(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
North Korea drops a uranium bombshell
By Donald Kirk
04/09/2009
สหรัฐฯมีความระแวงสงสัยเรื่อยมาว่า เกาหลีเหนือไม่เคยหยุดยั้งโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์โดยใช้ยูเรเนียมของพวกเขาเลย และความข้องใจเช่นนี้ก็เป็นแกนกลางในการเดินหมากทางการทูตของวอชิงตันต่อเปียงยางในระยะหลายๆ ปีที่ผ่านมา ครั้นแล้วเกาหลีเหนือก็ออกมาประกาศยืนยันอย่างเป็นทางการในวันศุกร์(4)ว่าความหวั่นเกรงเหล่านี้คือความเป็นจริง แถมยังเลวร้ายกว่านั้นด้วยซ้ำ นั่นคือ กระบวนการเพิ่มสมรรถนะความเข้มข้นยูเรเนียมของโสมแดงมีความคืบหน้าจนกระทั่งมาถึง “ขั้นตอนสุดท้าย” แล้ว ทั้งนี้การที่เปียงยางออกมาเปิดเผยเรื่องนี้ในตอนนี้ ดูเหมือนมีความมุ่งหวังที่จะให้เป็นการเร่งรัดวอชิงตันยอมเปิดการเปิดเจรจาแบบเดี่ยวๆ กับตนเอง
นิวยอร์ก – ฉับพลันนั้น การเปิดฉากรุกเพื่อมุ่งสร้างสันติภาพของเกาหลีเหนือ ก็กลับระเบิดเปรี้ยงกลายเป็นกลุ่มเมฆรูปดอกเห็ดอันน่าคร้ามเกรงขึ้นมาเสียฉิบ เมื่อเปียงยางประกาศออกมาว่า พวกมือพระกาฬด้านนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ในโครงการพัฒนาหัวรบนิวเคลียร์โดยใช้ยูเรเนียมเพิ่มสมรรถนะความเข้มข้น กำลังทำงานคืบหน้าจนย่างเข้าสู่ “ขั้นตอนแห่งการเสร็จสมบูรณ์” แล้ว
เปียงยางแถลงเรื่องนี้ในวันศุกร์(4)ที่ผ่านมาว่า ตนเองอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการเพิ่มความเข้มข้นยูเรเนียม อันเป็นกระบวนการที่จะทำให้โสมแดงมีเส้นทางอีกเส้นหนึ่งในการทำอาวุธนิวเคลียร์ นอกเหนือจากการใช้ยูเรเนียมซึ่งได้ทำออกมาทดลองไปแล้ว 2 ลูก
หากจะทบทวนย้อนความหลัง เมื่อเกือบ 7 ปีที่แล้วได้เป็นที่เปิดเผยกันออกมาว่า เกาหลีเหนือยังมีโครงการเพิ่มสมรรถนะความเข้มข้นของยูเรเนียมเพื่อให้สามารถนำไปใช้ทำระเบิดนิวเคลียร์ได้ แยกต่างหากไปจากโครงการเพิ่มความเข้มข้นพลูโตเนียมซึ่งดำเนินการกันที่ศูนย์นิวเคลียร์ในเมืองยองบยอน (Yongbyon) การเปิดเผยเช่นนี้เองส่งผลทำให้ในที่สุดก็มีการฉีกทิ้งข้อตกลงแม่บทเจนีวาปี 1994 (the 1994 Geneva framework agreement)
ตามข้อตกลงแม่บทฉบับดังกล่าว เกาหลีเหนือให้สัญญายินยอมปิดเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพื่อการทดลอง ซึ่งมีขนาด 5 เมกะวัตต์ ณ ยองบยอน ขณะที่ทีมเจ้าหน้าที่ตรวจสอบจากทบวงพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency หรือ IAEA) ก็ผลัดเปลี่ยนกันเข้าๆ ออกๆ เกาหลีเหนือ เพื่อพิสูจน์ยืนยันว่าโครงการดังกล่าวได้ถูกระงับไปแล้วจริงๆ
แต่เมื่อเวลาผ่านเลยไปสักพักใหญ่ หน่วยข่าวกรองสหรัฐฯก็สามารถรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ หลากหลายมากมาย เป็นต้นว่า ข้อมูลจากพวกดาวเทียมจารกรรม, เครือข่ายของ อับดุล กอเดียร์ ข่าน (Abdul Qadeer Khan) “บิดา” แห่งระเบิดปรมาณูของปากีสถาน, และการติดต่อแลกเปลี่ยนกันระหว่างเกาหลีเหนือกับอิหร่าน ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นว่า โสมแดงยังกำลังเดินหน้าโครงการเพิ่มสมรรถนะยูเรเนียมของตน
ในเดือนตุลาคม 2002 รองรัฐมนตรีต่างประเทศ กังซุกจู (Kang Sok-ju) ของเกาหลีเหนือ ได้ยอมรับว่ามีโครงการดังกล่าว กับคณะผู้แทนที่นำโดย เจมส์ เคลลี ซึ่งเวลานั้นเป็นผู้แทนสหรัฐฯดูแลเรื่องการติดต่อเจรจากับโสมแดง และกำลังไปเยือนกรุงเปียงยาง หลังจากนั้น สหรัฐฯจึงตัดการขนส่งน้ำมันชนิดหนักไปให้เกาหลีเหนือ ตามที่ระบุไว้ในข้อตกลงแม่บทเจนีวา ทั้งนี้ข้อตกลงดังกล่าวกำหนดให้สหรัฐฯและพันธมิตรไปสร้างเตาปฏิกรณ์พลังนิวเคลียร์แบบใช้น้ำมวลเบา 2 เตาคู่แก่เกาหลีเหนือ เพื่อแลกกับการที่เกาหลีเหนือยอมระงับโครงการที่ยองบยอน โดยระหว่างที่ยังสร้างไม่เสร็จก็ให้สหรัฐฯส่งน้ำมันไปให้โสมแดงใช้ก่อน
ต่อมาเกาหลีเหนือจึงเตะพวกเจ้าหน้าที่ตรวจสอบของไอเออีเอออกจากประเทศ และพอถึงต้นปี 2003 ก็เร่งเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของตน และเริ่มการผลิต “พลูโตเนียมที่มีสมรรถนะความเข้มข้นในระดับสามารถทำอาวุธได้” โดยที่พวกนักวิเคราะห์ให้ตัวเลขคร่าวๆ ว่า เวลานี้โสมแดงมีพลูโตเนียมเกรดดังกล่าวมากเพียงพอที่จะผลิตเป็นหัวรบนิวเคลียร์ได้ระหว่าง 6 – 12 ลูก และได้ทำออกมา 2 ลูกแล้ว ซึ่งใช้ทำการทดลองให้ระเบิดใต้ดินไปแล้ว ในเดือนตุลาคม 2006 และพฤษภาคมปีนี้
