(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
Pune blast: One of many to come?
By Indrajit Basu
16/02/2010
เหตุระเบิดที่ทำให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมากในเมืองปูเณ ทางภาคตะวันตกของอินเดียในสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา คือการปิดฉากช่วงเวลาปลอดไร้การโจมตีของผู้ก่อการร้ายบนผืนแผ่นดินภารตะ ภายหลังเหตุการณ์สยดสยองที่นครมุมไบในเดือนพฤศจิกายน 2008 นอกจากนั้น เมื่อพิจารณาจากสภาพการณ์ที่อินเดียกับปากีสถานกำลังขยับเข้าใกล้กันมากขึ้นในเรื่องการเจรจาสันติภาพ ตลอดจนยังกำลังมีการรุกโจมตีใหญ่ในอัฟกานิสถานเพื่อปราบปรามพวกตอลิบาน หลายๆ ฝ่ายจึงกำลังพากันหวาดเกรงว่า พวกกลุ่มก่อการร้ายที่เกิดจากการบ่มเพาะขึ้นมาภายในอินเดียเอง อาจจะกำลังวางแผนเพื่อก่อการโจมตีระลอกใหม่
โกลกาตา – ตั้งแต่ที่กลุ่มหัวรุ่นแรงเปิดการโจมตีอย่างสยดสยองในนครมุมไบ (บอมเบย์) เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2008 เป็นต้นมา อินเดียก็อยู่ในอาการหวั่นหวาดว่าจะมีเหตุร้ายเช่นนั้นขึ้นมาอีก แทบไม่มีผู้ใดคาดคิดว่าจะต้องรอกันจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2010 จึงจะเกิดเหตุร้ายแรงครั้งใหม่ขึ้นมาจริงๆ –เมื่อมีผู้วางระเบิดร้านเบเกอรีเยอรมันแห่งหนึ่งในเมืองปูเณ ทางภาคตะวันตกของอินเดียในวันเสาร์(13) ซึ่งสังหารผลาญชีวิตผู้คนไป 10 คน และบาดเจ็บไปอีกกว่า 60 คน
พวกผู้เชี่ยวชาญวิตกว่า การโจมตีล่าสุดนี้จะเป็นสัญญาณการเริ่มต้นของเหตุร้ายแรงครั้งใหม่ที่จะเกิดตามกันมาเป็นระลอก “ผมออกจะรู้สึกประหลาดใจมากกว่า กับข้อเท็จจริงที่ว่า เราไม่ได้ถูกโจมตีเลยสักครั้งในปี 2009 เมื่อพิจารณาจากการที่อินเดียในทุกวันนี้ ยังคงมีความอ่อนเปราะง่ายแก่การถูกโจมตีเหมือนเช่นใน 26/11 (การโจมตีมุมไบเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2008) เราจึงต่างคาดหมายว่าจะเกิดการโจมตีอันร้ายแรงสาหัสในปี 2009 ด้วย” อาจัย ซาห์นี (Ajai Sahni) กล่าวให้ความเห็น เขาเป็นทั้งผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการบริหารจัดการความขัดแย้ง (Institute of Conflict Management) องค์กรคลังสมองด้านความมั่นคงภายในที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ในกรุงนิวเดลี
“มันเป็นการโจมตีที่มุ่งเล่นงานพวกเป้าหมายอ่อน (soft target เป้าหมายที่ไม่ได้มีความสำคัญในทางทหารหรือความมั่นคงโดยตรง -ผู้แปล) และยังจะมีติดตามมาอีกหลายๆ ครั้งแน่ๆ เลย สิ่งที่ต้องถือว่าแปลกประหลาดมาก ไม่ใช่เรื่องที่ว่าร้านอาหารในท้องถิ่นแห่งหนึ่งถูกเลือกเป็นเป้าเข้าโจมตีหรอก สิ่งที่แปลกประหลาดมากก็คือ ยังมีเป้าหมายอ่อนอื่นๆ อีกเป็นจำนวนนับสิบ ที่เวลานี้ยังไม่ถูกโจมตีต่างหาก”
