เอเอฟพี/เอเจนซี - อิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เดินทางถึงเมืองไทยแล้ววันนี้ (21) เตรียมเข้าพบนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในช่วงเย็น ก่อนบินไปเพื่อประชุมความด้านมั่นคงกับอาเซียนและคู่เจรจา (เออาร์เอฟ) ในเรื่องนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ และสถานการณ์ในพม่า
ฮิลลารี คลินตัน เดินทางถึงสนามบินดอนเมืองเมื่อเวลาประมาณ 14.00 น.และได้เข้าเยี่ยมคารวะ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล ในเวลา 17.00 น.ที่ผ่านมา
ก่อนหน้านี้ เอียน เคลลี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เผยว่า ฮิลลารีจะหารือกับนายกรัฐมนตรีของไทยในเรื่องความร่วมมือกันต่อสู้กับภาวะโลกร้อน การก่อการร้าย และความมั่นคงในภูมิภาค ตลอดจนความเป็นผู้นำของไทยในฐานะประธานาปัจจุบันของกลุ่มอาเซียน
จากนั้น ฮิลลารี จะเดินทางไปจังหวัดภูเก็ต เพื่อเข้าประชุมอาเซียนว่าด้วยความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เออาร์เอฟ) ระหว่างสมาชิกอาเซียน 10 ชาติกับคู่เจรจา ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เกาหลีเหนือ ผนวกกับสหภาพยุโรป (อียู) และสหรัฐฯ รวม 27 ชาติ ในวันพรุ่งนี้(22)
เจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐฯ เผยว่า ความสำคัญอยู่ที่ว่า การประเดิมหน้าที่ในฐานะรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ จะกดดันให้เกาหลีเหนือให้กลับเข้าสู่โต๊เจรจา 6 ฝ่ายได้มากน้อยแค่ไหน พวกเขาเผยว่า อิลลารีจะพบกับรัฐมนตรีต่างประเทศจากเกาหลีใต้ จีน ญี่ปุ่น และ รัสเซีย ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศเจรจา 6 ฝ่ายเพื่อปลดอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือแบบตัวต่อตัว หลังจากเกาหลีเหนือถอนตัวออกจากการเจรจา เมื่อสหประชาชาติประณามการทดสอบขีปนาวุธและระะบิดนิวเคลียร์ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ หลบเลี่ยงมาตลอดที่จะตอบว่า นางฮิลลารีจะได้พบและหารือกับผู้แทนจากเกาหลีเหนือหรือไม่
การประชุมเออาร์เอฟยังจะหารือประเด็นพม่าด้วย หลังจากที่รัฐบาลทหารพม่าจับตัวนางอองซานซูจี ผู้เรียกร้องประชาธิปไตยในพม่าไปดำเนินคดี โดยกล่าวหาว่าเธอละเมิดกฎระเบียบความมั่นคง หลังปล่อยให้ชาวอเมริกันคนหนึ่งว่ายน้ำเข้าไปถึงบ้านพักที่เธอถูกกักตัวด้วย
นอกจากนี้ คาดว่า นางอิลลารี จะหารือประเด็นด้านเศรษฐกิจ การจัดการกับการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ 2009 ตลอดจนการต่อต้านการก่อการร้ายด้วย
ทั้งนี้ คาดว่า ฮิลลารี คลินตันลงนามข้อตกลงกับอาเซียนเพื่อพยายามต่อสู้กับอิทธิพลของจีนด้วย ซึ่งสหรัฐฯลังเลการลงนามมานานหลายปี เนื่องจากกังวลว่า ข้อตกลงจะส่งผลให้มีพื้นที่น้อยในการแก้ไขปัญหาประเด็นการเมืองและความมั่นคง