ทางด้านโครงการยูเรเนียมนั้น ตั้งแต่ปี 2002 ก็อยู่ในลักษณะเดี๋ยวก็มองเห็นเดี๋ยวก็มองไม่เห็น หรือจริงๆ แล้วก็คือ มันขึ้นอยู่กับว่าพวกนักการทูตระดับสูงของอเมริกันกำลังหลับตาไม่มองความเป็นจริงที่กำลังเกิดขึ้นหรือเปล่า ขณะที่พวกเขามุ่งเน้นน้ำหนักไปอยู่ที่การพยายามนำเอาเกาหลีเหนือกลับมาทำข้อตกลงนิวเคลียร์ฉบับใหม่กัน
เป็นเวลาหลายปีทีเดียวที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯเรียกโครงการยูเรเนียมของเกาหลีเหนือว่า โครงการเอชอียู (HEU ซี่งย่อมาจากคำว่า “highly enriched uranium” ยูเรเนียมเพิ่มสมรรถนะความเข้มข้นอย่างสูง) แต่ต่อมาก็เปลี่ยนมาใช้คำย่อที่ดูมีลักษณะเชิงการทูตมากขึ้น นั่นคือ “UEP” ที่มาจาก “uranium enrichment program” (โครงการเพิ่มสมรรถนะความเข้มข้นยูเรเนียม) ซึ่งดูเป็นความจงใจที่จะลดความสำคัญของโครงการนี้ลง อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีการตั้งคำถามกันเลยว่า การที่เกาหลีเหนือจัดทำโครงการยูอีพีขึ้นมาเช่นนี้อาจจะมีอะไรมากไปกว่าความพยายามที่จะดำเนินการทดลองในระดับพื้นๆ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากคำขอของพวกนักวิทยาศาสตร์เกาหลีเหนือผู้กระตือรือร้นเกินเหตุ
ส่วนทางฝ่ายเกาหลีเหนือนั้น หลายๆ ปีที่ผ่านมาก็พยายามปฏิเสธอย่างน่าสงสารว่า กังซุกจูไม่ได้พูดอะไรเลยเกี่ยวกับโครงการนี้ และกล่าวหาเคลลีรวมทั้งล่ามของเขาซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯผู้ผ่านงานมาอย่างโชกโชน ว่าเสกสรรปั้นแต่งการสนทนาระหว่างกังกับเคลลีนี้ขึ้นมา อย่างไรก็ตาม เปียงยางก็มีท่าทีเปิดเผยเกี่ยวกับโครงการนี้เพิ่มมากขึ้น เมื่อเกิดมีการเผชิญหน้ากับเกาหลีใต้และสหรัฐฯแล้วต้องการใช้ถ้อยคำภาษาในเชิงด่าทอ
เกาหลีเหนือยังยืนกรานเสียงแข็งไม่ยอมหวนกลับเข้าสู่การเจรจา 6 ฝ่าย หลังจากที่ได้แกล้งทำเป็นพร้อมเซ็นข้อตกลงต่างๆ ในกรอบการเจรจานี้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์และตุลาคมปี 2007 จนทำให้ทั่วโลกเกิดความประทับใจว่า เปียงยางพร้อมแล้วที่จะละทิ้งความฝันเกี่ยวกับเรื่องอาวุธนิวเคลียร์โดยสิ้นเชิง เพื่อแลกเปลี่ยนกับการได้รับความช่วยเหลือทางด้านพลังงานและรูปแบบอื่นๆ จำนวนมากมายมหาศาล
การที่เกาหลีเหนือออกโรงมาประกาศในตอนนี้ว่า ตนเองมีความคืบหน้าอย่างจริงจังในการพัฒนาหัวรบนิวเคลียร์แบบที่ใช้ยูเรเนียมเพิ่มความเข้มข้นอย่างสูงเป็นแกนกลาง ดูน่าจะเป็นการตอบโต้อย่างแข็งกร้าวต่อมาตรการลงโทษคว่ำบาตรอันเข้มงวดขึ้นอีกขั้น ซึ่งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติลงมติรับรองในเดือนมิถุนายน มันให้ความรู้สึกว่านี่เป็นอีกระดับหนึ่งของกระบวนการที่เกาหลีเหนือเพิ่มการท้าทายความเอาจริงเอาจังคณะมนตรีความมั่นคงมากขึ้นเรื่อยๆ นับแต่ที่โสมแดงดำเนินการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ของตนครั้งหลังในวันที่ 25 พฤษภาคม
น้ำเสียงในคำแถลงของเกาหลีเหนือ ซึ่งเผยแพร่โดยสำนักข่าวกลางเกาหลี (Korean Central News Agency หรือ KCNA) ของโสมแดง บ่งบอกเปิดเผยให้เห็นว่าการดำเนินมาตรการลงโทษคว่ำบาตรกำลังเป็นไปอย่างทรงประสิทธิภาพ โดยหากยังถึงขั้นหยุดยั้ง ก็สามารถจำกัดการส่งออกพวกอาวุธตามแบบแผน ตลอดจนขีปนาวุธนำวิถีข้ามทวีปของเกาหลีเหนือ
มาตรการคว่ำบาตรของคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็นล่าสุด ยังมีการห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์อีกหลายๆ ประเภทเข้าสู่เกาหลีเหนือ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับโครงการทางทหารเลย เป็นต้นว่า ข้าวของฟุ่มเฟือยสำหรับบำรุงบำเรอชนชั้นนำของโสมแดง ยิ่งกว่านั้น มาตรการเหล่านี้ยังสกัดกั้นไม่ให้เกาหลีเหนือสามารถทำข้อตกลงด้านการเงินระหว่างประเทศได้เอาเลยในทางเป็นจริง โดยครอบคลุมถึงการทำธุรกรรมทางการเงินจำนวนมากกับจีน ผู้เป็นพันธมิตรรายสำคัญที่สุดและผู้เมตตาการุณย์ให้ความช่วยเหลือมากที่สุดแก่เกาหลีเหนือ
การแถลงยืนยันเรื่องโครงการยูเรเนียมของเกาหลีเหนือครั้งล่าสุดนี้ ปรากฏอยู่ในรูปของหนังสือที่คณะผู้แทนโสมแดงประจำองค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ส่งไปถึงคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็น โดยในหนังสือนี้ เกาหลีเหนือระบุว่า ตนเอง “ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากใช้มาตรการตอบโต้ที่เป็นไปในทางการป้องกันตนเองอย่างแข็งแกร่งยิ่งขึ้นเท่านั้น อันเป็นการกระทำตามที่ได้แจ้งเตือนไปก่อนแล้ว ถ้าหากมาตรการลงโทษ(ของยูเอ็น) ยังคงมีผลบังคับใช้” ขณะที่สำนักข่าวยอนฮัป (Yonhap News Agency) ของเกาหลีใต้ ก็ได้รายงานข่าวโดยอ้างคำพูดโฆษกของคณะผู้แทนเกาหลีเหนือประจำสหประชาชาติ ที่กล่าวยืนยันว่า “เป็นความจริง ทางเราได้ส่งหนังสือดังกล่าวไป” และ ทุกสิ่งทุกอย่างที่สำนักข่าวเคซีเอ็นเอรายงานไป” เกี่ยวกับ “ขั้นตอนสุดท้าย” ของโครงการยูเรเนียม” ก็ “เป็นความจริง”
“ถ้าหากตั้งแต่ตอนแรกๆ เลย คณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็นไม่ทำให้เรื่องที่ ดีพีอาร์เค (DPRK คำย่อของ Democratic People's Republic of Korea สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี อันเป็นชื่อประเทศอย่างเป็นทางการของเกาหลีเหนือ) ส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรอย่างสันติ กลายเป็นประเด็นปัญหาใหญ่โต โดยอยู่เฉยๆ ทำนองเดียวกับที่ได้กระทำเมื่อตอนที่เกาหลีใต้ส่งดาวเทียมในวันที่ 25 สิงหาคม 2009 มันก็จะไม่เป็นการบีบบังคับให้ ดีพีอาร์เค ต้องดำเนินปฏิกิริยาตอบโต้อย่างแข็งขัน เป็นต้นว่า การทดลองอาวุธนิวเคลียร์ครั้งที่สอง” นี่เป็นข้อความตอนหนึ่งในหนังสือฉบับนี้ ซึ่งเกาหลีเหนือส่งให้คณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็น เพื่อเป็นการตอบโต้ภายหลังที่เกิดข้อกังขากันขึ้นมา เมื่อมีการตรวจยึดเรือสินค้าลำหนึ่งที่กำลังขนอาวุธของโสมแดง ณ บริเวณใกล้ๆ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (United Arab Emirates หรือ UAE)
อย่างไรก็ดี มีข้อน่าสังเกตว่าเกาหลีเหนือแถลงยืนยันความก้าวหน้าในโครงการยูเรเนียมของตนคราวนี้ ในช่วงจังหวะหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญผิดธรรมดา มันออกมาภายหลังที่โสมแดงได้เปิดการรุกคืบหว่านเสน่ห์ต่อโลกตะวันตกและเกาหลีใต้เป็นเวลาราว 1 เดือน เริ่มต้นด้วยการปล่อยตัวผู้หญิง 2 คนจากเครือข่ายโทรทัศน์ “เคอร์เรนต์ ทีวี” ของ อัล กอร์ โดยส่งมอบให้แก่อดีตประธานาธิบดี บิล คลินตัน ของสหรัฐฯ ภายหลังจากที่ได้กักขังพวกเธอเอาไว้เป็นเวลา 140 วัน นับแต่ที่พวกทหารเกาหลีเหนือบุกจับพวกเธอไป ซึ่งตามคำบอกเล่าของสตรีทั้งสอง ทหารโสมแดงกระทำการ “ด้วยความรุนแรง” แถมยังเข้ามาจับพวกเธอจากดินแดนฝั่งจีน ตรงบริเวณแม่น้ำทูเมน (Tumen) ที่เป็นแนวพรมแดนระหว่างจีนกับเกาหลีเหนือ และขณะนั้นแม่น้ำจับตัวเป็นน้ำแข็ง
ตัวคลินตันที่เดินทางไปยังกรุงเปียงยาง ได้เข้าพบกับคิมจองอิล ผู้นำที่กำลังป่วยไข้ของเกาหลีเหนือเป็นเวลา 3 ชั่วโมง 17 นาที และจากนั้นก็ได้รายงานการดำเนินภารกิจ “อย่างไม่เป็นทางการ” ของเขาคราวนี้ ต่อประธานาธิบดี บารัค โอบามา ของสหรัฐฯ 1 สัปดาห์หลังจากที่ได้ส่งตัวสตรีทั้งสอง คือ ลอรา หลิง (Laura Ling) และ ยูนา ลี (Euna Lee) กลับคืนสู่ครอบครัวของพวกเธอ ท่ามกลางการตีฆ้องร้องป่าวเป็นข่าวดังไปทั่วโลก
อีกไม่นานต่อมา คิมจองอิลก็ได้โพสท่าถ่ายภาพที่กลายเป็นข่าวเกรียวกราวอีกคำรบหนึ่ง โดยคราวนี้เป็นการถ่ายรูปกับ ฮุนเจืองอุน (Hyun Jeong-eun) ประธานหญิงของ ฮุนได อาซาน (Hyundai Asan) บริษัทในเครือของฮุนไดซึ่งรับผิดชอบธุรกิจด้านการพัฒนาเขตเศรษฐกิจเกซอง (Kaesong) และเขตท่องเที่ยวที่ภูเขากุมกัง (Kumkang) เกาหลีเหนือยังได้ปล่อยตัวช่างเทคนิคคนหนึ่งของฮุนได อาซาน ที่ถูกควบคุมตัวมาเป็นเวลา 117 วัน ด้วยข้อหาพยายามล่อลวงหญิงรับใช้ชาวเกาหลีเหนือผู้หนึ่งให้หลบหนีไปเกาหลีใต้ โดยให้สัญญาว่าจะมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างดีเยี่ยมเมื่อเปรียบเทียบกับการดำรงชีวิตภายใต้ระบอบเผด็จการของคิม
