเสาร์ (15) ที่ผ่านมา มีนักการเมืองและผู้ทรงคุณวุฒิหลายคนเข้าพบกับกานนูชี ที่ทำเนียบนายกรัฐมนตรี โดยได้ปรึกษาหารือกันถึงองค์ประกอบของรัฐบาลในภายภาคหน้าภายใต้ความมีเอกภาพ และจัดการเลือกตั้งด้วยการดูแลสอดส่องจากนานาชาติ
“การถกอภิปรายวนเวียนอยู่ในเรื่องเกี่ยวกับมาตรการต่างๆ เพื่อจะวางรากฐานของกระบวนการประชาธิปไตยอย่างแท้จริงและเปิดศักราชทางการเมืองใหม่จากยุคมืดอันล้มเหลว” เบน จาฟฟาร์ ให้สัมภาษณ์เอเอฟพี อย่างไรก็ตาม เขาทิ้งท้ายว่า พรรคการเมืองของเบน อาลี จะไม่ถูกถอดออกจากกระบวนการปฏิรูปทางการเมืองดังกล่าว
ทางด้านผู้นำพรรคเอ็นนาห์ดฮา พรรคอิสลามที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของตูนิเซียซึ่งถูกเบน อาลีสั่งห้ามเข้าประเทศ บอกกับเอเอฟพีว่า เขามีแผนจะกลับสู่มาตุภูมิแล้ว
“การลุกฮือปฏิวัติของชาวตูนิเซียประสบความสำเร็จด้วยการโค่นล้มระบอบเผด็จการลงได้” ราเชด กานนูชี หัวหน้าพรรคเอ็นนาห์ดฮา กล่าวที่กรุงลอนดอน
ทั้งนี้ ตูนิเซียประกาศภาวะฉุกเฉินทั่วประเทศตั้งแต่วันศุกร์ (14) ที่ผ่านมา หลังจากประชาชนลุกฮือก่อจลาจลขึ้นตามเมืองต่างๆ รวมถึงในกรุงตูนิส เมืองหลวงของประเทศ จากสาเหตุไม่พอใจที่รัฐบาลภายใต้การนำของเบน อาลี ไม่สามารถแก้ปัญหาข้าวของราคาแพง ตลอดจนปัญหาการว่างงานในประเทศได้
ภาพข่าวทางโทรทัศน์ เผยให้เห็นสภาพบ้านเมืองของตูนิเซียที่เสียหายหลังผ่านเหตุการณ์ความไม่สงบเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาซึ่งดูไม่แตกต่างจากสงครามกลางเมืองเท่าใดนัก เมื่อผู้ประท้วงทุบทำลาย และจุดไฟเผารถยนต์ ร้านรวง ตลอดจนบ้านพักอาศัยต่างๆ โดยเฉพาะการพุ่งเป้าไปที่ทรัพย์สินของครอบครัวเบน อาลีเป็นสำคัญ ขณะที่ทหารและรถถังยังคงถูกสั่งให้ปักหลักประจำการอยู่รอบๆ เมืองตูนิส จนถึงเมื่อวานนี้ (16) ด้วยหวั่นเกรงว่า เหตุโกลาหลจะปะทุขึ้นอีกระลอก
ก่อนหน้านี้ ที่เมืองโมนาสทีร์ ตอนกลางของตูนิเซีย มีรายงานว่านักโทษอย่างน้อย 42 คนถูกสังหาร หลังจากมีคนกลุ่มหนึ่งพยายามฉกฉวยโอกาสจากเหตุความไม่สงบในการแหกคุก ส่วนไอเหม็ด ตราเบลซี หลานชายของไลลา ภริยาผู้ทรงอิทธิพลของเบน อาลี ก็เสียชิวิตจากบาดแผลถูกแทงด้วยมีดที่โรงพยาบาลทหารในกรุงตูนิส ทั้งนี้จากคำบอกเล่าของเจ้าหน้าที่ผู้หนึ่ง
