เอเอฟพี - หน่วยงานตรวจสอบด้านการแข่งขันเพื่อผู้บริโภคของออสเตรเลียเริ่มดำเนินการทางกฎหมายกับบริษัท การบินไทย โดยกล่าวหาสายการบินเอื้องหลวงตั้งกลุ่มกำหนดราคาในการขนส่งสินค้าทางอากาศ
คณะกรรมการกำกับดูแลการแข่งขัน และผู้บริโภคของออสเตรเลีย หรือเอซีซีซี กล่าวหาว่า บริษัทการบินไทยสมรู้ร่วมคิดกับสายการบินระหว่างประเทศอื่นๆ ในช่วงปี 2001-2006 เพื่อกำหนดราคาค่าเชื้อเพลิง และเพิ่มค่ารักษาความปลอดภัย
เอซีซีซีแถลงว่า สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฮ่องกง และไทยทำความตกลง และความเข้าใจกัน เพื่อเพิ่มค่ารักษาความปลอดภัย ซึ่งเป็นการเพิ่มค่าธรรมเนียมการขนส่งสินค้า ที่มาจากประเทศเหล่านั้นอย่างฉุกเฉิน
ทั้งนี้ การบินไทยเป็นสายการบินที่ 11 ที่ถูกเอซีซีซีฟ้องร้องต่อศาลยุติธรรมกลาง ในข้อหาเกี่ยวกับกิจกรรมการผูกขาดทางการค้า ซึ่งส่งผลให้หลายสายการบินต้องจ่ายเงินค่าชดเชยกว่า 41 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือกว่า 1,200 ล้านบาท
ในเดือนธันวาคม ปี 2008 สายการบินแควนตัสของแดนจิงโจ้ถูกตัดสินให้จ่ายเงิน 20 ล้านดอลลาร์เป็นค่าปรับ หลังยอมรับว่าได้ตกลงกำหนดราคา เกี่ยวกับการเพิ่มค่าเชื้อเพลิงในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
ศาลยุติธรรมกลางในซิดนีย์ยังสั่งปรับบริติช แอร์เวย์ เป็นเงิน 5 ล้านดอลลาร์ หลังสายการบินแดนผู้ดียอมรับว่าได้ทำการตกลงอย่างผิดกฎหมายในตลาดการขนส่งสินค้าทางอากาศ ในช่วงเดียวกับสายการบินลุฟฮันซา ของเยอรมนีด้วย
นอกจากนี้ ในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ยังมีสายการบินระหว่างประเทศอีก 4 บริษัทถูกปรับเป็นเงินรวม 16 ล้านดอลลาร์ ในกรณีเช่นเดียวกันนี้
ขณะเดียวกัน เอซีซีซียังดำเนินการฟ้องร้องสิงคโปร์ แอร์ไลนส์ คาเธ่ย์ แปซิฟิก เอมิเรตส์ และพีที การูดา อินโดนีเซีย นอกเหนือจากสายการบินของไทยอีกด้วย
คณะกรรมการกำกับดูแลการแข่งขัน และผู้บริโภคของออสเตรเลีย หรือเอซีซีซี กล่าวหาว่า บริษัทการบินไทยสมรู้ร่วมคิดกับสายการบินระหว่างประเทศอื่นๆ ในช่วงปี 2001-2006 เพื่อกำหนดราคาค่าเชื้อเพลิง และเพิ่มค่ารักษาความปลอดภัย
เอซีซีซีแถลงว่า สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฮ่องกง และไทยทำความตกลง และความเข้าใจกัน เพื่อเพิ่มค่ารักษาความปลอดภัย ซึ่งเป็นการเพิ่มค่าธรรมเนียมการขนส่งสินค้า ที่มาจากประเทศเหล่านั้นอย่างฉุกเฉิน
ทั้งนี้ การบินไทยเป็นสายการบินที่ 11 ที่ถูกเอซีซีซีฟ้องร้องต่อศาลยุติธรรมกลาง ในข้อหาเกี่ยวกับกิจกรรมการผูกขาดทางการค้า ซึ่งส่งผลให้หลายสายการบินต้องจ่ายเงินค่าชดเชยกว่า 41 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือกว่า 1,200 ล้านบาท
ในเดือนธันวาคม ปี 2008 สายการบินแควนตัสของแดนจิงโจ้ถูกตัดสินให้จ่ายเงิน 20 ล้านดอลลาร์เป็นค่าปรับ หลังยอมรับว่าได้ตกลงกำหนดราคา เกี่ยวกับการเพิ่มค่าเชื้อเพลิงในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
ศาลยุติธรรมกลางในซิดนีย์ยังสั่งปรับบริติช แอร์เวย์ เป็นเงิน 5 ล้านดอลลาร์ หลังสายการบินแดนผู้ดียอมรับว่าได้ทำการตกลงอย่างผิดกฎหมายในตลาดการขนส่งสินค้าทางอากาศ ในช่วงเดียวกับสายการบินลุฟฮันซา ของเยอรมนีด้วย
นอกจากนี้ ในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ยังมีสายการบินระหว่างประเทศอีก 4 บริษัทถูกปรับเป็นเงินรวม 16 ล้านดอลลาร์ ในกรณีเช่นเดียวกันนี้
ขณะเดียวกัน เอซีซีซียังดำเนินการฟ้องร้องสิงคโปร์ แอร์ไลนส์ คาเธ่ย์ แปซิฟิก เอมิเรตส์ และพีที การูดา อินโดนีเซีย นอกเหนือจากสายการบินของไทยอีกด้วย