จากนั้นก็มาถึงเหตุการณ์การถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม ของอดีตประธานาธิบดี คิมแดจุง แห่งเกาหลีใต้ บุรุษผู้ซึ่งริเริ่มนโยบาย “อาทิตย์สาดส่อง” ของโสมขาวในการมุ่งปรองดองกับโสมแดง และได้เคยพบปะหารือกับคิมจองอิล ในการประชุมระดับสุดยอดครั้งแรกของสองเกาหลี ณ กรุงเปียงยางในเดือนมิถุนายน 2000 ทางเปียงยางได้ส่งคณะผู้แทนพิเศษเข้ามาวางพวงมาลาต่อหน้าหีบศพของคิม อีกทั้งได้พบปะกับ ลีเมียงบัค ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของเกาหลีใต้ ผู้ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ถูกโสมแดงโจมตีอย่างสาดเสียเทเสียว่าเป็น “คนทรยศ” และเป็น “สมุน” ของอเมริกัน
สุดท้าย เกาหลีเหนือยังได้ตกลงเปิดนิคมเศรษฐกิจเกซอง ให้ทำการติดต่อเชิงพาณิชย์ได้ตามปกติอีกครั้ง, เห็นชอบให้ฟื้นฟูรายการทัวร์ที่พานักท่องเที่ยวชาวโสมขาวไปยังเมืองหลวงเก่าที่ชื่อ เกซอง และตั้งอยู่ใกล้ๆ เขตเศรษฐกิจ, ตลอดจนพบปะกับคณะผู้แทนเกาหลีใต้เพื่อหารือเรื่องการจัดการรวมญาติสำหรับครอบครัวอีก 2-3 ครอบครัวที่ต้องพลัดพรากกันเนื่องจากสงครามเกาหลีซึ่งสิ้นสุดลงในปี 1953 ทั้งนี้มีการตกลงกันให้คนในครอบครัวเหล่านี้ได้พบกันในเดือนนี้ ซึ่งจะเป็นครั้งแรกของการรวมญาติลักษณะเช่นนี้ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
คำถามจึงมีอยู่ว่า เกิดอะไรขึ้นมาในตอนนี้หรือ จึงทำให้โสมแดงประกาศเรื่องความก้าวหน้าโครงการยูเรเนียมของตนในท่ามกลางบรรยากาศที่ดูเหมือนจะผ่อนคลายลงเช่นนี้ คำอธิบายประการหนึ่งก็คือ อาจจะเนื่องจาก สตีเฟน บอสเวิร์ธ (Stephen Bosworth) ผู้แทนพิเศษของสหรัฐฯที่ดูแลประเด็นเรื่องโครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ กำลังอยู่ระหว่างตระเวนเยือนภูมิภาคแถบนี้อยู่พอดี และคิมจองอิลก็อาจจะตัดสินใจว่า ถึงเวลาอันสุกงอมแล้วที่จะดึงสายเบ็ดที่อ่อยเหยื่อไว้ ทั้งนี้เพื่อเร่งกดดันให้เกิดการเจรจาสองฝ่ายระหว่างโสมแดงกับสหรัฐฯ ซึ่งเขาต้องการอย่างเหลือเกินให้จัดขึ้นมาแทนที่กระบวนการเจรจา 6 ฝ่าย
ในเวลาเดียวกันนี้เอง เกาหลีเหนือยังได้ส่งคณะผู้แทนไปยังปักกิ่ง เพื่อหารือกับฝ่ายจีน โดยที่ฝ่ายนั้นอาจจะกำลังอยู่ระหว่างการบอกให้คิมจองอิลทำตัวให้น่ารักมากขึ้น
ทว่าภายหลังการประกาศของโสมแดง ทางสหรัฐฯยังคงแถลงยึดมั่นอยู่กับความต้องการที่จะดำเนินกระบวนการเจรจา 6 ฝ่ายต่อไป ขณะที่นักวิเคราะห์หลายคนมองว่า วอชิงตันกำลังดำเนินยุทธศาสตร์แบบ “2 ช่องทาง” โดยที่บอสเวิร์ธซึ่งเป็นผู้ดำเนินความพยายามทางด้านการทูต แม้ยึดมั่นกับข้อเรียกร้องให้ฟื้นฟูการเจรจา 6 ฝ่ายขึ้นมาใหม่ แต่ก็ให้สัญญาว่าจะมีการสนทนาหารือ “ข้างเคียง” ระหว่างฝ่ายอเมริกัน ซึ่งก็หมายถึงตัวเขาเอง กับฝ่ายเกาหลีเหนือ
ส่วนอีกช่องทางหนึ่ง ก็คือการยืนกรานยึดมั่นอยู่กับมาตรการลงโทษคว่ำบาตร ซึ่งกำลังทำให้ฝ่ายเกาหลีเหนือทั้งรู้สึกโกรธเคืองและก็รับรู้ถึงอันตราย พวกเขากำลังหวาดเกรงว่าจะต้องสูญเสียความสามารถในการขนส่งอาวุธ ดังที่บังเกิดขึ้นเมื่อ 1 เดือนก่อนจากการตรวจยึดเรือสินค้าที่บริเวณใกล้ๆ ยูเออี ซึ่งทำให้โสมแดงต้องสูญเสียสินค้าส่งออกจำพวกลูกระเบิดยิงด้วยจรวดตลอดจนยุทธภัณฑ์อื่นเต็มลำเรือ ที่กำลังนำไปส่งให้อิหร่าน รวมทั้งยังจะขาดแคลนสินค้านำเข้าฟุ่มเฟือยชั้นดี ที่คิมจองอิลสามารถนำมาปรนเปรอพวกสมาชิกในครอบครัว ตลอดจนเพื่อนมิตรและผู้ช่วยที่เขาโปรดปราน
ทางด้านเกาหลีเหนือก็มียุทธศาสตร์ 2 ช่องทางของเขาเองเหมือนกัน นั่นคือ การแสดงท่าทีเหมือนกับยอมประนีประนอมปรองดอง แต่อันที่จริงแล้วไม่มีสัญญาณใดๆ ว่าจะยอมเลิกโครงการนิวเคลียร์ของตน ซึ่งเรื่องนี้เองที่เป็นหัวใจของปัญหาเกาหลีเหนือมานมนานหลายปีแล้ว
โดนัลด์ เคิร์ก นักหนังสือพิมพ์ผู้ทำข่าวเกี่ยวกับเกาหลี ตลอดจนการประจันหน้ากันของกองกำลังฝ่ายต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ มาเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว
North Korea drops a uranium bombshell
By Donald Kirk
04/09/2009
สหรัฐฯมีความระแวงสงสัยเรื่อยมาว่า เกาหลีเหนือไม่เคยหยุดยั้งโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์โดยใช้ยูเรเนียมของพวกเขาเลย และความข้องใจเช่นนี้ก็เป็นแกนกลางในการเดินหมากทางการทูตของวอชิงตันต่อเปียงยางในระยะหลายๆ ปีที่ผ่านมา ครั้นแล้วเกาหลีเหนือก็ออกมาประกาศยืนยันอย่างเป็นทางการในวันศุกร์(4)ว่าความหวั่นเกรงเหล่านี้คือความเป็นจริง แถมยังเลวร้ายกว่านั้นด้วยซ้ำ นั่นคือ กระบวนการเพิ่มสมรรถนะความเข้มข้นยูเรเนียมของโสมแดงมีความคืบหน้าจนกระทั่งมาถึง “ขั้นตอนสุดท้าย” แล้ว ทั้งนี้การที่เปียงยางออกมาเปิดเผยเรื่องนี้ในตอนนี้ ดูเหมือนมีความมุ่งหวังที่จะให้เป็นการเร่งรัดวอชิงตันยอมเปิดการเปิดเจรจาแบบเดี่ยวๆ กับตนเอง
นิวยอร์ก – ฉับพลันนั้น การเปิดฉากรุกเพื่อมุ่งสร้างสันติภาพของเกาหลีเหนือ ก็กลับระเบิดเปรี้ยงกลายเป็นกลุ่มเมฆรูปดอกเห็ดอันน่าคร้ามเกรงขึ้นมาเสียฉิบ เมื่อเปียงยางประกาศออกมาว่า พวกมือพระกาฬด้านนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ในโครงการพัฒนาหัวรบนิวเคลียร์โดยใช้ยูเรเนียมเพิ่มสมรรถนะความเข้มข้น กำลังทำงานคืบหน้าจนย่างเข้าสู่ “ขั้นตอนแห่งการเสร็จสมบูรณ์” แล้ว
เปียงยางแถลงเรื่องนี้ในวันศุกร์(4)ที่ผ่านมาว่า ตนเองอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการเพิ่มความเข้มข้นยูเรเนียม อันเป็นกระบวนการที่จะทำให้โสมแดงมีเส้นทางอีกเส้นหนึ่งในการทำอาวุธนิวเคลียร์ นอกเหนือจากการใช้ยูเรเนียมซึ่งได้ทำออกมาทดลองไปแล้ว 2 ลูก
หากจะทบทวนย้อนความหลัง เมื่อเกือบ 7 ปีที่แล้วได้เป็นที่เปิดเผยกันออกมาว่า เกาหลีเหนือยังมีโครงการเพิ่มสมรรถนะความเข้มข้นของยูเรเนียมเพื่อให้สามารถนำไปใช้ทำระเบิดนิวเคลียร์ได้ แยกต่างหากไปจากโครงการเพิ่มความเข้มข้นพลูโตเนียมซึ่งดำเนินการกันที่ศูนย์นิวเคลียร์ในเมืองยองบยอน (Yongbyon) การเปิดเผยเช่นนี้เองส่งผลทำให้ในที่สุดก็มีการฉีกทิ้งข้อตกลงแม่บทเจนีวาปี 1994 (the 1994 Geneva framework agreement)
ตามข้อตกลงแม่บทฉบับดังกล่าว เกาหลีเหนือให้สัญญายินยอมปิดเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพื่อการทดลอง ซึ่งมีขนาด 5 เมกะวัตต์ ณ ยองบยอน ขณะที่ทีมเจ้าหน้าที่ตรวจสอบจากทบวงพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency หรือ IAEA) ก็ผลัดเปลี่ยนกันเข้าๆ ออกๆ เกาหลีเหนือ เพื่อพิสูจน์ยืนยันว่าโครงการดังกล่าวได้ถูกระงับไปแล้วจริงๆ
แต่เมื่อเวลาผ่านเลยไปสักพักใหญ่ หน่วยข่าวกรองสหรัฐฯก็สามารถรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ หลากหลายมากมาย เป็นต้นว่า ข้อมูลจากพวกดาวเทียมจารกรรม, เครือข่ายของ อับดุล กอเดียร์ ข่าน (Abdul Qadeer Khan) “บิดา” แห่งระเบิดปรมาณูของปากีสถาน, และการติดต่อแลกเปลี่ยนกันระหว่างเกาหลีเหนือกับอิหร่าน ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นว่า โสมแดงยังกำลังเดินหน้าโครงการเพิ่มสมรรถนะยูเรเนียมของตน
ในเดือนตุลาคม 2002 รองรัฐมนตรีต่างประเทศ กังซุกจู (Kang Sok-ju) ของเกาหลีเหนือ ได้ยอมรับว่ามีโครงการดังกล่าว กับคณะผู้แทนที่นำโดย เจมส์ เคลลี ซึ่งเวลานั้นเป็นผู้แทนสหรัฐฯดูแลเรื่องการติดต่อเจรจากับโสมแดง และกำลังไปเยือนกรุงเปียงยาง หลังจากนั้น สหรัฐฯจึงตัดการขนส่งน้ำมันชนิดหนักไปให้เกาหลีเหนือ ตามที่ระบุไว้ในข้อตกลงแม่บทเจนีวา ทั้งนี้ข้อตกลงดังกล่าวกำหนดให้สหรัฐฯและพันธมิตรไปสร้างเตาปฏิกรณ์พลังนิวเคลียร์แบบใช้น้ำมวลเบา 2 เตาคู่แก่เกาหลีเหนือ เพื่อแลกกับการที่เกาหลีเหนือยอมระงับโครงการที่ยองบยอน โดยระหว่างที่ยังสร้างไม่เสร็จก็ให้สหรัฐฯส่งน้ำมันไปให้โสมแดงใช้ก่อน
ต่อมาเกาหลีเหนือจึงเตะพวกเจ้าหน้าที่ตรวจสอบของไอเออีเอออกจากประเทศ และพอถึงต้นปี 2003 ก็เร่งเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของตน และเริ่มการผลิต “พลูโตเนียมที่มีสมรรถนะความเข้มข้นในระดับสามารถทำอาวุธได้” โดยที่พวกนักวิเคราะห์ให้ตัวเลขคร่าวๆ ว่า เวลานี้โสมแดงมีพลูโตเนียมเกรดดังกล่าวมากเพียงพอที่จะผลิตเป็นหัวรบนิวเคลียร์ได้ระหว่าง 6 – 12 ลูก และได้ทำออกมา 2 ลูกแล้ว ซึ่งใช้ทำการทดลองให้ระเบิดใต้ดินไปแล้ว ในเดือนตุลาคม 2006 และพฤษภาคมปีนี้
ทางด้านโครงการยูเรเนียมนั้น ตั้งแต่ปี 2002 ก็อยู่ในลักษณะเดี๋ยวก็มองเห็นเดี๋ยวก็มองไม่เห็น หรือจริงๆ แล้วก็คือ มันขึ้นอยู่กับว่าพวกนักการทูตระดับสูงของอเมริกันกำลังหลับตาไม่มองความเป็นจริงที่กำลังเกิดขึ้นหรือเปล่า ขณะที่พวกเขามุ่งเน้นน้ำหนักไปอยู่ที่การพยายามนำเอาเกาหลีเหนือกลับมาทำข้อตกลงนิวเคลียร์ฉบับใหม่กัน
เป็นเวลาหลายปีทีเดียวที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯเรียกโครงการยูเรเนียมของเกาหลีเหนือว่า โครงการเอชอียู (HEU ซี่งย่อมาจากคำว่า “highly enriched uranium” ยูเรเนียมเพิ่มสมรรถนะความเข้มข้นอย่างสูง) แต่ต่อมาก็เปลี่ยนมาใช้คำย่อที่ดูมีลักษณะเชิงการทูตมากขึ้น นั่นคือ “UEP” ที่มาจาก “uranium enrichment program” (โครงการเพิ่มสมรรถนะความเข้มข้นยูเรเนียม) ซึ่งดูเป็นความจงใจที่จะลดความสำคัญของโครงการนี้ลง อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีการตั้งคำถามกันเลยว่า การที่เกาหลีเหนือจัดทำโครงการยูอีพีขึ้นมาเช่นนี้อาจจะมีอะไรมากไปกว่าความพยายามที่จะดำเนินการทดลองในระดับพื้นๆ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากคำขอของพวกนักวิทยาศาสตร์เกาหลีเหนือผู้กระตือรือร้นเกินเหตุ
ส่วนทางฝ่ายเกาหลีเหนือนั้น หลายๆ ปีที่ผ่านมาก็พยายามปฏิเสธอย่างน่าสงสารว่า กังซุกจูไม่ได้พูดอะไรเลยเกี่ยวกับโครงการนี้ และกล่าวหาเคลลีรวมทั้งล่ามของเขาซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯผู้ผ่านงานมาอย่างโชกโชน ว่าเสกสรรปั้นแต่งการสนทนาระหว่างกังกับเคลลีนี้ขึ้นมา อย่างไรก็ตาม เปียงยางก็มีท่าทีเปิดเผยเกี่ยวกับโครงการนี้เพิ่มมากขึ้น เมื่อเกิดมีการเผชิญหน้ากับเกาหลีใต้และสหรัฐฯแล้วต้องการใช้ถ้อยคำภาษาในเชิงด่าทอ
เกาหลีเหนือยังยืนกรานเสียงแข็งไม่ยอมหวนกลับเข้าสู่การเจรจา 6 ฝ่าย หลังจากที่ได้แกล้งทำเป็นพร้อมเซ็นข้อตกลงต่างๆ ในกรอบการเจรจานี้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์และตุลาคมปี 2007 จนทำให้ทั่วโลกเกิดความประทับใจว่า เปียงยางพร้อมแล้วที่จะละทิ้งความฝันเกี่ยวกับเรื่องอาวุธนิวเคลียร์โดยสิ้นเชิง เพื่อแลกเปลี่ยนกับการได้รับความช่วยเหลือทางด้านพลังงานและรูปแบบอื่นๆ จำนวนมากมายมหาศาล
การที่เกาหลีเหนือออกโรงมาประกาศในตอนนี้ว่า ตนเองมีความคืบหน้าอย่างจริงจังในการพัฒนาหัวรบนิวเคลียร์แบบที่ใช้ยูเรเนียมเพิ่มความเข้มข้นอย่างสูงเป็นแกนกลาง ดูน่าจะเป็นการตอบโต้อย่างแข็งกร้าวต่อมาตรการลงโทษคว่ำบาตรอันเข้มงวดขึ้นอีกขั้น ซึ่งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติลงมติรับรองในเดือนมิถุนายน มันให้ความรู้สึกว่านี่เป็นอีกระดับหนึ่งของกระบวนการที่เกาหลีเหนือเพิ่มการท้าทายความเอาจริงเอาจังคณะมนตรีความมั่นคงมากขึ้นเรื่อยๆ นับแต่ที่โสมแดงดำเนินการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ของตนครั้งหลังในวันที่ 25 พฤษภาคม
น้ำเสียงในคำแถลงของเกาหลีเหนือ ซึ่งเผยแพร่โดยสำนักข่าวกลางเกาหลี (Korean Central News Agency หรือ KCNA) ของโสมแดง บ่งบอกเปิดเผยให้เห็นว่าการดำเนินมาตรการลงโทษคว่ำบาตรกำลังเป็นไปอย่างทรงประสิทธิภาพ โดยหากยังถึงขั้นหยุดยั้ง ก็สามารถจำกัดการส่งออกพวกอาวุธตามแบบแผน ตลอดจนขีปนาวุธนำวิถีข้ามทวีปของเกาหลีเหนือ
มาตรการคว่ำบาตรของคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็นล่าสุด ยังมีการห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์อีกหลายๆ ประเภทเข้าสู่เกาหลีเหนือ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับโครงการทางทหารเลย เป็นต้นว่า ข้าวของฟุ่มเฟือยสำหรับบำรุงบำเรอชนชั้นนำของโสมแดง ยิ่งกว่านั้น มาตรการเหล่านี้ยังสกัดกั้นไม่ให้เกาหลีเหนือสามารถทำข้อตกลงด้านการเงินระหว่างประเทศได้เอาเลยในทางเป็นจริง โดยครอบคลุมถึงการทำธุรกรรมทางการเงินจำนวนมากกับจีน ผู้เป็นพันธมิตรรายสำคัญที่สุดและผู้เมตตาการุณย์ให้ความช่วยเหลือมากที่สุดแก่เกาหลีเหนือ
