เอเอฟพี - ที่ประชุมรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศอาเซียนเรียกร้องให้เกาหลีเหนือกลับสู่โตะเจรจาปัญหาอาวุธนิวเคลียร์ ลั่นจะต่อสู้กับพวกสุดโต่งหลังจากเกิดระเบิด 2 โรงแรมหรูในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ย้ำเรียกร้องให้รัฐบาลระบอบทหารของพม่ายปล่อยตัวนางออง ซาน ซูจี ผู้นำประชาธิปไตยในพม่าทันที
รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของกลุ่มอาเซียนประชุมหารือกันในวันนี้ (20) ที่จังหวัดภูเก็ตโดยมีรัฐบาลไทยเป็นเจ้าภาพ หลังประชุมได้ออกแถลงการณ์ประณามการทดสอบระเบิดนิวเคลียร์และทดสอบยิงขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ และเรียกร้องให้รัฐบาลเปียงยางปฏิบัติตามข้อบังคับของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ(UNSC)
นอกจากนี้ รัฐมนตรีต่างประเทสอาเซียนยังเรียกร้องให้เกาหลีเหนือกลับเข้าสู่การเจรจา 6 ฝ่ายเพื่อปลดอาวุธนิวเคลียร์ หลังจากที่เกาหลีเหนือยุติการเข้าเจรจา ที่ประกอบไปด้วยสหรัฐฯ เกาหลีใต้ จีน รัสเสีย และญี่ปุ่น หลังจากที่ยูเอ็นเอสซี ประณามการทดสอบยิงขีปนาวุธพิสัยไกลของเกาหลีเหนือ เมื่อวันที่ 5 เมษายน และการทดสอบระเบิดนิวเคลียร์อีกเป็นครั้งที่สองในวันที่ 25 พฤษภาคมที่ผ่านมาด้วย
ทั้งนี้ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของเกาหลีเหนือปฏิเสธการเข้าประชุมความมั่นคงในเอเชีย-แปซิฟิก(เออาร์เอฟ) ที่ประกอบด้วยกลุ่มอาเซียนและคู่เจรรจา รวมทั้งหมด 27 ชาติในสัปดาห์นี้ แต่ส่งเอกอัครราชทูตพิเศษมาแทน
แถลงการณ์ของอาเซียนยังประณามการก่อเหตุระเบิดโจมตีโรงแรมริตซ์-คาร์ตัน และเจดับบลิวแมริออต ในกรุงจาการ์ตา ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 9 คน บาดเจ็บหลายสิบคน เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาด้วย
"เราย้ำถึงพันธกิจของเราในการเสริมสร้างความพยายามเพื่อต่อสู้กับการก่อการร้าย/กลุ่มสุดโต่งในภูมิภาคด้วย" แถลงการณ์ระบุ ขณะที่เจ้าหน้าที่ในอินโดนีเซียสงสัยว่า เป็นผลงานจากกลุ่มญะมาอะห์อิสลามิยะห์ หรือเจไอ ซึ่งเชื่อว่าเชื่อมโยงกับเครือข่ายก่อการรร้ายอัลกออิดะห์ และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังระเบิดบนเกาะบาหลีเมื่อปี 2002 ด้วย
สำหรับประเด็นพม่า ซึ่งเป็นสมาชิกที่สร้างปัญหามากที่สุดของอาเซียน นับตั้งแต่เข้าเป็นสมาชิกในปี 1997 แถลงการณ์ระบุว่า ได้รับฟังรายงานสรุปจากบันคีมุน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติที่เพิ่งเดินทางไปเยือนพม่ามาแล้ว แม้ว่า รัฐบาลเผด็จการจะไม่ยอมอนุญาตให้บันพบนางซูจีก็ตาม
แถลงการณ์อาเซียนระบุว่า ขอเรียกร้องอีกครั้งให้รัฐบาลพม่าปล่อยตัวนางซูจีทันที พร้อมกับนักโทษการเมืองทั้งหมดราว 2,000 คนด้วย เพื่อจะได้ปูทางไปสู่การเจรจาสร้างความปรองดองในชาติที่แท้จริงและมีความหมาย รวมทั้งขอให้บรรดานายพลผู้นำพม่าทำตามคำมั่นว่าจะจัดการเลือกตั้งในปี 2010 อย่างบริสุทธิ์และยุติธรรมด้วย
นักวิจารร์ระบุว่า การเลือกตั้งดังกล่าวเป็นกลลวงที่ออกแบบมาเพื่อขยายอำนาจระบอบทหารของพม่าา เพราะรัฐธรรมนุญวึ่งสร้างเสียงโต้แย้งที่บังคับใช้ในพม่าเมื่อปีที่แล้วให้อำนาจทหารมีบทบาทในทุกองค์กรและยังห้ามไม่ให้นางอองซานซูจีลงแข่งขันด้วย
สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(อาเซียน) ประกอบด้วย 10 ชาติสมาชิก ได้แก่ บรูไน กัมพูชา ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม