xs
xsm
sm
md
lg

จี 20 เริ่มประชุมด้วยการแตกเสียง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ เควิน วาร์ช (ซ้าย), ทิมโมธี ไกธเนอร์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ (กลาง) และผู้ว่าการธนาคารกลางเกาหลี ลี ซองแต(ขวา) เข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีคลังของกลุ่มจี 20
เอเอฟพี - รัฐมนตรีคลังของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของโลก ร่วมกันประชุมในวันนี้(14) เพื่อวางกรอบโครงการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มจี 20 ในวันที่ 2 เมษายน แต่แทนที่จะปรองดองกันกลับก็แตกคอกันตั้งแต่เริ่มงาน ขณะที่ การกีดกันทางการค้า และการจัดการแหล่งหลบภาษีจะเป้นประเด็นนำในการประชุมครั้งนี้

กลุ่มประเทศที่ร่ำรวยที่สุด อันได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน และชาติมั่งคั่งในยุโรป และประเทศที่เศรฐกิจกำลังเฟื่องฟูอย่างเกาหลีใต้จะพยายามวางพื้นฐานสำหรับแผนการที่จะฉุดเสรษฐกิจโลกออกมาจากภาวะตกต่ำ แต่การก่อร่างในการประชุมที่โรงแรมหรูใกล้กับเมืองฮอร์แชม ทางใต้ของกรุงลอนดอนกลับถูกขวางจากความคิดขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และกลุ่มประเทศยุโรปในเรื่องว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ได้ทำผ่านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหม่ และการกำกับดูแลอย่างเข้มงวดมากขึ้นหรือไม่

ความล้มเหลวที่จะได้ความมุ่งมั่นชัดเจนจะทำให้ความวาดหวังว่าการประชุมสดยอดจี 20 ที่จะจัดขึ้นในกรุงลอนดอนดูหดหู่ลงในการเติมเต็มคำมั่นสัญญาของพวกเขาที่จะต้านทานเศรษฐกิจขาลงของโลก

ในวันก่อนการประชุมระดับรัฐมนตรีคลัง รัฐมนตรีคลังของอังกฤษ อลิสแตร์ ดาร์ลิง พยายามจะลดความสำคัญความเห็นขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ ซึ่งความมองโลกในแง่ดีของพวกเขาได้รับแรงหนุนจากญี่ปุ่นและจีน และยุโรป

"จริงๆ แล้วผมไม่คิดว่าความเห็นแบ่งแยกระหว่างสหรัฐนและยุโรปเป็นอะไรที่เหมือนกับสิ่งที่ได้พรรณาไปแล้วหลายวันก่อน" ดาร์ลิงบอกกับบีบีซี

"ผมคิดว่าฝั่งแอตแลนติกทั้งสอง สำหรับประเด็นนั้น รวมด้วยประเทศอื่นของโลก จะมีคำมั่นที่รับรองว่าเราสนับสนุนผู้คน สนับสนุนธุรกิจและ เศรษฐกิจของเรา"
ขนมมัฟฟินประดับธงชาติต่างๆ ของกลุ่มจี 20 เป็นสีสันของการประชุมครั้งนี้
อย่างไรก็ตาม กาาเปลี่ยนแปลงความเห็นกันชี้ให้เห็นว่ามีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิง

ไม่กี่วันมานี้ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ รวมถึง แลร์รี ซัมเมอร์ส ประธานานที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ได้กล่าวว่า ประเทศผู้นำต้องพยายามที่จะพลิกฟื้นเศรษฐกิจด้วยการอัดฉีดเงินไปสู่ระบบเศรษฐกิจมากกว่านี้ ซี่งยุโรปไม่ขานรับ โดยบรรดาผู้นำไม่ต้องการใช้จ่ายมากขึ้นไปกว่านี้ เพราะพบกับงบประมาณขาดดุลมโหฬารอยู่แล้ว

นิโคลาร์ ซาร์โกซี ประธานาธิบดีฝรั่งเศส และอังเกลา แมร์เคลิ นายกรัฐมนตรีของเยอรมนีเห็นร่วมกันเมื่อวันพฤหัสบดีว่าจะร่วมผลักดันในที่ประชุมเพื่อเรียกร้องให้มีการกำกับดูแลเข้มงวดมากขึ้นกับวิกฤตในอนาคต แทนที่จะใช้จ่ายเงินมากขึ้น นับเป็นเอกภาพระหว่างประเทศทั้งสองที่พบไม่บ่อยนัก

ด้านฌอง คล็อด จุงเคอร์ ประธานที่ประชุมรัฐมนตรีคลังของกลุ่มประเทศยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโร (ยูโรโซน) สำทับว่า การที่สหรัฐฯเรียกร้องเงินอัดฉีดไปยังระบบเศรษฐกิจโลก "ไม่เหมาะสมกับเรา"

โอบามากล่าวว่า เขามองโลกแง่ดีเกี่ยวกับขอบข่ายความตกลงและเสริมว่า "ทุกคนเข้าใจดัว่าเราอยู่ด้วยกันในจุดนี้"

ไม่ว่าพวกเขาจะบรรลุข้อตกลงร่วมกันหรือไม่ รัฐมนตรีคลังจะต้องพบว่ายากที่จะลืมว่า พวกเขาหลายประเทศกำลังเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยรุนแรงที่สุดในรอบหลายสิบปีท่ามกลางอุปสงค์การบริโภคที่หดตัว

ประธานธนาคารโลก โรเบิร์ต เซลลิค ซึ่งวิเคราะห์สถานการณ์เลวร้ายกว่า เดินทางมาถึงเมื่อวานนี้ หลังจากเตือนว่าปี 2009 กำลังหันเหไปสู่ "ปีที่อันตรายอย่างยิ่ง" สำหรับเศรษฐกิจ

ช่วงต้นสัปดาห์ เซลลิค กล่าวว่า วิกฤตปัจจุบันนับว่าร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่ทศวรรษ 1930 เขาเสริมว่าแผนกระตุ้นใหม่ใดๆ จะเป็น"เหมือนกับน้ำตาลอัตราสูงเว้นเสียแต่ว่าคุณจะซ่อมแซมระบบการธนาคาร"

สิ่งเหล่านั้นเห็นจะได้รับการสันสนุนจากการใช้มาตรการกำกับดูแลที่เข้มงวดมากขึ้น ซึ่งได้รับแรงหนุนเมื่อสวิตเซอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์กและออสเตรีย กล่าวว่าจะผ่อนคลายกฎหมายการธนาคารที่อ่อนไหวท่ามกลางแรงกดดันจากนานาชาติให้จัดการกับแหล่งหลบภาษี ซึ่งคำประกาศของพวกเขาตามมาด้วยความเคลื่อนไหวแบบเดียวกันจากเบลเยียม ลิกเตนสไตน์ และอันดอร์รา

ฝรั่งเศส เยอรมนี เป็นผู้นำในการคว่ำแหล่งหลบภาษีของโลกท่ามกลางคำอ้างว่า การขาดความโปร่งใสช่วยโหมวิกฤตมากขึ้น ทั้งนี้ ประเด็นดังกล่าวจะยังคงเป็นวาระที่สำคัญในการประชุมวันนี้ รวมถึงการป้องกันลัทธิกีดกันทางการค้า และการเพิ่มทุนให้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เพื่อช่วยเหลือประเทศที่ดิ้นรนกับภาวะเศรษฐกิจ
กำลังโหลดความคิดเห็น