การแถลงยืนยันเรื่องโครงการยูเรเนียมของเกาหลีเหนือครั้งล่าสุดนี้ ปรากฏอยู่ในรูปของหนังสือที่คณะผู้แทนโสมแดงประจำองค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ส่งไปถึงคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็น โดยในหนังสือนี้ เกาหลีเหนือระบุว่า ตนเอง “ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากใช้มาตรการตอบโต้ที่เป็นไปในทางการป้องกันตนเองอย่างแข็งแกร่งยิ่งขึ้นเท่านั้น อันเป็นการกระทำตามที่ได้แจ้งเตือนไปก่อนแล้ว ถ้าหากมาตรการลงโทษ(ของยูเอ็น) ยังคงมีผลบังคับใช้” ขณะที่สำนักข่าวยอนฮัป (Yonhap News Agency) ของเกาหลีใต้ ก็ได้รายงานข่าวโดยอ้างคำพูดโฆษกของคณะผู้แทนเกาหลีเหนือประจำสหประชาชาติ ที่กล่าวยืนยันว่า “เป็นความจริง ทางเราได้ส่งหนังสือดังกล่าวไป” และ ทุกสิ่งทุกอย่างที่สำนักข่าวเคซีเอ็นเอรายงานไป” เกี่ยวกับ “ขั้นตอนสุดท้าย” ของโครงการยูเรเนียม” ก็ “เป็นความจริง”
“ถ้าหากตั้งแต่ตอนแรกๆ เลย คณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็นไม่ทำให้เรื่องที่ ดีพีอาร์เค (DPRK คำย่อของ Democratic People's Republic of Korea สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี อันเป็นชื่อประเทศอย่างเป็นทางการของเกาหลีเหนือ) ส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรอย่างสันติ กลายเป็นประเด็นปัญหาใหญ่โต โดยอยู่เฉยๆ ทำนองเดียวกับที่ได้กระทำเมื่อตอนที่เกาหลีใต้ส่งดาวเทียมในวันที่ 25 สิงหาคม 2009 มันก็จะไม่เป็นการบีบบังคับให้ ดีพีอาร์เค ต้องดำเนินปฏิกิริยาตอบโต้อย่างแข็งขัน เป็นต้นว่า การทดลองอาวุธนิวเคลียร์ครั้งที่สอง” นี่เป็นข้อความตอนหนึ่งในหนังสือฉบับนี้ ซึ่งเกาหลีเหนือส่งให้คณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็น เพื่อเป็นการตอบโต้ภายหลังที่เกิดข้อกังขากันขึ้นมา เมื่อมีการตรวจยึดเรือสินค้าลำหนึ่งที่กำลังขนอาวุธของโสมแดง ณ บริเวณใกล้ๆ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (United Arab Emirates หรือ UAE)
อย่างไรก็ดี มีข้อน่าสังเกตว่าเกาหลีเหนือแถลงยืนยันความก้าวหน้าในโครงการยูเรเนียมของตนคราวนี้ ในช่วงจังหวะหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญผิดธรรมดา มันออกมาภายหลังที่โสมแดงได้เปิดการรุกคืบหว่านเสน่ห์ต่อโลกตะวันตกและเกาหลีใต้เป็นเวลาราว 1 เดือน เริ่มต้นด้วยการปล่อยตัวผู้หญิง 2 คนจากเครือข่ายโทรทัศน์ “เคอร์เรนต์ ทีวี” ของ อัล กอร์ โดยส่งมอบให้แก่อดีตประธานาธิบดี บิล คลินตัน ของสหรัฐฯ ภายหลังจากที่ได้กักขังพวกเธอเอาไว้เป็นเวลา 140 วัน นับแต่ที่พวกทหารเกาหลีเหนือบุกจับพวกเธอไป ซึ่งตามคำบอกเล่าของสตรีทั้งสอง ทหารโสมแดงกระทำการ “ด้วยความรุนแรง” แถมยังเข้ามาจับพวกเธอจากดินแดนฝั่งจีน ตรงบริเวณแม่น้ำทูเมน (Tumen) ที่เป็นแนวพรมแดนระหว่างจีนกับเกาหลีเหนือ และขณะนั้นแม่น้ำจับตัวเป็นน้ำแข็ง
ตัวคลินตันที่เดินทางไปยังกรุงเปียงยาง ได้เข้าพบกับคิมจองอิล ผู้นำที่กำลังป่วยไข้ของเกาหลีเหนือเป็นเวลา 3 ชั่วโมง 17 นาที และจากนั้นก็ได้รายงานการดำเนินภารกิจ “อย่างไม่เป็นทางการ” ของเขาคราวนี้ ต่อประธานาธิบดี บารัค โอบามา ของสหรัฐฯ 1 สัปดาห์หลังจากที่ได้ส่งตัวสตรีทั้งสอง คือ ลอรา หลิง (Laura Ling) และ ยูนา ลี (Euna Lee) กลับคืนสู่ครอบครัวของพวกเธอ ท่ามกลางการตีฆ้องร้องป่าวเป็นข่าวดังไปทั่วโลก
อีกไม่นานต่อมา คิมจองอิลก็ได้โพสท่าถ่ายภาพที่กลายเป็นข่าวเกรียวกราวอีกคำรบหนึ่ง โดยคราวนี้เป็นการถ่ายรูปกับ ฮุนเจืองอุน (Hyun Jeong-eun) ประธานหญิงของ ฮุนได อาซาน (Hyundai Asan) บริษัทในเครือของฮุนไดซึ่งรับผิดชอบธุรกิจด้านการพัฒนาเขตเศรษฐกิจเกซอง (Kaesong) และเขตท่องเที่ยวที่ภูเขากุมกัง (Kumkang) เกาหลีเหนือยังได้ปล่อยตัวช่างเทคนิคคนหนึ่งของฮุนได อาซาน ที่ถูกควบคุมตัวมาเป็นเวลา 117 วัน ด้วยข้อหาพยายามล่อลวงหญิงรับใช้ชาวเกาหลีเหนือผู้หนึ่งให้หลบหนีไปเกาหลีใต้ โดยให้สัญญาว่าจะมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างดีเยี่ยมเมื่อเปรียบเทียบกับการดำรงชีวิตภายใต้ระบอบเผด็จการของคิม