อนึ่ง เบน อาลี ยึดอำนาจเป็นประธานาธิบดีของตูนิเซียตั้งแต่ปี 1987 ด้วยการทำรัฐประหาร โดยแรกเริ่มเดิมทีเขาเป็นที่นิยมชมชอบในหมู่ประชาชน เมื่อรัฐบาลของเขาออกกฎหมายปฏิรูปด้านเสรีภาพต่างๆ อย่างไรก็ตาม จากการที่เขาใช้ชีวิตส่วนตัวอย่างสุรุ่ยสุร่าย รวมทั้งข้อกล่าวหาเรื่องคอรัปชั่น ได้ก่อให้เกิดกระแสความไม่พอใจและโกรธแค้นในหมู่ชาวตูนิเซียตลอดช่วงหลายปีหลังมานี้ และเมื่อเหตุจลาจลคราวนี้บานปลายจนรัฐบาลควบคุมไม่อยู่ เบน อาลีจึงตัดสินใจเซ็นใบลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันศุกร์ (14) และลี้ภัยไปยังประเทศซาอุดีอาระเบีย หลังจากฝรั่งเศสปฏิเสธไม่ยอมให้ที่พักพิงแก่เขา
หลังจาก ฟูเอ็ด เมบาซา ประธานสภาผู้แทนราษฎรของตูนิเซีย ทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีรักษาการแทนที่เบน อาลี ผู้นำเผด็จการซึ่งถูกประชาชนรวมตัวกันขับไล่จนต้องลาออกเมื่อวันศุกร์ (14) เมบาซาก็แถลงให้คำมั่นแก่ชาวตูนิเซียทั้งประเทศ โดยไม่มีข้อแม้ว่า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปประชาชนทุกคนจะมีส่วนร่วมในทางการเมืองของประเทศตามวิถีของระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
“รัฐบาลที่มีเอกภาพเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อผลประโยชน์แห่งชาติอันยิ่งใหญ่” เมบาซา แถลง ขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญของตูนิเซียประกาศ ว่า การเลือกตั้งประธานาธิบดีน่าจะจัดขึ้นภายใน 2 เดือนข้างหน้านี้
ด้าน นายกรัฐมนตรี โมฮัมเหม็ด กานนูชี ที่กำลังจะก้าวพ้นจากตำแหน่ง เริ่มต้นหยั่งเสียงพวกพรรคการเมืองและกลุ่มทางการเมืองอื่นๆ ในประเด็นการจัดตั้งระบบการเมืองใหม่หมายจะขุดรากถอนโคลนระบอบเผด็จการของเบน อาลีให้หมดไป โดย มุสตาฟา เบน จาฟฟาร์ ซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มเวทีประชาธิปไตยเพื่อการมีงานทำและเสรีภาพ ระบุว่า เมื่อช่วงเที่ยงวันเสาร์ (15) ที่ผ่านมา มีนักการเมืองและผู้ทรงคุณวุฒิหลายคนเข้าพบกับกานนูชี ที่ทำเนียบนายกรัฐมนตรี โดยได้ปรึกษาหารือกันถึงองค์ประกอบของรัฐบาลในภายภาคหน้าภายใต้ความมีเอกภาพ และจัดการเลือกตั้งด้วยการดูแลสอดส่องจากนานาชาติ
“การถกอภิปรายวนเวียนอยู่ในเรื่องเกี่ยวกับมาตรการต่างๆ เพื่อจะวางรากฐานของกระบวนการประชาธิปไตยอย่างแท้จริงและเปิดศักราชทางการเมืองใหม่จากยุคมืดอันล้มเหลว” เบน จาฟฟาร์ ให้สัมภาษณ์เอเอฟพี อย่างไรก็ตาม เขาทิ้งท้ายว่า พรรคการเมืองของเบน อาลี จะไม่ถูกถอดออกจากกระบวนการปฏิรูปทางการเมืองดังกล่าว
ทางด้านผู้นำพรรคเอ็นนาห์ดฮา พรรคอิสลามที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของตูนิเซียซึ่งถูกเบน อาลีสั่งห้ามเข้าประเทศ บอกกับเอเอฟพีว่า เขามีแผนจะกลับสู่มาตุภูมิแล้ว
“การลุกฮือปฏิวัติของชาวตูนิเซียประสบความสำเร็จด้วยการโค่นล้มระบอบเผด็จการลงได้” ราเชด กานนูชี หัวหน้าพรรคเอ็นนาห์ดฮา กล่าวที่กรุงลอนดอน
ทั้งนี้ ตูนิเซียประกาศภาวะฉุกเฉินทั่วประเทศตั้งแต่วันศุกร์ (14) ที่ผ่านมา หลังจากประชาชนลุกฮือก่อจลาจลขึ้นตามเมืองต่างๆ รวมถึงในกรุงตูนิส เมืองหลวงของประเทศ จากสาเหตุไม่พอใจที่รัฐบาลภายใต้การนำของเบน อาลี ไม่สามารถแก้ปัญหาข้าวของราคาแพง ตลอดจนปัญหาการว่างงานในประเทศได้
ภาพข่าวทางโทรทัศน์ เผยให้เห็นสภาพบ้านเมืองของตูนิเซียที่เสียหายหลังผ่านเหตุการณ์ความไม่สงบเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาซึ่งดูไม่แตกต่างจากสงครามกลางเมืองเท่าใดนัก เมื่อผู้ประท้วงทุบทำลาย และจุดไฟเผารถยนต์ ร้านรวง ตลอดจนบ้านพักอาศัยต่างๆ โดยเฉพาะการพุ่งเป้าไปที่ทรัพย์สินของครอบครัวเบน อาลีเป็นสำคัญ ขณะที่ทหารและรถถังยังคงถูกสั่งให้ปักหลักประจำการอยู่รอบๆ เมืองตูนิส จนถึงเมื่อวานนี้ (16) ด้วยหวั่นเกรงว่า เหตุโกลาหลจะปะทุขึ้นอีกระลอก
ก่อนหน้านี้ ที่เมืองโมนาสทีร์ ตอนกลางของตูนิเซีย มีรายงานว่านักโทษอย่างน้อย 42 คนถูกสังหาร หลังจากมีคนกลุ่มหนึ่งพยายามฉกฉวยโอกาสจากเหตุความไม่สงบในการแหกคุก ส่วนไอเหม็ด ตราเบลซี หลานชายของไลลา ภริยาผู้ทรงอิทธิพลของเบน อาลี ก็เสียชิวิตจากบาดแผลถูกแทงด้วยมีดที่โรงพยาบาลทหารในกรุงตูนิส ทั้งนี้จากคำบอกเล่าของเจ้าหน้าที่ผู้หนึ่ง
อนึ่ง เบน อาลี ยึดอำนาจเป็นประธานาธิบดีของตูนิเซียตั้งแต่ปี 1987 ด้วยการทำรัฐประหาร โดยแรกเริ่มเดิมทีเขาเป็นที่นิยมชมชอบในหมู่ประชาชน เมื่อรัฐบาลของเขาออกกฎหมายปฏิรูปด้านเสรีภาพต่างๆ อย่างไรก็ตาม จากการที่เขาใช้ชีวิตส่วนตัวอย่างสุรุ่ยสุร่าย รวมทั้งข้อกล่าวหาเรื่องคอรัปชั่น ได้ก่อให้เกิดกระแสความไม่พอใจและโกรธแค้นในหมู่ชาวตูนิเซียตลอดช่วงหลายปีหลังมานี้ และเมื่อเหตุจลาจลคราวนี้บานปลายจนรัฐบาลควบคุมไม่อยู่ เบน อาลีจึงตัดสินใจเซ็นใบลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันศุกร์ (14) และลี้ภัยไปยังประเทศซาอุดีอาระเบีย หลังจากฝรั่งเศสปฏิเสธไม่ยอมให้ที่พักพิงแก่เขา