ซาห์นีกล่าวต่อไปว่า การรักษาความมั่นคงภายในของอินเดียนั้นถือว่าอยู่ในสภาพ “น่าสังเวช” เขาบอกว่าขณะที่เหตุระเบิดในปูเณคราวนี้ มีร่องรอยบางประการอันแสดงให้เห็นว่าเป็นการโจมตีของผู้ก่อการร้าย เป็นต้นว่าพุ่งเป้าเล่นงานทั้งชาวต่างชาติและคนอินเดียเอง แต่มันก็มีอะไรบางอย่างซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่น่าสังเกต เขายกตัวอย่างเช่น การที่มุ่งเล่นงานแต่เฉพาะ “เป้าหมายอ่อน” โดยตรงเท่านั้น และการที่ไม่มีเรื่องของการพลีชีพเลย กล่าวคือ เป็นระเบิดใส่ในเป้ที่ถูกวางทิ้งเอาไว้
ร้านเบเกอรีที่เป็นจุดเกิดเหตุแห่งนี้ ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับ อาศรมโอโช (Osho Ashram) สถานที่ฝึกอบรมขององค์การด้านจิตวิญญาณระหว่างประเทศชื่อดัง ซึ่งผู้ไปเยือนส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ นอกจากนั้นยังอยู่ใกล้มากๆ กับ ชาบัดเฮาส์ (Chabad House) อันเป็นศูนย์เผยแพร่ความเชื่อทางศาสนายิวแบบเคร่งครัดจารีตประเพณี เมื่อมองจากแง่มุมนี้แล้ว การโจมตีคราวนี้ก็สามารถบรรลุหลักเกณฑ์ทั้งในการเล่นงานคนต่างชาติซึ่งรวมถึงชาวยิว และในการเล่นงานชาวอินเดีย
“ปฏิบัติการคราวนี้กระทำโดยกลุ่มบุคคลที่มีความรู้เรื่องวัตถุระเบิดในระดับพื้นฐาน มีสิ่งบ่งชี้ว่าพวกผู้ก่อการร้ายที่วางระเบิดคราวนี้ อาจจะไม่ได้มีความเชี่ยวชาญหรือผ่านการฝึกอบรมพิเศษใดๆ ทั้งสิ้น แต่การโจมตีก็เลือกเป้าหมายและดำเนินการได้อย่างฉลาดมาก” บี รามาน (B Raman) ให้ความเห็น เขาเคยทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ด้านข่าวกรองของอินเดีย และปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการของ สถาบันเพื่อการศึกษารายหัวข้อ (Institute for Topical Studies) ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองเชนไน (Chennai)
ทางด้าน เค สุพราห์มัณยัม (K Subrahmanyam) ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงที่มีชื่อเสียงอีกผู้หนึ่ง ตั้งข้อสังเกตว่า การโจมตีครั้งนี้เลือกช่วงจังหวะเวลาที่มุ่งทำลายการฟื้นการเจรจาสันติภาพอินเดีย-ปากีสถาน ซึ่งทั้งสองประเทศได้นัดหมายกำหนดกันไว้ “พวกนักรบญิฮัดและพวกหัวรุนแรงสุดโต่งในภูมิภาคแถบนี้ ต่างก็ไม่ต้องการให้อินเดียและปากีสถานดำเนินการหารือเพื่อประนีประนอมรอมชอมกันลักษณะนี้ ดังนั้นจึงก่อการโจมตีขึ้นในจังหวะเวลาที่จะสามารถทำอันตรายต่อความเคลื่อนไหวดังกล่าวได้” เขากล่าว
อย่างไรก็ดี แม้ในช่วงแรกๆ จะมีข้อระแวงสงสัยกันอยู่บ้าง แต่ในที่สุดอินเดียก็ตัดสินใจที่จะเดินหน้าการพูดจาหารือในระดับปลัดกระทรวงการต่างประเทศของอินเดียและปากีสถานกันต่อไป
ตามความเห็นของสุพราห์มัณยัม เหตุบึ้มที่ปูเณยังมีชนวนจากการที่กองกำลังพันธมิตรนำโดยสหรัฐฯ กำลังเปิดยุทธการรุกใหญ่มุ่งปราบปรามพวกตอลิบานในเมืองมาร์จาห์ (Marjah) ในจังหวัดเฮลมันด์ (Helmand) ของอัฟกานิสถานอยู่ในขณะนี้
“ทันทีที่พวกอเมริกันเริ่มการรุกใหญ่ที่เมืองมาร์จาห์ พวกผู้สนับสนุนเห็นอกเห็นใจตอลิบานในปากีสถาน ก็จำเป็นจะต้องดำเนินยุทธศาสตร์ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้พวกตอลิบานอัฟกานิสถาน สามารถถอยออกจากอัฟกานิสถานเข้าสู่ปากีสถานได้อย่างสะดวกมากขึ้น” เขาแจกแจง “ด้วยการโจมตีอินเดีย พวกผู้สนับสนุนเห็นอกเห็นใจตอลิบานเหล่านี้ ก็หวังว่าจะเป็นการเพิ่มความตึงเครียดระหว่างประเทศทั้งสอง ซึ่งจะบังคับให้ปากีสถานต้องเคลื่อนย้ายกำลังทหารออกจากชายแดนอัฟกานิสถาน-ปากีสถาน มายังชายแดนอินเดีย-ปากีสถาน ดังนั้นก็จะทำให้พรมแดนอัฟกานิสถาน-ปากีสถานมีช่องโหว่เพิ่มขึ้นนิดนึง สำหรับให้พวกตอลิบานอัฟกานิสถานเล็ดลอดหลบหนีได้” สุพราห์มัณยัม บอก
สำหรับ เอ็ม ดี นาลาปัต (M D Nalapat) หัวหน้าภาควิชาภูมิรัฐศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยมณีปาล (Manipal) เขาเชื่อว่า การโจมตีที่ปูเณ กระทำโดยกลุ่มคนสัญชาติอินเดียที่ได้รับการฝึกอบรมจากพวกนักรบญิฮัดซึ่งตั้งฐานอยู่ในปากีสถาน และตัวการใหญ่ของกลุ่มผู้ก่อเหตุคราวนี้ก็อยู่ภายในอินเดียนี่เอง
“นับตั้งแต่เหตุโจมตีที่เมืองมุมไบแล้ว อินเดียก็มีการตระเตียมเพื่อรับมือกับการโจมตีที่คนร้ายแอบเข้ามาทางทะเลอีกครั้งหนึ่ง หรือไม่ก็มุ่งรับมือการโจมตีครั้งใหญ่ที่คนร้ายมาจากต่างแดนเคลื่อนเข้ามาในอินเดีย ทว่าอินเดียกลับไม่ได้ให้ความใส่ใจอย่างเท่าเทียมกันเลย กับภัยคุกคามที่กำลังปรากฏขึ้น จากพวกหน่วยย่อยผู้ก่อการรร้ายซึ่งเกิดขึ้นจากภายในประเทศนี้เอง” นาลาปัตบอก
อินเดียมีพวกหัวรุนแรงสุดโต่งภายในประเทศอยู่เป็นจำนวนมากพอดูทีเดียว และพวกนี้ก็กำลังเคลื่อนไหวคึกคักในการวางแผนและในความพยายามที่จะออกปฏิบัติการโจมตีแบบผู้ก่อการร้าย นาลาปัตคิดว่า ถึงแม้ทางการจะจับกุมคนเหล่านี้ได้เป็นจำนวนมากในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทว่าก็มีพวกหัวรุนแรงสุดโต่งภายในประเทศอีกร่วมๆ 200 คนที่ยังคงหลบหนีลอยนวลอยู่ โดยมีทั้งที่อยู่ในรูปของหน่วยย่อยมุ่งกบดานอำพรางยังไม่เคลื่อนไหวอะไรทั้งสิ้น และที่เป็นกลุ่มเล็กๆ ซึ่งกำลังวางแผนเปิดการโจมตีครั้งต่อๆ ไป
พวกเจ้าหน้าที่สอบสวนของทางการอินเดียบางคนสงสัยว่าการโจมตีที่ปูเณน่าจะเป็นฝีมือของกลุ่มหัวรุนแรงสุดโต่งท้องถิ่นที่เรียกขานตนเองเป็น “นักรบมุญาฮีดีนชาวอินเดีย” (Indian Mujahideen) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มใหญ่ขึ้นมาที่เรียกชื่อกันว่า “การาจีโปรเจกต์” (Karachi Project) กลุ่มนี้มีทั้งพวกนักรบญิฮัดชาวอินเดียที่กำลังหลบหนีการจับกุม และพวกซึ่งมีต้นแหล่งมาจากกองทัพปากีสถาน โดยพวกหลังนี้เป็นกลุ่มคนที่ต้องการให้คงการรุกโจมตีต่ออินเดียเอาไว้เรื่อยๆ ไม่มีสิ้นสุด
“วัตถุประสงค์อีกประการหนึ่งของการโจมตีคราวนี้ ยังเป็นไปเพื่อสร้างเหตุผลที่สามารถหยิบยกขึ้นมาใช้ในการปฏิเสธว่า พวกคนร้ายไม่ได้มีต้นกำเนิดมาจากดินแดนของปากีสถาน” นาลาปัตกล่าว “เราต้องยอมรับว่าเรากำลังเผชิญกับยุทธวิธีการโจมตีที่แตกต่างออกไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง โดยเป็นการโจมตีที่วางแผนและดำเนินการโดยองค์กรก่อการร้ายที่เกิดขึ้นภายในประเทศอินเดียเอง และเป็นกลุ่มที่จะต้องรีบเข้าไปทำลายทิ้งอย่างไม่ปรานีตั้งแต่ที่มันยังเป็นหน่ออ่อนอยู่”
อินทราจิต บาซู เป็นผู้สื่อข่าวให้แก่เอเชียไทมส์ออนไลน์ เขาพำนักอยู่ในเมืองโกลกาตา (กัลกัตตา) ประเทศอินเดีย
Pune blast: One of many to come?
By Indrajit Basu
16/02/2010
เหตุระเบิดที่ทำให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมากในเมืองปูเณ ทางภาคตะวันตกของอินเดียในสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา คือการปิดฉากช่วงเวลาปลอดไร้การโจมตีของผู้ก่อการร้ายบนผืนแผ่นดินภารตะ ภายหลังเหตุการณ์สยดสยองที่นครมุมไบในเดือนพฤศจิกายน 2008 นอกจากนั้น เมื่อพิจารณาจากสภาพการณ์ที่อินเดียกับปากีสถานกำลังขยับเข้าใกล้กันมากขึ้นในเรื่องการเจรจาสันติภาพ ตลอดจนยังกำลังมีการรุกโจมตีใหญ่ในอัฟกานิสถานเพื่อปราบปรามพวกตอลิบาน หลายๆ ฝ่ายจึงกำลังพากันหวาดเกรงว่า พวกกลุ่มก่อการร้ายที่เกิดจากการบ่มเพาะขึ้นมาภายในอินเดียเอง อาจจะกำลังวางแผนเพื่อก่อการโจมตีระลอกใหม่
โกลกาตา – ตั้งแต่ที่กลุ่มหัวรุ่นแรงเปิดการโจมตีอย่างสยดสยองในนครมุมไบ (บอมเบย์) เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2008 เป็นต้นมา อินเดียก็อยู่ในอาการหวั่นหวาดว่าจะมีเหตุร้ายเช่นนั้นขึ้นมาอีก แทบไม่มีผู้ใดคาดคิดว่าจะต้องรอกันจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2010 จึงจะเกิดเหตุร้ายแรงครั้งใหม่ขึ้นมาจริงๆ –เมื่อมีผู้วางระเบิดร้านเบเกอรีเยอรมันแห่งหนึ่งในเมืองปูเณ ทางภาคตะวันตกของอินเดียในวันเสาร์(13) ซึ่งสังหารผลาญชีวิตผู้คนไป 10 คน และบาดเจ็บไปอีกกว่า 60 คน