จากนั้นก็มาถึงเหตุการณ์การถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม ของอดีตประธานาธิบดี คิมแดจุง แห่งเกาหลีใต้ บุรุษผู้ซึ่งริเริ่มนโยบาย “อาทิตย์สาดส่อง” ของโสมขาวในการมุ่งปรองดองกับโสมแดง และได้เคยพบปะหารือกับคิมจองอิล ในการประชุมระดับสุดยอดครั้งแรกของสองเกาหลี ณ กรุงเปียงยางในเดือนมิถุนายน 2000 ทางเปียงยางได้ส่งคณะผู้แทนพิเศษเข้ามาวางพวงมาลาต่อหน้าหีบศพของคิม อีกทั้งได้พบปะกับ ลีเมียงบัค ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของเกาหลีใต้ ผู้ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ถูกโสมแดงโจมตีอย่างสาดเสียเทเสียว่าเป็น “คนทรยศ” และเป็น “สมุน” ของอเมริกัน
สุดท้าย เกาหลีเหนือยังได้ตกลงเปิดนิคมเศรษฐกิจเกซอง ให้ทำการติดต่อเชิงพาณิชย์ได้ตามปกติอีกครั้ง, เห็นชอบให้ฟื้นฟูรายการทัวร์ที่พานักท่องเที่ยวชาวโสมขาวไปยังเมืองหลวงเก่าที่ชื่อ เกซอง และตั้งอยู่ใกล้ๆ เขตเศรษฐกิจ, ตลอดจนพบปะกับคณะผู้แทนเกาหลีใต้เพื่อหารือเรื่องการจัดการรวมญาติสำหรับครอบครัวอีก 2-3 ครอบครัวที่ต้องพลัดพรากกันเนื่องจากสงครามเกาหลีซึ่งสิ้นสุดลงในปี 1953 ทั้งนี้มีการตกลงกันให้คนในครอบครัวเหล่านี้ได้พบกันในเดือนนี้ ซึ่งจะเป็นครั้งแรกของการรวมญาติลักษณะเช่นนี้ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
คำถามจึงมีอยู่ว่า เกิดอะไรขึ้นมาในตอนนี้หรือ จึงทำให้โสมแดงประกาศเรื่องความก้าวหน้าโครงการยูเรเนียมของตนในท่ามกลางบรรยากาศที่ดูเหมือนจะผ่อนคลายลงเช่นนี้ คำอธิบายประการหนึ่งก็คือ อาจจะเนื่องจาก สตีเฟน บอสเวิร์ธ (Stephen Bosworth) ผู้แทนพิเศษของสหรัฐฯที่ดูแลประเด็นเรื่องโครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ กำลังอยู่ระหว่างตระเวนเยือนภูมิภาคแถบนี้อยู่พอดี และคิมจองอิลก็อาจจะตัดสินใจว่า ถึงเวลาอันสุกงอมแล้วที่จะดึงสายเบ็ดที่อ่อยเหยื่อไว้ ทั้งนี้เพื่อเร่งกดดันให้เกิดการเจรจาสองฝ่ายระหว่างโสมแดงกับสหรัฐฯ ซึ่งเขาต้องการอย่างเหลือเกินให้จัดขึ้นมาแทนที่กระบวนการเจรจา 6 ฝ่าย
ในเวลาเดียวกันนี้เอง เกาหลีเหนือยังได้ส่งคณะผู้แทนไปยังปักกิ่ง เพื่อหารือกับฝ่ายจีน โดยที่ฝ่ายนั้นอาจจะกำลังอยู่ระหว่างการบอกให้คิมจองอิลทำตัวให้น่ารักมากขึ้น
ทว่าภายหลังการประกาศของโสมแดง ทางสหรัฐฯยังคงแถลงยึดมั่นอยู่กับความต้องการที่จะดำเนินกระบวนการเจรจา 6 ฝ่ายต่อไป ขณะที่นักวิเคราะห์หลายคนมองว่า วอชิงตันกำลังดำเนินยุทธศาสตร์แบบ “2 ช่องทาง” โดยที่บอสเวิร์ธซึ่งเป็นผู้ดำเนินความพยายามทางด้านการทูต แม้ยึดมั่นกับข้อเรียกร้องให้ฟื้นฟูการเจรจา 6 ฝ่ายขึ้นมาใหม่ แต่ก็ให้สัญญาว่าจะมีการสนทนาหารือ “ข้างเคียง” ระหว่างฝ่ายอเมริกัน ซึ่งก็หมายถึงตัวเขาเอง กับฝ่ายเกาหลีเหนือ
ส่วนอีกช่องทางหนึ่ง ก็คือการยืนกรานยึดมั่นอยู่กับมาตรการลงโทษคว่ำบาตร ซึ่งกำลังทำให้ฝ่ายเกาหลีเหนือทั้งรู้สึกโกรธเคืองและก็รับรู้ถึงอันตราย พวกเขากำลังหวาดเกรงว่าจะต้องสูญเสียความสามารถในการขนส่งอาวุธ ดังที่บังเกิดขึ้นเมื่อ 1 เดือนก่อนจากการตรวจยึดเรือสินค้าที่บริเวณใกล้ๆ ยูเออี ซึ่งทำให้โสมแดงต้องสูญเสียสินค้าส่งออกจำพวกลูกระเบิดยิงด้วยจรวดตลอดจนยุทธภัณฑ์อื่นเต็มลำเรือ ที่กำลังนำไปส่งให้อิหร่าน รวมทั้งยังจะขาดแคลนสินค้านำเข้าฟุ่มเฟือยชั้นดี ที่คิมจองอิลสามารถนำมาปรนเปรอพวกสมาชิกในครอบครัว ตลอดจนเพื่อนมิตรและผู้ช่วยที่เขาโปรดปราน
ทางด้านเกาหลีเหนือก็มียุทธศาสตร์ 2 ช่องทางของเขาเองเหมือนกัน นั่นคือ การแสดงท่าทีเหมือนกับยอมประนีประนอมปรองดอง แต่อันที่จริงแล้วไม่มีสัญญาณใดๆ ว่าจะยอมเลิกโครงการนิวเคลียร์ของตน ซึ่งเรื่องนี้เองที่เป็นหัวใจของปัญหาเกาหลีเหนือมานมนานหลายปีแล้ว
โดนัลด์ เคิร์ก นักหนังสือพิมพ์ผู้ทำข่าวเกี่ยวกับเกาหลี ตลอดจนการประจันหน้ากันของกองกำลังฝ่ายต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ มาเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว