เอเอฟพี - ทางการฟิลิปปินส์ วันนี้ (18) ออกคำสั่งให้หน่วยกู้ภัยเตรียมพร้อม และเร่งกักตุนเสบียงความช่วยเหลือฉุกเฉิน ขณะที่ไต้ฝุ่น “ลูปิต” ใกล้พัดถล่ม หลังจากฟิลิปปินส์เพิ่งจะเผชิญกับวาตภัยร้าย 2 ลูกซ้อน ซึ่งคร่าชีวิตเหยื่อมากกว่า 800 ราย
สำนักอุตุนิยมวิทยาของฟิลิปปินส์ ระบุว่า ไต้ฝุ่นลูปิต ซึ่งมีแรงลมสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะเริ่มส่งผลกระทบกับพื้นที่ทางภาคเหนือของเกาะลูซอนในวันพุธหน้า (28) และคาดหมายว่า ศูนย์กลางของพายุลูกนี้ ซึ่งล่าสุด อยู่ห่างจากชายฝั่งด้านตะวันออกของเกาะลูซอนไม่ถึง 1,000 กิโลเมตร จะพัดขึ้นฝั่งตามมาในสัปดาห์เดียวกัน
รัฐบาลท้องถิ่นหลายแห่ง ซึ่งอยู่ในแนวพายุพัดผ่าน ถูกส่งให้เตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ อาทิ สั่งเตรียมพร้อมเครื่องไม้เครื่องมือการค้นหาและช่วยเหลือ ตลอดจนเร่งเก็บกักสิ่งของบรรเทาสาธารณะภัย และเตรียมพร้อมอพยพประชาชนในกรณีจำเป็น สภาประสานงานภัยพิบัติแห่งชาติให้คำแนะนำล่าสุด
พื้นที่ราบต่ำหลายแห่งทางภาคเหนือของกรุงมะนิลา ได้รับการประกาศเตือนภัยเป็นระยะๆ ถึงความเป็นไปได้ในการระบายน้ำออกจากเขื่อนเนื่องจากฝนอาจตกลงมาอย่างหนัก
ก่อนหน้านั้น เพิ่งเกิดมหาอุกภัย เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 354 ราย และไร้ที่อยู่อาศัยอีก 4.34 ล้านคน ทั้งในและรอบๆ กรุงมะนิลาเมื่อวันที่ 26 กันยายน ขณะที่ไต้ฝุ่นกิสนาซัดถล่ม
เพียง 1 สัปดาห์ถัดจากนั้น ไต้ฝุ่นป้าหม่ายังพัดถล่มทางภาคเหนือของเกาะลูซอนและปกคลุมนานกว่า 1 สัปดาห์ ส่งผลให้เกิดแผ่นดินถล่มและน้ำท่วม คร่าชีวิตเหยื่ออีก 419 ราย และไร้ที่อยู่อาศัย 3.79 ล้านชีวิต ทั้งนี้จากรายงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
จนถึงตอนนี้ยังคงมีผู้ประสบภัยอีก 267,000 ราย แออัดกันอยู่ในศูนย์พักพิงฉุกเฉินแม้จะผ่านมากว่า 2 สัปดาห์แล้ว นอกจากนี้โรคฉี่หนู ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ยังทำให้มีผู้เสียชีวิตอีก 89 ราย ในหลายพื้นที่น้ำท่วม ทางกระทรวงสาธารณสุขแถลง
สำนักอุตุนิยมวิทยาของฟิลิปปินส์ ระบุว่า ไต้ฝุ่นลูปิต ซึ่งมีแรงลมสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะเริ่มส่งผลกระทบกับพื้นที่ทางภาคเหนือของเกาะลูซอนในวันพุธหน้า (28) และคาดหมายว่า ศูนย์กลางของพายุลูกนี้ ซึ่งล่าสุด อยู่ห่างจากชายฝั่งด้านตะวันออกของเกาะลูซอนไม่ถึง 1,000 กิโลเมตร จะพัดขึ้นฝั่งตามมาในสัปดาห์เดียวกัน
รัฐบาลท้องถิ่นหลายแห่ง ซึ่งอยู่ในแนวพายุพัดผ่าน ถูกส่งให้เตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ อาทิ สั่งเตรียมพร้อมเครื่องไม้เครื่องมือการค้นหาและช่วยเหลือ ตลอดจนเร่งเก็บกักสิ่งของบรรเทาสาธารณะภัย และเตรียมพร้อมอพยพประชาชนในกรณีจำเป็น สภาประสานงานภัยพิบัติแห่งชาติให้คำแนะนำล่าสุด
พื้นที่ราบต่ำหลายแห่งทางภาคเหนือของกรุงมะนิลา ได้รับการประกาศเตือนภัยเป็นระยะๆ ถึงความเป็นไปได้ในการระบายน้ำออกจากเขื่อนเนื่องจากฝนอาจตกลงมาอย่างหนัก
ก่อนหน้านั้น เพิ่งเกิดมหาอุกภัย เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 354 ราย และไร้ที่อยู่อาศัยอีก 4.34 ล้านคน ทั้งในและรอบๆ กรุงมะนิลาเมื่อวันที่ 26 กันยายน ขณะที่ไต้ฝุ่นกิสนาซัดถล่ม
เพียง 1 สัปดาห์ถัดจากนั้น ไต้ฝุ่นป้าหม่ายังพัดถล่มทางภาคเหนือของเกาะลูซอนและปกคลุมนานกว่า 1 สัปดาห์ ส่งผลให้เกิดแผ่นดินถล่มและน้ำท่วม คร่าชีวิตเหยื่ออีก 419 ราย และไร้ที่อยู่อาศัย 3.79 ล้านชีวิต ทั้งนี้จากรายงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
จนถึงตอนนี้ยังคงมีผู้ประสบภัยอีก 267,000 ราย แออัดกันอยู่ในศูนย์พักพิงฉุกเฉินแม้จะผ่านมากว่า 2 สัปดาห์แล้ว นอกจากนี้โรคฉี่หนู ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ยังทำให้มีผู้เสียชีวิตอีก 89 ราย ในหลายพื้นที่น้ำท่วม ทางกระทรวงสาธารณสุขแถลง