พวกผู้เชี่ยวชาญวิตกว่า การโจมตีล่าสุดนี้จะเป็นสัญญาณการเริ่มต้นของเหตุร้ายแรงครั้งใหม่ที่จะเกิดตามกันมาเป็นระลอก “ผมออกจะรู้สึกประหลาดใจมากกว่า กับข้อเท็จจริงที่ว่า เราไม่ได้ถูกโจมตีเลยสักครั้งในปี 2009 เมื่อพิจารณาจากการที่อินเดียในทุกวันนี้ ยังคงมีความอ่อนเปราะง่ายแก่การถูกโจมตีเหมือนเช่นใน 26/11 (การโจมตีมุมไบเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2008) เราจึงต่างคาดหมายว่าจะเกิดการโจมตีอันร้ายแรงสาหัสในปี 2009 ด้วย” อาจัย ซาห์นี (Ajai Sahni) กล่าวให้ความเห็น เขาเป็นทั้งผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการบริหารจัดการความขัดแย้ง (Institute of Conflict Management) องค์กรคลังสมองด้านความมั่นคงภายในที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ในกรุงนิวเดลี
“มันเป็นการโจมตีที่มุ่งเล่นงานพวกเป้าหมายอ่อน (soft target เป้าหมายที่ไม่ได้มีความสำคัญในทางทหารหรือความมั่นคงโดยตรง -ผู้แปล) และยังจะมีติดตามมาอีกหลายๆ ครั้งแน่ๆ เลย สิ่งที่ต้องถือว่าแปลกประหลาดมาก ไม่ใช่เรื่องที่ว่าร้านอาหารในท้องถิ่นแห่งหนึ่งถูกเลือกเป็นเป้าเข้าโจมตีหรอก สิ่งที่แปลกประหลาดมากก็คือ ยังมีเป้าหมายอ่อนอื่นๆ อีกเป็นจำนวนนับสิบ ที่เวลานี้ยังไม่ถูกโจมตีต่างหาก”
ซาห์นีกล่าวต่อไปว่า การรักษาความมั่นคงภายในของอินเดียนั้นถือว่าอยู่ในสภาพ “น่าสังเวช” เขาบอกว่าขณะที่เหตุระเบิดในปูเณคราวนี้ มีร่องรอยบางประการอันแสดงให้เห็นว่าเป็นการโจมตีของผู้ก่อการร้าย เป็นต้นว่าพุ่งเป้าเล่นงานทั้งชาวต่างชาติและคนอินเดียเอง แต่มันก็มีอะไรบางอย่างซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่น่าสังเกต เขายกตัวอย่างเช่น การที่มุ่งเล่นงานแต่เฉพาะ “เป้าหมายอ่อน” โดยตรงเท่านั้น และการที่ไม่มีเรื่องของการพลีชีพเลย กล่าวคือ เป็นระเบิดใส่ในเป้ที่ถูกวางทิ้งเอาไว้
ร้านเบเกอรีที่เป็นจุดเกิดเหตุแห่งนี้ ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับ อาศรมโอโช (Osho Ashram) สถานที่ฝึกอบรมขององค์การด้านจิตวิญญาณระหว่างประเทศชื่อดัง ซึ่งผู้ไปเยือนส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ นอกจากนั้นยังอยู่ใกล้มากๆ กับ ชาบัดเฮาส์ (Chabad House) อันเป็นศูนย์เผยแพร่ความเชื่อทางศาสนายิวแบบเคร่งครัดจารีตประเพณี เมื่อมองจากแง่มุมนี้แล้ว การโจมตีคราวนี้ก็สามารถบรรลุหลักเกณฑ์ทั้งในการเล่นงานคนต่างชาติซึ่งรวมถึงชาวยิว และในการเล่นงานชาวอินเดีย
“ปฏิบัติการคราวนี้กระทำโดยกลุ่มบุคคลที่มีความรู้เรื่องวัตถุระเบิดในระดับพื้นฐาน มีสิ่งบ่งชี้ว่าพวกผู้ก่อการร้ายที่วางระเบิดคราวนี้ อาจจะไม่ได้มีความเชี่ยวชาญหรือผ่านการฝึกอบรมพิเศษใดๆ ทั้งสิ้น แต่การโจมตีก็เลือกเป้าหมายและดำเนินการได้อย่างฉลาดมาก” บี รามาน (B Raman) ให้ความเห็น เขาเคยทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ด้านข่าวกรองของอินเดีย และปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการของ สถาบันเพื่อการศึกษารายหัวข้อ (Institute for Topical Studies) ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองเชนไน (Chennai)
ทางด้าน เค สุพราห์มัณยัม (K Subrahmanyam) ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงที่มีชื่อเสียงอีกผู้หนึ่ง ตั้งข้อสังเกตว่า การโจมตีครั้งนี้เลือกช่วงจังหวะเวลาที่มุ่งทำลายการฟื้นการเจรจาสันติภาพอินเดีย-ปากีสถาน ซึ่งทั้งสองประเทศได้นัดหมายกำหนดกันไว้ “พวกนักรบญิฮัดและพวกหัวรุนแรงสุดโต่งในภูมิภาคแถบนี้ ต่างก็ไม่ต้องการให้อินเดียและปากีสถานดำเนินการหารือเพื่อประนีประนอมรอมชอมกันลักษณะนี้ ดังนั้นจึงก่อการโจมตีขึ้นในจังหวะเวลาที่จะสามารถทำอันตรายต่อความเคลื่อนไหวดังกล่าวได้” เขากล่าว
อย่างไรก็ดี แม้ในช่วงแรกๆ จะมีข้อระแวงสงสัยกันอยู่บ้าง แต่ในที่สุดอินเดียก็ตัดสินใจที่จะเดินหน้าการพูดจาหารือในระดับปลัดกระทรวงการต่างประเทศของอินเดียและปากีสถานกันต่อไป
ตามความเห็นของสุพราห์มัณยัม เหตุบึ้มที่ปูเณยังมีชนวนจากการที่กองกำลังพันธมิตรนำโดยสหรัฐฯ กำลังเปิดยุทธการรุกใหญ่มุ่งปราบปรามพวกตอลิบานในเมืองมาร์จาห์ (Marjah) ในจังหวัดเฮลมันด์ (Helmand) ของอัฟกานิสถานอยู่ในขณะนี้
“ทันทีที่พวกอเมริกันเริ่มการรุกใหญ่ที่เมืองมาร์จาห์ พวกผู้สนับสนุนเห็นอกเห็นใจตอลิบานในปากีสถาน ก็จำเป็นจะต้องดำเนินยุทธศาสตร์ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้พวกตอลิบานอัฟกานิสถาน สามารถถอยออกจากอัฟกานิสถานเข้าสู่ปากีสถานได้อย่างสะดวกมากขึ้น” เขาแจกแจง “ด้วยการโจมตีอินเดีย พวกผู้สนับสนุนเห็นอกเห็นใจตอลิบานเหล่านี้ ก็หวังว่าจะเป็นการเพิ่มความตึงเครียดระหว่างประเทศทั้งสอง ซึ่งจะบังคับให้ปากีสถานต้องเคลื่อนย้ายกำลังทหารออกจากชายแดนอัฟกานิสถาน-ปากีสถาน มายังชายแดนอินเดีย-ปากีสถาน ดังนั้นก็จะทำให้พรมแดนอัฟกานิสถาน-ปากีสถานมีช่องโหว่เพิ่มขึ้นนิดนึง สำหรับให้พวกตอลิบานอัฟกานิสถานเล็ดลอดหลบหนีได้” สุพราห์มัณยัม บอก
สำหรับ เอ็ม ดี นาลาปัต (M D Nalapat) หัวหน้าภาควิชาภูมิรัฐศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยมณีปาล (Manipal) เขาเชื่อว่า การโจมตีที่ปูเณ กระทำโดยกลุ่มคนสัญชาติอินเดียที่ได้รับการฝึกอบรมจากพวกนักรบญิฮัดซึ่งตั้งฐานอยู่ในปากีสถาน และตัวการใหญ่ของกลุ่มผู้ก่อเหตุคราวนี้ก็อยู่ภายในอินเดียนี่เอง
“นับตั้งแต่เหตุโจมตีที่เมืองมุมไบแล้ว อินเดียก็มีการตระเตียมเพื่อรับมือกับการโจมตีที่คนร้ายแอบเข้ามาทางทะเลอีกครั้งหนึ่ง หรือไม่ก็มุ่งรับมือการโจมตีครั้งใหญ่ที่คนร้ายมาจากต่างแดนเคลื่อนเข้ามาในอินเดีย ทว่าอินเดียกลับไม่ได้ให้ความใส่ใจอย่างเท่าเทียมกันเลย กับภัยคุกคามที่กำลังปรากฏขึ้น จากพวกหน่วยย่อยผู้ก่อการรร้ายซึ่งเกิดขึ้นจากภายในประเทศนี้เอง” นาลาปัตบอก
อินเดียมีพวกหัวรุนแรงสุดโต่งภายในประเทศอยู่เป็นจำนวนมากพอดูทีเดียว และพวกนี้ก็กำลังเคลื่อนไหวคึกคักในการวางแผนและในความพยายามที่จะออกปฏิบัติการโจมตีแบบผู้ก่อการร้าย นาลาปัตคิดว่า ถึงแม้ทางการจะจับกุมคนเหล่านี้ได้เป็นจำนวนมากในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทว่าก็มีพวกหัวรุนแรงสุดโต่งภายในประเทศอีกร่วมๆ 200 คนที่ยังคงหลบหนีลอยนวลอยู่ โดยมีทั้งที่อยู่ในรูปของหน่วยย่อยมุ่งกบดานอำพรางยังไม่เคลื่อนไหวอะไรทั้งสิ้น และที่เป็นกลุ่มเล็กๆ ซึ่งกำลังวางแผนเปิดการโจมตีครั้งต่อๆ ไป
พวกเจ้าหน้าที่สอบสวนของทางการอินเดียบางคนสงสัยว่าการโจมตีที่ปูเณน่าจะเป็นฝีมือของกลุ่มหัวรุนแรงสุดโต่งท้องถิ่นที่เรียกขานตนเองเป็น “นักรบมุญาฮีดีนชาวอินเดีย” (Indian Mujahideen) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มใหญ่ขึ้นมาที่เรียกชื่อกันว่า “การาจีโปรเจกต์” (Karachi Project) กลุ่มนี้มีทั้งพวกนักรบญิฮัดชาวอินเดียที่กำลังหลบหนีการจับกุม และพวกซึ่งมีต้นแหล่งมาจากกองทัพปากีสถาน โดยพวกหลังนี้เป็นกลุ่มคนที่ต้องการให้คงการรุกโจมตีต่ออินเดียเอาไว้เรื่อยๆ ไม่มีสิ้นสุด
“วัตถุประสงค์อีกประการหนึ่งของการโจมตีคราวนี้ ยังเป็นไปเพื่อสร้างเหตุผลที่สามารถหยิบยกขึ้นมาใช้ในการปฏิเสธว่า พวกคนร้ายไม่ได้มีต้นกำเนิดมาจากดินแดนของปากีสถาน” นาลาปัตกล่าว “เราต้องยอมรับว่าเรากำลังเผชิญกับยุทธวิธีการโจมตีที่แตกต่างออกไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง โดยเป็นการโจมตีที่วางแผนและดำเนินการโดยองค์กรก่อการร้ายที่เกิดขึ้นภายในประเทศอินเดียเอง และเป็นกลุ่มที่จะต้องรีบเข้าไปทำลายทิ้งอย่างไม่ปรานีตั้งแต่ที่มันยังเป็นหน่ออ่อนอยู่”
อินทราจิต บาซู เป็นผู้สื่อข่าวให้แก่เอเชียไทมส์ออนไลน์ เขาพำนักอยู่ในเมืองโกลกาตา (กัลกัตตา) ประเทศอินเดีย